ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก ลูกในท้องยังปกติอยู่ไหม จะเป็นอันตรายหรือเปล่า

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลยไปอัลตร้าซาวด์แล้วไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่หรือเปล่า

โดยปกติแล้วคนท้องจะได้ยินเสียงทารกในครรภ์ครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ได้ประมาณ 9 – 12 สัปดาห์ เร็วสุดที่สามารถได้ยินคือ 7-8 สัปดาห์ แต่ในบางครั้งคุณแม่ก็อาจต้องผิดหวัง  เพราะไม่สามารถได้ยินเสียงหัวใจเต้นของลูกน้อยในท้องได้เช่นกัน แน่นอนว่าคุณแม่คงจะเกิดความกังวลร้อนใจมากเพราะกลัวว่าลูกจะเป็นอันตราย และ ก็อยากรู้ว่า ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก แบบนี้เป็นเพราะอะไรกันนะ ซึ่งสาเหตุก็มีดังต่อไปนี้

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก

1.ตำแหน่งไม่ตรงกัน

เวลาที่คุณแม่ หรือคุณหมอต้องการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์ ก็มักจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Doppler เพราะง่ายต่อการใช้งาน แต่บางครั้งการใช้เครื่องมือประเภทนี้ อาจทำให้ไม่สามารถรับรู้ของหัวใจเต้นของทารกได้ เนื่องจากว่าเวลาที่ลูกน้อยอยู่ในท้องพวกเขาจะอยู่ในมดลูก เด็กอาจมีการพลิกตัวทำให้หาตำแหน่งของทารกไม่เจอ

2.คุณแม่มีน้ำหนักตัวมาก

หากคุณแม่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป โดยมีดัชนีมวลกายมากกว่า 25 อาจจะทำให้ได้ยินเสียงลูกลำบากเพราะมีชั้นไขมันที่ค่อนข้างหนา ทำให้คุณแม่ไม่สามารถได้ยินเสียงลูกนั่นเอง หากอยากได้ยินเสียงหัวใจลูกอาจต้องใช้การอัลตร้าซาวด์แทนการใช้เครื่อง Doppler

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก ลูกในท้องยังปกติอยู่ไหม

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลย ไปอัลตร้าซาวด์แล้ว ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่ หรือเปล่า

ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกในท้องอันตรายไหม

หากคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ยังไม่ถึง 12 สัปดาห์ใช้เครื่อง Doppler หาเสียงหัวใจเต้นของทารกแล้วไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกก็ยังไม่ต้องกังวล เพราะอาจจะจับยาก หรือยังเร็วเกินไป ยกเว้นแต่พออายุครรภ์ได้ 12 สัปดาห์ขึ้นไปแล้วยังไม่ได้ยิน คุณหมอจะใช้วิธีอัลตร้าซาวด์ ที่ใช้ความถี่สูงกว่าแทน เพื่อสร้างภาพทารกออกมาทำให้คุณหมอสามารถวินิจฉัยได้ว่าทารกในครรภ์มีการเจริญเติบโต และ มีพัฒนาการปกติ หรือไม่

ในกรณีที่คุณแม่ที่เคยได้ยินเสียงหัวใจลูกมาก่อน แต่อยู่ๆ ก็ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเลย สัญญาณนี้เริ่มไม่ดีแล้ว อาจหมายความว่าคุณแม่อาจแท้งลูกได้ หรือ การที่มีการตั้งครรภ์แต่ไม่เคยได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้นพร้อม ๆ กับระดับ HCG ลดลงเรื่อย ๆ

อัลตร้าซาวด์บอกได้ไหมว่าแท้งลูก

ในระหว่างที่อัลตร้าซาวด์คุณหมอสามารถระบุได้ว่าลูกในท้องยังมีชีวิตอยู่ หรือไม่ โดยใช้เกณฑ์เหล่านี้เป็นตัวกำหนด (อ้างอิงจากเกณฑ์ของสมาคมสูติศาสตร์ และ นรีเวชวิทยาของแคนาดา)

  • ไม่มีการเต้นของหัวใจในตัวอ่อนที่มีขนาดใหญ่กว่า 5 มม.
  • ถุงตั้งครรภ์ มีขนาดใหญ่กว่า 8 มิลลิเมตร และไม่มีถุงไข่แดง
  • ถุงตั้งครรภ์ มีขนาดใหญ่กว่า 16 มิลลิเมตร และไม่มีตัวอ่อน

ทั้งนี้ คุณหมอจะวินิจฉัยว่าคุณแม่แท้ง หรือไม่จะขึ้นอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ รวมถึงเกณฑ์ที่ใช้ระบุว่าแท้ง หรือไม่อาจมีความแตกต่างกัน คุณแม่อาจต้องสอบถามแพทย์ประจำตัวเพิ่มเติม

โรคหัวใจในทารกแรกเกิด

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก ลูกในท้องยังปกติอยู่ไหม จะเป็นอันตรายหรือเปล่า

ทำไม ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลย ไปอัลตร้าซาวด์แล้ว ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่ หรือเปล่า

หลายคนอาจสงสัย..ว่าเด็กแรกเกิดก็เป็นโรคหัวใจได้ด้วยหรือ ?

โดยข้อเท็จจริงแล้ว เด็กทารกแรกเกิดทุก ๆ 100 คน จะมี 1 คน ที่เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด ซึ่งมีชนิดผนังกั้นระหว่างห้องหัวใจด้านบน หรือด้านล่างรั่ว หรือ ชนิดที่มีอาการเขียว ปากม่วงคล้ำ หายใจหอบ โดยรวมแล้ว เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เกือบหนึ่งในสามหากไม่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจเด็ก และได้รับการรักษาทันท่วงที ก็อาจเสียชีวิตได้
อาการที่อาจสงสัยว่าเด็กเป็นโรคหัวใจ

  • เด็กดูดนมได้ช้า ดูดนมแล้วหอบเหนื่อยมาก ๆ
  •  หายใจหอบ เหนื่อยง่ายเวลาเล่น หรือออกกำลังกาย
  •  เลี้ยงไม่โต หรือเติบโตช้า ในเด็กเล็ก ๆ ก็จะพบพัฒนาการช้าทางด้านที่ต้องใช้กำลัง หรือกล้ามเนื้อ เช่น คว่ำ นั่ง ยืน เดิน ช้า แต่มักไม่มีผลต่อสติปัญญาชัดเจน
  •  มีอาการเขียวเวลาดูดนม รู้สึกเหนื่อยง่าย ทำให้กินได้น้อยกว่าปกติ

ถ้ามีอาการน่าสงสัย ควรพามาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และ วินิจฉัยเพิ่มเติม

หัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease)

ในประเทศไทย นับจากอดีตจนถึงปัจจุบันพบอุบัติการณ์การเกิดโรคนี้ 8:1000 หมายถึง ทารกที่คลอดมีชีวิต 1000 ราย จะพบว่าเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด 8 ราย
สาเหตุ แบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้

1. กรรมพันธุ์ พบเป็นสาเหตุได้ประมาณ ร้อยละ 5 เช่น เด็กที่เป็นโรคดาว์นซินโดรมอาจพบเป็นโรคหัวใจพิการได้ถึงร้อยละ 30
2. สิ่งแวดล้อม พบเป็นสาเหตุได้ร้อยละ 10 เช่น จากการที่มารดาได้รับยาระงับประสาท หรือมีการติดเชื้อหัดเยอรมันในขณะตั้งครรภ์
3. อื่นๆ พบได้ร้อยละ 85 โดยที่ความพิการแต่กำเนิดของหัวใจพบมีหลายชนิด อาการแสดง และความรุนแรงของแต่ละโรคจะไม่เหมือนกัน บางชนิดอาจหายได้เอง บางชนิดต้องรับการแก้ไข โดยการผ่าตัดตั้งแต่เด็ก บางชนิดก็รอผ่าตัดแก้ไขตอนเด็กโตขึ้น

โรคหัวใจในเด็กที่พบบ่อย 5 อันดับแรก

1. ชนิดผนังกั้นห้องหัวใจส่วนล่างรั่ว (Ventricular Septal Defect : VSD) พบบ่อยที่สุดในบรรดาโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 20-30)
2. ชนิดเส้นเลือดแดง (Patent Ductus Arteriosus : PDA)
3. ชนิดผนังกั้นห้องหัวใจส่วนบนรั่ว (Atrial Septal Defect : ASD)
4. ชนิดลิ้นหัวใจ (Pulmonary Stenosis : PS)
5. ชนิดเขียวที่พบบ่อย คือ Tetralogy of Fallot (TOF) หมายถึง ภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจ และ / หรือหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา โดยเฉพาะในไตรมาสแรก ของการตั้งครรภ์

ทำไมไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก ลูกในท้องยังปกติอยู่ไหม จะเป็นอันตรายหรือเปล่า

ทำไม ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูก กังวลมากเลย ไปอัลตร้าซาวด์แล้ว ไม่ได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้น แล้วแบบนี้ลูกยังอยู่ไหม ลูกยังปกติดีอยู่ หรือเปล่า

เทคโนโลยี.. ตรวจหาโรคหัวใจในเด็ก

1. การวัดปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดจากผิวหนัง ด้วยเครื่อง Pulse Oxemeter ซึ่งเป็นการตรวจวัดที่มีความแม่นยำสูง ทารกไม่ต้องเจ็บตัวจากการถูกเจาะเลือด สามารถใช้ตรวจคัดกรองโรคหัวใจ ในทารกได้ตั้งแต่แรกเกิด
2. การเอกซ์เรย์ทรวงอก (Chest X-ray)เพื่อดูขนาดหัวใจและ ดูลักษณะของเส้นเลือดในปอด
3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) เพื่อดูความผิดปกติของหัวใจ และดูว่ามีหัวใจห้องไหนโต หรือไม่
4. การตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนเป็นภาพหัวใจ (Echocardiogram) เป็นการตรวจพิเศษดูภายในหัวใจ และหลอดเลือด โดยกุมารแพทย์ด้านโรคหัวใจเด็ก เป็นการใช้คลื่นเสียงเหมือนการทำ Ultrasound ซึ่งจะบอกรายละเอียดของความผิดปกติภายในหัวใจ และเส้นเลือดใหญ่บริเวณใกล้หัวใจได้ เป็นวิธีการตรวจที่ทำได้รวดเร็ว และแม่นยำ โดยไม่มีข้อเสีย หรือความเสี่ยงใด ๆ แต่ถ้าการตรวจในขั้นต้นไม่สามารถให้การวินิจฉัยโรคได้ การตรวจด้วยการสวนหัวใจเป็นวิธีการที่ต้องพิจารณาเป็นอันดับสุดท้าย และต้องทำรายที่จำเป็นเท่านั้น

การรักษา

ขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงของโรค เช่น ถ้าเป็น VSD ที่ขนาดเล็ก ๆ รอยรั่วก็อาจจะปิดได้เองเมื่อเด็กโตขึ้น หรือ ถ้าเป็น TOF ก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัด เท่านั้น หรือในบางรายก็อาจใช้การรักษาด้วยการใช้ยาก็เพียงพอ

ที่มา: verywellfamily , https://www.synphaet.co.th

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ตารางระดับ hCG แม่ตั้งครรภ์ อายุครรภ์แต่ละสัปดาห์ ควรมีค่าฮอร์โมน hCG เท่าไหร่ถึงถือว่าปกติ

เช็กลิสต์อาการอะไรบ้าง ที่พบบ่อยระหว่างตั้งครรภ์

สาเหตุของการแท้งลูก และ วิธีป้องกัน แม่จะป้องกันการแท้งบุตรได้อย่างไร

หัวใจของแม่และ ลูกเต้นพร้อมกันไหม จะเริ่มได้ยินเสียงหัวใจลูกเต้นเมื่อไหร่?

อาการปวด ท้องขณะตั้งครรภ์ แบบไหนที่ต้องเจอ 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 9

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!