ทำไม การรับประทานยา จึง มีผลต่อลูกในท้อง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 74
สำหรับ การรับประทานยา ในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ อาจจะ มีผลต่อลูกในท้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วง 3 เดือนแรก ของการตั้งครรภ์ใหม่ ๆ ทารกในครรภ์จะมีการเจริญเติบโต และสร้างอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้ามีสาร หรือยาบางชนิดไปกระทบกระเทือน ต่อการแบ่งเซลล์ จะทำให้ อวัยวะนั้นมีความผิดปกติ หรือหยุดเจริญเติบโต ซึ่งจะผิดปกติมาก หรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะ ของการตั้งครรภ์ และปริมาณสารที่ได้รับ การรับประทานยา ก็เช่นเดียวกัน หากใช้ยาไม่เหมาะสม หรือไม่รู้ทัน ก็จะ มีผลต่อลูกในท้อง ได้
-
ยาปฏิชีวนะ และยาแก้อักเสบ ยาเตตราชัยคลิน มีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูกในครรภ์ / ยาซัลฟา อาจทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง / ยาเพนนิซิลินและแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น / ยาแก้อักเสบ มักจะเป็นยาที่หาซื้อมาทานเองบ่อยมาก และมักจะใช้ไม่ถูกวิธี จึงทำให้ดื้อยา ฉะนั้นไม่ควรใช้ยาเอง หากใช้ในหญิงทั้งที่ตั้งครรภ์หรือไม่ อาจทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา มีอาการตกขาวและคันในช่องคลอดมากได้
-
ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแอสไพริน หากทานเมื่อใกล้คลอด อาจไปยับยั้งการทำงานของเกร็ดเลือดสำหรับทารกตั้งครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุดได้ / ยาพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ แต่ต้องอยู่ในความควบคุมจากแพทย์ / คุณแม่ตั้งครรภ์ที่เป็นไมเกรน ให้หลีกเลี่ยงยาแก้ปวดศีรษะกลุ่มเออโกตามีน เพราะทำให้มดลูกบีบตัว จนอาจแท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
-
ยาแก้คัน แก้แพ้ ยาคลอเฟนิรามีน หากมีการใช้ติดต่อกันนานๆ จะทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ
-
ยานอนหลับและยากล่อมประสาท ควรใช้ตามที่แพทย์สั่ง หากใช้ในปริมาณมาก ลูกที่เกิดมาอาจหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า และชักกระตุกได้
-
ยารักษาเบาหวาน หากเป็นชนิดฉีดอินซูลินสามารถใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าเป็นชนิดรับประทานอาจจะทำให้น้ำตาในเลือดของทารกต่ำได้
-
ยากันชัก อาจทำให้เกิดความพิการในทารกได้ โดยมีใบหน้าผิดปกติ
-
ยาแก้ไอ ไม่แนะนำให้ใช้ยาชนิดที่ไม่มีไอโอดีน เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้
-
ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร ยาชนิดนี้มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อลูกในครรภ์ได้
-
ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง ควรให้หมอเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อทานเองเด็ดขาด
การใช้ยาเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่าไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด
ถ้าจำเป็นจริงๆ ให้ไปพบแพทย์ ย้ำว่า “ใช้ยาอย่างระมัดระวังเพื่อสุขภาพของตัวเองและลูกน้อยในครรภ์”
แม้รกจะทำหน้าที่กลั่นกรองของเสียก่อนที่จะผ่านไปสู่ลูกน้อย แต่ยาบางชนิดอาจมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์อ่อน ๆ เพราะในระยะนี้ ยา หรือสารบางชนิดอาจส่งผลต่อการแบ่งเซลล์ของตัวอ่อน ทำให้อวัยวะต่าง ๆ เจริญผิดปกติ หรือหยุดเจริญเติบโตได้ ซึ่งความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณยา หรือสารที่ได้รับเข้าไป
ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง หากมีปัญหาเจ็บป่วยขึ้น ถ้าอาการไม่หนักนัก ก็ให้รักษาด้วยวิธีธรรมชาติจะดีกว่า แต่ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาจริงๆ ควรปฏิบัติดังนี้
- ปรึกษาสูติแพทย์ ถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น
- บอกแพทย์ที่จ่ายยาให้ว่า กำลังตั้งครรภ์อยู่
- ใช้ยาให้น้อยที่สุด และได้ประโยชน์สูงสุด
- ใช้ยาตามคำแนะนำจากแพทย์ หรือฉลากยาที่แจ้งไว้ว่าจะใช้เวลาใด มากน้อยเท่าไร
ข้อที่ควรจะคำนึงถึง ยาที่มีผลต่อการพัฒนาของอวัยวะหากคนท้องได้รับยาในช่วงที่มีการพัฒนาของอวัยวะคือประมาณสัปดาห์ที่ 2 – 8 ดังนั้นหากได้รับยาในช่วงดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงต่ออวัยวะพิการ
ยาที่อาจจะทำให้เกิดทารกพิการ
- ยารักษาความดันโลหิตกลุ่ม ACE (angiotensin converting enzyme)
- ยารักษาความดันโลหิตกลุ่ม angiotensin II antagonist
- ยารักษาสิว Isotretinoin (an acne drug)
- alcohol
- cocaine
- vitamin A ในขนาดสูง
- lithium
- ฮอร์โมนเพศชาย
- ยาปฏิชีวนะบางชนิด
- ยากันชักบางชนิด
- ยารักษามะเร็งบางชนิด
- ยารักาาข้ออักเสบบางชนิด
- ยารักษาไทรอยด์บางชนิด
- Thalidomide
- ยาละลายลิ่มเลือด warfarin
- ยา diethylstilbestrol (DES).
ยาต้องห้าม !
– แอสไพริน ถ้ากินในระยะใกล้คลอด อาจทำให้ทารกที่เกิดมามีเลือดออกง่าย
– ยาแก้อักเสบ (ที่ไม่ใช่สตอรอยด์) ทำให้ทารกเลือดออกง่าย
เตตราซัยคลิน ถ้าใช้ในระยะ ตั้งครรภ์ ไตรมาสที่ 2 – 3 อาจทำให้ทารกฟันเหลือง ดำ กระดูกเจริญเติบโตผิดปกติ สมองผิดปกติ
สเตรปโตมัยซิน คาน่ามัยซิน ถ้าใช้นานๆ อาจทำให้ทารกหูพิการได้
นอกจากนี้แล้ว ยังมียาอีกหลายชนิด ที่อาจมีฤทธิ์เป็นอันตรายต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ได้ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่เราจะรู้ว่ายาอะไร มีผลต่อลูกน้อยในครรภ์อย่างไรบ้าง ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุด คือ การปรึกษาคุณหมอทุกครั้งก่อนที่คุณจะใช้ยา และใช้ยากรณีที่จำเป็นที่สุด
ที่มา :
- https://med.mahidol.ac.th/obgyn/th/article/05082014-1142-th
- https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8
- https://www.siamhealth.net/public_html/mother_child/Pregnancy/medication.html
บทความน่าสนใจ :