เป็นกันไหม? ลูกติดคนอื่นมากกว่าเรา ต้องทำยังไงให้ลูกไว้ใจ
พ่อแม่บางคนรู้สึกว่าทำไมลูกน้อยแสดงอาการแปลกๆ ไม่ติดพ่อแม่เลย แต่ติดปู่ย่าตายาย หรือพี่เลี้ยงมากกว่า ลองมาดู7 สัญญาณและวิธีที่ ทำยังให้ลูกไว้ใจ
ทำยังให้ลูกไว้ใจ มาดู 7 สัญญาณที่บอกว่าลูกน้อยไว้ใจคุณแล้วน่ะ
พ่อแม่หลายคนไม่ค่อยมีเวลา ต้องให้คนอื่นช่วยเลี้ยงลูก บางครอบครัวให้ปู่ ย่า ตา ยาย ช่วยเลี้ยง บางบ้านจ้างพี่เลี้ยงเด็ก เพราะพ่อแม่ต้องทำงานทุกวัน จนบางครั้งเขาติดคนอื่นมากกว่าเราซะได้ ทำให้บางคนกลุ้มใจว่าจะ ทำยังให้ลูกไว้ใจ และหันมาสนใจเราบ้างน่ะ ลองมาดู 7 สัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยเริ่มสนใจคุณเข้าแล้ว
ลูกน้อยจะมองคุณเพราะรู้สึกสบายใจ
ถ้าใครได้สังเกตเบบี๋จะเห็นได้ชัดเลยว่า เมื่อลูกน้อยรู้สึกเชื่อใจใครหรือไว้ใจใคร เวลาที่เขารู้สึกหวาดกลัว ตกใจ หรือเจ็บปวด เขาจะโผเข้าหาทันที และถ้าหากคุณได้มีการให้ความสบายใจทารกอย่างสม่ำเสมอ ลูกน้อยจะพัฒนาความสัมพันธ์ ความเชื่อใจมากยิ่งขึ้น โดยคุณพ่อคุณแม่ต้องทำให้ลูกน้อยแน่ใจว่า คุณจะเป็นหลักให้เขาไว้ใจ เชื่อได้ และสามารถปกป้องเขาให้เขารู้สึกปลอดภัยได้ ซึ่ง Kathy Eugster ที่ปรึกษาด้านคลินิกและนักบำบัดการเล่น เผยว่า ความเชื่อใจจะเกิดขึ้น เมื่อมีการทำอย่างสม่ำเสมอ คาดการณ์ได้ และการดูแลที่ไว้ใจ ทำให้เด็กน้อยพัฒนาจนกลายเป็นความเชื่อมั่นในตัวคุณ ในทางตรงกันข้ามถ้าคุณดูแลลูกบ้าง ไม่สม่ำเสมอ ทำให้เขาไม่ไว้ใจ ก็จะทำงห้ลูกน้อยหวาดระแวง และไม่เชื่อใจในที่สุด
ลูกน้อยจะมองหาความสบายใจในอ้อมแขน
จะรู้สึกอุ่นใจเมื่อได้ยินเสียงและการปลอบโยนด้วยการสัมผัสของคุณ ซึ่งทารกจะระบุคนที่ดูแลเขาได้จากทางสายตา กลิ่น และเสียง ศาตราจารย์ Lisa Fiore ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็ก มหาวิทยาลัยเลสลีย์ กล่าวว่า ทารกแรกเกิดจนถึง 18 เดือน จะเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง และใครที่เขาสามารถพึ่งพาได้ และเด็กมีความต้องการทางด้านร่างกาย อารมณ์ และความรู้ แน่นอนว่าลูกน้อยของคุณจะตอบสนองต่อผู้ที่ดูแลแตกต่างกัน และจะมีความผูกผันกับคนที่ดูแลเขาในช่วงแรกของชีวิต
คุณคือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับลูก
ทารกจะรู้สึกสบายใจเมื่ออยู่ในพื้นที่ของเขา และจะรู้สึกไว้วางใจเมื่อเขาอยู่ในพื้นที่ที่ปลอดภัย อย่างเช่นเวลาที่เบบี๋คลานเข้าไปยังสภาพแวดล้อมที่ไม่คุ้นเคย มีแต่บุคคลแปลกหน้า เขาจะรู้สึกกระวันกระวาย และแปลกประหลาดใจ ลูกน้อยจะหันกลับมาหาคุณเพื่อดูปฎิกิริยาตอบสนอง ถ้าคุณแสดงอาการถึงความไม่ปลอดภัย ลูกน้อยจะรีบคลานกลับมานั่งบนตักหรืออ้อมแขนของคุณ เพราะคุณนั่นเปรียบเสมือนพื้นที่ปลอดภัยของเขา
ลูกน้อยของคุณร้องไห้ด้วยความคาดหวัง
ทารกมักจะเชื่อใจและไว้วางใจต่อคนที่ดูแลเขาเป็นอย่างมาก และจะใช้วิธีการสื่อสารด้วยการร้องไห้ เพื่อให้คุณได้ยินข้อความนั้นแล้วมาตอบสนองเขา เพราะเบบี๋จะใช้การร้องไห้เป็นการพูดคุยสื่อสารกับคุณนั่นเอง แถมยังใช้บ่อยที่สุดด้วย เนื่องจากเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดและยังเป็นสัญชาตญาณการเอาชีวิตรอดของมนุษย์อีกต่างหาก แน่นอนว่าเมื่อคุณได้ยินเสียงร้องของลูกน้อยก็จะรีบเข้าไปปลอบโยนทันที โดยจะรู้ทันทีว่าเขาหิว เหนื่อย ผ้าอ้อมแฉะ หรือเรียกร้องความสนใจ จากน้้นจะมีการพัฒนาความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันมากขึ้น Lisa Fiore กล่าว
ลูกน้อยจะรู้สึกกังวลเมื่อถูกแยก
แม้ว่าการปล่อยให้ทารกร้องไห้เป็นสิ่งที่พ่อแม่หวั่นใจ แต่นั่นเป็นสัญญาณที่บอกว่าปลอดภัยและทำให้เบบี๋ได้พัฒนาความไว้เนื้อเชื่อใจอีกด้วย เพราะลูกน้อยของคุณรู้ว่าสิ่งที่เขาต้องการจะได้รับการตอบสนองจากคนที่เขาไว้ใจ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดูแลขึ้น เขาจะรู้สึกไม่แน่ใจและอารมณ์เสียขึ้น ซึ่งเด็กจะสร้างความไว้ใจขึ้นมาใหม่ ดังนั้น พ่อแม่ไม่ต้องกังวลหากต้องปล่อยให้ลูกอยู่ที่พี่เลี้ยง เพียงแค่ให้เวลาให้เขาทำความคุ้นเคยเท่านั้นเอง
ลูกน้อยจะจ้องหน้าคุณ
เบบี๋จะใช้ประสาทสัมผัสทุกส่วนในการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องรอบตัว กลิ่นของแม่เป็นสิ่งแรกที่ทารกจะจดจำ และจะจ้องมองคุณตาไม่กระพริบ เพื่อจดจดใบหน้าของคนที่ดูแลเขาและคนที่ตอบสนองต่อเขาเวลาร้องไห้ ให้นม อาหาร คนที่ทำให้เขารู้สึกไว้ใจ และรู้สึกปลอดภัยมากกว่าคนอื่น ช่วงเวลาแบบนี้เองที่พ่อแม่สามารถเข้าไปทำคะแนนพิเศษกับลูกน้อย ด้วยการยิ้มบ้าง ลูบสัมผัสใบหน้าของลูกน้อย เด็กจะโต้ตอบคุณด้วยการจ้องหน้า นั่นแสดงว่าเขากำลังสนใจคุณที่ไม่ใช่แค่ความรักแต่ยังเป็นความเชื่อใจด้วย
ลูกน้อยจะยิ้มและหัวเราะ
ทารกจะมีความสุขได้ เขาจะรู้สึกปลอดภัยและมีความเชื่อใจต่อคนที่ดูแลเขาก่อน เมื่อเบบี๋รู้สึกสบายใจ เขาจะหัวเราะและยิ้มออกมา นั่นแสดงว่าเขาเชื่อใจคุณแล้ว แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ลูกน้อยรู้สึกไม่แน่ใจและไม่สบายใจ เขาจะแสดงอาการถึงความกังวลหรือลังเลขึ้นมาทันที โดยเฉพาะกับคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่คุ้นเคย ซึ่ง Lisa Fiore ได้พูดถึงรอยยิ้มของเด็กและการพัฒนาความไว้วางใจของเขาว่า ทารกจะเติบโตขึ้น และจะได้รับรอยยิ้มที่เป็นมิตรจากพ่อแม่ และคนที่ดูแลเขาราวกับเป็นรางวัลใหญ่ที่สุด! เมื่อลูกน้อยได้รับการตอบสนองความต้องการของเขาอย่างสม่ำเสมอ เขาจะสร้างความเชื่อใจขึ้น แต่ไม่ใช่ว่าลูกน้อยจะได้ทุกอย่างเมื่อเขาร้องไห้ แต่เป็นคนที่ดูแลนี้แหละที่คาดเดาไว้ว่าเขาต้องการอะไร
ที่มา: Reader’s digest
บคความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
รับมือ “กูรูรู้ทุกเรื่อง” ผู้หวังดีชอบแนะวิธีเลี้ยงลูกยังไง แบบผู้ดี๊ผู้ดี