การแท้งลูกเป็นเรื่องที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากให้เกิด ไม่ว่าจะเป็นคนภายในครอบครัว หรือคนรู้จัก เพื่อนสนิท มิตรสหาย ที่ทราบว่าเราท้อง และการจะให้กำเนิดชีวิตใหม่มาอีกหนึ่งชีวิตนี้ ถือเป็นเรื่องมหัศจรรย์ของคนที่จะได้เป็นแม่เลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้ ทำให้คุณแม่หลาย ๆ คนกังวลใจมาก โดยเฉพาะในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ปกติแล้วภาวะเลือดออกจะพบเห็นกันบ่อย ๆ ตลอดการตั้งครรภ์ สำหรับคุณแม่ที่ท้องอ่อน ๆ มีอาการตกเลือด คงสงสัยว่า ตั้งครรภ์มีเลือดออกอันตรายไหม อาการแบบไหนที่เป็นอันตราย และลักษณะแบบไหน ที่บ่งบอกว่าอยู่ในภาวะแท้งคุกคาม เลือดออกตอนท้อง1เดือน อันตรายมากแค่ไหน วันนี้ เราลองมาดูกันค่ะ
เลือดออกทางช่องคลอดแบบไหนอันตราย เลือดออกตอนท้อง1เดือน
เลือดออกตอนท้อง1เดือน อันตรายแค่ไหนแม่ท้องหลาย ๆ คนพอเห็นเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาจเกิดอาการตกใจ กลัวว่าตัวเองจะแท้งลูกหรือเปล่า คุณแม่ไม่ต้องกังวลไปค่ะ โดยปกติแล้ว คนท้องจะมีเลือดออกในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ซึ่งเราเรียกว่าเลือดล้างหน้าเด็ก
เลือดที่ไหลออกมา มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน อาจจะมีสีแดงหรือสีน้ำตาลอ่อนก็ได้ หากถามว่าทำไมถึงมีเลือดไหลออกมา ขอตอบว่ามันเป็นเหมือนสัญญาณที่บอกว่า ตอนนี้ตัวอ่อนได้ฝั่งตัวเข้าที่มดลูกแล้วค่ะ ซึ่งมันจะเกิดในช่วงระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แล้วจะหายไปภายใน 2-3 วัน แต่ถ้าคุณแม่มีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นตะคริว แบบนี้เป็นสัญญาณไม่ดีแล้วค่ะ
จะรู้อย่างไรว่าแท้งลูก มีเลือดออกตอนท้อง1เดือน
- เลือดออกตอนท้อง 1 เดือน มีเลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอด (ซึ่งโดยปกติแล้วไม่ควรจะออก)
- อาจมีอาการปวดท้องน้อยคล้ายกับประจำเดือนในลักษณะปวดแบบบีบ ๆ บิด ๆ ร่วมกับการมีเลือดออกหรือไม่มีก็ได้
- ตกขาวมีสีน้ำตาลจากการมีเลือดปน
ลักษณะของมูกเลือดที่บ่งบอกว่าแท้ง
สัปดาห์ที่ 4-5 ท้อง1เดือน มีเลือดออกปวดท้อง
คุณแม่จะเห็นเป็นลักษณะลิ่มเลือด ถ้าดูดี ๆ จะมีเนื้อเยื่อสีขาวหรือสีเทาบางส่วนในลิ่มเลือดด้วย ในช่วงนี้จะยังไม่เห็นเป็นตัวอ่อน เพราะทารกจะมีความยาวไม่ถึงครึ่งเซนติเมตร(ขนาดเท่าเม็ดข้าว) เลย
ลักษณะมูกของเลือดในช่วงสัปดาห์ที่ 4-5 เลือดออกตอนท้อง 1 เดือน
สัปดาห์ที่ 6 เลือดออกตอนท้อง2เดือน
เลือดที่ออกมาจะมีลักษณะเป็นก้อน ๆ หากสังเกตดูอาจจะมีลักษณะเป็นสีชมพูคล้ายกับถุงขนาดเล็กที่มีของเหลวอยู่ภายใน และรกด้วย สัปดาห์นี้จะยังไม่เห็นเป็นตัวอ่อนเช่นเดียวกัน
บทความที่น่าสนใจ : พัฒนาการการตั้งครรภ์ประจำสัปดาห์ที่ 6
ลักษณะมูกของเลือดในช่วงสัปดาห์ที่ 6
สัปดาห์ที่ 7-8 ท้อง 7 สัปดาห์ มีเลือดออกสีแดง
เนื้อเยื่อที่ออกมา มีลักษณะคล้ายกับตับ มีสีแดงเข้มเป็นเงา เพราะมีรกออกมาด้วย ซึ่งคุณอาจจะเห็นเป็นถุงน้ำข้างในจะเริ่มเห็นตัวอ่อนแล้ว และช่วงนี้ทารกเริ่มมีแขน ขา และดวงตา
ลักษณะลิ่มเลือดในช่วงสัปดาห์ที่ 7-8
สัปดาห์ที่ 10
ถ้าคุณแท้งลูกช่วงนี้ คุณจะเห็นลิ่มเลือดออกมาเป็นสีแดงเข้มคล้ายกับวุ้น ในลิ่มเลือดถ้าสังเกตดี ๆ จะเห็นเป็นเนื้อเยื่อคล้ายกับเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งอาจเป็นส่วนของรกได้ หากคุณดึงก้อนนั้นออก จะพบกับถุงน้ำพร้อมกับทารกที่อยู่ในนั้น ตอนนี้ตัวอ่อนจะคล้ายกับทารกมาก เพราะมีนิ้วมือ แขน ขาที่ชัดเจน
ลักษณะลิ่มเลือดในช่วงสัปดาห์ที่ 10
สัปดาห์ที่ 12
ทารกจะออกจากถุงน้ำแล้ว และอาจจะเห็นสายสะดือด้วย ซึ่งในสัปดาห์นี้ คุณจะสามารถรู้ได้ว่าทารกนั้นเป็น หญิงหรือชาย
ตั้งครรภ์มีเลือดออกอันตรายไหม ? ลักษณะตัวอ่อน สัปดาห์ที่ 12
สัปดาห์ที่ 16-20
คุณแม่จะเห็นก้อนเลือดจำนวนมาก มีลักษณะคล้าย ๆ กับตับ และจะอยู่รอบ ๆ กับตัวอ่อน ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่เป็นเหมือนพังผืดนี้ไป คุณแม่จะรู้สึกว่า ตัวเองมีน้ำไหลออกจากช่องคลอดด้วย ทารกในช่วงนี้จะมีรูปร่างครบถ้วนแล้ว
ตั้งครรภ์มีเลือดออกอันตรายไหม ? ลักษณะตัวอ่อน สัปดาห์ที่ 16-20
สาเหตุของการแท้ง
- มีปริมาณฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป
- เป็นโรคเบาหวานที่ไม่ได้รับการักษา
- สัมผัสกับสารอันตราย เช่น รังสี หรือสารเคมี
- การติดเชื้อ
- ปากมดลูกเปิดก่อนที่ทารกจะเจริญเติบโต
- การใช้ยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์
- เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (endometriosis)
- ความผิดปกติของโครโมโซมของเอ็มบริโอหรือทารกในครรภ์
- ยกของหนักในช่วงแรก ๆ
ภาวะแท้งคุกคาม คืออะไร เลือดออกตอนท้อง1เดือน อันตรายหรือไม่
นพ.นิวัฒน์ อรัญญาเกษมสุข สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ โรงพยาบาลพญาไท 2 ให้ข้อมูลถึงภาวะอันตรายที่ที่เกี่ยวข้องกับแท้งคุกคาม โดยจะมีอาการเลือดออกทางช่องคลอด ปริมาณเลือดที่ออกอาจจะมากหรือน้อยแตกต่างกันกันไป อาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ ในช่วงเริ่มต้นของการตั้งครรภ์ อาจเป็นเพียงภาวะปกติ ที่มีเลือดออกจากตำแหน่งฝังตัวของตัวอ่นที่เยื่อบุโพรงมดลูกที่เรียกว่า เลือดล้างหน้าเด็ก หรือ Placental sign or Hartman’sign ที่มักเกิดขึ้นหลังจากการปฏิสนธิแล้วประมาณ 17 วัน หรือ 4 สัปดาห์ครึ่ง นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย ซึ่งอาจทำให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นอาการของการแท้งได้
ตัวอย่างอาการข้างเคียง เช่น การตั้งครรภ์ ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy) อาจมีอาการเลือดออกกระปริดกระปรอยหรือออกมากเหมือนเป็นประจำเดือน จนกระทั่งตกเลือดได้ในบางราย การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) ซึ่งมักมีอาการปวดท้องน้อย และมีเลือดออกทางช่องคลอดถ้ามีการแตกของถุงการตั้งครรภ์ทำให้เกิดการตกเลือด ในช่องท้อง คนไข้อาจมีอาการซีด ความดันต่ำและเกิดภาวะช็อคได้ ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิต ถ้าได้รับการตรวจรักษาไม่ทั นดังนั้นถ้าผู้ที่ตั้งครรภ์มีเลือดออกทางช่องคลอด หรือปวดท้องน้อยควรรีบพบแพทย์
การรักษาภาวะแท้งคุกคาม
ในกลุ่มตั้งครรภ์มีชีวิต การตรวจอัลตราซาวด์ จะพบถุงการตั้งครรภ์ที่ประกอบด้วยส่วนของถุงไข่แดง ตัวเด็กและสัญญาณชีพของทารกในครรภ์เช่น การเต้นของหัวใจ (Doppler Ultrasound) หรือการไหลเวียนของเส้นเลือดในตัวทารก ที่ได้จากการตรวจอัลตราซาวด์ (Color Doppler Ultrasound) ซึ่งถ้าตรวจพบว่าตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ แพทย์จะเฝ้าติดตามการตั้งครรภ์อย่างใกล้ชิด โดยให้ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวต่อผู้ตั้งครรภ์ ดังนี้
- ให้นอนพักผ่อนให้มากที่สุด ห้ามเดินมากๆ
- งดเว้นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกาะของทารก เช่น งดการมีเพศสัมพันธ์ การยกของหนัก หรือกิจกรรมใดๆก็ตามที่เป็นการเกร็งหน้าท้อง หรือเพื่อความดันในช่องท้อง
- ติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิด แนะนำให้ทำใจให้สบาย กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงทานโฟลิก
เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว คุณแม่ ก็อย่าลืมสำรวจตัวเอง และดูแลตัวเองในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ให้ดี ๆ นะคะ หากพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์โดยทันที ทั้งนี้ ก็เพื่อตรวจดูความแข็งแรงของครรภ์ ว่ายังแข็งแรงดีอยู่ไหม และเพื่อตรวจสุขภาพของตัวคุณแม่ เพื่อป้องกันการสูญเสียทารกไป ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นนะคะ
ที่มา : newkidscenter , phyathai
บทความที่น่าสนใจ
อาหารบํารุงผนังมดลูก มีอะไรบ้าง อยากให้มดลูกแข็งแรง ไม่แท้งง่ายต้องกินอะไร
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 40 ภาวะแท้งคุกคาม อันตรายไหม?
100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 41 การทานยาบำรุงเลือด สำหรับแม่ท้อง
แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับอาการท้องอ่อนๆ มีเลือดออก ได้ที่นี่!
ท้องอ่อนๆมีเลือดออก เกิดจากอะไรคะ อันตรายไหมคะ
ท้องอ่อนๆ มีเลือดออก ปกติไหมคะ ควรไปพบหมอรึเปล่า
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!