คนท้องกินยาหอมได้ไหม คนท้องกินยาหอม-ยาลม จะอันตรายต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

undefined

คนท้องกินยาหอมได้ไหม

คนท้องกินยาหอมได้ไหม เพราะเดี๋ยวก็หน้ามืด บ้านหมุน วิงเวียน เหนื่อยง่าย ปวดท้อง อาหารไม่ย่อยเป็นประจำ ซึ่งพ่อแม่หรือญาติๆ ก็บอกว่าให้ชงยาหอมมากิน แต่เชื่อว่าแม่หลายคนก็ไม่แน่ใจว่ายาหอมจะส่งผลอะไรต่อลูกในท้องหรือเปล่า?

สรรพคุณของยาหอม

ยาหอม เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ใช้สำหรับรักษาอาการเป็นไข้ บำรุงหัวใจ บำรุงครรภ์ และแก้วิงเวียน ของคนไทยสมัยก่อน สรรพคุณคือ ช่วยในการหลั่งน้ำย่อย และขับลมในกระเพาะเวลาท้องแน่น โดยต้องชงกินวันละ 3-4 ครั้ง ไม่นานอาการปวดท้อง บ้านหมุนก็จะดีขึ้นเรื่อยๆ

ยาหอมไม่ได้บำบัดด้วยการกินอย่างเดี่ยวเท่านั้น แต่กลิ่นยาที่มาจากน้ำมันหอมระเหยของดอกไม้และสมุนไพรหลายๆ ชนิดนี้แหละ มันจะช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายเป็นอย่างมาก เนื่องจากเวลาที่สูดกลิ่นเข้าสมองไปจะช่วยให้ให้อวัยวะภายในดีขึ้น เลือดลมไหลเวียนสะดวก อาการต่างๆ ที่มาจากลำไส้ กระเพาะอาหาร บ่าไหล่ ที่หดเกร็งก็จะคลายตัว ลมที่ดันขึ้นจนเวียนศีรษะ จุกแน่น บ่าไหล่ตึง คลายตัวไปได้ดี คนสมัยก่อนถึงชอบหยิบเอายาหอมมากินบ่อยๆ ค่ะ

ปัจจุบันมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถพิสูจน์ได้ถึงสรรพคุณต่างๆ ของยาหอม ที่ส่งผลต่อระบบต่างๆ ในร่างกายของเราด้วย โดยได้เลือกทำการศึกษาเปรียบเทียบ ตำรับยาหอม 3 ตำรับคือ ยาหอมนวโกฐ ยาหอมอินทรจักร ดังนี้

  1. สามารถเพิ่มความแรงการบีบตัวของหัวใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสกัดยาหอมอินทรจักร
  2. ช่วยเพิ่มความดันโลหิต โดยเฉพาะในขนาด 4 กรัม ผงยาหอม/กิโลกรัม มีฤทธิ์เพิ่มความดันเลือด systolic, diastolic และความดันเลือดเฉลี่ย โดยมีผลต่อความดันเลือด systolic มากกว่า ความดันเลือด diastolic และความดันเลือดเฉลี่ย
  3. ช่วยเพิ่มอัตราการไหลเวียนในหลอดเลือดสมอง พบว่า หลอดเลือดเล็กที่ไปเลี้ยงสมองขยายตัว และปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองเพิ่มขึ้น
  4. ส่งผลต่อการนอนหลับดีขึ้น โดยสารสกัดยาหอมของเอกชนและอินทจักร มีฤทธิ์กดต่อระบบประสาทส่วนกลางเมื่อให้สัตว์ทดลองได้รับเฉพาะแต่สารสกัด แต่ถ้าให้สารสกัดยาหอมทั้ง 2 ชนิดนี้ร่วมกับ pentobarbital ซึ่งเป็นยานอนหลับ จะพบว่าสารสกัดทั้งสองชนิดทำให้ระยะเวลาการออกฤทธิ์ของยานอนหลับยาวนานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะสารสกัดยาหอมนวโกฐมีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางมากกว่า 2 ชนิดแรก
  5. ช่วยให้ระบบทางเดินอาหารดีขึ้น โดยสารสกัดยาหอมนวโกฐจะมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร ซึ่งพบว่า ยาหอมนวโกฐมีผลยับยั้งการหดตัวของลำไส้เล็กได้มากกว่าอีก 2 ตำรับ
  6. ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน สารสกัดยาหอมอินทรจักรสามารถต้านการอาเจียนได้ ปลอดภัยไร้สารตกค้าง
คนท้องกินยาหอมได้ไหม

คนท้องกินยาหอมได้ไหม

โรคลมคืออะไร มีลักษณะอาการอย่างไร

โรคลมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. ลมกองหยาบ คือ ลมหายใจเข้าออก ลมในท้องและลำไส้ มักจะมีอาการจุก แน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน เรอ และผายลม
  2. ลมกองละเอียด คือ  ลมที่ก่อให้เกิดอาการหน้ามือตาลาย เวียนศรีรษะ ใจสั่นสวิงสวาย อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน ตกใจ เสียใจ แพ้ท้อง และทำงานกลางแดดจัดนาน

คนท้องกินยาหอมอันตรายไหม

ในยาหอมมีตัวยาหลักๆ ประกอบไปด้วย เกสรดอกมะลิ เกสรดอกพิกุล เกสรดอกบุนนาค เกสรดอกสารภี เกสรดอกบัวหลวง กฤษณา สมุลแว้ง โกฐทั้งหลาย เปราะหอม อบเชย ชะมด เทียนทั้ง 5 พิมเสน เกล็ดสะระแหน่ กระลำพัก ขอนดอก หญ้าฝรั่น จันทร์หอม จันทร์เทศ เปลือกชะลูด การพลู ผิว ดอกและใบของส้ม เป็นต้น แต่บางสำรับมีการใส่สารหนูลงไปด้วย

หากถามว่าใส่สารหนูลงไปผิดไหม ก็ไม่ถึงกับผิดทีเดียวค่ะ เนื่องจากตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 กำหนดให้สามารถใช้สารพิษหรือสารที่เป็นอันตรายได้แต่ต้องใช้ตามปริมาณที่กำหนดหรือควบคุม แล้วทำไมถึงมีการใส่สารหนูลงไปล่ะ คำตอบก็คือเพื่อไปกระตุ้นให้ยาออกฤทธิ์เร็วขึ้นกว่าเดิมค่ะ ซึ่งต้องกระทำโดยผู้ที่เชี่ยวชาญเท่านั้นเอง

นอกจากนี้ บางสำรับอาจมีการปนเปื้อนสารพิษอื่นๆ ดังนั้น หลังจากที่คุณแม่ซื้อยาหอมมา สิ่งแรกที่ควรทำคือ ทดสอบว่ายาหอมนั้นมีสารพิษอยู่ด้วยหรือไม่ วิธีทำไม่ยากเลยค่ะ แค่นำยาหอมไปละลายในน้ำที่ใส่แก้วใส จากนั้นคนให้ยาหอมละลาย เสร็จแล้วนำไปส่องดูกับไฟ ถ้ายามีการตกตะกอนก้นแล้วมีสีออกแดง แสดงว่ายาหอมตำรับนั้นมีการใส่สารกำมะถัน แม่ท้องห้ามกินโดยเด็ดขาด เพราะอาจจะเกิดอันตรายต่อลูกในท้องได้

ที่มา: thaikasetsartthearokaya,

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:

กินอะไรบํารุงมดลูก อยากให้มดลูกแข็งแรง ไม่แท้งง่ายต้องทานอะไร

ทารกในครรภ์กินอาหารทางไหน และคนท้องควรกินอะไรให้แข็งแรงไปถึงลูกในท้อง

ท้องแล้วขี้ลืม ทำไมแม่ท้องขี้ลืม คนท้องขี้ลืม แบบนี้ มีวิธีกระตุ้นความจำบ้างไหม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!