ขั้นตอนคลอดลูก แบบคลอดเองและผ่าคลอด ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

คุณแม่ตั้งครรภ์เริ่มวางแผนอยู่ในใจกันแล้วใช่ไหมค่ะ ว่าท้องนี้ตั้งใจจะคลอดเอง หรือบางรายที่ตรวจครรภ์แล้วคุณหมอวินิจฉัยว่าควรจะทำการผ่าคลอดมากกว่า อยากรู้กันไหมคะว่า ขั้นตอนคลอดลูกหรือขั้นตอนการคลอดทารกจะเป็นอย่างไร

สำหรับคุณแม่ที่เตรียมร่างกายของตัวเองให้พร้อม เพื่อที่จะทำการคลอดลูกเอง หรือว่าคุณแม่ที่ต้องผ่าคลอดในกรณีที่ไม่สามารถคลอดเองตามธรรมชาติได้ มาดูกันค่ะว่า แต่ละ ขั้นตอนคลอดลูก ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้ ที่คุณแม่ต้องเจอนั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

 

ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก แบบไหนที่แม่ท้องควรรู้!!

การคลอดลูกแบบธรรมชาติ แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนคลอดลูกขั้นตอนที่ 1

ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก

ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก

เริ่มตั้งแต่ในระยะเจ็บครรภ์จริง ที่คุณแม่จะรู้สึกเจ็บครรภ์สม่ำเสมอเป็นระยะ เนื่องจากการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก จนกระทั่งถึงเวลาที่ปากมดลูกเปิดประมาณ 10 ซม. ช่วงนี้จะมีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด ในระยะนี้คุณแม่ยังคงเจ็บครรภ์อยู่ แต่จะค่อนข้างห่าง 5 – 10 นาทีต่อครั้ง ครั้งละ 20 – 30 นาที และจะเริ่มเจ็บครรภ์ถี่ขึ้น นานมากขึ้น จะมีอาการปวดไปทั่วท้อง บริเวณหลังส่วนล่างแถวเอว และกระเบนเหน็บ และอาจเลยไปถึงต้นขา ในช่วงที่ปวดมาก ๆ คุณหมอจะฉีดยาบรรเทาอาการปวดให้ แต่ถ้าหากปวดรุนแรง ก็อาจจะใช้วิธีการบล็อกหลังเพื่อระงับความเจ็บปวด

ในส่วนของทารกซึ่งกลับหัวรออยู่ในท่าคลอด จะมีการหมุนศีรษะอย่างช้า ๆ พร้อมกับเคลื่อนตัวลงต่ำอย่างช้า ๆ เพื่อใช้ศีรษะเป็นส่วนนำออกทางช่องคลอด

 

ขั้นตอนคลอดลูกขั้นตอนที่ 2

ขั้นตอนคล อดลูก ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก

ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

เข้าสู่ระยะที่ปากมดลูกเปิดหมด ทารกพร้อมที่จะคลอดออกมาสู่โลกภายนอกแล้ว ในตอนเบ่งคลอดนี้ จะทำให้คุณแม่เจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน จะรู้สึกปวดทั่วท้องเป็นระยะ เนื่องจากการหดรัดตัวของมดลูกที่ถี่ขึ้น จะปวดบริเวณหลังส่วนล่าง กระเบนเหน็บ และก้นกบ ทารกจะคลอดออกมา โดยเคลื่อนศีรษะในลักษณะก้มหน้า ให้ส่วนที่แคบที่สุดของศีรษะค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกมา พอหัวพ้นช่องคลอด คุณหมอก็จะใช้มือช่วยดึงตัวทารกออกมา ถึงตอนนี้ความเจ็บปวดของคุณแม่ก็จะหายเป็นปลิดทิ้งทันทีเมื่อลูกออกมาพ้นช่องคลอด และได้ยินเสียงลูกร้องไห้แง ๆ เป็นสัญญาณว่าทารกน้อยออกมาแล้ว ความตื้นตันใจก็จะเข้ามาแทนที และอยากที่จะมองเห็นลูกในวินาทีนั้นเลย

บทความอื่นที่น่าสนใจ : อาการปวดท้องคลอดลูกเป็นอย่างไร อาการใกล้คลอด เจ็บท้องจริง เจ็บท้องหลอก

 

ขั้นตอนคลอดลูกขั้นตอนที่ 3

ขั้นตอน คลอดลูก ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก

ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก

คือ ระยะที่คุณแม่ผ่านพ้นความเจ็บปวดที่สุดไปแล้ว หลังจากที่ทารกน้อยออกมาดูโลกกว้างด้วยความปลอดภัย แต่ขั้นตอนสุดท้ายยังไม่หมด หลังจากนี้คุณแม่ต้องคลอดรกตามมา ใช้เวลาในการคลอด 5 – 10 นาที แต่ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ แล้ว

 

ขั้นตอนคลอดลูกโดยการผ่าตัด

การคลอดโดยผ่าตัดคลอด

การผ่าตัดคลอดคือการนำทารกออกมาทางหน้าท้อง นอกจากกรณีที่คุณแม่สมัครใจจะคลอดด้วยวิธีผ่าคลอดตั้งแต่แรกแล้ว ยังมีกรณีที่แม่ท้องไม่สามารถคลอดตามธรรมชาติแบบปกติได้ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยและทำการผ่าตัดคลอดในสาเหตุ

ขั้นตอนคลอดลูก ขั้นตอนคลอดลูก วิธีคลอดลูก

ขั้นตอนการคลอดลูก ที่แม่ท้องควรรู้

  1. ทารกตัวโตเกินไป
  2. กระดูกเชิงกรานแคบ เล็ก ทารกไม่สามารถผ่านช่องคลอดออกมาได้
  3. ทารกอยู่ในท่าไม่ปกติ คือไม่เอาหัวกลับลง อยู่ในท่าขวาง
  4. ทารกเอาก้นลง ไม่สามารถคลอดตามปกติได้
  5. เคยได้รับการผ่าตัดที่มดลูกมาก่อน เช่น ผ่าตัดในครรภ์ก่อนผ่าตัดมดลูก
  6. ทารกอยู่ในภาวะที่เป็นอันตราย เช่น รกเกาะต่ำ ขาดออกซิเจน
  7. คุณแม่ที่มีอายุมาก
  8. คุณแม่ที่เป็นโรคร้าย เช่น ตัวบวม ความดันโลหิตสูง

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนคลอดลูกไม่ว่าคุณแม่จะเลือกคลอดลูกโดยวิธีไหน สิ่งสำคัญคือการที่ลูกน้อยออกมาอย่างปลอดภัย และได้ยินเสียงลูกร้องในวินาทีแรก ซึ่งหลังจากนั้นกว่าคุณแม่จะได้พบหน้าลูกน้อย อาจจะต้องใช้เวลาพักฟื้นร่างกายและดูอาการหลังคลอด คุณแม่ที่คลอดเองก็อาจจะฟื้นตัวเร็วหน่อย แต่สำหรับคุณแม่ที่ผ่าคลอด อาจใช้เวลานานกว่าจะฟื้นตัวหลังคลอด

 

หลังการคลอด คุณแม่คงรู้สึกโล่งใจที่การคลอดผ่านไปได้ด้วยดี

แต่อาจมีความกังวลใจต่อการเปลี่ยนแปลงของร่างกายจากการตั้งครรภ์ โดยปกติแล้วสภาพร่างกายของคุณแม่จะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด รวมทั้งแผลที่เกิดจากการคลอด ก็จะหายไปในระยะนี้ด้วย ดังนั้นคุณแม่ควรทำความเข้าใจเพื่อดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง

ด้านจิตใจ

หลังจากการคลอด ปริมาณฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว คุณแม่ยังต้องปรับตัวกับบทบาทใหม่ อ่อนเพลียจากการคลอด กังวลใจกับสรีระของตนเองและการเลี้ยงลูก จึงทำให้รู้สึกเครียด หงุดหงิด หรือซึมเศร้าโดยไม่มีเหตุผล เรียกว่า “ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด” ดังนั้น คุณพ่อจึงเป็นบุคคลสำคัญ ที่ช่วยแบ่งเบาภาระในการเลี้ยงดูและดูแลงานบ้านแทนคุณแม่ จะช่วยให้คุณแม่มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น

ด้านร่างกาย

1.การดูแลแผล

  •  แผลฝีเย็บ
    คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย แผลจะหายประมาณ 7 วัน แต่อาจจะรู้สึกเจ็บประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่สามารถทำความสะอาดโดยใช้น้ำและสบู่ล้างจากด้านหน้าไปด้านหลังและซับให้แห้ง เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อยๆ ไม่ควรสวนล้างช่องคลอดหรืออาบน้ำในอ่าง ในกรณีที่คุณแม่เป็นริดสีดวงทวาร หากมีอาการปวดอาจจะประคบด้วยถุงน้ำแข็ง ใช้ครีมหรือยาเหน็บตามแพทย์สั่ง ดื่มน้ำและรับประทานผัก ผลไม้ที่มีกากใยอาหารมาก เพื่อลดอาการท้องผูก
  •  แผลผ่าตัด
    คุณหมอจะเย็บด้วยไหมละลาย ไม่ต้องตัดไหม ปิดไว้ด้วยปลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่ถ้าสังเกตว่ามีน้ำซึมเข้าแผล ให้กลับมาเปลี่ยนปลาสเตอร์ปิดแผล แผลจะหายประมาณ 7 วัน หากเจ็บแผลขณะเคลื่อนไหว คุณแม่อาจจะใช้ผ้ารัดหน้าท้องช่วยพยุงไว้ จะช่วยให้หลับสบายขึ้น

2. น้ำคาวปลา

คือน้ำคร่ำปนกับเลือดที่ออกจากแผลในมดลูกไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วง 3 วันแรกจะมีสีแดงเข้ม จากนั้นจะจางลงเรื่อยๆ คล้ายกับสีน้ำล้างเนื้อแล้วค่อยเปลี่ยนเป็นมูกสีเหลือง ๆ ตามปกติจะมีอยู่ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ทำความสะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้งหลังการขับถ่ายปัสสาวะหรืออุจจาระ เปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ

3. การฟื้นตัวตัวของมดลูก

ระหว่างตั้งครรภ์มดลูกจะขยายตัวใหญ่ขึ้นกว่าปกติ แต่หลังคลอดมดลูกก็จะหดตัวลงจนมีขนาดปกติและกลับเข้าสู่ตำแหน่งในอุ้งเชิงกราน (มดลูกเข้าอู่) ประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ หากมีอาการปวดมดลูกรับประทานยาแก้ปวดได้

4. การดูแลเต้านม

ขนาดของเต้านมใหญ่ขึ้นและมีอาการคัดตึงในวันที่ 2 – 3 หลังคลอด เป็นภาวะที่ต่อมน้ำนมเริ่มผลิตน้ำนมสำหรับลูก เวลาอาบน้ำงดฟอกสบู่บริเวณลานนม เพื่อให้น้ำมันธรรมชาติที่ผิวหนังสร้างขึ้นยังคงอยู่ ช่วยลดความเจ็บขณะลูกดูดนม หากมีอาการนมคัดแต่ยังไม่มีน้ำนมให้ใช้ผ้าชุปน้ำเย็นประคบเต้านม และทานยาแก้ปวดได้ พยายามให้ลูกดูดนมบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการสร้างน้ำนมเร็วขึ้น หากมีน้ำนมไหลแล้วให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านมก่อนให้นมลูก ก็จะช่วยให้การไหลเวียนเลือดบริเวณเต้านมดีขึ้น ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดทำความสะอาดหัวนมและลานนมทุกครั้งทั้งก่อนและหลังให้นมลูก

5. การรับประทานอาหาร

คุณแม่หลังคลอดยังคงต้องรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่เหมือนในระยะตั้งครรภ์เพราะต้องใช้พลังงานในการฟื้นฟูร่างกายของคุณแม่เองและผลิตน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูก
คุณแม่ควรรับประทานประเภท ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ ไข่ นม และอาหารประเภทแป้ง ไขมัน และของหมักดอง งดเครื่องดื่มประเภทชา กาแฟ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ การรับประทานยาควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ เพราะยาบางชนิดหลั่งออกทางน้ำนมได้ (ช่วง 1 สัปดาห์แรกหลังคลอดให้งดนมก่อน)

6. การพักผ่อน

ช่วงที่พักฟื้นในโรงพยาบาลคุณแม่จะได้พักผ่อนเต็มที่ เมื่อกลับบ้านช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องปรับตัวกับวิถีชีวิตใหม่ ต้องดูแลตัวเอง ดูแลลูก และคุณพ่อ จึงควรจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ให้เหมาะสม เช่นทำความสะอาดเสื้อผ้า ของใช้ลูกวันละ 1 ครั้ง ควรได้หลับพักผ่อนบ้าง ขณะลูกหลับเพื่อไม่ให้คุณแม่เหนื่อยอ่อนเพลียมากเกินไป

7. กิจจกรรมที่คุณแม่ไม่ควรทำในช่วง 6 สัปดาห์หลังคลอด

  •  ไม่ควรยกของที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของทารก
  •  ไม่ควรออกแรงเบ่งมากๆ หรือนาน ๆ
  •  ไม่ควรขึ้ง – ลง บันไดบ่อย ๆ
  •  ไม่ควรขับรถโดยไม่จำเป็น
  • ไม่ควรออกกำลังกายหักโหม ทำได้เฉพาะท่ากายบริหารเบา ๆ

8. การมีเพศสัมพันธ์

คุณแม่อาจมีความรู้สึกทางเพศลดลง เนื่องจากความอ่อนเพลีย กังวล และความไม่สุขสบาย และเจ็บแผล จึงควรงดในช่วง 4 – 6 สัปดาห์แรก หรือจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดและวางแผนคุมกำเนิดแล้ว

9. การตรวจหลังคลอด

  • คุณหมอจะนัดคุณแม่มาตรวจ 4 – 6 สัปดาห์หลังคลอด
  • เพื่อความสมบูรณ์ของร่างกาย
  •  ตรวจดูสภาพของปากมดลูกและอวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน (หรือแผลผ่าตัดหน้าท้อง หากคุณแม่ผ่าตัดท้อง)
  •  ตรวจดูมะเร็งปากมดลูก
  •  แนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัวและคุมกำเนิด

อาการผิดปกติหลังคลอด ที่ควรรีบมาพบแพทย์

  • มีไข้สูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • น้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็น หรือมีสีแดงสดตลอด 15 วันหลังคลอด
  • ปวดท้องน้อย เจ็บปวดหรือแสบขัดเวลาปัสสาวะ
  • ปวดศีรษะรุนแรง
  • เต้านมบวมแดง อักเสบ หัวนมแตกเป็นแผล
  • แผลฝีเย็บ หรือแผลผ่าตัด อักเสบ บวมแดงหรือมีหนอง

 

หากคุณแม่ ไม่แน่ใจว่าอาการที่กำลังเป็นอยู่นี้ คือ อาการผิดปกติหลังคลอด หรือไม่ หรือถ้าหากอยากทราบวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอด สามารถขอรับคำปรึกษาปัญหาสุขภาพหลังคลอด และสุขภาพของลูกรัก กับผู้เชี่ยวชาญผ่าน VDO Call หรือ ออนไลน์แชท สามารถ ดาวน์โหลด แอปพลิเคชั่นเพื่อสุขภาพของสมาชิกในบ้าน ALive Powered by AIA ได้ ที่นี่

 

 


Source : www.honestdocs.co

บทความอื่นที่น่าสนใจ :

แผลคลอดธรรมชาติ แผลฝีเย็บ ใช้มีดกรีด หรือกรรไกรตัด ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก

ผิดปกติหลังคลอด อาการผิดปกติหลังคลอด เป็นแบบไหน แม่หลังคลอด มีอาการอย่างไร

ข้อดี ข้อเสียของการคลอดธรรมชาติ vs ผ่าคลอด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!