การนับอายุครรภ์ ลูกกี่สัปดาห์แล้วนะ? คุณแม่ทั้งหลายมารู้วิธีการนับอายุครรภ์กัน
สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งจะตั้งครรภ์หลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาเรื่องอายุครรภ์ของตัวเองกันใช่ไหมคะ ขอนำ การนับอายุครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่กัน
การนับอายุครรภ์ ลูกกี่สัปดาห์แล้วนะ? คุณแม่ทั้งหลายมารู้วิธีการนับอายุครรภ์กัน
สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งจะตั้งครรภ์ใหม่ ๆ หลาย ๆ คนอาจจะประสบปัญหาเรื่องอายุครรภ์ของตัวเองกันใช่ไหมคะ วันนี้ TheAsianparent Thailand ขอนำ การนับอายุครรภ์ มาฝากคุณแม่มือใหม่กัน มาดูกันว่าจะวิธีนับและสังเกตอย่างไร
ก่อนจะไปนับอายุครรภ์ คุณผู้หญิงคนไหนที่กำลังสงสัยว่าตัวเองท้องหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบ กับ 12 สัญญาณการตั้งครรภ์ มาเช็คกันค่ะว่าเรามีสัญญาณเหล่านี้หรือไม่
12 สัญญาณการตั้งครรภ์
1. ประจำเดือนไม่มา
โดยปกติแล้วประจำเดือนของผู้หญิงต้องมากันทุกเดือน บางเดือนอาจมาช้าหรือไม่มา ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล เป็นต้น แต่ผู้หญิงบางคนก็มีปัญหาประจำเดือนขาด บางเดือนมาบางเดือนไม่มา ถ้าใครเป็นแบบนี้คงต้องไม่รู้ตัวว่าตัวเองตั้งครรภ์ ฉะนั้นต้องดูอาการอื่นร่วมด้วย
2. มีเลือดออกคล้ายประจำเดือน
ในผู้หญิงบางคนที่เริ่มที่จะตั้งครรภ์ อาจมีเลือดออกออกมาเล็กน้อยบริเวณช่องคลอด ลักษณะคล้ายกับประจำเดือน มีสีชมพู หรือสีน้ำตาล แต่มีข้อแตกต่างที่ผู้หญิงสามารถแยกได้ว่ามันไม่ใช่ประจำเดือน คือ อาการเป็นตะคริวร่วมด้วย สาเหตุก็เพราะว่า เวลาที่เกิดการปฏิสนธิกัน ไข่มันจะเกิดการยึดติดกับผนังมดลูก ทำให้เกิดการตกเลือดเล็กน้อย แต่มีระยะเวลาที่สั้น และมีเลือดน้อยกว่าประจำเดือน เราจะเรียกระยะนี้ว่า “เลือดล้างหน้าเด็ก”
3. เต้านมที่ใหญ่ขึ้น
เวลาที่เริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายของผู้หญิงจะค่อย ๆ ปรับสภาพให้พร้อมมีลูก ซึ่งอันดับแรก ๆ ที่ร่างกายจะเปลี่ยนก่อน คือ เต้านม ลักษณะอาการจะคล้ายกับการเป็นประจำเดือน แต่จะเป็นมากกว่าและนานกว่า สังเกตง่าย ๆ คือ จะมีการอาการตึง เจ็บ และขยายใหญ่ขึ้น สาเหตุมาจากไขมันและต่อมน้ำนมที่มีการเจริญเติบโตมากขึ้น เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเจ้าตัวน้อยที่กำลังเกิดขึ้นมา
4. เหนื่อยเพลียง่าย
อาการเนื่อยล้าเป็นเรื่องปกติมากของคนท้องไตรมาสแรก และจะเป็นแบบนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ในช่วง 2-3 เดือน ก่อนที่คนท้องจะคลอด เรียกว่าเป็นอาการที่ยาวนานมาก สาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ผู้ที่เริ่มเป็นแม่รู้สึกเฉื่องช้า เฉื่อยชา ง่วงนอนง่าย และทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นด้วย
5. แพ้ท้อง
เหมือนเป็นอาการเบสิกที่เวลาใครท้องจะต้องมีอาการแพ้ท้องตามมาด้วย ซึ่งอาการที่รู้สึกอึดอัดไม่สบายท้อง อาการคลื่นไส้ อาเจียน มีสาเหตุมาจากจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในครรภ์ สำหรับคนที่มีอาการเหล่านี้แนะนำให้เลือกทานอาหารมื้อเล็ก ๆ บ่อย ๆ และพักผ่อนมาก ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรงและฉุน อาหารรสจัด ไขมัน แต่ควรกินพวกน้ำขิง หรือโยเกิร์ตแทนจะพอช่วยแก้อาการพวกนี้ได้
6. ท้องอืด
ผู้หญิงบางคนจะเริ่มรู้สึกอึดอัดบริเวณท้อง รู้สึกว่าท้องโตขึ้น เช่นเดียวกับอาการท้องโตเมื่อเป็นประจำเดือน ซึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในร่างกาย และมันจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ตามขนาดของมดลูกที่โตขึ้น
7. อารมณ์อ่อนไหว
อารมณ์ของผู้หญิงเหมือนรถไฟเหาะ เดี๋ยวขึ้นเดี๋ยวลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ และมักจะเกิดขึ้นไม่รู้ตัว อยู่ก็มีอาการเศร้าเสียใจ สักพักเริ่มโกรธ หรือใครพูดอะไรก็น้อยใจขึ้นมา แต่คุณผู้หญิงบางท่านอาจจะไม่พบอาการต่าง ๆ เหล่านี้ตลอดระยะเวลาที่ตั้งครรภ์เลยก็มี
8. ปัสสาวะบ่อย
ในช่วงประมาณหกสัปดาห์แรกและตลอดการตั้งครรภ์คนท้องจะปัสสาวะบ่อยขึ้น ซึ่งเกิดจากไตกำลังทำงานหนักขึ้นเพื่อกรองสารอาหารในร่างกาย รวมถึงปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ทุกครั้งที่มดลูกโตขึ้นก็จะเกิดการกดทับที่กระเพาะปัสสาวะ
9. ปวดหลังปวดเมื่อยตามร่างกาย
ในไตรมาสแรกร่างกายคุณแม่อาจเริ่มส่งสัญญาณว่าหิว หรือ กระหายน้ำมากขึ้น พร้อมกับอาการปวดที่มากขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดหลังที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่สองและไตรมาสที่สาม เนื่องจากมดลูกที่โตไปทับกับเส้นเลือดที่ด้านหลังและกระดูกเชิงกราน
10. เวียนหัว
ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกวิงเวียนศีรษะในช่วงแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ โดยเกิดจากน้ำตาลในเลือดต่ำ และการเปลี่ยนแปลงของเลือดในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้หญิงเปลี่ยนท่าจากนั่งเป็นยืน หรือจากยืนเป็นนั่ง บางคนหนักหน่อยถึงกับเป็นลมได้
11. อาการเหม็น อาการหอม
ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน รวมไปถึงต่อมรับรสในขณะตั้งครรภ์ที่มีความไวมากกว่าปกตินั้น เป็นสัญญาณเตือนของกลิ่นที่จะเป็นสาเหตุให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มีอาการเหม็นสิ่งต่าง ๆ ที่เคยชอบ และทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนได้
12.อาการตกขาว
อาการตกขาวกับคนท้องนั้นเป็นสิ่งคู่กันอยู่แล้ว เนื่องจากฮอร์โมนที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยตกขาวที่พบได้กับคนท้องจะมีลักษณะเป็นเมือกขาว ๆ และจะไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อาการแสบหรืออาการคันเป็นต้น แต่ถ้าหากพบว่ามีตกขาวนั้นมีมากกว่าปกติ หรือมีอาการคันและตกขาวมีกลิ่นร่วมด้วย ควรที่จะรีบไปปรึกษาแพทย์
การนับอายุครรภ์
อายุครรภ์ ถือเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คุณแม่ท้องต้องทำความเข้าใจ เพราะการทราบ อายุครรภ์ นอกจากจะช่วยตอบคำถามคนรอบตัวที่คอยถามกันอยู่ตลอดแล้ว ที่สำคัญก็คือเพื่อเป็นการคำนวณวันคลอด อีกทั้ง อายุครรภ์ ยังสามารถบ่งบอกถึงความสมบูรณ์ของทารกในครรภ์ ช่วยให้คุณหมอวางแผนการตรวจครรภ์ได้ง่าย ปลอดภัย และแม่นยำ
โดยการตั้งครรภ์ จะแบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส ได้แก่
- 1: สัปดาห์ที่ 1-สัปดาห์ที่ 13 (เริ่มปฏิสนธิ-เดือนที่ 3)
- 2: สัปดาห์ที่ 14-สัปดาห์ที่ 27 (เดือนที่ 3-เดือนที่ 6)
- 3: สัปดาห์ที่ 28-สัปดาห์ที่ 42 (เดือนที่ 6-เดือนที่ 9)
อายุครรภ์ นับเป็นสัปดาห์หรือเดือน
ส่วนใหญ่แล้ว อายุครรภ์ จะนับกันเป็นสัปดาห์ ซึ่งสาเหตุที่ต้องนับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ นั่นก็เป็นเพราะการนับอายุครรภ์แบบเป็นเดือน จะไม่มีความละเอียดเพียงพอ เนื่องจากจำนวนวันในแต่ละเดือนนั้นมีไม่เท่ากัน คือมี 31 วันบ้าง 30 วันบ้าง หรือ 28 – 29 วันก็มี ดังนั้นการนับ อายุครรภ์ เป็นสัปดาห์ จึงมีความถูกต้องแม่นยำกว่านั่นเอง
วิธีนับอายุครรภ์ คำนวณวันคลอด
วิธีการนับอายุครรภ์นั้น ไม่ใช่เรื่องยาก หากแม่ท้องจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้ ซึ่งตลอดอายุการตั้งครรภ์จนถึงวันคลอด จะอยู่ที่ 40 สัปดาห์ หรือประมาณ 280 วัน โดยจะเริ่มนับจากวันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้าย ไม่ใช่เริ่มนับจากวันสุดท้ายของการมีประจำเดือนครั้งล่าสุดนะ หรือนับจากวันที่ประจำเดือนถึงกำหนดจะมาแต่ไม่มา
ยกตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ประจำเดือนของคุณแม่มาครั้งล่าสุดวันที่ 1 มกราคม และประจำเดือนหมดวันที่ 5 มกราคม 2563 และกำหนดที่ประจำเดือนครั้งต่อไปควรจะมาอีกครั้งคือวันที่ 28-29 มกราคม 2563 ดังนั้นประจำเดือนครั้งสุดท้ายที่มาคือวันที่ 1 มกราคม (ไม่ใช่วันที่ 5 หรือ 28-29 มกราคม) โดยจะมีสูตรในการคำนวณวันคลอดแบบง่าย ๆ ดังนี้
1. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้าย แล้วบวกไปอีก 9 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน
ยกตัวอย่างเช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของแม่ท้องคือวันที่ 1 มกราคม 2563 ก็ให้บวกไปอีก 9 เดือน ซึ่งจะตรงกับวันที่ 1 ตุลาคม 2563 แล้วนับบวกต่อไปอีก 7 วัน ก็จะได้กำหนดคลอดตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2563 นั่นเอง
2. นับจากวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายย้อนหลังไป 3 เดือน และนับบวกต่อไปอีก 7 วัน
เช่น วันแรกที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายของแม่ท้องคือวันที่ 1 มกราคม 2563 ก็ให้นับย้อนหลังไปอีก 3 เดือน คือ ธันวาคม พฤศจิกายน และตุลาคม และนับบวกไปอีก 7 วัน กำหนดวันคลอดก็ จะตรงกับวันที่ 8 ตุลาคม 2562 เหมือนกับวิธีแรก
ซึ่งสูตรการคำนวณวันคลอดทั้ง 2 วิธีนี้ จะให้ผลเหมือนกัน ก็แล้วแต่ว่าคุณแม่จะสะดวกใช้วิธีคำนวณวันคลอดแบบไหน ก็เลือกใช้ได้เลย วิธีคำนวณวันคลอดดังกล่าว จะแม่นยำในกรณีที่คุณแม่ท้องจำวันที่ประจำเดือนมาครั้งสุดท้ายได้เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วจะมีคุณแม่เพียง 5-6% เท่านั้นที่จะคลอดลูกตรงกับกำหนดวันคลอดพอดี
คุณแม่ส่วนใหญ่ก็มักจะคลอดก่อนวันที่กำหนดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์และอีก 40% มักจะคลอดลูกเกินกำหนดคลอด ซึ่งร้อยละ 25 ของคุณแม่ท้องในกลุ่มนี้ จะคลอดเมื่อมีอายุครรภ์ได้ 42 สัปดาห์, ร้อยละ 12 จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ได้ 43 สัปดาห์ และที่เหลือเพียง 3% จะคลอดลูกเมื่ออายุครรภ์ 44 สัปดาห์
Source : livescience
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
อายุครรภ์ 1 เดือน มาเช็คลิสต์ข้อห้ามสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ 1 เดือนกันดีกว่า
10 อาหารเรียกน้ำนม อาหารบำรุงน้ำนมแม่ แม่หลังคลอดกินแล้วน้ำนมพุ่งปรี๊ด
อยากให้ลูกฉลาดต้องกินอะไร ? 7 อาหารบำรุงสมองลูก ให้ลูกกินบ่อยๆ เเล้วฉลาด ความจำดี