ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน สุขภาพฟันของแม่มีผลกับลูกน้อยหรือไม่

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน หลายคนคงมีความสงสัยว่ามีความสำคัญมากแค่ไหน สุขภาพช่องปากในระหว่างตั้งครรภ์ เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรเอาใจใส่ เพราะสุขภาพช่องปาก เกี่ยวข้องกับสุขภาพร่างกายโดยรวม และสามารถส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น คุณแม่ควรทราบถึงวิธีการดูแลช่องปาก และการป้องกันปัญหาเหงือก และฟันที่ถูกต้อง เพื่อสุขภาพที่ดีของตนเอง และลูกน้อยในระยะยาวต่อไป

การตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สวยงาม และโดยธรรมชาติ คุณจะต้องทำทุกอย่างเพื่อให้แน่ใจว่า 9 เดือนมีสุขภาพแข็งแรง ซึ่งรวมถึงการดูแลก่อนคลอดที่เหมาะสม การรักษาอาการเพื่อสุขภาพ การออกกำลังกาย และแม้กระทั่งเลิกนิสัยบางอย่าง แม้ว่าทั้งหมดนี้มีความสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของคุณในระหว่างตั้งครรภ์ สิ่งสำคัญคือคุณต้องไม่ละเลยสุขภาพฟันของคุณแม่นะคะ ปัญหาที่ไม่คาดคิดอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์คืออาการปวดฟันหรืออาการเสียวฟัน แต่ด้วยนิสัยทางทันตกรรมที่ดีและการไปพบแพทย์ คุณจะสามารถรักษาสุขภาพฟันและเหงือกให้แข็งแรงได้

 

ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน ?

นอกจากการตั้งครรภ์จะส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากด้วยเช่นกัน โดยสตรีมีครรภ์บางรายอาจเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากอย่างโรคเหงือก หรือฟันผุได้ เนื่องจากฮอร์โมนต่าง ๆ ในระหว่างการตั้งครรภ์จะเพิ่มขึ้น จนส่งผลต่อการตอบสนองของร่างกายต่อคราบเชื้อแบคทีเรียที่เกาะอยู่บนผิวฟัน และยังมีปัจจัยอื่น ๆ อย่างพฤติกรรมของคุณแม่ หรือความเปลี่ยนแปลงของร่างกายด้านอื่น ที่อาจทำให้เกิดปัญหาช่องปากได้ในที่สุด

 

ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

  1. ส่งผลให้ลูกมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคฟันผุ การที่ภายในช่องปากของคุณแม่นั้นมีหินน้ำลาย (หินปูน) หรือฟันผุหลายซี่ จะทำให้มีปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากมาก และมีโอกาสสูงที่จะเกิดการถ่ายทอดเชื้อจากแม่สู่ลูก ส่งผลให้ลูก มีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคฟันผุ
  2. โรคปริทันต์อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนด และเด็กจะมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ได้ โดยสาเหตุคาดว่าเกิดจากแบคทีเรียในช่องปาก ซึ่งจะเข้าสู่กระแสเลือด และผ่านเข้าสู่รกได้ เป็นสาเหตุให้เกิดการอักเสบ และรบกวนการเจริญเติบโตของทารก และยังอาจทำให้เกิดการกระตุ้นสารกลุ่มไซโตไคน์ (Cytokines) ที่กระตุ้นให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรือถุงน้ำคร่ำแตกได้
  3. เหงือกอักเสบ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และการเปลี่ยนแปลงของแบคทีเรียเดิมที่อยู่ในช่องปาก
  4. เนื้อฟันกร่อนเมื่อตั้งครรภ์ อาการแพ้ท้องเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งการอาเจียนจากการแพ้ท้อง จะส่งผลให้กรดในกระเพาะอาหารขึ้นมาสะสมอยู่ภายในช่องปาก หากแปรงฟันทันทีก็อาจจะทำให้เนื้อฟันกร่อนได้ ดังนั้น ต้องไม่แปรงฟัน หลังจากอาเจียนโดยเด็ดขาด แต่ควรแปรงฟันหลังจากอาเจียน อย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพื่อทำความสะอาด กรดภายในช่องปาก
  5. เนื้องอกในช่องปาก ผู้หญิงตั้งครรภ์บางราย อาจมีเนื้องอกผิดปกติเกิดขึ้นในช่องปาก บริเวณเหงือก อาการนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนระหว่างตั้งครรภ์ และเนื้องอกสามารถยุบไปได้เองหลังจากคลอดบุตร แต่หากเนื้องอก มีเลือดออก หรือทำให้เคี้ยวอาหารลำบาก ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาทันที

 

ความเสี่ยงจากปัญหาสุขภาพช่องปากที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

สุขภาพช่องปากมีส่วนสำคัญต่อสุขภาพร่างกายโดยรวม ซึ่งหากไม่ดูแลรักษา สุขภาพช่องปาก ให้ดี และปล่อยให้เป็นปัญหาเรื้อรังก็อาจส่งผลอันตรายต่อแม่ และทารกในครรภ์ได้ โดยมีการศึกษาพบว่าปัญหาสุขภาพช่องปากบางชนิดอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น โรคปริทันต์อักเสบ อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ และแบคทีเรียในช่องปากที่มีจำนวนมาก อาจส่งผลให้เกิดภาวะฟันผุในทารกได้ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของแม่ และเด็ก ทำไมคนท้องต้องตรวจฟัน ขณะตั้งครรภ์ควรรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีตามที่แพทย์แนะนำ และควรไปพบแพทย์ทันที หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นภายในช่องปาก

อะไรคือสาเหตุของอาการปวดฟันระหว่างตั้งครรภ์?

สตรีมีครรภ์ส่วนใหญ่มักรู้สึกไม่สบายตลอดการตั้งครรภ์ ทุกคนเคยได้ยินเรื่องราวเกี่ยวกับการแพ้ท้องอันน่าสะพรึงกลัว และไม่เป็นความลับที่การตั้งครรภ์จะทำให้เท้าบวม ปวดหลัง เมื่อยล้า  แต่เมื่อพูดถึงอาการปวดฟันหรืออาการเสียวฟัน ปัญหาการตั้งครรภ์นี้อาจทำให้คุณไม่ทันตั้งตัว ทว่าปัญหาทางทันตกรรมระหว่างตั้งครรภ์นั้นพบได้บ่อยกว่าที่บางคนตระหนัก ร่างกายต้องผ่านการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างในระหว่างตั้งครรภ์ คุณสามารถขอบคุณการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนได้ เช่นเดียวกับการเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น อาเจียนและคลื่นไส้

การสะสมของคราบตามไรฟัน สามารถเป็นต้นเหตุของเลือดออกตามไรฟันและการอักเสบ ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่าโรคเหงือกอักเสบจากการตั้งครรภ์ มันส่งผลกระทบมากถึง 75 เปอร์เซ็นต์แหล่งที่เชื่อถือได้ของหญิงตั้งครรภ์  และขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคเหงือกอักเสบในครรภ์ คุณอาจเป็นโรคทางช่องปากได้ นี่คือการติดเชื้อที่เหงือกอย่างร้ายแรงซึ่งทำลายกระดูกที่รองรับฟันของคุณ ซึ่งทำให้ฟันร่วงได้เลยค่ะ ผู้หญิงบางคนยังพัฒนาเนื้องอกในครรภ์ ซึ่งเกิดจากคราบพลัคมากเกินไป ไม่ต้องกังวล ฟังดูน่ากลัว แต่เหงือกไม่โตเป็นมะเร็ง แน่นอนว่าเนื้อเยื่อที่โตมากเกินไป (ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 นี้) อาจเป็นมะเร็งหรือไม่ อาจทำให้เกิดความกดเจ็บและปวดได้ ทำให้กินหรือดื่มได้ยาก ข่าวดีก็คือเนื้องอกเหล่านี้มักจะหายไปหลังคลอด

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องปวดฟัน ปวดฟันคุด เหงือกบวม กินยาอะไรได้บ้าง?

 

ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

ราวกับว่าความเป็นไปได้เหล่านี้ยังไม่เพียงพอ การตั้งครรภ์สามารถเปลี่ยนความอยากอาหารของคุณได้ และเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่งที่จะอยากอาหารบางชนิด ปัญหาคือคุณไม่น่าจะอยากกินอาหารเพื่อสุขภาพ หากคุณมองหาขนมที่มีน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตสูงอย่างต่อเนื่องเพื่อสนองความอยาก มีความเสี่ยงที่จะฟันผุซึ่งส่งผลให้ฟันผุได้ และถ้าคุณมีความสุขที่โชคร้ายในการใช้ชีวิตกับกรดไหลย้อนหรือแพ้ท้อง การอาเจียนบ่อย ๆ หรือกรดในกระเพาะอาหารในปากของคุณอาจค่อย ๆ ทำลายเคลือบฟันของคุณ ทำให้เกิดอาการเสียวฟันได้

 

ดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรในระหว่างตั้งครรภ์ ?

การเอาใจใส่สุขภาพช่องปากให้มากขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงปัญหาสุขภาพของคุณแม่ และทารกในครรภ์ได้ โดยคุณแม่สามารถทำตามแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  • ไปพบทันตแพทย์ หญิงตั้งครรภ์ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และเมื่อต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพช่องปาก ควรแจ้งทันตแพทย์ให้ทราบว่า ตนกำลังตั้งครรภ์ เนื่องจากการรักษาบางวิธี อาจส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ ซึ่งอาจเป็นการรักษาที่ไม่จำเป็นต้องรีบทำในทันที นอกจากนี้ ก่อนไปพบทันตแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้ดูแลครรภ์ด้วยเพื่อความปลอดภัย
  • แจ้งทันตแพทย์เกี่ยวกับยาที่ใช้ ข้อมูลการใช้ยาเป็นส่วนสำคัญที่แพทย์ควรทราบก่อนตรวจรักษาสุขภาพช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นยา หรือวิตามินเสริมที่กำลังใช้อยู่ เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามอาการ หรือวางแผนรักษาได้อย่างเหมาะสม
  • เปลี่ยนยาสีฟันที่เป็นสาเหตุของอาการแพ้ท้อง คนท้องบางราย อาจมีอาการแพ้ท้อง เนื่องมาจากรสชาติของยาสีฟันที่ใช้ ดังนั้น หากมีอาการดังกล่าว ควรเปลี่ยนไปใช้ยาสีฟันที่เหมาะกับตน

 

ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

  • บ้วนปากอย่างสม่ำเสมอ คุณแม่ที่มีอาการอาเจียนจากการแพ้ท้องบ่อย ๆ ควรหมั่นบ้วนปากบ่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เพื่อลดความเสี่ยงจากกรดในกระเพาะอาหารที่ออกมา พร้อมกับการอาเจียน และกัดกร่อนฟันได้
  • เสริมแคลเซียม ภาวะขาดแคลเซียมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดูก และฟันเสียหายได้ง่ายเนื่องจากมวลกระดูกลดลง ดังนั้น ควรรับประทานแคลเซียมให้มากขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับแร่ธาตุชนิดนี้อย่างเพียงพอ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพที่แข็งแรงให้แก่ทารกในครรภ์ ซึ่งคุณแม่สามารถได้รับแคลเซียมจากการรับประทานอาหารแคลเซียมสูง เช่น นม ชีส โยเกิร์ตชนิดไม่หวาน หรือนมถั่วเหลืองเพิ่มแคลเซียม เป็นต้น
  • รับประทานวิตามินดีให้มากขึ้น นอกจากแคลเซียมแล้ว วิตามินดีก็เป็นสารอาหารที่จำเป็น เพราะจะช่วยให้ร่างกายนำแคลเซียมไปใช้ได้ดียิ่งขึ้น โดยอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม ได้แก่ ชีส ไข่ ปลาที่มีไขมันสูงอย่างปลาแซลมอน เป็นต้น

 

การดูแลสุขภาพช่องปากหญิงตั้งครรภ์

  • เมื่ออายุครรภ์ 4 – 6 เดือน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจฟัน และทำความสะอาดช่องปาก ไม่ควรรอจนกระทั่งมีอาการ
  • แปรงฟันให้สะอาด อย่างน้อย วันละ 2 ครั้ง ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ นาน 2 นาที ร่วมกับการทำความสะอาดซอกฟันทุกวัน
  • หลังอาเจียนจากการแพ้ท้องหรือทานอาหารเปรี้ยว ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยง การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม น้ำหวาน นมเปรี้ยว

 

เมื่อสุขภาพช่องปากไม่ดีขณะตั้งครรภ์จะส่งผลต่อลูกอย่างไร

ภาวะโรคเหงือกอักเสบ และโรคปริทันต์อักเสบ

เกิดจากการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่เพียงพอ อาจจะทำให้เกิดภาวะ “คลอดก่อนกำหนด” หรือ “น้ำหนักตัวแรกคลอดต่ำกว่าเกณฑ์” ได้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดปัญหาต่อลูกน้อยตามมา เช่น มีอัตราการเสียชีวิตแรกคลอด และอัตราการเจ็บป่วยสูง มีโอกาสที่ทารกจะมีความผิดปกติแต่กำเนิด ได้แก่ ความผิดปกติของระบบหายใจ สมอง และพัฒนาการ

 

การกินอาหารที่มีน้ำตาลสูง

  • มารดาเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ มีโอกาสเป็นเบาหวานในอนาคต และมีภาวะแทรกซ้อนทั้งขณะตั้งครรภ์ และจากการคลอด เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด
  • ลูกมีโอกาสน้ำหนักแรกคลอดมาก และภาวะหายใจเร็วในทารกแรกคลอดได้

บทความที่เกี่ยวข้อง น้อยหน่า คนท้องกินได้ไหม ผลไม้หน้าฝน รสหวาน ดีต่อครรภ์ด้วยหรือเปล่า

 

รู้จักโรคเหงือกอักเสบ

เหงือก เป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะปริทันต์ ที่ทำหน้าที่ยึดฟันไว้ในกระดูกขากรรไกร และรองรับแรงในการบดเคี้ยว เหงือกปกติจะมีสีชมพู ขอบเรียบ ไม่บวม ไม่มีเลือดออก โรคเหงือกอักเสบ เป็นโรคที่เกิดขึ้นในประชากรถึงร้อยละ 80 โดยมักจะไม่มีอาการ ลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ คือ เหงือกมีสีแดง อาจจะมีลักษณะบวมเล็กน้อย และสิ่งที่จะใช้สังเกตได้ง่ายคือ “การมีเลือดออกขณะแปรงฟัน”  ซึ่งคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดจากการแปรงฟันแรง หรือใช้แปรงสีฟันที่มีขนแปรงแข็งเกินไป

 

สาเหตุโรคเหงือกอักเสบ

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบคือ “คราบจุลินทรีย์” ซึ่งเกิดจากการสะสมของเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในน้ำลายลงบนตัวฟัน ลักษณะของคราบจุลินทรีย์เป็นคราบสีขาวอ่อนนุ่ม เมื่อมีปริมาณน้อยมักจะมองไม่เห็นเนื่องจากมีสีกลืนไปกับตัวฟัน หากคราบจุลินทรีย์ถูกทิ้งไว้นานจะเกิดการสะสมแร่ธาตุเกิดเป็น “หินน้ำลาย หรือหินปูน”  ซึ่งจะส่งเสริมให้มีการสะสมของคราบจุลินทรีย์มากขึ้น  เชื้อโรคที่เกาะบนหินน้ำลายนี้จะผลิตสารพิษ ทำให้ร่างกายมีการตอบสนองจนเกิดการอักเสบของเหงือกขึ้น โรคเหงือกอักเสบหากทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา ในผู้ป่วยบางรายจะกลายเป็น “โรคปริทันต์อักเสบ” (สมัยก่อนเรียกโรครำมะนาด)  ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียฟันในวัยผู้ใหญ่

 

รักษาเหงือกอักเสบ

โรคเหงือกอักเสบสามารถรักษาได้ง่ายโดยการขูดหินน้ำลาย (ขูดหินปูน) ร่วมกับการพัฒนาวิธีการแปรงฟัน และใช้อุปกรณ์เสริมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการสะสมใหม่ของคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของโรค  โดยสำหรับคนส่วนใหญ่ควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุก ๆ 6 – 12 เดือน

 

ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

รู้จักโรคปริทันต์อักเสบ

ลักษณะของโรคปริทันต์อักเสบ คือ เหงือกไม่ยึดกับฟัน ร่วมกับมีการทำลายกระดูกที่รองรับตัวฟัน ตรวจได้จากการหยั่งร่องเหงือกลงไปได้ลึก เรียก “ร่องลึกปริทันต์” ซึ่งเกิดจากเชื้อโรค ผลิตสารพิษ และกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองของร่างกายอย่างมาก จนเกิดการทำลายเหงือก และกระดูกที่ยึดฟัน โรคปริทันต์อักเสบเมื่อเป็นช่วงต้นมักจะไม่มีอาการ ลักษณะที่พอจะใช้สังเกตได้คล้ายกับลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ กล่าวคือ เหงือกแดงบวมเล็กน้อยถึงปานกลาง และมีเลือดออกขณะแปรงฟัน

 

เมื่อโรคปริทันต์ลุกลามมากขึ้น จนกระดูกที่รองรับฟันถูกทำลายไปมากแล้ว อาจจะพบเหงือกร่น ฟันโยก หรือฟันเคลื่อนที่ออกจากตำแหน่งเดิม การมีหนอง และกลิ่นปาก หรือเหงือกบวมใหญ่จนเป็นฝีปริทันต์  เมื่อมีอาการเหล่านี้แล้วการรักษามักจะยุ่งยาก ใช้เวลานาน และมีค่าใช้จ่ายสูง และในบางกรณีอาจจะไม่สามารถเก็บฟันไว้ได้

 

รักษาปริทันต์อักเสบ

เมื่อเป็นโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งมีการละลายของกระดูกแล้ว ขั้นตอนการรักษาจะยุ่งยากขึ้น แบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ

  • ช่วงต้นหรือช่วงควบคุมโรค โดยการขูดหินน้ำลาย และเกลารากฟัน ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาในการรักษาหลายครั้งจึงจะเสร็จทั้งปาก ขึ้นอยู่กับความลึกของร่องลึกปริทันต์ และปริมาณหินน้ำลายใต้เหงือก
  • ช่วงแก้ไข ในรายที่ผู้ป่วยเป็นโรคในระดับที่รุนแรงมากขึ้น การรักษาช่วงต้น อาจจะยังไม่สามารถกำจัดคราบหินน้ำลายใต้เหงือกได้หมด จึงจำเป็นต้องทำการผ่าตัดเหงือกในบางบริเวณร่วมด้วย ในบางกรณีที่เหมาะสม อาจสามารถทำศัลยกรรมปลูกกระดูกทดแทนได้ด้วย และการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ
  • ช่วงคงสภาพ คือช่วงสุดท้าย เนื่องจากสาเหตุของโรคปริทันต์อักเสบ คือเชื้อโรคจากน้ำลายที่มาสะสมบนตัวฟัน ดังนั้นแม้การรักษาจะเสร็จสิ้นแล้ว หากไม่ได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอ โรคจะกลับเป็นใหม่ได้ง่าย ดังนั้นหลังจากการรักษาแล้ว ผู้ป่วยควรได้รับการขูดหินน้ำลาย เพื่อป้องกันการกลับเป็นใหม่ของโรค โดยมากผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคปริทันต์อักเสบแล้ว ควรได้รับการขูดหินน้ำลายทุก ๆ 3 – 6 เดือน

 

ผลกระทบของโรคต่อสุขภาพเหงือก

เนื่องจากโรคปริทันต์อักเสบ เป็นผลจากการตอบสนองของร่างกายต่อเชื้อโรคในคราบจุลินทรีย์ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อภูมิคุ้มกัน ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบสูงขึ้น ปัจจัยที่มีผลอย่างเด่นชัด คือ โรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน มีโอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ มากถึง 2 เท่า ของผู้ป่วยที่ไม่มีโรคนี้ หากผู้ป่วยเบาหวาน ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลในเลือดได้ดี โอกาสที่จะเป็นโรคปริทันต์อักเสบ จะมากกว่าผู้ป่วยปกติถึง 11 เท่า เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่ ทั้งนี้หากผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี และลด หรือเลิกสูบบุหรี่โอกาสในการรักษาโรคปริทันต์ให้ได้ผลสำเร็จจะมีมากขึ้น

 

ทําไมคนท้องต้องตรวจฟัน

 

วิธีป้องกันอาการปวดฟันระหว่างตั้งครรภ์

ด้วยทุกสิ่งที่คุณจะต้องเผชิญในระหว่างตั้งครรภ์ การพูดทางร่างกาย คุณจะต้องลดโอกาสของอาการปวดฟันให้เหลือน้อยที่สุด สิ่งนี้เริ่มต้นด้วยนิสัยสุขอนามัยช่องปากที่ดี ซึ่งมีความสำคัญเนื่องจากความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาทางทันตกรรม นี่คือสิ่งที่คุณสามารถทำได้ อย่าประมาทในการดูแลทันตกรรม คุณจะเหนื่อยและปวดเมื่อยมากขึ้น ดังนั้นมันอาจจะง่ายที่จะเข้านอนโดยไม่ต้องแปรงฟัน อย่าทำ ยึดมั่นในกิจวัตรที่ดีนะคะ แปรงฟันอย่างน้อยวันละสองครั้งและใช้ไหมขัดฟันวันละครั้ง ใช้ยาสีฟันฟลูออไรด์และน้ำยาบ้วนปากเพื่อป้องกันฟันผุและทำให้ฟันแข็งแรง

ดื่มน้ำหรือบ้วนปากหลังจากอาเจียน หากคุณมีอาการแพ้ท้อง ซึ่งจะช่วยขจัดกรดในกระเพาะอาหารออกจากฟัน อย่าแปรงฟันทันที อาจดูแปลก แต่ระดับความเป็นกรดในปากของคุณจะเพิ่มขึ้นหลังจากอาเจียน การแปรงฟันมีผลเสียมากกว่าผลดี ดังนั้นให้รออย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงหลังจากการอาเจียนแล้วจึงค่อยแปรงฟัน บอกทันตแพทย์ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์และดูว่าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดบ่อยกว่านี้หรือไม่ วางแผนครอบคลุมการทำความสะอาดทันตกรรมเพิ่มเติมในระหว่างตั้งครรภ์ รวมทั้งจำกัดอาหารที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต รับประทานอาหารว่างเพื่อสุขภาพ เช่น ผักสด แคร็กเกอร์โฮลวีต และผลไม้เพื่อสุขภาพที่ดีองค์รวมเช่นกันค่ะ

 

เรื่องสุขภาพช่องปากเป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่ควรใส่ใจ หากคุณแม่ดูแลรักษาไม่ดี ก็อาจส่งผลร้ายต่อตัวแม่ และลูกในครรภ์ได้ ทางที่ดีคุณแม่ควรไปพบทันตแพทย์บ่อย ๆ และหมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจส่งผลให้ทารกคลอดก่อนกำหนด หรือมีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์ได้

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 87 คุณแม่ท้อง กับ ทันตกรรม

คนท้องปวดฟัน สามารถกินยาแก้ปวดบรรเทาอาการได้ไหม

ทำไม อยากกินของหวานตอนท้อง คนท้องชอบกินของหวาน อันตรายไหม?

แชร์ประสบการณ์หรือ เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสุขภาพฟันของคนท้อง ได้ที่นี่!

ฟันลูก ฟันแม่ ทำไมคนท้องต้องตรวจสุขภาพฟันคะ

ที่มา : bangkokhospital, dt.mahidol, healthline

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!