X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นการมองเห็นได้อย่างไร

บทความ 5 นาที
การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นการมองเห็นได้อย่างไร

ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน ? การมองเห็นของทารก จะยังไม่ชัด และต้องใช้เวลาหลายเดือนในการปรับตัว จากที่พอมองเห็นลาง ๆ ไปสู่การแยกแยะระยะทางใกล้ ไกล มองเห็นสีสัน และปรับระดับความชัดเจน หรือโฟกัสได้ในที่สุด มาดูกันว่า พัฒนาการของเด็กแรกเกิด ด้านการมองเห็นเป็นอย่างไร การกระตุ้นการมองเห็นของทารก มีอะไรบ้างที่พ่อแม่ควรรู้

 

พัฒนาการด้าน การมองเห็นของทารก เมื่อไหร่ที่ลูกจะมองได้ชัด

  • หลังจากที่ทารกคลอดออกมาแล้ว ระยะการมองเห็นทารก จะสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 เซนติเมตร และจ้องมองวัตถุค้างไว้ได้ประมาณ 4 – 10 วินาที และจะมีพัฒนาการทางการมองเห็นมากขึ้นตามลำดับ
  • หลังคลอดประมาณ 4 วัน ทารกจะยังมองเห็นหน้าคุณพ่อ คุณแม่ไม่ชัดเจน แต่ก็จะเริ่มจดจำใบหน้าลาง ๆ ได้
  • เมื่ออายุได้ 1 เดือน ทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ในระยะ 15 นิ้ว
  • เมื่ออายุ 3 เดือน จึงจะเริ่มแยกแยะระยะใกล้ ไกลได้ และเมื่อหนูน้อยมีอายุเข้าเดือนที่ 4 จะสามารถมองเห็นได้ชัดเจน
  • ปฏิกิริยาตอบสนองอัตโนมัติของลูกตาดำของทารก จะทำงานตั้งแต่แรกเกิด และมีความไวต่อแสง เมื่ออายุ 2 – 3 เดือน ลูกตาดำของทารกก็จะทำงานเต็มที่
  • ทารกจะเริ่มมองเห็นวัตถุสีขาว กับสีดำชัดเจนที่สุด เมื่ออายุเข้าเดือนที่ 3 จึงจะเริ่มมองเห็นวัตถุเป็นสีมากขึ้น โดยจะเริ่มมองเห็นสีพื้นฐาน เช่น สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

 

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการมองเห็นของทารก

  1. เด็กแรกเกิดจะยังไม่ผลิตน้ำตา จนอายุได้ประมาณ 1 เดือน
  2. เด็กแรกเกิดสามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่ชัดที่สุด ในระยะ 20 เซนติเมตร หากใกล้ หรือไกลกว่านั้น จะเป็นเพียงภาพเบลอ ๆ
  3. ทารกกะพริบตาเพียง 2 ครั้ง ต่อนาที ซึ่งน้อยกว่าผู้ใหญ่ ที่กะพริบตาได้มากถึง 15 ครั้ง ต่อนาที
  4. เมื่อทารกมีอายุเข้าเดือนที่ 2 ทารกจะสามารถโฟกัสสิ่งที่เคลื่อนไหวได้แล้ว

บทความที่น่าสนใจ : 5 ข้อดีของการ ปล่อยทารกเล่นคนเดียว ลูกเล่นคนเดียว พัฒนาการทางสมอง

 

การกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารกได้อย่างไร

การกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองของลูกนั้น จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ทารกได้เรียนรู้ และมีพัฒนาการที่ดีในด้านอื่น ๆ ตามมา ซึ่งการมองอย่างมีเป้าหมาย จะทำให้ทารกกระตือรือร้นในการใช้สายตาสำรวจ เสริมพัฒนาการด้านการมองที่ดีของลูกได้

การกระตุ้นพัฒนาการด้านการมองเห็นของทารก สามารถทำได้ ดังนี้

  • พยายามจ้องมองใบหน้าของทารกบ่อย ๆ เพราะในดวงตานั้น มีความชัดเจนของสีขาว กับสีดำ และการกลอกตาไปมา จะทำให้เป็นจุดสนใจที่ทำให้ทารกมองได้ง่าย
  • ติดภาพพ่อแม่เอาไว้ใกล้ ๆ ที่นอนของลูก จะช่วยทำให้ทารกจดจำใบหน้าพ่อแม่ได้เร็ว หรืออาจจะติดภาพสีสดใส สีตัดกัน เช่น ภาพที่มีสีพื้นฐาน แดง เหลือง น้ำเงิน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยฝึกการมองของลูก และเสริมสร้างพัฒนาการของลูกได้
  • ให้ลูกมองของเล่นชิ้นเล็ก ๆ โดยอยู่ห่างจากใบหน้าลูกประมาณ 1 เมตร จากนั้นค่อย ๆ เคลื่อนของเล่น หมุนเป็นวงกลมอย่างช้า ๆ เพื่อให้ลูกได้มองตาม
  • แขวนของเล่นประเภท 3 มิติ เช่น โมบาย หรือนกกระดาษ ในจุดที่ลูกน้อยสามารถมองเห็น และอยู่ในระยะที่ลูกใช้มือเอื้อมหยิบได้
  • เล่นส่องกระจก เพราะการให้ลูกได้มองตัวเองในกระจก จะช่วยฝึกการมอง และการสังเกต นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกการเคลื่อนไหวของหน้าตา และท่าทาง คุณพ่อคุณแม่อาจจะให้ลูกเล่นกับกระจกถือ ซึ่งเป็นของเล่นที่มีปฏิสัมพันธ์กับตัวเด็ก เพราะลูกจะมองตามเวลาที่มีการเคลื่อนไหวไปด้วย
  • เปลี่ยนตำแหน่งที่นอนของลูกบ้าง เพื่อให้ลูกน้อยได้มีโอกาสมองเห็นสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ

 

การมองเห็นของทารก

ทารกชอบมองอะไรบ้าง

  • ทารกชอบมองใบหน้าของคุณพ่อ คุณแม่ เพราะดวงตา รวมถึงรอยยิ้มของพ่อแม่นั้น จะแสดงออกถึงความรัก ความอ่อนโยน สร้างความอบอุ่นใจให้กับทารก
  • ทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหว มากกว่าวัตถุที่อยู่นิ่ง ๆ ไม่เคลื่อนไหว
  • ทารกชอบมองวัตถุที่มีสีตัดกันชัดเจน เช่น สีดำ ตัดกับสีขาว
  • ทารกชอบมองวัตถุที่มีรูปทรง 3 มิติ มากกว่า 2 มิติ

 

เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับการมองเห็นของเด็กในแต่ละช่วงอายุ

  • เด็กแรกเกิด

แพทย์จะตรวจเพื่อหาความผิดปกติของดวงตาทารกแรกเกิด ในช่วงเวลานี้ จะมีการให้ยาป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ในช่องคลอด

  • ลูกอายุ 1 – 4 เดือน

ในช่วงนี้ ทารกจะสามารถมองตามวัตถุที่เคลื่อนที่ช้า ๆ อย่างเป็นจังหวะได้ หากคุณพ่อคุณแม่ถ่ายรูปลูกน้อย จะเห็นลูกมีการกะพริบตา เมื่อสัมผัสกับแสงแฟลช

  • ลูกอายุ 5 – 8 เดือน

ตอนนี้สายตาของลูกจะพอแยกแยะสีบางสีได้ดีขึ้นแล้ว แต่ก็ยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ พัฒนาการด้านการมองเห็นสีสันต่าง ๆ จะยังมีการพัฒนาต่อเนื่องไปอีก

  • ลูกอายุ 9 – 12 เดือน

ลูกมีการตอบสนองต่อปฏิกิริยา เสียง และสภาพแวดล้อมรอบ ๆ เช่น มองไปทางเสียงที่ได้ยิน จ้องมองเมื่อมีคนยิ้มให้ มองไปรอบ ๆ ห้อง เพื่อดูว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง หรือมองไปที่ของเล่น หรือวัตถุที่ชอบ

 

การมองเห็นของทารก 8

 

  • ลูกอายุ 1 – 2 ขวบ

ความสัมพันธ์ระหว่างตา กับมือ ประสานกันได้ดี และการรับรู้ระยะใกล้ ไกล ยังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และสมบูรณ์เมื่ออายุ 2 ขวบ

  • ลูกอายุ 2 – 3 ขวบ

เมื่ออายุ 2 ขวบ ค่าสายตาของลูกได้พัฒนาสู่ระยะการมองเห็นปกติคือ 20/20 คุณพ่อคุณแม่จะสังเกตได้ว่า ลูกให้ความสนใจกับสิ่งรอบ ๆ ตัว และมีความอยากรู้อยากเห็นมากขึ้น

  • ลูกอายุ 3 – 4 ขวบ

เมื่ออายุ 3 ขวบ ดวงตาของลูกเติบโตจนมีขนาดเท่ากับดวงตาของผู้ใหญ่ การมองเห็นของลูกวัย 3 ขวบ เริ่มสามารถจับภาพที่มีการเคลื่อนไหว พร้อมทั้งพินิจพิจารณาลักษณะของวัตถุนั้น ๆ ได้ นั่นหมายถึง เด็กจะสามารถระบายสีรูปภาพที่ไม่มีความซับซ้อนนัก ลอกเลียนแบบเครื่องหมาย หรือรูปทรงต่าง ๆ และสามารถลากเส้นตามได้ด้วย

  • ลูกอายุ 4 – 5 ขวบ

การมองเห็นภาพเคลื่อนไหวยังคงพัฒนาต่อเนื่อง และมีความชัดเจนมากขึ้น สังเกตได้จากเด็กวัย 4 – 5 ขวบ สามารถระบายสีภายในพื้นที่ว่าง  ตัดเส้น หรือตัดขอบรูปภาพที่ไม่มีความซับซ้อนมากได้ นอกจากนี้พัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกยังรวมไปถึงความสามารถในการจำแนก การเติมเต็มภาพให้สมบูรณ์ การเรียงลำดับ การจดจำ การจินตนาการ และการแยกวัตถุออกจากพื้นหลังอีกด้วย

 

การมองเห็นของทารก

 

สัญญาณความผิดปกติด้านการมองเห็นของเด็ก

  • การเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ
  • ลูกตาเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ไปทางด้านข้าง ข้างบน หรือข้างล่าง ไม่สามารถบังคับให้อยู่นิ่งได้
  • ลูกตาข้างใด ข้างหนึ่ง เอียงไปทางด้านข้างตลอดเวลา
  • รูม่านตามีสีขาว
  • น้ำตาไหลตลอดเวลา
  • มีความอ่อนไหวต่อแสงมาก
  • ลูกตา หรือเปลือกตาแดงผิดปกติ
  • ลูกขยี้ตาบ่อย
  • ลูกชอบหลับตาบ่อย ๆ
  • มีอาการคอเอียง
  • ตาโปน
  • เด็กที่คลอดก่อนกำหนดมักมีความเสี่ยงต่อภาวะสายตาเอียง สายตาสั้น หรือตาเหล่ ตาเข

หากพ่อแม่สังเกตเห็นความผิดปกติเหล่านี้ ควรพาลูกไปปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจประเมิน และทำการรักษาต่อไป

 

บทความจากพันธมิตร
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กสมาธิสั้น ดื้อ ซน อารมณ์รุนแรง มีโอกาสรักษาหายไหม?
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
เด็กดื้อ เด็กซน ใช่อาการเด็กสมาธิสั้นหรือไม่ โรคสมาธิสั้น คืออะไร ทำไมต้องรีบพาลูกไปรักษา
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
รวม 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษระดับแนวหน้า ตอบโจทย์ทุกช่วงวัย พร้อมเทคนิคเรียนดีที่ไม่ควรพลาด!
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School
เปิดโอกาสให้ลูกได้ค้นหาตัวเอง ด้วยเทคนิคการเรียนแบบ Home School

บทความที่น่าสนใจ : 

เด็กอมมือ เด็กทารกอมมือแก้ไขอย่างไร วิธีให้ลูกเลิกอมนิ้วมือ

ลูกตัวเหลือง ทารกตาเหลือง เกิดจากอะไร? อาการนี้ที่แม่ต้องรู้

ตารางพัฒนาการ ทารกแรกเกิด-6 ปี พฤติกรรมและพัฒนาการทารก ตั้งแต่แรกเกิด! ทำอะไรได้มากขึ้นแล้วนะแม่

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นของทารก ได้ที่นี่!

การมองเห็นของทารก ทารกจะเริ่มมองเห็นตอนไหนคะ

ที่มา : 1

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • ทารก
  • /
  • การมองเห็นของทารก ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน จะกระตุ้นการมองเห็นได้อย่างไร
แชร์ :
  • ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน รู้ไหมว่าหนูชอบมองอะไรมากที่สุด?

    ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน รู้ไหมว่าหนูชอบมองอะไรมากที่สุด?

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

  • ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน รู้ไหมว่าหนูชอบมองอะไรมากที่สุด?

    ทารกเริ่มมองเห็นตอนไหน รู้ไหมว่าหนูชอบมองอะไรมากที่สุด?

  • อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

    อันตราย! ตอนท้องควรหลีกเลี่ยงทำงานบ้าน 8 อย่างนี้นะ

  • เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

    เล่าทั้งน้ำตา! ลูกชายวัย 4 ขวบ ตาบอดเฉียบพลัน โดยไม่มีสัญญาณเตือน!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ