ลูกไม่สบายทำไงดี? เป็นไข้ น้ำมูกไหล ทำยังไงดี ลูกร้องไห้ไม่หยุด

undefined

ลูกไม่สบายทำไงดี? เป็นไข้ น้ำมูกไหล ทำยังไงดี ลูกร้องไห้ไม่หยุด

การป่วยของลูกเป็นอีกหนึ่งในเรื่องที่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครอง กังวลที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับลูก ไม่ว่าจะเป็นไข้ น้ำมูกไหล ปวดหัว ตัวร้อน ไม่ว่าจะเป็นอาการอะไร ๆ ก็ตามไม่ว่าจะเล็ก ๆ น้อย ๆ ขนาดไหน ก็ดูเป็นเรื่องใหญ่ไปซะทุกอย่าง เพราะผู้ปกครองหลายคนโดยเฉพาะผู้ปกครองใหม่ ๆ ยังไม่มีประสบการณ์รับมือสถานการณ์แบบนี้ วันนี้ TheAsianParent จะพามาแนะนำ ลูกไม่สบายทำไงดี ? เบื้องต้นว่าถ้า คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองมือใหม่ป้ายแดงเจอจะได้ปฏิบัติตัวอย่างไรดี

ลูกไม่สบายทำไงดี

ลูกไม่ สบายทำไงดี?

ทานของเหลวให้เพียงพอ

ผู้ปกครองควรจะมั่นใจว่าลูกน้อยได้รับของเหลวอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกขาดน้ำ ไม่ว่าจะเป็น คุณแม่ จะให้นมลูกเอง หรือ ให้นมจากขวด อาจจะต้องให้นมมากกว่าปกติ เพื่อให้ลูกไม่ขาดน้ำ และ รู้สึกถึงความสะดวกสะบาย ลูกน้อยอาจจะไม่ได้ทาน นมปริมาณไม่เยอะเท่าปกติ เพราะฉะนั้น คุณแม่ อาจจะต้องให้นมถี่ขึ้น สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน อย่าให้น้ำให้แก่ลูก เพราะไตของเขายังไม่โตพอที่จะรับได้

ลูกไม่สบายทำไงดี

ลูกไม่สบาย ทำไงดี

พักผ่อนให้เพียงพอ

การที่ให้ทารกนอนพักผ่อนให้เพียงพอ ก็เป็นทางเลือกอีกอย่างที่ได้ผลดี มันจะช่วยให้เขารักษาตน รวมไปถึงได้พักผ่อน ลองให้ลูก ๆนอนก่อนเวลาปกติที่เขาจะเข้านอน ถ้าทำได้ พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่จะทำให้ลูกตื่น อย่าเสียงดัง ให้ลูกได้นอนพักผ่อนได้อย่างเต็มที่

ลูกไม่สบายทำไงดี?

ลูกไม่ สบายทำไงดี

เครื่องปรับอากาศ

การใช้เครื่องปรับอากาศตั้งไว้ในห้องลูกจะช่วยในการ กรองสภาพอากาศ ให้ลดฝุ่นละออง หรือ เชื้อโรคลง ผู้ใช้ต้องดูคู่มือการแนะนำของเครื่องให้ดี และ ต้องเปลี่ยนตัวกรองทำความสะอาดอยู่อย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เครื่องมีประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด

อาบน้ำอุ่น

นอกจากการอาบน้ำอุ่นจะดีต่อร่างกายแล้ว มันยังช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด เมื่อยเนื้อตัวอีกด้วย แต่ต้องระวังเมื่ออาบน้ำเสร็จแล้ว ต้องเช็ดตัวให้แห้งสนิทเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นหวัด หรือ อาการแย่กว่าเดิม

ลูกไม่สบายทำไงดี

ลูกไม่สบายทำ ไงดี

ฉีดวัคซีน

การพาลูกไปฉีดวัคซีน ให้ตรงเวลาเป็นอีกทางหนึ่งที่จะ ช่วยป้องกันลูกจากการป่วยได้ แต่ผู้ปกครองควรปรึกษา คุณหมอก่อนว่าอายุของลูกเหมาะกับการฉีดวัคซีนแบบไหน แบบไหนปลอดภัย และ เหมาะสมวัยกับลูกของเรา

ยกหัวให้สูง

ให้ตำแหน่งหัวของทารก อยู่ในตำแหน่งสูงอยู่เสมอ เพื่อให้ลูกหายใจได้สะดวกมากขึ้น

ให้ความเอาใจใส่เยอะๆ

เวลาที่ลูกป่วยสิ่งที่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองสามารถทำได้อีกอย่างก็ คือการให้ความดูแลเอาใจใส่ลูก ๆ อย่างสม่ำเสมอ และ หากิจกรรมทำเพื่อให้ลูกสบายใจเช่น ร้องเพลง อ่านนิทาน เสียงของคุณจะช่วยทำให้ลูก ๆ รู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ พักผ่อนได้มากขึ้น นอกจากนั้นคุณยังสามารถอุ้มแล้วพาเขาไปเดินในระยะใกล้ ๆ นวด กล่อมลูก ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลายได้

ลูกไม่สบายทำไงดี

ลูกไม่ สบายทำไงดี?

พาลูกไปหาหมอ

ถ้าอาการของคุณลูกดูไม่โอเคเลย อาจจะมีไข้สูง หรือ ร้องไห้หนักมีอาการที่ คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองรู้สึกว่าไม่โอเค ให้พาลูกน้อยไปหาคุณหมอ เพื่อปรึกษาอาการ และ หาทางแก้ ในบางเรื่องที่ผู้ปกครองไม่ได้มีความเชี่ยวชาญการได้รับคำแนะนำจากคุณหมอเป็นเรื่องที่ดีกว่า เพราะคุณหมอได้ร่ำเรียนมา เขาอาจจะมีคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ และ ได้ผลกว่าที่เราพยายามจะรักษาด้วยตัวเอง

Source : webmd

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพ และ สังคม คุณแม่ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ และ เอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้ แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้ คุณแม่ ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์ และ สื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่ และเด็ก โภชนาการแม่ และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุน พ่อแม่ ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

ยาสามัญประจําบ้าน คนมีลูก ยาสามัญ สำหรับทารก ยารักษาอาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก

ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ คนท้อง ทารก เด็กเล็ก วัยเรียน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ โรคร้ายเสียชีวิตได้

โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!