X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

Apgar Score คือ อะไร การตรวจร่างกายของเด็กแรกเกิด แม่ ๆ ควรรู้ไว้

บทความ 5 นาที
Apgar Score คือ อะไร การตรวจร่างกายของเด็กแรกเกิด แม่ ๆ ควรรู้ไว้Apgar Score คือ อะไร การตรวจร่างกายของเด็กแรกเกิด แม่ ๆ ควรรู้ไว้

คุณแม่คนไหนเคยได้ยินเกี่ยวกับ Apgar Score บ้าง Apgar Score คือ อะไร เกี่ยวกับทารกยังไง มาอ่านดูกัน (ภาพโดย rawpixel จาก freepik.com)

เป็นเรื่องที่น่ายินดี สำหรับคุณแม่หลาย ๆ คน ที่ได้คลอดเจ้าตัวน้อยออกมาแล้ว ซึ่งหลังจากการคลอด คุณหมอจะทำการตรวจร่างกายของลูก ๆ ก่อน โดยการตรวจนั้น จะเรียกว่า Apgar Score และเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมให้คุณแม่และน้อง ๆ วันนี้ theAsianparent Thailand จึงจะมาเล่าให้ฟัง ว่า Apgar Score คือ อะไร ลูกน้อยต้องเข้ารับการตรวจที่ตรงไหน อะไรยังไงบ้าง มาอ่านไปพร้อม ๆ กันค่ะ

 

Apgar Score คือ อะไร

Apgar Score เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การประเมินสภาพทารกแรกเกิด เป็นการประเมินร่างกายของเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่  และถือว่าเป็นคัดกรองทารกแรกเกิดในเบื้องต้น โดยจะมีการตรวจการหายใจ อัตราการเต้นหัวใจ ชีพจร ความตึงของกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาตอบสนอง และสีผิวเด็ก ซึ่งการตรวจ Apgar Score นี้ จะทำทั้งหมด 2 ช่วง คือ หลังจากเด็กเกิดมาได้ 1 นาที และ 5 นาที โดยการตรวจ 1 นาทีแรก จะบอกได้ว่าเด็กทารกนั้น ทนต่อการคลอดของแม่ได้มากแค่ไหน และการตรวจนาทีที่ 5 นั้น จะบอกได้ว่าเด็กทนกับสภาพแวดล้อมนอกรกแม่ได้ดีแค่ไหน ทั้งนี้ คะแนนต่าง ๆ ที่ใช้ประเมินร่างกายเด็ก ๆ ก็จะแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 0 1 และ 2

 

ขั้นตอนและเกณฑ์ในการประเมินเด็กแรกเกิด หรือ Apgar Score

ตอนนี้ เรามาดูกันนะคะ ว่าขั้นตอนคัดกรองทารกแรกเกิด มีการคำนวณคะแนนยังไงบ้าง

 

1. การหายใจ

  • หากทารกไม่หายใจ คะแนนจะเท่ากับ 0
  • หากทารกหายใจช้า และไม่สม่ำเสมอ คะแนนจะเท่ากับ 1
  • หากทารกร้องไห้ได้ดี ถือว่าปกติ คะแนนจะเท่ากับ 2

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : สภาพเเวดล้อมตอนคลอด ส่งผลให้เจ้าหนูเป็นโรคย้ำคิดย้ำ

apgar score คือ อะไร

apgar score คือ อะไร ทำไมทารกจึงต้องตรวจ แม่ควรรู้อะไรบ้าง การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลทารกแรกเกิด คัดกรองทารกแรกเกิด (ภาพโดย KamranAydinov จาก freepik.com)

2. อัตราการเต้นของหัวใจ

แพทย์จะใช้หูฟัง เพื่อฟังเสียงหัวใจของเด็ก ๆ ซึ่งการคิดคะแนนมีดังนี้

  • หากเด็กไม่มีอัตราการเต้นของหัวใจ หรือหัวใจไม่เต้น คะแนนจะเท่ากับ 0
  • หากอัตราการเต้นของหัวใจเด็กน้อยกว่า 100 ครั้ง/นาที คะแนนจะเท่ากับ 1
  • หากอัตราการเต้นของหัวใจเด็กมากกว่า 100 ครั้ง/นาที คะแนนจะเท่ากับ 2

 

3. กล้ามเนื้อ

  • หากกล้ามเนื้อเด็กหย่อนยาน ตัวอ่อนปวกเปียก คะแนนจะเท่ากับ 0
  • หากเด็กมีกล้ามเนื้อ แต่ไม่เยอะมาก งอแขนงอขาพอได้บ้าง คะแนนจะเท่ากับ 1
  • หากเด็กมีการเคลื่อนไหวร่างกายได้ดี คะแนนจะเท่ากับ 2

 

4. การตอบสนอง

ในขั้นตอนนี้ คุณหมออาจจะลองหยิก หรือลองจับที่ตัวทารก เพื่อดูว่าทารกมีการตอบสนองอย่างไรต่อสิ่งเร้า

  • หากเด็กทารกไม่ตอบสนอง คะแนนจะเท่ากับ 0
  • หากทารกหน้าบึ้ง หรือสีหน้าเปลี่ยน คะแนนจะเท่ากับ 1
  • หากเด็กหน้าบึ้ง ไอ จาม หรือร้องไห้ออกมา คะแนนจะเท่ากับ 2

 

5. สีผิว

  • หากเด็กผิวซีด มีผิวสีน้ำเงิน คะแนนจะเท่ากับ 0
  • หากลำตัวท่อนบนเด็กเป็นสีชมพู แต่ลำตัวท่อนล่างเป็นสีน้ำเงิน คะแนนจะเท่ากับ 1
  • หากตัวเด็กเป็นสีชมพูทั้งตัว คะแนนจะเท่ากับ 2

 

คะแนนเหล่านี้ จะบอกได้ว่า เด็กมีปัญหาเรื่องการหายใจ หรือต้องได้รับความช่วยเหลือด้านอื่น ๆ หรือไม่ ซึ่งเมื่อตรวจเสร็จ คุณหมอจะทำการคิดคะแนนเฉลี่ยออกมา หากเด็กทารกได้คะแนนอยู่ที่ 7-9 คะแนน จะถือว่าเด็กมีสุขภาพดีเป็นปกติค่ะ
บทความที่เกี่ยวข้อง : ส่อง!!!ทารกแรกเกิดเป็นอย่างไรนะ
apgar score คือ อะไร2

apgar score ประเมิน apgar score  การพยาบาล apgar score คือการตรวจสุขภาพเด็กทารกแรกเกิดเบื้องต้น เพื่อดูว่าเด็กมีปัญหาทางการหายใจหรือไม่ การตรวจร่างกายทารกแรกเกิด ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลทารกแรกเกิด คัดกรองทารกแรกเกิด (ภาพโดย rawpixel จาก freepik.com)

วิธีดูแลเด็กตามคะแนนประเมิน

หลังจากทำการประเมินและคัดกรองเด็กแรกเกิดแล้ว คุณหมอและพยาบาลอาจทำการดูแลเด็ก ๆ ตามคะแนนดังต่อไปนี้ค่ะ

 

หากเด็กได้คะแนนประเมิน 8-10 คะแนน : เด็กกลุ่มนี้ ไม่ต้องเข้ารับการรักษาหรือการดูแลเป็นพิเศษ เพียงแต่อาจต้องให้ความอบอุ่นแก่เด็ก และคอยดูแลไม่ให้เด็กมีปัญหาด้านการหายใจ

หากเด็กได้คะแนนประเมิน 5-7 คะแนน : เด็กกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่ได้รับออกซิเจนไม่พอในช่วงสั้น ๆ ตอนเกิด ซึ่งคุณหมออาจให้เด็กใส่เครื่องช่วยหายใจชั่วคราว

หากเด็กได้คะแนนประเมิน 3-4 คะแนน : เด็กกลุ่มนี้ อาจเป็นเด็กที่เริ่มหายใจรวยริน ต้องได้รับการช่วยเหลือในทันที โดยอาจจะต้องใส่เครื่องช่วยหายใจแบบ 100%

หากเด็กได้คะแนนประเมิน 0-2 คะแนน : เด็กที่ได้คะแนน 0-2 คะแนน มักเป็นเด็กที่หายใจเองไม่ได้ หรือเป็นเด็กที่เกิดมาแล้วไม่หายใจ อาจต้องได้รับการนวดหัวใจ ใส่เครื่องช่วยหายใจ หรือใส่อุปกรณ์ไว้อื่น ๆ เพื่อพยุงชีวิต

 

คุณหมอจะทำอย่างไร หากตรวจพบความผิดปกติ

หากว่าคะแนนที่เด็กได้ต่ำเกินกว่า 7 คะแนน เด็กต้องได้รับการช่วยเหลือจากคุณหมอ ส่วนวิธีการดูแลเด็กก็จะแตกต่างกันไปตามคะแนนที่เด็กได้และอาการของเด็ก ๆ เอง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว เด็กทารกที่ได้คะแนน Apgar Score น้อย อาจเป็นเด็กที่เกิดจากการผ่าตัดคลอด คลอดออกมายาก คลอดก่อนกำหนด หรือมีของเหลวอยู่ทางเดินหายใจค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การประเมินแบบ Apgar Score เป็นการประเมินร่างกายเด็กเบื้องต้นหลังคลอดเท่านั้น ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่า เด็กจะมีปัญหาสุขภาพระยะยาวหรือไม่ หากเด็กได้คะแนนประเมินน้อย และได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม ก็จะสามารถอยู่รอดและใช้ชีวิตได้ตามปกติค่ะ

 

บทความจากพันธมิตร
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้

บทความที่เกี่ยวข้อง :
คุณรู้ไหม 24 ชั่วโมงแรงหลังคลอดที่โรงพยาบาล ทารกต้องเจอกับอะไรบ้าง
12 เรื่องที่แม่จ๋าอาจไม่รู้ คุณหมอทำอะไรกับ ทารกหลังคลอด
คุณหมอป้ายตาทารกแรกเกิดเพื่ออะไร ยาที่ป้ายตาทารกหลังคลอด คือยาอะไร

ที่มา : 1 , 2 , 3 , 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Kanokwan Suparat

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • Apgar Score คือ อะไร การตรวจร่างกายของเด็กแรกเกิด แม่ ๆ ควรรู้ไว้
แชร์ :
  • 8 วิธีรับมืออาการ เหงื่อออกตอนกลางคืน ของคุณแม่หลังคลอด

    8 วิธีรับมืออาการ เหงื่อออกตอนกลางคืน ของคุณแม่หลังคลอด

  • คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน

    คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน

  • เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

    เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

app info
get app banner
  • 8 วิธีรับมืออาการ เหงื่อออกตอนกลางคืน ของคุณแม่หลังคลอด

    8 วิธีรับมืออาการ เหงื่อออกตอนกลางคืน ของคุณแม่หลังคลอด

  • คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน

    คุณแม่ต้องอ่าน! พัฒนาการทางสังคม ของลูกน้อยวัย 1-36 เดือน

  • เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

    เด็กทารก กะพริบตา บ่อยผิดปกติ อันตรายไหม สาเหตุคืออะไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ