X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง

บทความ 5 นาที
เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยงเตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง

สิ่งของที่มองดูแล้วธรรมดาสำหรับผู้ใหญ่ แต่อาจเป็นภัยใกล้ตัวลูก ของใช้เด็กที่ว่าปลอดภัยแต่ความจริงแล้วอาจมีอันตรายที่แฝงอยู่ สิ่งของอันตราย เครื่องใช้ของเจ้าตัวน้อยบางชิ้นจึงควรระวังและไม่ประมาทเวลานำใช้นะคะ

เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้เลี่ยงหรือหาอย่างอื่นแทนดีกว่า

สิ่งของอันตราย

ของใช้เด็กที่ว่าปลอดภัยแต่ความจริงแล้วอาจมีอันตรายที่แฝงอยู่ สิ่งของอันตราย เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง

เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง !!

#1 เตียงเด็กแบบเลื่อนที่กั้นขึ้นลง

เตียงแบบนี้หากล็อคไม่ดีก็อาจเกิดอันตรายเนื่องจากที่กั้นด้านข้างอาจเลื่อนลงมาหนีบแขน ขา มือ หัวหรือตัวของเจ้าตัวน้อยที่เกาะหรืออยู่ใกล้ที่กั้น เตียงที่มีลักษณะแบบนี้นั้นได้ถูกสั่งห้ามใช้โดยคณะกรรมการความปลอดภัยด้านผลิตภัณฑ์สำหรับผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา (CPSC) ในปี 2011

ทำไมถึงอันตราย: ที่เลื่อนด้านข้างอาจหล่นลงมาบีบรัดคอเด็ก ทำให้หายใจไม่ออก ซึ่งทำให้เด็กเสียชีวิตไปแล้วอย่างน้อย 32 ราย ตั้งแต่ปี 2000 และอีกเป็นร้อยที่ไม่มีการรายงาน

วิธีแก้ไข: ใช้เตียงที่ติดอย่างแน่นทั้งสี่ด้าน ถ้าใครมีเตียงแบบนี้ ก็ควรทำให้ไม่สามารถเลื่อนได้ และเลือกเตียงที่มีมาตรฐาน

สิ่งของอันตราย

#2 เบาะกั้นกระแทกของเตียง

ในขณะที่คุณพ่อคุณแม่เฝ้าระวังอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับร่างกายลูกน้อย กลัวลูกกลิ้งไปชนขอบเตียงจึงเลือกซื้ออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันทารกจากการหัวกระแทกกับด้านข้างของเตียง แต่ตัวช่วยนี้อาจเป็นสาเหตุให้ทารกเสียชีวิตเฉียบพลัน หรือ SIDS จากการที่มีอะไรมาอุดจมูกลูกได้

ทำไมถึงอันตราย: ที่กันกระแทก อาจทำให้เด็กหายใจไม่ออก และตายเฉียบพลัน จากการศึกษาของ The Journal of Pediatrics พบว่า เด็กอายุ 1 เดือน ถึง 2 ปี เสียชีวิต 27 ราย จากการขาดอากาศหายใจจากที่กันกระแทกนี้ (1985 – 2005)

วิธีแก้ไข: เอาที่กันกระแทกออก ผู้เชียวชาญด้านความปลอดภัยแนะนำว่าให้ใช้เตียงที่โปร่งและพอดี

สิ่งของอันตราย

#3 เบาะจัดท่านอนทารก

แม้ว่าการใช้หมอนหรือเบาะจัดท่านอนทารกเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยกลิ้งตัวไปจนนอนคว่ำหน้า และยังช่วยยกหัวและหลังของทารกให้สูงเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน แต่ถ้าชะล่าใจปล่อยให้ลูกนอนเพียงลำพัง เจ้าตัวน้อยอาจพลิกคว่ำหน้าลงกับฟูกและอาจเป็นอันตรายเพราะหายใจไม่ออกได้ ซึ่งถ้าเลี่ยงได้ควรให้ทารกได้นอนในท่านอนหงายบนเบาะราบธรรมดาเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวดีกว่าค่ะ

ทำไมถึงอันตราย: ที่จัดท่านอนสำหรับเด็ก เพื่อไม่ให้กลิ้งไปมา หรือยกระดับศีรษะขึ้นมาเพื่อป้องกันกรดไหลย้อน แต่เด็กอาจจะหายใจไม่ออกถ้าหากเด็กคว่ำหน้าลง ซึ่งใน 13 ปีที่ผ่านมา มีเด็กเสียชีวิตไปแล้ว 13 คน วิธีแก้ไข: American Academy of Pediatrics แนะนำว่าให้เด็กนอนหงายเพื่อลดภาวะตายเฉียบพลัน ถ้าเด็กมีอาการกรดไหลย้อนให้รีบปรึกษากุมารแพทย์

สิ่งของอันตราย

#4 ผ้าห่มและหมอนใบจิ๋ว

หมอน ผ้าห่มอันเล็ก ๆ ที่ดูน่ารักเข้ากั้นเข้ากันสำหรับลูกน้อย แต่สิ่งของเหล่านี้มีความเสี่ยงอย่างมากที่จะทำให้ลูกน้อยหายใจไม่ออกได้เพียงแค่พลิกตัว

ทำไมถึงอันตราย: ผ้าห่มอาจจะพันเด็กหรือ หมอนที่นุ่มทำให้หายใจไม่ออกได้ ซึ่งพบเด็กที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้ในปี 2006-2008 จำนวน 92 คน จากการขาดอากาศหายใจเพราะหมอนกับผ้าห่ม และการให้เด็กนอนเตียงเดียวกับผู้ปกครอง อาจจะกลิ้งทับเด็กได้ ผู้เชียวชาญจึงไม่แนะนำให้นอนกับเด็ก

วิธีแก้ไข: ให้ลูกน้อยนอนสบายๆ ในเตียงเด็กแล้วใส่ชุดนอนที่คลุมถึงเท้า ถ้าคุณแม่ได้รับผ้าห่มสวยๆ มาเป็นของขวัญ ให้แขวนไว้ที่ผนังหรือใช้ตอนท้องแทน

สิ่งของอันตราย

#โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมทรงสูงหรือไม่มีขอบกั้นทั้ง 4 ด้าน

โต๊ะทรงสูงที่ไม่แข็งแรงมั่นคงเพียงพอ หรือไม่มีขอบเพื่อป้องกัน เพียงพ่อแม่ละสายตาชั่วพริบตา ลูกน้อยก็อาจกลิ้งหล่นลงมาได้โดยง่าย ทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าคือการเปลี่ยนผ้าอ้อมบนเบาะที่วางราบกับพื้นหรือเวลาเปลี่ยนผ้าอ้อมบนโต๊ะให้ลูกได้อยู่ด้านข้างเสมอและวางมือข้างหนึ่งไว้บนตัวลูกตลอดเวลา ไม่ควรออกห่างหรือละสายตาจากลูกแม้เพียงเสี้ยวนาทีเมื่อลูกยังอยู่บนโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมนะคะ

ทำไมถึงอันตราย: โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมที่เล็กเกินไป เด็กอาจจะตกจากโต๊ะได้ ซึ่งมีเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ประมาณ 4,500 คน เกิดการบาดเจ็บในปี 2009

วิธีแก้ไข: เลือกโต๊ะที่ได้มาตรฐานเรื่องความปลอดภัย ควรเปลี่ยนเป็นโต๊ะที่ใหญ่ขึ้นและผิวเรียบ ไม่ควรปล่อยมือจากเด็ก อย่างน้อยต้องใช้มือ 1 ข้าง จับเด็กไว้ และไม่ห่างจากตัวเด็ก

สิ่งของอันตราย

#6 รถหัดช่วยเดิน

แม้ว่ารถหัดเดินจะดูเหมือนเป็นตัวช่วยที่ทำให้ลูกน้อยฝึกยืนและหัดเดิน แต่ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกน้อยเป็นอันตรายได้จากการไถลไปชนกับกำแพงหรือตกบันได และที่สำคัญสิ่งนี้ยังอาจเป็นตัวขัดขวางพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อของวัยเตาะแตะได้ เพราะการใช้รถหัดเดินคล้ายกับเป็นการถูกบังคับให้เดิน โดยไม่ได้ใช้กล้ามเนื้อที่ถูกส่วน จะทำให้เด็กเดินเขย่งปลายเท้ามากกว่าหัดเดินด้วยตัวเองแบบเต็มเท้าบนพื้นที่มั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ระบุว่า รถพยุงตัวหรือรถหัดเดินเป็นอุปกรณ์ที่ยังคงวางขายทั่วไปในห้างสรรพสินค้าและร้านของใช้เด็ก พ่อแม่ในสังคมไทยมีความเคยชินในการใช้เป็นอย่างมาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะจัดหาให้เด็กเมื่อเด็กอายุประมาณ 5-6 เดือน ขณะที่การศึกษาพบว่า พ่อแม่หาซื้อให้เด็กตั้งแต่เด็กอายุประมาณ 4 เดือน ร้อยละ 50 คิดว่า จะช่วยให้เด็กเดินได้เร็วขึ้น ร้อยละ 40 ให้เหตุผลว่า ใช้เพราะผู้ดูแลไม่ว่าง ต้องทำงานบ้าน จึงต้องมีที่ที่วางเด็กไว้โดยไม่ต้องดูแลเอง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ตรงข้ามกับข้อควรปฏิบัติในการใช้ทั้งสิ้น

ขณะที่ในต่างประเทศอย่างแคนาดา ออสเตรเลีย และบางรัฐในสหรัฐอเมริกา ได้มีกฎหมายห้ามมิให้มีการจำหน่ายรถหัดเดินแล้ว ในบางรัฐให้มีการจำหน่ายพร้อมคำเตือนอันตรายแก่ผู้ซื้อ ในบ้านเราปัจจุบันสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้เรียกว่า รถพยุงตัว ไม่ให้ใช้คำว่า รถหัดเดิน และให้กำกับฉลากคำเตือนบนผลิตภัณฑ์ให้ผู้ดูแลเด็กรู้ว่าอาจมีอันตราย ต้องอยู่ใกล้ชิดเด็กเมื่อใช้ผลิตภัณฑ์นี้ และไม่ช่วยในการหัดเดิน

สิ่งของอันตราย

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

#7 เก้าอี้อาบน้ำทารกในอ่างหรือที่รองอาบน้ำ

ความปลอดภัย

  • ควรมีอุปกรณ์กันลื่นที่ก้นอ่าง เพื่อไม่ให้อ่างเคลื่อนที่ ขณะที่ลูกน้อยของคุณอยู่ในอ่าง
  • อ่างอาบน้ำบางรุ่น มีอุปกรณ์เสริมเป็นผ้า โฟม หรือ ตาข่าย อาจเสี่ยงต่อการขึ้นรา ควรเลือกที่ถอดซักตากแดดได้เพื่อป้องกันเชื้อรา
  • อ่างอาบน้ำทารก ควรทำด้วยพลาสติกอย่างหนา ที่จะไม่เสียรูปทรงได้ง่าย ๆ เมื่อต้องรับน้ำหนักของน้ำ
  • รูปทรงต้องโค้งมน ไม่มีเหลี่ยมมุม หรือความคม ที่อาจขีดข่วนผิวบอบบางของลูกน้อยได้

แม้ว่าเก้าอี้อาบน้ำทารกถูกออกแบบมาเพื่อรองตัวทารกให้นั่งในอ่างอาบน้ำได้ แต่ภัยเงียบที่เกิดขึ้นคือการที่พ่อแม่ละเลยเรื่องความปลอดภัย การละสายตาจากลูกน้อยอาจทำให้เด็กลื่นล้มแล้วจมน้ำได้ ดังนั้นในขณะอาบน้ำลูกน้อยนั้นไม่ควรหันหลังให้กับลูกขณะอาบน้ำหรือทิ้งลูกไว้ในอ่างน้ำเพียงลำพังแม้เพียงแค่ชั่วครู่ หรือเลี่ยงมาใช้อ่างอาบน้ำที่เป็นพลาสติกแข็ง และวางแผ่นกันลื่นไว้ โดยให้มืออีกข้างของคุณแม่ประคองตัวลูกไว้ขณะที่อาบน้ำตลอดเวลานะคะ

สิ่งของอันตราย

#8 เก้าอี้หัดนั่ง

เก้าอี้หัดนั่ง หรือบัมโบ้ซีท เป็นเก้าอี้มหัศจรรย์ของคุณพ่อคุณแม่หลายๆคน เพราะเชื่อในคำโฆษณา ทราบหรือไม่ เก้าอี้หัดนั่งสำหรับทารกถูกเรียกคืนหลายล้านตัว เนื่องจากเด็กประสบอุบัติเหตุจากการใช้เก้าอี้ดังกล่าว ทำให้กระโหลกศีรษะร้าวไปหลายสิบราย ไม่ปลอดภัยเลยจริงๆค่ะ ตามพัฒนาการของร่างกายเด็กเมื่อเข้าสู่ เดือนที่ 6 -7 เป็นต้นไป กระดูกสันหลัง กระดูกคอ และกล้ามเนื่อต่างๆเริ่มเเข็งแรงแล้ว ทารกก็จะค่อยๆฝึกนั่งเองตามธรรมชาติ ไม่ควรเร่งพัฒนาการเด็กมากเกินไปเพราะนอกจากจะทำให้เกิดภาวะเครียดแล้ว อาจเกิดอุบัติเหตุจากการเลือกใช้เก้าอี้หัดนั่งได้ค่ะ

แม้ว่าเจ้าเก้าอี้จะออกแบบมาให้ดูน่ารัก และช่วยให้ลูกน้อยวัยคลายฝึกหัดนั่ง แต่ก็เป็นสาเหตุที่อาจทำให้ลูกน้อยนั้นตกจากเก้าอี้และได้รับบาดเจ็บบางรายถึงขั้นกะโหลกแตก คณะกรรมการเรื่องความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคของสหรัฐพบว่า เด็กเล็กสามารถเอนหลังและหมุนตัวออกจากเก้าอี้หัดนั่งสำหรับทารกได้อย่างง่ายดาย ซึ่งทำให้เด็ก ๆ มีความเสี่ยงต่ออาการบาดเจ็บได้ ดังนั้นก่อนใช้เก้าอี้หัดนั่งคุณแม่ต้องแน่ใจว่าลูกสามารถยกหัวตั้งตรงได้แล้ว และไม่ควรปล่อยให้ลูกนั่งอยู่ในเก้าอี้หัดนั่งเพียงลำพังแม้ว่าจะ “แค่ไม่กี่วินาทีก็ตาม”


ที่มา : 1

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

https://www.parentsone.com

5 เครื่องดื่มอันตราย อย่าคิดดื่มตอนตั้งครรภ์เลยนะแม่

เปิด 5 จุดอันตรายใกล้บ้าน ที่คนมีลูกเล็กต้องระวัง!

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เตือน 8 สิ่งของอันตราย อาจไม่ปลอดภัยสำหรับเด็กเล็ก เลี่ยงได้ควรเลี่ยง
แชร์ :
  • 10 กิจกรรมแม่ท้อง ไม่อยากแท้ง เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง

    10 กิจกรรมแม่ท้อง ไม่อยากแท้ง เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง

  • ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

    ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

app info
get app banner
  • 10 กิจกรรมแม่ท้อง ไม่อยากแท้ง เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง

    10 กิจกรรมแม่ท้อง ไม่อยากแท้ง เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง

  • ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

    ยาปลอดภัยสำหรับเเม่ อาจไม่ปลอดภัยสำหรับลูก เเม่ท้องไม่ควรใช้ยาจริงหรือไม่

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

    สามี-ภรรยา เกิดมาร่วมกันในชาตินี้ แสดงว่าทำกรรมร่วมกันมา แต่อดีตชาติจริงหรือ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ