รัดแน่นไปหรือเปล่า? รพ. ใช้สายวัดชีพจรที่เท้าเด็ก 6 เดือน จนเป็นรอยช้ำ

ญาติช็อก และเรียกร้องให้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกระบี่ รัดแน่นไปหรือเปล่า? รพ. ใช้สายวัดชีพจรที่เท้าเด็ก 6 เดือน จนเป็นรอยช้ำ

รัดแน่นไปหรือเปล่า? รพ.ใช้สายวัดชีพจรที่เท้าเด็ก 6 เดือน จนเป็นรอยช้ำ

ญาติช็อก และเรียกร้องให้โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในกระบี่ ออกมาชี้แจง หลังเจ้าหน้าที่ใช้สายรัด เพื่อวัดชีพจรที่เท้าเด็ก 6 เดือน จนเป็นรอยช้ำ และเด็กมีอาการร้องไห้งอแง จนต้องตั้งคำถาม รัดแน่นไปหรือเปล่า? รพ. ใช้สายวัดชีพจรที่เท้าเด็ก 6 เดือน จนเป็นรอยช้ำ

เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2567 จากกรณีผู้ปกครอง เด็กชาย 6 เดือนโพสต์เฟซบุ๊กแชร์เรื่องราว การรักษาตัวของน้องในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ที่จังหวัดกระบี่ โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลได้ใช้สายรัดวัดชีพจรของเด็กจนเท้าเป็นรอย กลายเป็นดราม่าในโลก Social โดยหลายคนตำหนิการทำงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล เรื่องการดูแลผู้ป่วย

โดยล่าสุดวันนี้ ผู้สื่อข่าวไทยรัฐได้ติดต่อไปที่ผู้บริหารของโรงพยาบาลดังกล่าว ได้รับคำตอบว่า ตอนนี้อยู่ในระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงจากกรณีที่เกิดขึ้น ว่าเกิดความผิดพลาดขึ้นจริงตามที่มีผู้ร้องเรียนหรือไม่ เกิดความผิดพลาดจากอุปกรณ์ หรือขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่ โดยหลังจากนี้จะออกมาอธิบายให้สังคมได้รับทราบต่อไป

ในเวลาเดียวกัน นางแก้ว (นามสมมติ) ป้าของเด็กวัย 6 เดือน เล่าว่า น้องที่ปรากฏในข่าวเป็นหลาน ซึ่งตนเองเป็นคนเห็นเหตุการณ์ หลังเกิดกระแสในโซเชียล ยอมรับว่าพ่อแม่ของน้องมีความกังวล ลูกจะได้รับผลกระทบ เนื่องจากเด็กยังต้องนอนรักษาตัวในห้องไอซียูเด็ก ผู้ปกครองไม่สามารถเข้าไปเฝ้าดูแลได้ จึงอยากฝากถึงเจ้าหน้าที่ในห้องรักษา ให้ช่วยดูแลน้องอย่างใกล้ชิด ส่วนทางครอบครัวก็รอฟังว่าทางผู้บริหารของโรงพยาบาลจะอธิบายเรื่องนี้อย่างไร โดยจากเหตุการณ์นี้ ครอบครัวไม่ได้ต้องการออกมาเพื่อทำลายชื่อเสียงของโรงพยาบาล แต่อยากให้มีการปรับปรุงในการดูแล ให้คิดว่าผู้ป่วยทุกคนเหมือนญาติ เป็นลูกเป็นหลานของท่านเอง จึงอยากฝากผู้บริหารให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย

รพ. ใช้สายวัดชีพจรที่เท้าเด็ก ขอบคุณรูปภาพจากกลุ่ม แจ้งข่าวกระบี่

 

รพ.ใช้สายวัดชีพจรที่เท้าเด็ก 6 เดือน จนเป็นรอยช้ำ

จากวันที่ 23 เมษายน 2567 ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ได้โพสต์ภาพ และข้อความลงในกลุ่มแจ้งเหตุ แจ้งข่าวกระบี่ โดยเป็นภาพของฝ่าเท้าทารก ถูกยางรัดจนมีสภาพเขียวคล้ำ พร้อมแคปชั่น "อยากฝากผู้เกี่ยวข้องผู้บริหารโรงพยาบาลกระบี่ รบกวนดูแลและอบรมและรับผิดชอบบุคลากรโรงพยาบาลดูแลเด็ก อย่างไงเอาสายรัดเท้าเด็กขนาดนี้เหมือนจะขาดเด็กมันเจ็บแต่มันบอกไม่ได้ถ้าญาติไม่เห็นเท้าขาดเลือดเด็กต้องตัดขาคุณมีปัญญามารับผิดชอบอย่างไรกับเหตุการณ์แบบนี้ รบกวนท่านผู้บริหารออกมารับผิดชอบด้วยค่ะว่าอย่างไร

ซึ่งหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกแชร์ออกไป มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก เช่น สงสารเด็กมาก ๆ การบริการอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน, คอมเมนต์ มาในแบบให้ปรับปรุง 99.9% เลย ขอให้ทุกฝ่ายเข้าใจ, แย่มาก ๆ ค่ะ สงสารเด็ก น้องคงเจ็บมากแต่พูดไม่ได้ เป็นต้น

จากการสอบถาม โดยน.ส.สุภาวดี (สงวนนามสกุล) อายุ 37 ปี แม่ของเด็ก เล่าว่า ในภาพคือ ลูกชายวัย 6 เดือน น้องเข้า รพ. ด้วยอาการเหนื่อยหอบ เพราะตัวน้องเองมีประวัติป่วยด้วยโรคหัวใจรั่ว เนื่องจากช่วงที่คลอด ลูกชายของตนได้สำลักน้ำคร่ำ โดยตอนนี้นอนรักษาอาการที่ห้องไอซียู ของโรงพยาบาล นานมา 3 เดือนแล้ว

วันที่เกิดเหตุ น.ส.สุภาวดี ให้พี่สาวไปเยี่ยมลูก โดยเมื่อไปถึงเห็นว่าน้องร้องไห้ งอแง ตลอดเวลาจึงพยายามมองหาว่าหลานเป็นอะไรหรือเปล่า กระทั่งเห็นสายรัดที่ฝ่าเท้าจึงบอกให้พยาบาลมาช่วยปลดสายรัดให้หน่อย แต่พยาบาลแจ้งว่าต้องรัดให้แน่น เพราะต้องจับชีพจรน้อง แต่สายรัดเท้ารัดเท้าจนบวมแดง พี่สาวจึงขอให้เอาออก

หลังจากเหตุการณ์นั้น ทางญาติ ๆ ก็ได้นำเรื่องนี้มาโพสต์มากในโซเชียล เพราะอยากให้พยาบาลดูแลเอาใจใส่มากกว่านี้หน่อย เด็กต้องทนเจ็บมานานมาก ตอนนี้อาการเริ่มดีขึ้นแล้ว สิ่งนี้อยากเรียกร้อง คือให้น้องได้รับการดูแลให้ดีขึ้น ได้รับการรักษาที่ดีกว่านี้ หรือส่งต่อไปที่ โรงพยาบาลที่พร้อมมากกว่านี้ ซึ่งตอนนี้น้องกำลังคิวส่งไปรักษาที่สงขลา เพราะน้องยังเล็ก ไม่สามารถที่จะบอกได้ว่าเจ็บ อีกทั้งน้องอยู่ไอซียู ญาติก็เฝ้าดูแลไม่ได้

รู้หรือไม่? "เด็กแรกเกิด" รับรู้ความรู้สึกเจ็บปวดได้ไวกว่าผู้ใหญ่

สมองของ เด็กแรกเกิด มีความคล้ายกับสมองผู้ใหญ่ จากการค้นคว้าวิจัยทางด้านสมองของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด (Oxford University) พบว่า เมื่อเด็กทารกมีอาการเจ็บปวดจะมีความรู้สึกเช่นเดียวกับผู้ใหญ่

การศึกษาวิยจัยครั้งนี้ ใช้เด็กแรกเกิด ที่มีสุขภาพดีจำนวน 10 คน อายุระหว่าง 1 – 6 วัน และผู้ใหญ่สุขภาพดี จำนวน 10 คน อายุระหว่าง 23 – 36 ปี โดยทารกทุกคนจะได้รับคัดเลือกจากโรงพยาบาลจอห์นคลิฟฟ์อ๊อกซ์ฟอร์ด และอาสาสมัครผู้ใหญ่นั่นจะใช้เจ้าหน้าที่หรือนักศึกษาของมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด

ในระหว่างทำการวิจัยมีผู้ที่ร่วมทำการทดสอบทั้งทารกแรกเกิด พ่อแม่ และบุคลากรทางการแพทย์ โดยการใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า Magnetic Resonance Imaging หรือ MRI (เป็นเครื่องที่ใช้สร้างภาพเสมือนจริงภายในร่างกาย โดยใช้สนามแม่เหล็กและคลื่นวิทยุ แล้วนำมาประมาณผลที่คอมพิวเตอร์) ใช้สแกนร่างกายของผู้ทดสอบขณะที่พวกเขานอนหลับ จากนั้นใช้แท่งแบบพิเศษจิ้มที่ปลายเท้าของทารก ทำให้มีความรู้สึกเหมือนโดนดินสอจิ้ม แต่เป็นการกระตุ้นเบาๆ เท่านั้น เพื่อจะได้ไม่ให้ทารกน้อยตื่น เสร็จแล้วดูปฎิกิริยาตอบสนองความรู้สึกของทารกผ่าน MRI ก่อนจะนำไปเปรียบเทียบกับสมองของผู้ใหญ่ ที่ใช้วิธีการสแกนเช่นเดียวกับทารก

จากการวิจัยพบว่า ผู้ใหญ่จำนวน 18 ใน 20 คน จะแสดงอาการเช่นเดียวกับทารก และจากการสแกน พบว่า สมองของทารกจะตอบสนองต่อการจิ้มเพียงเบาๆ (128 mN) เท่านั้น ในขญะที่ผู้ใหญ่ต้องได้รับแรงกระตุ้นแรงๆ (512mN) ถึง 4 ครั้ง นั่นหมายความว่า เด็กทารกจะรับรู้ความรู้สึกเหมือนกับผู้ใหญ่ แต่พวกเขาสามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ต่ำกว่าหรือไวกว่าผู้ใหญ่เท่านั่นเอง

การวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก The Wellcome Trust และได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร eLife ดร. Rebeccah Slater จากแผนกกุมารเวชศาสตร์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด กล่าวว่า “ไม่นานมานี้ คนส่วนใหญ่ไม่เคยคิดจะศึกษาความเจ็บปวดของทารกโดยใช้ MRI ได้ เพราะว่าเด็กๆ นั้นไม่เหมือนกับผู้ใหญ่” ดร. Slater ยังกล่าวต่อว่า “ทารกที่มีอายุน้อยกว่า 1 สัปดาห์ จะว่านอนสอนง่ายมากกว่าเด็กที่อายุมากกว่า และพวกเรายังค้นพบว่า พ่อแม่ของพวกเขาสามารถที่จะนอนหลับภายในเครื่องแสกนได้ เพื่อที่จะศึกษาความเจ็บปวดในสมองของทารกโดยใช้ MRI”

จะเห็นได้ว่าเรื่องความเจ็บปวดเป็นเรื่องสำคัญ เพราะทารกไม่สามารถบอกได้ว่าพวกเขารู้สึกเจ็บปวด และหากมองด้วยตาเปล่าจะไม่รู้เลยว่าทารกมีอาการเจ็บปวดอยู่ ในความเป็นจริงบางคนเกิดการโต้แย้งว่าสมองของเด็กทารกอาจยังไม่มีการพัฒนาอย่างเต็มที่ ทำให้พวกเขารู้สึกเจ็บปวดเพียงเพราะได้รับการกระตุ้นเบาๆ เท่านั้น

การศึกษานี้ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะเกิดขึ้นจากองค์กรที่เกี่ยวกับการสร้างภาพการทำงานของทารก โดยเพื่อนของเขาที่  UCL ไม่เพียงแค่นั้น นักวิจัยกล่าวว่า ในตอนนี้เป็นไปได้ว่าเราได้เห็นอาการที่เจ็บปวดภายในสมองของทารกที่คล้ายกับผู้ใหญ่

เมื่อเร็วๆ นี้ ในปี 1980 การศึกษาหาปฏิบัติการระงับความรู้สึกที่เส้นประสาทและกล้ามเนื้อของทารกเป็นเรื่องธรรมดา เพราะในขณะนั้นไม่มีตัวยาใดที่ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดในขณะผ่าตัด ต่อมาในปี 2014 มีการจัดการความเจ็บปวดของทารกแรกเกิดขึ้น แม้ว่าทารกจะได้รับความเจ็บปวดเฉลี่ย 11 ครั้งต่อวัน แต่ทารกกว่า 60% ไม่ได้รับยาแก้ปวดใดๆ “เด็กๆ นับพันคนทั่วประเทศอังกฤษต้องเผชิญกับความเจ็บปวดทุกๆ วัน บ่อยครั้งพวกเขาไม่ได้รับแนวทางความช่วยเหลือในการจัดการความเจ็บปวดเลย การศึกษาจึงชี้ให้เห็นว่า ไม่เพียงแค่ทารกรู้สึกเจ็บปวดอย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะมีความรู้สึกไวกว่าผู้ใหญ่” Dr Slater กล่าว

การศึกษาในปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะตรวจพบสัญญาณความเจ็บปวดเส้นประสาท โดยใช้เทคโนโลยี MRI ในอนาคตพวกเราหวังว่าจะมีการพัฒนาระบบการตรวจจับ “สัญญาณความเจ็บปวด” ในสมองของทารก ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถทดสอบหาความแตกต่างของการบรรเทาอาการเจ็บปวด และสามารถใช้งานได้ประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บแต่ไม่สามารถพูดได้

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!