สาวเมียนมา คลอดลูกฉุกเฉิน บนรถทัวร์ ชาวบ้านแห่กันส่องทะเบียนรถ!

เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2566 เมื่อเวลา 05.10 น. ทางศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน ศูนย์กู้ชีพเวียงพิงค์จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับแจ้งว่าได้มีหญิงปวดท้องใกล้ คลอดลูกฉุกเฉิน ได้เดินทางมากับรถทัวร์โดยสาร สายกรุงเทพฯ – ท่าตอน หมายเลขทะเบียน 16-1011 กรุงเทพมหานคร ต้องการความช่วยเหลือด่วน ทางศูนย์กู้ชีพจึงได้จัดรถพยาบาลเข้าตรวจสอบ โดยพบว่ารถโดยสารคันนี้ ได้เดินทางมาจากกรุงเทพ ฯ ซึ่งเมื่อได้รับแจ้งว่ามีหญิงปวดท้องใกล้ คลอดลูกฉุกเฉิน ผู้ขับขี่รถโดยสารคันดังกล่าว จึงได้ตัดสินใจมาจอดรอยังบริเวณสถานีขนส่งแห่งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ ที่ตัวอำเภอเมือง

 

โดยเมื่อเจ้าหน้าที่ได้เดินทางไปถึง พบว่า หญิงคนดังกล่าวเป็นชาวเมียนมาไม่สามารถสื่อสารภาษาไทยได้ หญิงชาวเมียนมาได้เดินทางมาจากกรุงเทพฯ กลับรถโดยสารคันดังกล่าว แต่เมื่อมาใกล้ถึงยังตัวเมืองเชียงใหม่ก็ได้มีอาการปวดท้องคลอด ทางพนักงานขับรถได้ประสานเจ้าหน้าที่เข้ามาให้การช่วยเหลือในการทำคลอด

 

ก่อนที่หญิงชาวเมียนมาคนดังกล่าว จะคลอดเด็กทารกเพศหญิง น้ำหนักประมาณ 2.5 กิโลกรัม ออกมาได้อย่างปลอดภัย จากการตรวจสอบเบื้องต้นสุขภาพแข็งแรงดี ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ช่วยกันปฐมพยาบาล ก่อนนำมารดาและเด็กทารกส่งยังโรงพยาบาลนครพิงค์ เพื่อทำการตรวจเช็กสุขภาพอีกครั้งหนึ่ง

 

ทั้งนี้ระหว่างที่เจ้าหน้าที่กำลังปฐมพยาบาล ผู้โดยสารที่เดินทางมากับรถคันดังกล่าวต่างพากันเห็นใจหญิงสาวคนดังกล่าว และได้ช่วยกันนำเงินมามอบให้กับหญิงสาวคนดังกล่าวเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเข้ารักษาตัวอย่างโรงพยาบาลในครั้งนี้ ซึ่งเป็นภาพที่น่าประทับใจอย่างยิ่ง ก่อนรถคันดังกล่าวจะออกเดินทางไปยังปลายทางต่อไป

 

คลอดลูกฉุกเฉิน

 

นอกจากนี้แล้ว ชาวบ้านหลายคนที่อยู่ในเหตุการณ์ ต่างส่องและจดเลขทะเบียนรถโดยสาร 16-1011 เพื่อนำไปเสี่ยงโชคงวดวันที่ 1 เม.ย. 2566 นี้กันด้วยค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง ไม่รู้ว่าท้อง สาววัย 31 คลอดลูกในห้องน้ำ คิดว่ากินจุจนอ้วน เชื่อลูกให้โชค!

 

7 ขั้นตอนในการรับมือ คลอดลูกฉุกเฉิน ด้วยตัวคนเดียว!

1. เช็กระดับความฉุกเฉิน

หากนี่เป็นการตั้งท้องครั้งแรก คุณแม่ไม่ทราบอย่างแน่นอน ว่าคุณแม่มีเวลาอีกนานแค่ไหน กว่าลูกถึงจะคลอดออกมา ถุงน้ำคร่ำจะแตกก่อนหรือที่เรียกว่าน้ำเดิน โดยจะมีน้ำปริมาณมากไหลออกมาจากช่องคลอด ก็ขอให้คุณแม่ทราบไว้ว่า สิ่งที่จะต้องทำเป็นอันดับแรกเลยคือ การตั้งสติค่ะ อย่าสติแตกไปเสียก่อน เพราะในนาทีนี้ ตนเป็นที่พึ่งแห่งตนจริง ๆ ค่ะ

 

2. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ

ให้คุณแม่พยายามโทรขอความช่วยเหลือ จากเบอร์ฉุกเฉินต่าง ๆ เช่น

– สถานที่ตำรวจ โทร. 191
– สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669
– ศูนย์เอราวัณ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โทร. 1646
– สถานีวิทยุ จส.100 โทร. 1137
– สถานีวิทยุ สวพ.91 โทร. 1644

 

3. ตั้งสติ

ขณะที่รอรถตำรวจ หรือรถของมูลนิธิ ช่วงเวลานี้คุณแม่จะต้องตั้งสติให้ดี ก่อนที่จะตื่นตระหนกมากไปกว่านี้ ทบทวนตัวเองมีโรคประจำตัวหรืออาการแทรกซ้อนในการคลอดหรือไม่ ลองนึกย้อนดูว่าคุณหมอว่ายังไงบ้าง และพยายามหายใจเข้าออกลึก ๆ ครั้งล่าสุดที่ตรวจครรภ์ ลูกอยู่ในท่ากลับหัวรึยัง ถ้ากลับแล้ว สามารถตัดความกังวลใจไปได้หนึ่งสิ่ง และในหลายประเทศ นิยมการคลอดลูกที่บ้านด้วยซ้ำไปค่ะ

บทความที่เกี่ยวข้อง รับมือคลอดลูกฉุกเฉิน คลอดง่าย ๆ ทำได้คนเดียว

 

คลอดลูกฉุกเฉิน

 

4. ผ่อนคลายเข้าไว้

หายคุณแม่ยังลุกเดินไหวอยู่ในตอนนี้ พยายามอยู่ในท่าที่สบายที่สุด ท่านั่ง นอน หรือคุกเข่าก็ได้ค่ะ การอยู่ในสถานที่ ๆ เงียบสงบหรือเปิดเพลงเบา ๆ มีไฟสลัว ๆ ไม่สว่างมาก ช่วยทำให้คุณแม่ผ่อนคลายได้มากขึ้นนะคะ ระหว่างนี้พยายามติดต่อญาติที่อยู่ใกล้ ๆ หรือคุณสามีหรือเพื่อนบ้านใกล้เคียง อย่างน้อย จะช่วยหยิบจับอะไรให้คุณแม่ได้บ้างค่ะ

 

5. ถ้าลูกอยากออก ก็ปล่อยออกมา

หากถุงน้ำคร่ำแตก มีลมเบ่งมาพร้อม และร่างกายสั่งให้คุณแม่เบ่ง ก็จงเบ่งค่ะ เมื่อมดลูกหดรัดตัวให้คุณแม่สูดลมหายใจช้า ๆ 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 ให้คุณแม่หายใจเข้าลึก ๆ แล้วกั้นไว้ ยกศีรษะก้มหน้าคางจรดอก แยกเข่าให้กว้าง แล้วออกแรงเบ่งลงทางช่องคลอดคล้ายถ่ายอุจจาระ นานประมาณ 6 วินาที แล้วผ่อนลมหายใจออก เงยหน้าขึ้น แล้วเบ่งซ้ำเช่นเดิม คุณแม่สามารถเบ่งได้ 3 – 4 ครั้ง  ถ้ารู้สึกว่าหัวลูกโผล่ออกมาแล้ว ห้ามดึงลูกออกมาเด็ดขาด เพียงแค่ประคองหัวลูกไว้ แล้วคุณแม่ค่อย ๆ เบ่งให้ลูกออกมา ถ้าสังเกตว่ามีรกพันอยู่ที่คอ ให้คุณแม่ค่อย ๆ เอานิ้วสอดเข้าไปและแกะออก

 

คลอดลูกฉุกเฉิน

 

6. หลังจากคลอดลูกออกมาแล้ว

วางลูกเอาไว้บนท้อง หรือต้นขาคุณแม่ ให้ร่างกายของคุณแม่มอบไออุ่นให้กับลูก จากนั้นก็พยายามให้ลูกดูดนม หากลูกแหวะน้ำคร่ำออกมาไม่ต้องตกใจ เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ สังเกตดูว่าลูกหายใจไหม ถ้าลูกร้องออกมา ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ แต่ถ้าลูกไม่ร้องให้อุ้มลูกให้หัวของลูกอยู่ต่ำกว่าเท้า จากนั้นลูบหลังเบา ๆ ให้ลูกหายใจเอาน้ำคร่ำออกมา ถ้ายังไม่ได้ผลให้เป่าปากลูกนะคะ พยายามให้ออกซิเจนกับลูก แต่มีเด็กเพียงแค่ 1% เท่านั้นที่ต้องการความช่วยเหลือหลังจากคลอดออกมา คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลไปค่ะ หลังจากนั้นเมื่อลูกหายใจแล้ว พยายามให้ลูกดูดนม การดูดนมคุณแม่จะช่วยกระตุ้นให้รกที่อยู่ข้างในไหลออกมาเอง ประมาณ 20 นาทีค่ะ

 

7. ห้ามตัดสายสะดือเองโดยเด็ดขาด

ห้ามตัดสายสะดือเองโดยเด็ดขาดเพราะ การตัดสายสะดือต้องทำในที่ปลอดเชื้อ แล้วเลือดประมาณ 30% ของลูก จะอยู่ในสายสะดือ นั่นหมายความว่าคุณมีเวลาอีก 2-5 นาทีที่จะรอทีมช่วยเหลือ หรือรถพยาบาลเข้ามา ดังนั้นรอการช่วยเหลือดีที่สุด ให้คุณหมอ พยาบาล หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรมเป็นคนตัดสายสะดือให้ดีกว่าค่ะ

 

หากคุณแม่ต้องอยู่ในสถานการณ์คลอดฉุกเฉินคนเดียว อย่าลืมที่จะปฏิบัติตามขั้นตอน สิ่งแรกที่ต้องทำคือประเมินสถานการณ์ความฉุกเฉินของตัวคุณแม่เอง และรีบโทรขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นสถานีตำรวจ หรือสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน ทบทวนตัวเองว่าครั้งล่าสุดแพทย์ได้แจ้งความผิดปกติเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หรือไม่ หรือลูกอยู่ในท่ากลับหัวรึยัง หาที่นั่งที่สบายตัวและผ่อนคลาย หากรู้สึกว่าลูกกำลังจะมาไม่ต้องกลั้นให้ปล่อยเป็นธรรมชาติ หลังจากคลอดมาแล้วทำให้ลูกหายใจ และห้ามตัดสายสะดือเองโดยเด็ดขาดค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

หลังคลอดเองกี่วันขับรถได้ หลังคลอด ขับรถได้ไหม เมื่อไรแผลจะหายดี

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

เรื่องน่ารู้! ขั้นตอนคลอดธรรมชาติ มีวิธีรับมืออย่างไรบ้างสำหรับคุณแม่ใกล้คลอด

ที่มา :

www.sanook.com

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!