วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องฉีดวัคซีนอะไรบ้าง

คุณแม่ที่มีลูกน้อยควรฉีด วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อตัวคุณแม่และลูกน้อย

คุณแม่ที่มีลูกน้อยควรฉีด วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อตัวคุณแม่และลูกน้อย เรามาดูกันค่ะว่า วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีวัคซีนอะไรบ้าง

 

ทำไมวัคซีนถึงสำคัญกับคุณแม่ 

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

วัคซีนมีความสำคัญอย่างมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เพื่อสุขภาพและความปลอดภัยของทั้งคุณแม่และทารกในครรภ์ จริง ๆ แล้ววัคซีนมีความสำคัญกับคุณแม่ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ เพราะก่อนการตั้งครรภ์คุณแม่ควรได้รับวัคซีนที่สำคัญสำหรับการตั้งครรภ์คือ วัคซีนป้องกันหัดเยอรมัน เพื่อป้องกันอันตรายต่อทารกในครรภ์ ในอนาคตซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก

 

หัดเยอรมันน่ากลัวอย่างไร 

เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส หากเป็นในระยะตั้งครรภ์อาจส่งผลให้ทารกเกิดความพิการได้ เมื่อทารกมีการติดเชื้อไวรัสจะทำให้การแบ่งตัวของเซลล์ต่าง ๆ ของทารกในครรภ์หยุดลง หรือทำให้อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ มีขนาดเล็ก และมีการสร้างเซลล์น้อยกว่าปกติ การสร้างอวัยวะช้า และผิดปกติไป ส่งผลทำให้มีอวัยวะที่ผิดปกติเพื่อความปลอดภัยของว่าที่คุณแม่ และทารกในอนาคต หลังฉีดวัคซีนป้องกันหัดเยอรมันแล้ว ควรคุมกำเนิดที่ต้องให้ผลแน่นอนต่อเนื่องอย่างน้อย 3 เดือน เนื่องจากเชื้อไวรัสหัดเยอรมันที่นำมาผลิต เป็นวัคซีนเป็นเชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ถูกทำให้อ่อนแรงลง

 

อาการของโรคหัดเยอรมัน

อาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงแรกค่อนข้างมีอาการคล้ายกับการติดเชื้อไวรัสทั่วไป ซึ่งหลังจากได้รับเชื้อประมาณ 1-2 วัน ผู้ป่วยมักจะเริ่มมีอาการดังนี้

  • มีไข้ต่ำถึงปานกลาง (ประมาณ 37.2-37.8 องศาเซลเซียส)
  • ต่อมน้ำเหลืองโต โดยเฉพาะบริเวณคอ ท้ายทอย และหลังหู
  • มีตุ่มนูน ผื่นแดง หรือสีชมพู ขึ้นที่ใบหน้าก่อนจะลามลงมาตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ เช่น แขน ขา และจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 วัน โดยผื่นมักมีลักษณะอยู่กระจายตัว ไม่กระจุกตัวเป็นกลุ่ม และเมื่อผื่นหายมักไม่ค่อยทิ้งรอยแผลจากผื่นทิ้งไว้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคันตามผิวหนังร่วมด้วย

 

หากไม่ได้ไปฉีดวัคซีนตามนัด 

หากไม่ได้มารับวัคซีนตามนัด หรือได้วัคซีนห่างกว่าที่กำหนด ไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง แต่หากให้วัคซีนใกล้กันเกินไป อาจทำให้ภูมิคุ้มกันขึ้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นหากไม่ได้รับวัคซีนตามกำหนด สามารถนับเป็นเข็มต่อไปได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องนับใหม่ ไม่ว่านานเท่าไรก็ตาม

 

วัคซีนตัวไหนบ้างที่คุณแม่ควรฉีด 

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วัคซีนป้องกันบาดทะยัก (Tetanus) 

เพื่อให้ภูมิคุ้มกันส่งไปถึงลูกน้อยและเป็นผลดีกับคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยในผู้ใหญ่แนะนำให้ฉีดทุกๆ 10 ปี แต่ในกรณีคุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านที่อาจจะไม่ได้รับวัคซีนเป็นเวลานานแล้ว แนะนำให้รับวัคซีนเพื่อช่วยในเรื่องของบาดแผล เนื่องจากการคลอดบุตรจะมีแผลเกิดขึ้นไม่ว่าจะคลอดธรรมชาติหรือผ่าตัดคลอด วัคซีนป้องกันบาดทะยักคุณหมอจะฉีดให้คุณแม่ตั้งครรภ์  2  เข็ม ซึ่งภูมิคุ้มกันจะส่งไปถึงลูกในครรภ์ โดยฉีดเข็มแรกเดือนที่ 1 และเข็มที่ 2 ในเดือนที่ 6 แต่ถ้าในกรณีฉีดครบ 3 เข็ม ภูมิคุ้มกันในส่วนของคุณแม่ตั้งครรภ์อีกด้วย โดยเข็มที่ 3 จะฉีดหลังคลอดไปแล้วนั่นเอง

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก 

โดยฉีดได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 27 – 36 สัปดาห์ ช่วยปกป้องคุ้มกันคุณแม่ เนื่องจากในไตรมาส 3 ภูมิต้านทานต่อการติดเชื้อจะลดน้อยลง ทำให้คุณแม่ไม่ป่วยและติดเชื้อได้ง่าย ซึ่งถ้าแม่ตั้งครรภ์ป่วยหรือติดเชื้อจะทำให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดได้  โดยวัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีน 3 ชนิด ที่ฉีดพร้อมกันใน 1 เข็ม อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคบาดทะยัก ป้องกันการติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร

  • วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ทำอันตรายกับคนท้องมากกว่าคนธรรมดา หากเป็นแล้วจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยส่วนใหญ่การรับวัคซีนควรฉีดทุกๆ 1 ปี ในหญิงตั้งครรภ์จะรับวัคซีนในไตรมาสที่ 3 หลัง 28 สัปดาห์

  • วัคซีนพิษสุนัขบ้า 

หากคุณแม่ตั้งครรภ์ถูกสุนัขหรือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกัด ถ้าไม่แน่ใจว่าสุนัขจะบ้าหรือไม่  ให้ฉีดวัคซีนทันที

 

 

วัคซีนต้องห้าม 

  • วัคซีนป้องกันโรค อีสุกอีใส (Varicella)
  • วัคซีนป้องกันงูสวัด (Zoster)
  • วัคซีนคางทูม หัด หัดเยอรมัน ( Measles, mumps, rubella )
  • วัคซีนไข้สมองอักเสบ
  • วัคซีนวัณโรค
  • วัคซีนป้องกันโปลิโอ

เนื่องจากเป็นวัคซีนเชื้อเป็น อาจทำให้ทารกในครรภ์ติดเชื้อและเกิดความพิการได้ โดยหากต้องการฉีดวัคซีน หัดเยอรมัน (Rubella vaccine) นั้น แนะนำให้ฉีดก่อนตั้งครรภ์มากกว่า 1 เดือนหรือฉีดหลังคลอดทันที 1 เข็ม และฉีดเข็มที่สองห่างจากเข็มแรกหนึ่งเดือน

ข้อควรระวัง 

  1. วัคซีนที่มีผลข้างเคียงเดียวกันและเกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น ไข้ ไม่ควรให้ในเวลาเดียวกันเพราะจะทำให้ไข้สูงขึ้น
  2. วัคซีนแต่ละเข็มควรให้คนละตำแหน่งกัน และไม่ควรนำวัคซีนต่างชนิดกันมาผสมฉีดครั้งเดียว ยกเว้นเป็นวัคซีนที่มีข้อมูลมาก่อนว่าได้ผลดี
  3. วัคซีนชนิดเชื้อเป็น สามารถให้หลายชนิดพร้อมกัน แต่ถ้าให้ห่างกันควรห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน เช่น หัด คางทูม หัดเยอรมัน อีสุกอีใส และไข้สมองอักเสบชนิดเชื้อเป็น ส่วนวัคซีนชนิดเชื้อตายจะห่างกันเท่าใดก็ได้

วัคซีนทำมาจากอะไรบ้าง 

  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated mouse brain-derived vaccine)

เป็นวัคซีนที่ผลิตได้เองในประเทศ โดยเพาะเลี้ยงในสมองหนู ต้องให้วัคซีนอย่างน้อย 3 ครั้งในอายุ 1-1 ปี ให้ 2 ครั้ง ห่างกัน 4 สัปดาห์ และอีก 1 ปี หลังเข็มแรก และควรกระตุ้นอีกครั้งตอนอายุ 4-6 ปี เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะลดต่ำลงเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 ปี อย่างไรก็ตามเนื่องจากอาจเกิดอาการแพ้แบบรุนแรงโดยเฉพาะสมองอักเสบจากการแพ้วัคซีน จึงไม่แนะนำให้ฉีดวัคซีนชนิดนี้เกิน 5 ครั้งตลอดชีวิต

  • วัคซีนชนิดเชื้อเป็น (Live attenuated vaccine)

เป็นวัคซีนชนิดใหม่ที่เพาะเลี้ยงในเซลล์เพาะเลี้ยง จึงทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนดีกว่า และสามารถให้เพียง 2 ครั้ง ก็เพียงพอโดยไม่ต้องฉีดกระตุ้นอีก โดยวัคซีนสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุ 9-12 เดือนและครั้งที่ 2 ในอีก 24 เดือน ถัดจากเข็มแรก

  • ท็อกซอยด์ (Toxoids)

เป็นวัคซีนที่ได้จากการนำเชื้อโรคมาทำลายความเป็นพิษให้หมดไป แต่ยังมีคุณสมบัติในการนำมากระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี เช่น พิษจากโรคคอตีบ พิษจากโรคบาดทะยัก เป็นต้น

ประเภทของวัคซีน 

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

วัคซีนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

  • วัคซีนพื้นฐานหรือวัคซีนบังคับ (Compulsory Vaccine) (EPI)

ได้แก่ วัคซีนที่บรรจุลงในแผนสร้างเสริมสุขภาพของประเทศ

  • วัคซีนเผื่อเลือก (Optional Vaccine)

คือ วัคซีนที่อาจมีประโยชน์แต่ยังไม่มีความแน่ชัดในเรื่องของความสำคัญของวัคซีนในเด็กไทย ประกอบกับวัคซีนมีราคาสูงทำให้รัฐบาลยังไม่มีความแน่ใจในเรื่องความคุ้มทุน จึงไม่ได้จัดเข้าอยู่ในแผนสาธารณสุขของประเทศ ถ้าต้องการฉีดจะต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเอง

  • วัคซีนสำหรับใช้ในกรณีพิเศษ (Special Vaccine)

คือวัคซีนที่มีความชัดเจนในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค หรือหากเป็นโรคแล้วอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง หรือใช้ในผู้ที่จะเดินทางไปในถิ่นที่มีการระบาดของโรค

  • วัคซีนที่อยู่ในการวิจัยและพัฒนา

หมายถึง วัคซีนที่มีความสำคัญต่อการป้องกันโรคแต่อยู่ระหว่างการพัฒนา หรือการทดลองกับอาสาสมัคร เช่น วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก มาลาเรีย เอดส์ เป็นต้น

ที่มา :

www.khonkaenram.com

www.paolohospital.com

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง : 

หัดเยอรมันในหญิงตั้งครรภ์ อันตรายต่อลูกในท้องอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

วิธีป้องกันคลอดก่อนกำหนด คลอดก่อนกําหนด อาการอย่างไร แม่ท้องกลัวลูกคลอดก่อนกำหนด

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!