ทำไมแม่ท้องแก่ใกล้คลอดถึงหายใจไม่ออก

คุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดมักมีปัญหาหายใจไม่ออก ซึ่งสาเหตุของปัญหานั้นเกิดจากปัจจัยทั้งตัวทารกและตัวของคุณแม่นั่นเอง

ทำไมแม่ท้องแก่ใกล้คลอดถึงหายใจไม่ออก

ทำไมแม่ท้องแก่ใกล้คลอดถึงหายใจไม่ออก เมื่ออายุครรภ์ของคุณแม่เพิ่มมากขึ้น  ท้องในช่วงใกล้คลอดหรือท้องแก่ที่ขยายขนาดนั้น เป็นเพราะทารกน้อยกำลังเจริญเติบโตเต็มที่เพื่อรอเวลาออกมาพบหน้าคุณพ่อคุณแม่  ทำให้มดลูกที่ทำหน้าที่โอบอุ้มลูกไว้ต้องขยายตัวตามไปด้วย ดังนั้น จึงเลี่ยงไม่ได้ที่คุณแม่จะรู้สึกอึดอัด  ไม่สบายใต หายใจไม่ค่อยออก  มีอาารจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ราวนม

 

สารพัดอาการของแม่ท้องแก่

สำหรับคุณแม่ที่อุ้มท้องมาตลอด 3 ไตรมาส  โดยเฉพาะไตรมาสสุดท้าย ไตรมาสที่สาม ชนิดจวนเจียนจะคลอดท้องยิ่งโตยิ่งใกล้คลอดมากเท่าไร คุณแม่จะพบกับอาการต่าง ๆมากมายไม่ว่าจะเป็นเท้าบวม  ขาบวม  ตะคริวและอีกอาการหนึ่งที่ไม่พลาดเช่นกันสำหรับแม่ท้องแก่  คือ  หายใจไม่ค่อยออก

 

ทำไมแม่ท้องแก่ใกล้คลอดถึงหายใจไม่ออก

ทำไมแม่ท้องแก่ใกล้คลอด ถึงหายใจไม่ออก

ทำอย่างไรเมื่อแม่ท้องใกล้คลอดหายใจไม่ออก

ข้อควรปฏิบัติสำหรับแม่ท้องแก่ใกล้คลอด จะได้ฏิบัติตามได้อย่างถูกต้องเพื่อช่วยลดอาการหายใจไม่ออก

1. ต้องพยายามนอนพัก หาเวลางีบหลับในช่วงกลางวันเพราะปัญหาของแม่ท้องอีกอย่าง คือ นอนไม่หลับกระสับกระส่าย ไหนลูกจะดิ้นอีกโดยเฉพาะในช่วงเวลากลางคืน

วิธีแก้ปัญหา  เวลานอนควรนอนตะแคงกอดหมอนข้างไว้ สำหรับคุณแม่บางคนที่ชอบนอนหงายก็ควรสอดหมอนข้างหนุนใต้ข้อพับเข่าเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อท้องได้ผ่อนคลาย  ตื่นมาจะได้ไม่ปวดหลังอีกด้วย เรียกว่า ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว

 

2. รับประทาอาหารมากเกินไป อย่าลืมว่ามดลูกที่ขยายตัวจะไปกดเบียดกระเพาะอาหารทำให้กระเพะาอาหารขยายตัวได้ไม่มาก แบบนี้ส่งผลให้คุณแม่เกิดอาการจุกเสียดแน่นท้องนั่นเอง

วิธีแก้ปัญหา  รับประทานให้น้อยแต่บ่อยครั้ง  หลีกเลี่ยงอาหารย่อยยาก ประเภทเนื้อต่าง ๆ และอาหารรสชาติจัดจ้าน  รับประทานอาหารที่ย่อยง่ายและทานครั้งละน้อย ๆ ช่วยให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้นได้

 

3. ท่านั่งทึ่ไม่ถูกต้องส่งผลต่อกล้ามเนื้อหลังทำให้แม่ท้องแก่ใกล้คลอดหายใจไม่ออกเช่นกัน  ท่านั่งที่ถูกต้องจึงสำคัญและจำเป็นสำหรับแม่ตั้งครรภ์ใกล้คลอด ในช่วงใกล้คลอดมดลูกที่มีขนาดโตขึ้นจะดึงนำ้หนักตัวส่วนใหญ่ของคุณแม่ไปข้างหน้า เพื่อความสมดุลของร่างกาย กล้ามเนื้อหลังจะดึงกระดูกสันหลังของคุณแม่ให้เอียงมาด้านหลังไม่ให้ล้มไปข้างหน้า และมีอาการปวดหลังเกิดขึ้นบ่อย ๆระหว่างนี้ อาการจะยิ่งทวีความรุนแรงหากใช้กล้ามเนื้อหลังไม่ถูกวิธี

วิธีแก้ปัญหา  ขณะที่นั่งเก้าอี้พยายามหาหมอนมาหนุนหลังเพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อหลัง พยายามนั่งหลังตรง  หลีกเลี่ยงการก้มเก็บของที่พื้น

 

4. น้ำหนักตัวของคุณแม่ ตลอดอายุครรภ์ โดยปกติแล้วนำ้หนักจะเพิ่มประมาณ 12 – 15 กิโลกรัม  ในช่วงสามเดือนแรก แม่ท้องยังมีอาการแพ้ท้องอยู่นำ้หนักจะเพิ่มไม่มากนัก แต่ในช่วง 6 เดือนหลังหรือไตรมาสสองและไตรมาสสาม  น้ำหนักตัวจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น โดยขึ้นประมาณ 5 กิโลกรัมใน 3 เดือน หรือเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.5 กิโลกรัม นำ้หนักตัวมากยิ่งส่งผลสารพันปัญหาให้ช่วงท้องแก่ใกล้คลอดมากขึ้นเท่านั้น  ดังนั้น ควรรักษาน้ำหนักให้เพิ่มอย่างเหมาะสม อยู่ที่ประมาณ  13 – 15 กิโลกรัม

วิธีแก้ปัญหา  รับประทานอาหารให้เหมาะสม  งดอาหารที่มีรสหวาน หรือมีไขมันที่จะเพิ่มน้ำหนักให้กับแม่ท้อง หมั่นออกกำลังกายเบา ๆ ตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อความปลอดภัยของแม่และทารกน้อยในครรภ์

 

คำแนะนำดี ๆ ที่แม่ท้องแก่ใกล้คลอดสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างปลอดภัย อย่างน้อยช่วยลดอาการหายใจไม่ออกให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน

บทความที่เกี่ยวข้อง

เชิงกรานแคบ คลอดเองได้ไหม คนตัวเล็กคลอดลูกเองได้ไหม คลอดธรรมชาติหรือต้องผ่าคลอด

การเตรียมตัวก่อนคลอดธรรมชาติ คลอดเองเตรียมตัวอย่างไร คลอดธรรมชาติอันตรายไหม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!