โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย
โรคที่มากับหน้าร้อน โรคร้ายแรงที่พ่อแม่ต้องระวังโดยเฉพาะเด็กเล็ก โรคอันตรายสำหรับเด็กเป็นแล้วอาจถึงตายได้ โรคยอดฮิตที่ทำให้เด็กป่วยมีโรคอะไรบ้าง
โรคที่มากับหน้าร้อน โรคฮิตสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องระวังอย่าให้ลูกป่วย
ในช่วงหน้าร้อนที่อากาศร้อนจัดแบบนี้ มักจะทำให้เด็กป่วยง่ายทั้งที่เกิดจากอาหารการกิน มาจากสภาพอากาศ และมาจากพฤติกรรมของเด็ก สำหรับเด็กโตหน่อยในช่วงร้อนๆ แบบนี้ เด็กๆ ก็มักจะชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพัง และชอบพากันไปเล่นไกลหูไกลตา พ่อแม่ก็ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษด้วยค่ะ สำหรับเด็กเล็กให้ระมัดระวัง โรคที่มากับหน้าร้อน ดังต่อไปนี้
1.ไข้หวัดใหญ่
สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่พบมากในแระเทศไทย อีกทั้งยังเป็นโรคติดต่อที่ติดง่ายมากด้วย โดยเฉพาะเด็กเล็กที่ได้ป่วยเป็นโรคนี้มักมีอาการรุนแรงได้มากกว่าในวัยอื่น และมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย และรุนแรงกว่าเช่นกันค่ะ
วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ คือ ต้องไม่พาลูกน้อยไปเจออากาศที่เย็นจัด แล้วเปลี่ยนเป็นเย็นจัดทันที เช่น จากที่อยู่อากาศร้อนๆ แล้วพาลูกลงไปเล่นน้ำในสระเลย ควรให้ลูกน้อยได้พักร่างกายให้ร่างกายค่อยๆ ปรับอุณหภูมิก่อนค่ะ
2.โรคผิวหนัง
เวลาที่อากาศร้อนๆ เหงื่อมักจะไหลออกมาก โดยเฉพาะตามข้อพับต่างๆ เช่น ซอกคอ ขาหนีย หรือรักแร้ ทำให้เมื่อมีเหงื่อออกมาก ๆ เสื้อผ้าที่ใส่ก็จะมีเปียก และทำให้อับชื้นได้ ก็ทำให้เกิดผดผื่นตามร่างกายได้ง่ายค่ะ หรือเด็กบางคนชอบวิ่งเล่นกลางแดดร้อน ๆ ร่างกายก็เกิดเหงื่อออกมา และไม่มีการทำความสะอาดร่างกายที่ดีพอก็อาจเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดผดผื่นได้เช่นกันค่ะ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการถูกแดดเผาไหม้ จนเกิดอาการแสบร้อนกับผิวที่บอบบางของเด็กได้ค่ะ
วิธีป้องกันคือ พยายามอย่าให้ลูกวิ่งเล่นตามแดดจัดๆ และหาครีมกันแดดให้ลูกเพื่อป้องกันผิวไหม้ แต่สำหรับเด็กที่มีอาการแสบจากแดดเผา แนะนำให้พ่อแม่เอาผ้าเย็นมาประคบผิวค่ะก็จะทำให้อาการทุเลาลงได้ แต่สำหรับเด็กบางคนที่มีอาการแพ้เหงื่อแล้วมีผดผื่นขึ้นตามตัวอาจต้องพยายามอย่าให้ลูกเจออากาศร้อนมาก ๆ จนเหยื่อท่วมตัวเป็นเวลานานๆ ค่ะ
3.โรคอุจจาระร่วง
โรคนี้ไม่ใช่เกิดเฉพาะในเด็ก สำหรับผู้ใหญ่ก็ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกันค่ะ เพราะโรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อหลายประเภททั้งแบคทีเรีย รวรัส และกลุ่มเชื้อโปรโตซัว ที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารนั่นเอง โดยเฉพาะอาหารที่เสี่ยงต่อการเน่าเสียได้ง่าย ลักษณะของโรคนี้ จะทำให้ลูกน้อยเกิดอาการท้วงร่วงอย่างรุนแรง จนทำให้ร่างกายขาดน้ำหากปล่อยไว้อาจมีอันตรายต่อชีวิตได้
วิธีป้องกันโรคอุจจาระร่วง พ่อแม่ควรพยายามให้ลูกกินอาหารร้อน ๆ หากเป็นอาหารที่เหลือกินให้แช่ตู้เย็นไว้อย่าทิ้งไว้ข้างนอกนานๆ ค่ะ แต่ถ้าลูกน้อยมีอาการท้องเสียมาก ๆ แนะนำให้ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อชดเชยน้ำ หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที อย่าซื้ออย่ามาทานเองค่ะ
4.โรคอหิวาตกโรค
โรคอหิวาตกโรค เป็นโรคที่เกิดจากอาหารการกิน หรืออาจมาจากการดื่มน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปนเปื้อนเข้าไป โรคนี้จะมีอาการคล้ายๆ กับโรคอุจจาระร่วง แต่จะต่างกันตรงที่เด็กจะถ่ายอุจจาระเหลวคล้ายน้ำซาวข้าวครั้งละมากๆ ค่ะ แะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการอาเจียน หิวน้ำ รู้สึกกระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ตาลึกโหล ปัสสาวะน้อย ถ้าเป็นหนักมากๆ อาจถึงภาวะช็อค เนื่องจากร่างกายเสียน้ำมากเกินไปค่ะ
วิธีป้องกันโรคอหิวาตกโรค เหมือนกับการป้องกันโรคอุจจาระร่วงค่ะ คือ ให้ลูกกินอาหารร้อนๆ หากเป็นอาหารที่เหลือกินให้แช่ตู้เย็นไว้อย่าทิ้งไว้ข้างนอกนานๆ อย่าลืมให้ลูกล้างมือก่อนทานข้าว หรือเอาของเข้าปากนะคะ
5.โรคพิษสุนัขบ้า
โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวก็เกิดขึ้นได้ค่ะ หรือแม้กระทั่งลิง ชะนีกระรอก กระแต เป็นต้น เกิดได้ทั้งสัตว์เลี้ยง และสัตว์ที่อยู่ตามท้องถนน หากสัตว์เหล่านั้นไม่ได้รับวัคซีนป้องกันและได้รับเชื้อพิษสุนัขมา ซึ่งเด็กจะได้รับเชื้อพิษสนุกบ้าจากการกัด ข่วน หรือเลียบริเวณที่มีแผล เมื่อคนได้รับเชื้อแล้ว จะมีอาการปรากฏภายใน 15 – 60 วัน บางรายอาจน้อยกว่า 10 วันหรือนานเป็นปีที่สำคัญโรคนี้ยังไม่ยารักษา ใครเป็นแล้วตายทุกรายค่ะ พ่อแม่ต้องระวังกันมาก ๆ นะคะ
วิธีป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า หากบ้านมีสัตว์เลี้ยงอย่าลืมพาน้อง ๆ ไปฉีดวัคซีนป้องกันไว้ด้วยนะคะ สำหรับเด็กเล็กหรือแม้แต่ผู้ใหญ่เอง อย่าเข้าไปเล่นกับสัตว์ที่มีอาการแปลกๆ หรือถ้าเป็นไปได้พยายามอย่าเล่นกับสัตว์จะดีที่สุดค่ะ
6.โรคอาหารเป็นพิษ
โรคนี้เป็นโรคที่พบบ่อยมาเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการกินอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษที่เกิดจากเชื้อบิด เชื้อสแตปฟีโลคอกคัส และเชื้อบาซิลลัส ซึ่งพวกเชื้อเหล่านี้มักจะเป็นเชื้อที่ทนต่อความร้อนมาก ๆ พบมากในอาหารประเภทไส้กรอก กุนเชียง ข้าวผัดต่างๆ ถึงจะกินอาหารที่สุก หรือปรุง หรืออุ่นจนร้อนแล้ว แต่ส่วนผสมที่นำมาด้วยเกิดเน่าเสียก่อน ก็อาจทำให้เป็นพิษได้ สำหรับอาการอาหารเป็นพิษ คือ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เป็นไข้ หรือปวดเมื่อย อ่อนเพลีย รวมถึงท้องร่วง ดังนั้นพ่อแม่เห็นว่าลูกอาการไม่ดีควรพาไปพบแพทย์นะคะ
วิธีป้องกันโรคอาหารเป็นพิษ คือ พ่อแม่ต้องพยายามดูว่าอาหารก่อนที่นำมาปรุงนั้นเน่าเสียหรือยัง มีกลิ่นบูดหรือเปล่า หรือดูจากสีที่เปลี่ยนไปก็ได้ หากเห็นว่าไม่ดีแล้วควรทิ้งไปเลย เพราะถ้านำมาปรุงต่อก็อาจทำให้ลูกน้อยป่วยได้ค่ะ
ที่มา: dmh
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
ซื้อประกันให้ลูก ประกันสุขภาพเด็ก ตัวอย่างแผนประกันปี 2562 ประกันสุขภาพลูก ทำประกันให้ลูกที่ไหนดี?
พาลูกหาหมอฟันครั้งแรก พาลูกไปหาหมอ ตรวจสุขภาพทารก ฉีดวัคซีนทารก แม่ต้องเตรียมตัวอย่างไร