โซดาไฟ สารอันตรายที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ใกล้ตัว ที่คุณแม่คาดไม่ถึง

โซดาไฟ สารอันตรายที่อยู่ในผลิตภัณฑ์ใกล้ตัว ที่คุณแม่คาดไม่ถึง สารอันตรายที่มักนำมาเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ที่คุณใช้ในชีวิตประจำวัน คุณอาจได้รับสารอันตรายโดยไม่รู้ตัว

 

โซดาไฟคือ?

โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือน้ำด่าง หรือถ้าในทางของนักวิทยาศาสตร์จะเรียกว่า โซเดียมไฮเดรต (sodium hydrate) มีฤทธิ์ในการกัดกร่อน โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ชีวิตประจำวัน มักประกอบร่วมกับผลิตภัณฑ์ที่มีคลอรีนผสมอยู่

 

โซดาไฟประกอบอยู่ในผลิตภัณฑ์ประเภทใดบ้าง?

หลายคนที่ไม่เคยทราบมาก่อนว่ามีหลายผลิตภัณฑ์นั้นใช้โซดาไฟเป็นส่วนประกอบ เรามาลองดูกันดีกว่ามีผลิตภัณฑ์ใดบ้าง รู้ก่อน ระวังตัวก่อนที่จะเกิดอันตรายต่อร่างกาย

  • ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อ

โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) ซึ่งส่วนมากมักใช้ในการผลิตสบู่ และผงซักฟอกหลายชนิด ทั้งแบบที่ใช้ในครัวเรือน และเชิงพาณิชย์ โดยจะมาในรูปแบบของคลอรีนฟอกขาว ที่เป็นส่วนประกอบระหว่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ และคลอรีน หรือที่เรานิยมใช้กันคือน้ำยาล้างท่อน้ำ ที่จะช่วยละลายคราบไขมันในท่อระบาย เพื่อให้ท่อน้ำสามารถระบายน้ำได้ดีขึ้นนั่นเอง

  • ใช้ในการวงการเภสัชกรรม และการแพทย์

โซเดียมไฮดรอกไซด์ ถูกใช้เพื่อช่วยในการผลิตยา และผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมหลายชนิด อาทิ ยาแก้ปวดอย่างแอสไพริน (Aspirin) ที่ช่วยป้องกันการอุดตันของหลอดเลือด และลดคอเลสเตอรอลได้

  • ใช้ในการสร้างเชื้อเพลิงพลังงาน

โซดาไฟ มักถูกใช้ในการผลิตเชื้อเพลิง เซลล์เชื้องเพลิง โดยมีระบบการทำงานเหมือนกับแบตเตอรี่ที่ผลิตพลังงานไฟฟ้าที่สะอาด และมีประสิทธิภาพสูง

  • ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย

ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือโรงบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่มักนิยมใช้โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เพื่อควบคุมความเป็นกรดของน้ำ และช่วยขจัดโลหะหนักออกจากน้ำที่เสีย นอกจากนี้โซดาไฟยังช่วยเรื่องของการฆ่าเชื้อโรคในน้ำได้โดยจะมีส่วนช่วยเรื่องของการผลิตสารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ (Sodium hypochlorite) นั่นเอง

 

โซดาไฟ เป็นอันตรายต่อผิวหนัง

 

  • ใช้ในการผลิตอาหาร

แค่พูดถึงการผลิตอาหารก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ๆ แล้ว แต่โซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์มักนำมาใช้ในการแปรรูปอาหารอย่างการบ่มผลไม้เพื่อให้ผลไม้กรุบกรอบมากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นการนำมาใช้ในการลอกเปลือกด้านนอกออก เพื่อนำผัก และผลไม้ไปทำเป็นอาหารกระป๋อง นอกจากนี้ยังเป็นส่วนผสมในสารถนอมอาหารที่ช่วยป้องกันเชื้อรา และแบคทีเรียจากการเจริญเติบโตในอาหารอีกด้วย

  • ใช้ในการผลิตภัณฑ์ไม้ และกระดาษ

ในอุตสาหกรรมรีไซเคิลนิยมใช้โซดาไฟ ในการแยกหมึกออกจากกระดาษก่อนนำไปย่อยสลาย และนำเส้นใยกระดาษนั้นกลับมาใช้ใหม่ ส่วนการทำกระดาษขึ้นใหม่นั้นมักใช้โซดาไฟ เป็นตัวช่วยละลายวัสดุที่ไม่ต้องการออกจากไม้ ให้เหลือเพียงเซลลูโลสที่นำมาทำกระดาษในปัจจุบัน และในวงการเฟอร์นิเจอร์ไม้ มักใช้ในการฟอก และทำความสะอาดไม้ก่อนที่จะนำมาประกอบเป็นเฟอร์นิเจอร์แบบที่เราใช้กัน

 

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าโซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) มีคุณสมบัติในการกัดกร่อนที่รุนแรงมาก ซึ่งการสัมผัสโซดาไฟในรูปแบบของแข็ง หรือสารละลายเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำมากที่สุด เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง และดวงตาได้ ดังนั้นการนำโซดาไฟ หรือผลิตภัณฑ์ที่ส่วนผสมของโซดาไฟเข้ามาในบ้าน และอยู่ในบริเวณที่เด็ก ๆ สามารถเอื้อมถึงก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้

บทความที่น่าสนใจ : พาราเบน สารอันตรายใกล้ตัวแม่ท้องและเบบี๋

 

ผลิตภัณฑ์ในบ้านที่คุณต้องระวัง วางให้ห่างจากมือเด็กมากที่สุด

ผลิตภัณฑ์หลายชนิดมักมีส่วนประกอบของโซดาไฟ หรือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ เพราะว่ามีฤทธิ์ในการกัดกร่อน แต่หาคุณไม่ระวังสิ่งเหล่านี้อาจกลายเป็นฝันร้ายของคุณเลยก็ได้ โดยผลิตภัณฑ์ที่มักพบโซดาไฟ มีดังนี้

  • น้ำยาทำความสะอาดท่อระบายน้ำ
  • น้ำยาทำความสะอาดคราบสกปรก คราบไขมันในห้องครัว
  • ผลิตภัณฑ์กัดกร่อนสีผม
  • น้ำยาล้างห้องน้ำ
  • ผลิตภัณฑ์ฟอกผ้าขาว

 

โซดาไฟ มีฤทธิ์กัดกร่อน

 

โซเดียมไฮดรอกไซด์ หรือโซดาไฟ เป็นอันตรายต่อร่างกาย

โซดาไฟมีฤทธิ์เป็นด่างมาก จึงสามารถทำให้กัดกร่อนผิวหนังของเราได้หากมีการสัมผัสโดยตรง ซึ่งถ้าสัมผัส หรือสูดดมเข้าไปเป็นจำนวนมากอาจทำให้เป็นอันตรายแบบเฉียบพลัน

  • หากสูดดมมากเกินไป สารโซดาไฟจะทำปฏิกิริยากับระบบทางเดินหายใจของเรา ซึ่งอาจทำให้เกิดความระคายเคือง จนไปถึงเกิดอาการปอดอักเสบ และน้ำท่วมปอดได้
  • หากโซดาไฟเข้าตา จะทำให้เกิดการระคายเคืองในเบื้องต้น แต่ถ้าหากได้รับสารจำนวนมากอาจถึงตาบอดได้
  • หากถูกผิวหนัง ด้วยความมีฤทธิ์กัดกร่อนจึงทำให้เมื่อเราสัมผัสกับโซดาไฟโดยตรงทำให้เกิดการไม้จนเป็นแผลลึก และเนื้อเยื่อบริเวณนั้นอาจถูกทำลาย และเนื้อเยื่อตายในที่สุด
  • หากรับประทานเข้าไป จะมีอาการแสบร้อนตั้งแต่บริเวณปาก ลำคอ และทางเดินอาหาร จนไปถึงกระเพาะอาหาร โดยจะมีอาการตามมาก็คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ และหาผู้ที่เคยรับประทาน และได้รับการรักษาเป็นที่เรียบร้อย มีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งได้ในภายหลัง 12-42 ปี

บทความที่น่าสนใจ : ระวังให้ดีสารเคมีใกล้ตัว อันตรายกับแม่ท้อง! เคยสังเกตไหม มีสารนี้อยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้หรือเปล่า

 

การปฐมพยาบาล

  • หากสูดดมมากเกินไป จนผู้ที่ได้รับสารนั้นเป็นลม หรือหมดสติ ผู้พบเห็นควรนำผู้ป่วยออกจากบริเวณนั้นไปยังพื้นที่ที่มีอาการบริสุทธิ์ ก่อนจะนำส่งแพทย์ให้เร็วที่สุด
  • หากโซดาไฟเข้าตา หาถูกโซดาไฟกระเด็นเข้าตา ควรรีบล้างออกด้วยน้ำอุ่นสะอาดในทันที โดยปล่อยให้น้ำไหลผ่านดวงตาประมาณ 30 นาที และเปิดเปลือกตาไว้ หากอีกหนึ่งข้างไม่ได้รับสาร ให้ระมัดระวังในการล้าง พยายามอย่างให้น้ำนั้นไหลกระทบดวงตาอีกข้าง
  • หากถูกผิวหนัง ให้รีบล้างออกในทันที โดยปล่อยให้น้ำไหลผ่านบริเวณแผลประมาณ 30 นาที และนอกจากนี้ควรถอดชุด หรือเสื้อผ้าที่โซดาไฟเปื้อนอยู่ออก และนำส่งแพทย์ทันที

หากรับประทานเข้าไป คุณควรตั้งสติก่อนเป็นอย่างและ สิ่งที่คุณควรทำมากที่สุดคือนำส่งแพทย์ หากผู้ที่ได้รับสารยังมีสติอยู่พยายามอย่าให้เขาอาเจียนออกมาเป็นอันขาด เนื่องจากบริเวณทางเดินอาหาร ลำคอ และปาก อาจได้รับสารอีกครั้ง นอกจากนี้คุณยังสามารถให้เขาทานนม หรือน้ำเปล่าเพื่อเจือจางสารกัดกร่อนได้ เพื่อลดอัตราการทำลายของสาร แต่ไม่ควรทานมากเกิน ทางที่ดีที่สุดคุณควรถึงมือแพทย์ให้เร็วที่สุด เท่าที่คุณจะทำได้

 

สำหรับบ้านใครที่พบว่าในบ้านของตนเองนั้นมีผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของโซดาไฟอยู่ ขอแนะนำให้เก็บไว้ในที่มิดชิด และห่างไกลต่อมือเด็กนะคะ เพราะเราก็รู้กันดีว่ามันมีฤทธิ์อันตรายขนาดไหน และคุณแม่ควรระวังตนเอง และเด็ก ๆ ให้ดีเวลานำออกมาใช้ในแต่ละครั้งด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เองและลูกน้อยของคุณ

 

ที่มา : chemicalsafetyfacts, thoughtco, cdc, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!