X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

แผลผ่าคลอด เน่า แผลผ่าคลอดอักเสบ ประสบการณ์จริงที่แม่อยากแชร์ !

บทความ 5 นาที
แผลผ่าคลอด เน่า แผลผ่าคลอดอักเสบ ประสบการณ์จริงที่แม่อยากแชร์ !

หลังจากกลับมาอยู่บ้านได้ไม่นาน ก็ต้องพบกับความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับแผลผ่าคลอด! และนั่นคือสาเหตุที่ทำให้คุณแม่ท่านนี้ต้องเข้ารับการผ่าตัดถึงสองรอบ!

เรื่องราวนี้ถูกแชร์ขึ้นจากประสบการณ์ตรงของคุณแม่ท่านหนึ่งที่เป็นสมาชิกเพจดังอย่าง “HerKid รวมพลคนเห่อลูก” โดยคุณแม่ได้สันนิษฐานว่า แผลผ่าคลอด เน่า  หรือ แผลผ่าคลอดอักเสบ เพราะเครื่องมือผ่าไม่สะอาด หรืออะไรก็แล้วแต่ ทำให้คุณแม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดถึง 2 ครั้ง เรื่องราวจะเป็นอย่างไร ไปอ่านพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

 

แผลผ่าคลอด แผลผ่าคลอดอักเสบ

แผลผ่าคลอด แผลผ่าคลอดอักเสบ

 

แผลผ่าคลอดอักเสบ คุณแม่เพิ่งคลอดน้องคนที่ 2 ได้ 6 เดือนค่ะ วันนี้คุณแม่มีประสบการณ์ในการคลอดมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับแผลผ่าคลอดนะคะ คุณแม่ฝากท้องแบบพิเศษกับคุณหมอท่านหนึ่ง ที่มีชื่อเสียงในจังหวัด ๆ หนึ่ง ซึ่งจังหวัดนี้คุณแม่เพิ่งย้ายมาอยู่เมื่อตอนท้อง เลยจำเป็นต้องฝากท้องที่นี่ค่ะ ตอนคลอดมีปัญหาเกิดมากมายค่ะ ขอไม่เล่าเนอะ มันยาวมาก แต่บอกเลยว่า เข็ดค่ะ เข็ดกับโรงบาลนี้และหมอคนนี้

แผลผ่าคลอดอักเสบ เริ่มกันที่ผ่าเสร็จลูกออกมาแล้วได้ 1 เดือน ก็มีเหตุให้ย้ายกลับบ้านที่พิษณุโลก พอย้ายกลับมาได้ 1 อาทิตย์ ตอน 3 วันก่อนเข้าโรงบาลช่วงบ่าย ๆ จู่ ๆ คุณแม่ก็มีอาการจับไข้ หนาวสั่นมากค่ะ และสังเกตุที่แผลผ่า จะมีรูเล็ก ๆ ที่แนวแผลและมีหนองไหลออกมาไม่เยอะนะคะ แต่มีกลิ่นเหม็นเน่าเลยค่ะ

จนวันที่4 ปวดท้องแบบรุนแรง ชั่วระยะเวลาไม่ถึง 5 นาที ปวดแบบแทบขาดใจ ตัวแข็งไปหมด ขอใช้คำว่าหามเลยค่ะ คนที่บ้านหามขึ้นรถ ไปส่งโรงบาล คุณหมอพยายามหาสาเหตุ ทั้งเอ็กซเรย์ อัลตร้าซาวด์ เข้าอุโมงค์ คือ ทุกอย่างค่ะ แต่ก็ไม่พบสาเหตุ นอนปวดแทบตายแบบนั้น 2 วัน จนเที่ยงคืนของวันที่ 2 ขอพบหมอใหญ่ คุณแม่บอกหมอ ให้ทำอะไรก็ได้ จะฉีดยาให้ตายไปเลยก็ได้ แต่อย่าปล่อยให้ทรมานแบบนี้คือคุณแม่ยอมทุกอย่างแล้ว (ต้องบอกก่อนนะคะที่หมอไม่ฉีดยาลดปวดให้ เพราะเค้าต้องการรู้จุดปวดและอาการปวดที่แน่นอน เค้าไม่ได้ละเลยหรือทรมานเรา)

หมอตัดสินใจพาเข้าห้องผ่า เที่ยงคืนเพื่อผ่าตัดใหญ่ เพื่อดูไส้ กระเพาะ ไส้ติ่ง ทุก ๆ อย่างในท้องของเรา กว่าจะออกจากห้องผ่า เกือบ 6 โมงเช้า พร้อมแผลที่ท้องแบบในภาพ แต่!! ไม่ได้เย็บแผลนะคะ แค่เอาผ้าก็อตแปะไว้ คิดดูว่ามันเจ็บปวดขนาดไหน พร้อมกับขวดที่มีสายยางเจาะเข้าไปในท้องเรา เพื่อดูดเอาหนองเน่า ๆ ที่เยอะมากขนาดขวดน้ำอัดลม 1.25 ลิตร มันทรมานที่สุดค่ะ แม่ ๆ คะ

หลังผ่าคลอด เชื่อว่าทุกคนดูแลตัวเองกันดีทุกคน ของแสลง ของหมักดอง ไม่เคยเเตะ ไม่ยกของหนัก อะไรที่เค้าห้าม เราเชื่อฟังตลอด เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดเพราะตัวเราค่ะ เพราะเครื่องมือผ่าอาจจะไม่สะอาด หรืออะไรก็ตาม หรือ เพราะเราซวย การฝากพิเศษไม่ได้ช่วยอะไรเลย ตังค์ก็เสีย ยังมาเจ็บตัวผ่า 2 รอบ ลูกก็ไม่ได้กินนมแม่ เพราะรักษาตัวนาน ฝากไว้เป็นอุทาหรณ์นะคะ มีอาการแบบนี้หาหมอด่วนเลยค่ะ (ในรูปคือแผลผ่าหนองเน่าในท้องนะคะ ไม่ใช่แผลผ่าคลอด)”

ทีมงานดิเอเชี่ยนพาเร้นท์ขอขอบคุณเพจ Herkid รวมพลคนเห่อลูกและคุณแม่ท่านนี้มาก ๆ นะคะ อย่างไรก็ดี วันนี้ทีมงานมีวิธีการดูแลแผลผ่าคลอดมาฝากคุณแม่ทุก ๆ ท่านด้วยเช่นกันค่ะ

วิธีการดูแล แผลผ่าคลอด อย่างถูกวิธี

1. หลังจากที่คุณหมอเปิดแผลผ่าคลอดแล้ว แผลสามารถถูกน้ำได้หลังผ่าตัดประมาณ  7  วัน รักษาความสะอาดและคอยดูแลให้แผลแห้ง ต้องระวังอย่าให้ผ้าอนามัยไปขูดสีกับแผลที่เย็บไว้ และควรเปลี่ยนผ้าอนามัยบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดแผลผ่าคลอด และป้องกันการติดเชื้อ

2. ไม่ยกของหนักหรือทำกิจกรรมที่เป็นการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้องมากจนเกินไป และควรอยู่ในบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพราะอากาศร้อนจะทำให้เหงื่อออกมากและเกิดการอับชื้นได้ค่ะ

3. การขยับตัวมาก ๆ จะไม่ส่งผลกระทบกับแผลหากการขยับนั้นไม่ทำให้แผลมีการยืดขยาย สังเกตง่าย ๆ คือ ขยับตัวได้เท่าที่ไม่รู้สึกเจ็บ หากเจ็บหรือรู้สึกตึง ๆ แสดงว่า แผลมีการยืดขยายออกแล้ว

4. การทาครีมซึ่งมีส่วนผสมของเสตียรอยด์อ่อน ๆ หรือครีมที่มีส่วนผสมของ วิตามินอี ก็สามารถช่วยลดการเกิดแผลเป็นได้ สำหรับคุณแม่ท่านไหนที่ให้นมลูกอยู่ก็ไม่ต้องกังวลใจไปว่าครีมที่ทาจะส่งผลต่อน้ำนม เพราะการทายาเป็นเพียงการใช้ยาภายนอก และเฉพาะที่ ไม่เหมือนการกินที่ตัวยาจะแทรกซึมไปทั่วร่างกาย

5. ในช่วง 3 เดือนแรก : ซึ่งมีโอกาสสูงที่แผลจะกลายเป็นคีลอยด์ คือ มีลักษณะหนา นูน สามารถป้องกันได้โดยไม่ยกของหนัก หรือยืดเหยียดแผลมากจนแผลตึงเกินไป การยืดเหยียดจนแผลตึงทำให้ร่างกายปรับสภาพตัวเอง เนื่องจากกลัวว่าแผลจะหลุด จึงสร้างเส้นใยคอลลาเจนหนาๆ เพื่อทำให้แผลแน่นขึ้น พอเส้นใยคอลลาเจนหนาเกินไปจึงกลายเป็นแผลนูนขึ้นมาเป็นแผลคีลอยด์ในที่สุด

 

เรื่องจริงจาก : HerKid รวมพลคนเห่อลูก

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

ความสวยของรอยสักที่จารึกไว้บนแผลผ่าคลอด

เตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องไปผ่าคลอด

บทความจากพันธมิตร
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดบ้านต้อนรับคู่รักที่มีภาวะมีบุตรยาก ชวนทำความรู้จัก คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก ที่พร้อมให้บริการแบบ One Stop Service
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Muninth

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • แผลผ่าคลอด เน่า แผลผ่าคลอดอักเสบ ประสบการณ์จริงที่แม่อยากแชร์ !
แชร์ :
  • ผ่าคลอดอันตรายหรือไม่ มาดูวิธีดูแลแผลผ่าคลอด ไม่ให้เป็นรอยนูนแดง

    ผ่าคลอดอันตรายหรือไม่ มาดูวิธีดูแลแผลผ่าคลอด ไม่ให้เป็นรอยนูนแดง

  • แผลผ่าคลอดปริ เรื่องที่แม่ผ่าคลอดคนไหนก็ไม่อยากเจอ

    แผลผ่าคลอดปริ เรื่องที่แม่ผ่าคลอดคนไหนก็ไม่อยากเจอ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ผ่าคลอดอันตรายหรือไม่ มาดูวิธีดูแลแผลผ่าคลอด ไม่ให้เป็นรอยนูนแดง

    ผ่าคลอดอันตรายหรือไม่ มาดูวิธีดูแลแผลผ่าคลอด ไม่ให้เป็นรอยนูนแดง

  • แผลผ่าคลอดปริ เรื่องที่แม่ผ่าคลอดคนไหนก็ไม่อยากเจอ

    แผลผ่าคลอดปริ เรื่องที่แม่ผ่าคลอดคนไหนก็ไม่อยากเจอ

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ