ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

การตั้งครรภ์และรกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันอย่างไม่สามารถแยกได้ เพราะรกทำหน้าที่นำอาหารจากแม่มาเลี้ยงลูก หากเกิดภาวะรกเสื่อมแล้วแม่และทารกจะเป็นอย่างไร ติดตามอ่านกันเลยค่ะ ในครรภ์ รวมถึงนำของเสียจากภายในตัวทารกลับไปยังคุณแม่เพื่อให้คุณแม่นำไปทิ้งออกจากร่างกาย แล้วรกเสื่อมคืออะไร มีอันตรายต่อแม่และลูกหรือไม่ อย่างไร มาหาคำตอบกันค่ะ

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

สายรกทำหน้าที่นำอาหารจากแม่มาเลี้ยงลูก ติดตามอ่านกันเลยค่ะ ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

รกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร

อัลตราซาวด์4มิติ

อัลตราซ าวด์4มิติ

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์วิทยา ถิฐาพันธ์ หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง “รก” ไว้ดังนี้

รกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จำเป็นต้องย้อนไปเล่าเรื่องตั้งแต่เมื่อเชื้ออสุจิมีการเข้าผสมกับไข่จนเกิดการปฏิสนธิขึ้น ภายหลังจากการปฏิสนธิ ไข่ที่ถูกผสมจะแบ่งตัวได้ 58 เซลล์ ซึ่งทั้ง 58 เซลล์นี้ 5 เซลล์จะเจริญไปเป็นตัวลูกน้อยของคุณแม่ ขณะที่อีก 53 เซลล์ที่เหลือจะเจริญเป็นรก เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าเซลล์ที่แบ่งตัวไปเป็นทารกกับเซลล์ที่แบ่งแยกออกเป็นรกก็คือเซลล์จากแหล่งเดียวกันนั่นเอง เพียงแต่เซลล์ส่วนใหญ่พร้อมจะทำหน้าที่เลี้ยงเซลล์ส่วนน้อยที่กำลังจะเจริญเติบโตในอนาคต

หน้าที่ของรก

หลังจากที่เซลล์เจริญไปเป็นทารก และมีขนาดใหญ่กว่ารก รกจะทำหน้าที่คล้ายจานข้าวหรือใบบัวที่แปะติดผนังโพรงมดลูกในลักษณะที่มีส่วนของรกคล้ายเข็มแทรกเข้าไปในผนังมดลูก บริเวณตรงกลางของรกจะมีสายรกโผล่ออกมาติดกับตัวทารกตรงบริเวณสะดือ เรียกว่า”สายรก” หรือจะเรียกอีกชื่อว่า “สายสะดือ” เพื่อทำหน้าที่เป็นท่อลำเลียงอาหารจากแม่ไปเลี้ยงทารกและรับของเสียจากทารกไปกลับไปยังตัวแม่ผ่านทางรกอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้รกยังทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิดเพื่อทำหน้าที่ให้การตั้งครรภ์ดำเนินไปอย่างราบรื่น และเพื่อกระตุ้นเต้านมให้เตรียมพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมมาเลี้ยงดูทารกหลังคลอด และยังมีหน้าที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ทารกเพื่อให้ทารกคลอดออกมาและไม่ติดเชื้อโรคต่าง ๆ รวมทั้งลดโอกาสที่จะเกิดภูมิแพ้ในอนาคตด้วย

ช่วงชีวิตของรก

ช่วงชีวิตของรกนั้นสั้นมาก คือ เมื่อทารกคลอดออกมาไม่นาน “รก” จะหมดหน้าที่ในการดูแล และจะถูกขับออกมา รวมอายุของรกประมาณ 10 เดือนเท่านั้น หลังจากที่มีการปฏิสนธิแล้ว รกจะเจริญเติบโตและพัฒนาอยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกับทารก เมื่ออายุครรภ์มากขึ้น รกจะมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะแก่ตัวมากขึ้น บางส่วนของรกจะมีแคลเซียมมาจับ เปรียบได้กับรกที่ใช้งานมานานจะมีสนิมเกาะ หากตรวจรกด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์จะเห็นเป็นรอยสีขาว ๆ ซึ่งเป็นสีของแคลเซียม ในคุณแม่บางคนที่รกมีแคลเซียมเกาะมากจะทำให้ความสามารถในการทำงานของรกลดลงไป ซึ่งมีผู้เรียกรกของคุณแม่กลุ่มนี้ว่า “รกเสื่อม” Placental Insufficiency

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร

ภาวะรกเสื่อมคืออะไร อันตรายอย่างไร พร้อมวิธีรักษาให้คุณแม่สบายใจ

Placental Insufficiency หรือ ภาวะรกเสื่อม เป็นภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งของการตั้งครรภ์ เกิดจากรกเจริญเติบโตผิดปกติหรือได้รับความเสียหาย ซึ่งรกเป็นอวัยวะที่เชื่อมต่อระหว่างมารดากับทารก มีหน้าที่หลักในการนำออกซิเจนและสารอาหารเข้าสู่กระแสเลือดของทารกและกำจัดของเสียออกไปผ่านร่างกายมารดา หากเกิดภาวะรกเสื่อม ทารกในครรภ์จะได้รับออกซิเจนและสารอาหารที่ถูกส่งผ่านมาทางรกน้อยลงมีผลทำให้เลือดที่ส่งจากแม่ไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอทำให้ทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ ทารกอาจประสบปัญหาภาวะเจริญเติบโตช้า (Intrauterine growth restriction) และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนอาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวน้อยขณะคลอด หรืออาจทำให้คลอดยากขึ้นได้ โดยหากตรวจพบภาวะนี้เร็วและได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็จะเป็นผลดีต่อทั้งสุขภาพของมารดาและทารก

อาการของภาวะรกเสื่อมเป็นอย่างไร

อัลตราซาวด์, คนท้องอัลตราซาวด์, คนท้องอัลตราซาวด์กี่ครั้ง

Woman holding an ultrasound scan of her unborn baby

คุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีภาวะรกเสื่อมมักจะไม่แสดงอาการใด ๆ เลย ในรายที่รกเสื่อมากจนไม่สามารถนำอาหารไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ อาจจะพบว่าขนาดของมดลูกโตน้อยกว่าอายุครรภ์ได้ ส่งผลให้ลูกดิ้นน้อยหรือไม่ดิ้นเลยถือว่าเป็นอันตราย

มีวิธีตรวจภาวะรกเสื่อมหรือไม่

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะรกเสื่อม จากการสอบถามประวัติ เช่น โรคประจำตัว การสูบบุหรี่หรือดื่มเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ การตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์ เพื่อติดตามการเจริญเติบโตของทารก และพบว่า ขนาดของครรภ์เล็กกว่าที่ควรจะเป็นในอายุครรภ์ขณะนั้น หรือการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (อัลตราซาวด์) พบว่า ทารกตัวเล็กกว่าขนาดที่ควรจะเป็น ทารกไม่โตขึ้น ปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ

การวินิจฉัย Placental Insufficiency

ในเบื้องต้น ผู้ป่วยสามารถตรวจความผิดปกติได้ด้วยตนเอง โดยอาจใช้วิธีจดบันทึกเมื่อทารกในครรภ์ดิ้นหรือขยับตัวในแต่ละวัน หากพบความผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจ

ทั้งนี้ แพทย์สามารถวินิจฉัย Placental Insufficiency ได้หลายวิธี เช่น

  • อัลตราซาวด์เพื่อดูขนาดของรกหรือทารกในครรภ์มารดา
  • ตรวจเลือดของมารดาเพื่อวัดระดับแอลฟาฟีโตโปรตีนที่สร้างจากตับของทารก
  • ตรวจสุขภาพทารกแบบ Fetal NST (Non-Stress Test) ซึ่งเป็นการสวมเข็มขัด 2 เส้นไว้ที่หน้าท้องของมารดาเพื่อวัดการบีบตัวและอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะรกเสื่อม

จำเป็นไหมคนท้องต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือน?

จำเป็น ไหมคนท้องต้องอัลตราซาวด์ทุกเดือน?

สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้รกเสื่อม ได้แก่

1.โรคประจำตัวของมารดา เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะส่งผลต่อการไหลเวียนของหลอดเลือดมีขนาดแคบตีบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ
2.การแข็งตัวของเลือดมากผิดปกติ ทำให้มีลิ่มเลือดอุดตันตามหลอดเลือด ทำให้เลือดส่งไปเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ
3.คุณแม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า หรือใช้สารเสพติด
4.ตั้งครรภ์เกินกำหนด
5.โรคของรกเอง เช่น เนื้องอกรก รกลอกตัวบางส่วน รกบางผิดปกติ หรือมีหินปูนเกาะรกมากเกินไป

ภาวะรกเสื่อมมีผลต่อการตั้งครรภ์อย่างไร

ภาวะที่รกเสื่อมหรือทำงานไม่ได้เต็มที่นั้น มักไม่เกิดผลกระทบต่อคุณแม่แต่มีผลโดยตรงกับทารกในครรภ์อย่างมาก ทำให้ทารกได้รับอาหารและออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายและสมองเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อเลือดมาเลี้ยงทารกไม่เพียงพอ เลือดเลี้ยงไตของทารกก็ลดลงด้วย การขับปัสสาวะจากไตก็ลดลง ทำให้น้ำคร่ำมีปริมาณมาก อาจทำให้ทารกถูกกดเบียดทับได้ และส่งผลให้ติดเชื้อได้ง่าย จะทำให้ทารกมีอัตราเสี่ยงเสียชีวิตในครรภ์สูง

ภาวะรกเสื่อมป้องกันได้หรือไม่

ในกรณีที่คุณแม่มีโรคประจำตัว การรักษาโรคประจำตัวจะเป็นการป้องกันรกเสื่อมได้ดีที่สุด นอกจากนี้การป้องกันการตั้งครรภ์เกินกำหนด โดยทั่วไปแพทย์จะให้คลอดเมื่ออายุครรภ์ไม่เกิน 41 สัปดาห์ เป็นวิธีที่จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงกับภาวะรกเสื่อมได้

จะเห็นว่ารกเสื่อมนั้นไม่ใช่โรค แต่ความสามารถในการทำงานของรกลดลง จากปัจจัยต่าง ๆ อย่างไรก็ตามรกเสื่อมจะส่งผลกระทบต่อทารกโดยตรง วิธีป้องกันได้ดีที่สุด คือ เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรไปรับการตรวจครรภ์อย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิงจาก

www.haamor.com

www.kapook.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ภาวะรกเกาะต่ำขณะตั้งครรภ์คืออะไร อันตรายแค่ไหน

สายรกสะกด “love”เรื่องราวประทับใจที่คุณต้องอ่าน

https://www.pobpad.com

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!