X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?

บทความ 5 นาที
อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?

การอยู่ไฟหลังคลอดสำหรับแม่ที่คลอดลูกแล้วนั้น ถือเป็นการดูแลสุขภาพอีกรูปแบบหนึ่งที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งการอยู่ไฟจะมีประโยชน์กับสุขภาพร่างกายของแม่หลังคลอดหรือไม่อย่างไรนั้น เรามีข้อมูลดีดีมาฝากค่ะ

วิถีการดูแลสุขภาพของคุณแม่มือใหม่นั่นคือ อยู่ไฟหลังคลอด การอยู่ไฟ เป็นการฟื้นฟูร่างกายจากความบอบช้ำ ความเหนื่อยล้าจากการคลอดลูก ซึ่งการอยู่ไฟจะทำให้คุณแม่กลับสู่ความสดชื่น แจ่มใสโดยเร็ว โดยจะใช้ความร้อนกระตุ้นกล้ามเนื้อต่างๆ ในร่างกาย เช่น บริเวณกล้ามเนื้อหลัง จากการถูกกดทับมาเป็นเวลานานในช่วงตั้งครรภ์ อีกทั้งยังช่วยลดความปวดเมื่อยตามร่างกายอีกด้วย

 

อยู่ไฟหลังคลอด

อยู่ไฟหลังคลอด กี่วัน

อยู่ไฟหลังคลอด การอยู่ไฟ สมัยโบราณเป็นอย่างไร 

การอยู่ไฟ ภาพในสมัยก่อนเวลาผู้หญิงหลังคลอดอยู่ไฟ จะใช้วิถีแบบชาวบ้านแท้ๆ เช่น

  • จะมีการสร้างเรือนเล็กๆ หรือกระท่อม
  • คุณแม่จะต้องนอนผิงไฟในกระโจมที่อยู่ในกระท่อมนั้น โดยที่ลูกจะถูกวางไว้ในกระด้ง
  • การนอนของคุณแม่จะต้องนอนบนผืนกระดานแผ่นเดียวทุกวัน
  • ห้ามอาบน้ำ ห้ามดื่มน้ำเย็น ห้ามรับประทานอาหารแสลง กินแต่ข้าวกับปลาเค็มหรือเกลือ
  • คุณแม่จะต้องอยู่ไฟประมาณ 1-2 สัปดาห์และห้ามออกจากกระทอมหรือเรือนที่สร้างขึ้น
  • ต้องอยู่เพื่อปรับอุณหภูมิในร่างกายให้เป้นปกติ เพื่อไม่ให้เจ็บป่วย เช่นมีอาการหนาวสะท้านไปถึงกระดูกหากมีอากาศเปลี่ยนแปลง

บทความที่เกี่ยวข้อง: การระบายน้ำนม 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 97

อยู่ไฟหลังคลอด การอยู่ไฟหลังคลอดมีประโยชน์อย่างไรต่อผู้หญิง

สำหรับการอยู่ไฟหลังคลอดนั้น คือการพักฟื้นร่างกาย ดูแลสุขภาพของผู้หญิงแบบโบราณ ซึ่งปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยน วิธีการ รูปแบบ ให้สะดวกสบายมากขึ้น เพราะในเมืองใหญ่ เราคงไม่มีกระโจมหรือกระท่อม หรือการสร้างเรือนไฟให้ผู้หญิงพักฟื้นสักเท่าไหร่ อีกทั้งยังมีการร่นระยะเวลาของการอยู่ไฟสั้นลง เพื่อให้ทันสมัยและฟื้นฟูร่างกายอย่างรวดเร็ว ซึ่งยังย้ำความเชื่อเดิมคือ การอยู่ไฟหลังคลอด นั้นมีประโยชน์ มากมาย เช่น

  • การอยู่ไฟจะช่วยกระตุ้นร่างกายให้เกิดการไหลเวียนของโลหิต
  • ร่างกายจะมีการเพิ่มอุณหภูมิ ช่วยเพิ่มความอบอุ่น เพราะส่วนใหญ่คุณแม่หลังคลอดมักจะมีรู้สึกหนาวเข้ากระดูดเวลาอากาศเย็นลด
  • การอยู่ไฟสามารถลดอาการอ่อนเพลีย จากการคลอดและการเสียเลือดในช่วงคลอดลูก
  • ความร้อน ความอบอุ่น สามารถลดการปวดเมื่อยตามข้อต่อต่างๆ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็นแข็งแรง
  • การอยู่ไฟ อบสมุนไพร จะช่วยให้ผิวพรรณดี ผุดผ่อง สุขภาพดีขึ้น
  • การปรับอุณหภูมิด้วยความร้อน จะช่วยให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคเพิ่มขึ้น ร่างกายแข็งแรงขึ้น
  • การอยู่ไฟจะช่วยปรับสมดุลในร่างกายให้เป็นปกติ เลือดลมไหลเวียนดี
  • การปรับอุณหภูมิในร่างกายช่วยให้หน้าท้องยุบเร็ว หน้าท้องแบนเร็วขึ้น
  • การอยู่ไฟหลังคลอด จะช่วยลดความเจ็บปวด เมื่อมดลูก เกิดภาวะบีบรัดตัวให้เข้าสู่ภาวะปกติ หรือที่คนโบราณมักจะพูดว่า การอยู่ไฟเพื่อให้มดลูกเข้าอู่

 

อยู่ไฟหลังคลอด

อยู่ไฟหลังคลอด กี่วัน

 

การอยู่ไฟหลังคลอด คุณแม่ต้องปฏิบัติอย่างไร 

สำหรับข้อแนะนำในการดูแลตัวเองขณะอยู่ไฟหลังคลอด โดยเฉพาะคุณแม่ที่คลอดธรรมชาติ จนไปถึง คุณแม่ที่ผ่าคลอดลูกควรปฏิบัติดังนี้

  • หากคุณแม่หลังคลอดที่ผ่านการคลอดลูกแบบธรรมชาติ คุณแม่สามารถอยู่ไฟได้ทันที หลังจากพักฟื้นได้ประมาณ 1 สัปดาห์ไปแล้ว
  • สำหรับคุณแม่หลังคลอดที่ทำการผ่าคลอด ต้องรอก่อนสักระยะ เพราะยังไม่สามารถอยู่ไฟได้ทันที เนื่องจากต้องรอและดูแลให้แผลผ่าตัดหายเสียก่อน จนกว่าแผลจะแห้งสนิท ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะต้องรอประมาณ 1 เดือนขึ้นไป เพื่อป้องกันอันตราย และไม่ให้แผลผ่าตัด มีภาวะอักเสบ ขณะที่อยู่ไฟ แผลอาจเน่า หายช้ามาก

บทความที่เกี่ยวข้อง : อาหารหลังคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 55

 

การดูแลตัวเอง อยู่ไฟหลังคลอด มีขั้นตอนอย่างไร

  • ขั้นตอนพื้นฐานคือ การใช้ลูกประคบสมุนไพรประกอบการอยู่ไฟ คือการนำลูกประคบร้อน ผ้าห่อด้วยสมุนไพรต่างๆ เช่น ตะไคร้ ขมิ้น ใบส้มป่อย การบูร และอื่นๆ มานวดคลึง กดจุดไปตามบริเวณร่างกาย และคลึงเบาๆ บริเวณเต้านม เพื่อลดอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อ
  • จะมีวิธีการอาบน้ำต้มสมุนไพร ที่ประกอบไปด้วย ขมิ้น ตะไคร้ ไพล ลูกมะกรูด ใบส้มป่อย ใบมะขาม ในน้ำอุ่นๆ เพื่อให้สมุนไพรซึมผ่านผิวหนัง สามารถทำให้สดชื่น มีความกระปรี้กระเปร่า
  • สำหรับการทับด้วยหม้อเกลือ คือ นำเอาเกลือเม็ดใหญ่ๆ ใส่ในหม้อดินแบบโบราณ ตั้งไฟจนเกลือร้อนและสุก แล้วห่อด้วยใบพลับพลึง และห่อทับด้วยผ้า จากนั้นนำมาประคบตามจุดต่างๆ ตามร่างกาย ซึ่งความร้อนจากหม้อเกลือ จะทำให้รูขุมขนตามผิวหนังเปิด ซึ่งสมุนไพรจะซึมผ่านลงผิวหนังลงไป เป็นส่วนหนึ่งของการขับของเสียออกมา
  • สำหรับการอบตัว โดยการเข้ากระโจมสมุนไพร วิธีนี้จะช่วยให้รูขุมขนตามผิวหนังเปิดเพื่อขับของเสียออกมา ทำให้คุณแม่สดชื่น ผ่อนคลาย

 

อยู่ไฟหลังคลอด

อยู่ไฟหลังคลอด กี่วัน

สิ่งที่ไม่ควรทำสำหรับการอยู่ไฟหลังคลอด

การอยู่ไฟหลังคลอดเป็นการปฏิบัติที่ดี แต่ก็มีข้อห้ามและสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพร่างกายของผู้หญิงหลังคลอดได้

 

  • ก่อนอื่นต้องจำไว้ว่า ห้ามสระผมประมาณ 1 เดือนครึ่งหรือ 45 วัน ซึ่งการเว้นระยะการสระผม จะส่งผลดีต่อแม่ ในระยะยาว คุณแม่ต้องพยายามอดทนหลีกเลี่ยงการสระผม แต่หากอยากสระผมจริงๆ แนะนำให้ใช้น้ำอุ่นชำระล้างเส้นผม ที่สำคัญ คุณแม่ไม่ควรอาบน้ำเย็น ควรอาบน้ำอุ่นเท่านั้น ระยะเวลาก็ประมาณเท่ากับห้ามสระผม
  • หากคุณแม่ต้องทำงาน ไม่ควรใช้สายตาทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหนังสือเวลาว่าง หรือทำงานต้องใช้คอมพิวเตอร์ ควรพักสายตาจากการทำงานหนักประมาณ 1 เดือนครึ่งหรือ 45 วัน
  • โบราณว่า ห้ามคุณแม่โดนฝน ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ควรระวัง เมื่อแก่ตัวไปหรือเรียกว่าเข้าสู่วัยทอง หากเจอน้ำฝนและความเย็นจากอากาศเย็นจากภาวะฝน จะทำให้คุณแม่รู้สึกหนาวยะเยือก เข้ากระดูก
  • สำหรับคุณแม่สายซิ่ง ไม่ควรขับรถเป็นเวลาประมาณ 1 เดือนครึ่ง หรือ 45 วัน เพราะจะทำให้รู้สึก วิงเวียนหน้าหน้ามืดได้
  • สำหรับคุณแม่ผ่าคลอด สิ่งที่ควรระวังคือ ห้ามนั่งยองๆ เด็ดขาด เพราะจะทำให้มดลูกเข้าอู่ช้า
  • คุณแม่ไม่ควรรับประทานของแสลง เพราะจะทำให้แผลหายช้าหรือเกิดการอักเสบได้ เช่น ของหมักดอง ผมไม้ดอง ไก่ ของที่มีโซเดียมสูงๆ เป็นต้น
  • ไม่ควรดื่มน้ำเย็น เพราะจะทำให้น้ำนมไม่ค่อยออก หรือไขมันสลายตัวช้า เป็นต้น
  • โบราณว่า ห้ามหวีผม เพราะจะทำให้เลือดคั่งบนใบหน้า ลองเอานิ้วนวดๆ สางๆ ผมเท่านั้น
  • ห้ามรับประทานของเย็นๆ เช่น น้ำเย็น น้ำแข็ง เต้าหู้เย็น เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนช้า มดลูกเข้าอู่ช้า อาจเป็นสาเหตุให้การขับน้ำคาวปลาผิดปกติ หรือออกมาไม่หมด

 

บทความที่เกี่ยวข้อง : คนท้องกินน้ำเต้าหู้ ดีต่อแม่ส่งต่อถึงลูก จริงหรือ!!

 

 

สำหรับแม่หลังคลอดที่ต้องการดูแลสุขภาพด้วยการอยู่ไฟอาจต้องเตรียมหาข้อมูลของสถานที่ให้บริการอยู่ไฟหลังคลอดไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ และที่สำคัญผู้ที่จะทำเรื่องการอยู่ไฟให้ต้องมีความเชี่ยวชาญ รวมทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการอยู่ไฟ จะต้องสะอาดและปลอดภัยกับตัวแม่หลังคลอดด้วยนะคะ

ติดตามความรู้เพิ่มเติมเรื่องการอยู่ไฟหลังคลอด โดยดูได้จากวีดิโอด้านล่างนี้เลยค่ะ

 

 

บทความอื่นที่น่าสนใจ: 

รู้ได้อย่างไรว่ามดลูกเข้าอู่แล้ว หลังคลอดมดลูกจะเข้าอู่ตอนไหน

น้ำคาวปลา หมดตอนไหน น้ำคาวปลาหลังคลอด กี่วันหมด ทำไมมีหลายสี สีไหนผิดปกติ

อาการมดลูกหย่อนหลังคลอด ดูแลตัวเองยังไงให้ถูกจุด

ที่มา:manager

บทความจากพันธมิตร
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
วิธีสังเกตอาการคนท้องและพัฒนาการทารกในครรภ์แต่ละไตรมาส
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
รีวิวจริง มื้อนี้แม่ทำให้ดู ซีรีแล็คจูเนียร์โจ๊ก อร่อยเหมือนรสมือแม่ แถมไม่ใส่น้ำตาลทราย
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
เตรียมสมองให้พร้อมเสมอ เพื่อการเรียนรู้นอกกรอบ เคล็ดลับความสำเร็จของเด็กเจนอัลฟาที่พ่อแม่ต้องรู้
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ
คุณแม่ให้นมเตรียมตัวกลับไปทำงาน ต้องปั๊มนม สต็อกนมอย่างไร ให้ลูกมีนมกินอย่างเพียงพอ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

theAsianparent Editorial Team

  • หน้าแรก
  • /
  • การคลอด
  • /
  • อยู่ไฟหลังคลอด จำเป็นต่อแม่หลังคลอดอย่างไร ควรระวังเรื่องใดบ้าง?
แชร์ :
  • แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ย ข้อมูลอยู่ไฟหลังคลอด จะได้ไม่หนาวใน หนาวเข้ากระดูกตอนแก่

    แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ย ข้อมูลอยู่ไฟหลังคลอด จะได้ไม่หนาวใน หนาวเข้ากระดูกตอนแก่

  • อยู่ไฟหลังผ่าคลอด แบบชาวบ้านที่สถานีอนามัย 5 วัน แค่พันบาท สบายตัว!

    อยู่ไฟหลังผ่าคลอด แบบชาวบ้านที่สถานีอนามัย 5 วัน แค่พันบาท สบายตัว!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

app info
get app banner
  • แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ย ข้อมูลอยู่ไฟหลังคลอด จะได้ไม่หนาวใน หนาวเข้ากระดูกตอนแก่

    แม่ผ่าคลอดอยู่ไฟได้มั๊ย ข้อมูลอยู่ไฟหลังคลอด จะได้ไม่หนาวใน หนาวเข้ากระดูกตอนแก่

  • อยู่ไฟหลังผ่าคลอด แบบชาวบ้านที่สถานีอนามัย 5 วัน แค่พันบาท สบายตัว!

    อยู่ไฟหลังผ่าคลอด แบบชาวบ้านที่สถานีอนามัย 5 วัน แค่พันบาท สบายตัว!

  • 51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

    51 ชื่อลูกจาก นางในวรรณคดีไทย ไอเดียตั้งชื่อลูกสาว สุดไพเราะ สวยงาม

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ