ประจำเดือนไม่มา ปกติมีลูกยากจริงหรือ
สาเหตุของ ประจำเดือนไม่มา ปกติมีอะไรบ้าง ?
– น้ำหนักมากกว่ามาตรฐาน หรือ น้ำหนักเพิ่มมากเกินไปในเวลาอันสั้น คนที่อ้วนมากเกินไปนั้น ทำให้เกิดภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ เพราะความอ้วนส่งผลต่อฮอร์โมนเพศทำให้ประจำเดือนไม่มา หรือมาไม่สม่ำเสมอ
– น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน หรือ น้ำหนักลดลงมากเกินไปเวลาอันสั้น ไม่ว่าจะน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐาน หรือมากกว่ามาตรฐาน ต่างก็ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติได้ทั้งสิ้น คนที่ผอมเกินไปนั้น ไขมันจะมีสัดส่วนไม่พอเหมาะกับมวลทั้งหมดของร่างกาย เมื่อไขมันสะสมลดลงอย่างมาก ร่างกายอาจหยุดการผลิตไข่ได้ ส่งผลให้รอบเดือนมาไม่สม่ำสมอ
– การออกกำลังกายมากเกินไป ปัญหานี้พบบ่อยในนักกีฬาที่ต้องโหมออกกำลังกายอย่างหนักเป็นประจำ การออกกำลังกายอย่างหนักส่งผลเช่นเดียวกับคนที่น้ำหนักลดลงมากเกินไป ทำให้ไขมันสะสมลดลงอย่างมาก จนร่างกายหยุดผลิตไข่ ทำให้ประจำเดือนมาไม่สม่ำสมอ
– ยา โดยเฉพาะการรับประทานยาคุมกำเนิด เมื่อคุณเริ่มใช้ยาคุมกำเนิด ประจำดือนของคุณจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนในตัวยานั้น ๆ โดยเฉพาะยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ซึ่งอาจทำให้รอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ บางครั้งทำให้รอบเดือนมาน้อยลง หรือประจำเดือนไม่มาเลยก็ได้
– ปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะอุ้งเชิงกราน เช่น เยื่อพรหมจารีไม่เปิด (Imperforate hymen) โดยจริง ๆ แล้ว คุณอาจมีประจำเดือนทุกเดือน แต่ขังอยู่ในช่องคลอดและโพรงมดลูก หรือ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) ที่ทำให้ระยะระหว่างรอบประจำเดือนห่างมากขึ้น
บทความใกล้เคียง: รักษาผู้มีบุตรยาก

ประจำเดือนมาไม่ปกติทำให้มีบุตรยากจริงหรือ ?
แท้จริงแล้วการที่ประจำเดือนมาไม่ปกติไม่ได้ทำให้คุณมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยกว่าคนที่มีประจำเดือนมาปกติ ความสามารถในการมีบุตรขึ้นอยู่กับการตกไข่ (และต้องมีไข่ที่สมบูรณ์หรือมีสุขภาพดีจากรังไข่ด้วย) มากกว่าระยะของประจำเดือน ตราบใดที่การตกไข่ของคุณเป็นไปตามปกติ โอกาสที่คุณจะตั้งครรภ์หรือมีบุตร ก็จะไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ จากประจำเดือนที่มาไม่สม่ำสมอ อย่างไรก็ตาม การที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือประจำเดือนไม่มา รวมทั้งมามากหรือน้อยไป ต่างก็อาจเป็นสัญญาณบอกได้ว่าคุณไม่ตกไข่ แต่ทั้งนี้ หญิงที่ไข่ไม่ตกบางท่านก็อาจมีประจำเดือนมาทุก ๆ 28 – 32 วัน หรือมีประจำเดือนสมํ่าเสมอตามปกติก็ได้
การที่ไข่ตกไม่สม่ำเสมอนับเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในเพศหญิงมากถึง 30-40% เลยทีดียว ตามสถิตินั้นค่อนข้างเห็นได้ชัดเจนว่าผู้หญิงที่ไข่ตกทุก ๆ 6 สัปดาห์ หรือ 9 ครั้งต่อปี มีโอกาสตั้งครรภ์ต่ำกว่าผู้หญิงที่ไข่ตกทุก ๆ เดือน สาเหตุที่ทราบ ได้แก่ ภาวะผิดปกติของฮอร์โมน ภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคไต โรคตับ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ เป็นต้น
บทความแนะนำ: ควรมีเซ็กซ์บ่อยแค่ไหนเพื่อให้มีลูก

เคล็ดลับและแนวทางแก้ไข
– ถ้าประจำดือนของคุณมาไม่ปกติ อาจเป็นไปได้ว่าการตกไข่ของคุณไม่สม่ำเสมอหรือไข่ไม่ตก ซึ่งมีวิธีตรวจสอบแบบคร่าว ๆ ได้หลายวิธี
หนึ่ง คือ ใช้เครื่องตรวจการตกไข่ (Ovulation Predictor Kits หรือ OPKs )
สอง คือ ตรวจสอบเมือกปากมดลูก (Cervical Mucus )
สาม คือ ใช้วิธีวัดอุณหภูมิร่างกาย (Basal body temperature method) ทุกวัน ถ้าเป็นไปได้จะดีมากหากใช้ทั้งสามวิธีในการตรวจสอบ
– ยากระตุ้นการตกไข่ และการตรวจโรคอื่นๆ แม้ภาวะมีบุตรยากจะสามารถรักษาได้โดยการใช้ยา กระตุ้นการตกไข่ หรือ ยากระตุ้นภาวะการตั้งครรภ์ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งด้วยที่สาว ๆ หลายคนควรคำนึงถึงอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุด้วย เช่น ภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ภาวะผิดปกติของต่อมใต้สมอง และ ต่อมหมวกไต
– ถ้าคุณออกกำลังกายมากเกินไปหลายชั่วโมงต่อวัน หรือ ต้องฝึกอย่างหนัก ลองปรึกษาแพทย์ดูว่าต้องลดการออกกำลังลงไหม เพราะผู้หญิงต้องมีระดับไขมันในร่างกายที่พอเหมาะ จึงจะสามารถตกไข่ได้ตามปกติ
– ถ้าคุณน้ำหนักมากเกินไป ลองปรึกษาแพทย์เพื่อจัดโปรแกรมลดน้ำหนักแบบค่อยป็นค่อยไป โรคอ้วนนั้นส่งผลต่อฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับรังไข่ และส่งผลต่อการตกไข่ด้วย นอกจากนี้ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นยังทำให้ระดับอินซูลินเพิ่มขึ้นด้วย ส่งผลให้รังไข่ผลิตฮอร์โมนเพศชายออกมามากไป จนหยุดตกไข่ได้
theAsianparent Thailand เว็บไซต์ข้อมูลคุณภาพและสังคมคุณแม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศและเอเชีย เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารแพทย์ แหล่งความรู้แม่และเด็ก รวมถึงแอพพลิเคชั่น theAsianparent Thailand ที่ติดตามการตั้งครรภ์ให้คุณแม่ได้ลงทะเบียนใช้งาน เพื่อติดตามพัฒนาการทารกตั้งแต่ตั้งครรภ์ จนถึงติดตามหลังคลอดที่ครอบคลุมที่สุดและผู้ใช้งานสูงสุดในประเทศไทย นอกจากความรู้ยังมีไลฟ์สไตล์และสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ไม่ว่าสุขภาพแม่และเด็ก โภชนาการแม่และเด็ก กิจกรรมสำหรับครอบครัว
การวางแผนครอบครัวไปจนถึง การดูแลลูก การศึกษา และจิตวิทยาเด็ก theAsianparent Thailand เราพร้อมสนับสนุนพ่อแม่ทุกท่าน ให้มีความรู้และมีสุขภาพกายใจเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างครอบครัวอย่างแข็งแรง
เพราะเราเชื่อว่า “พ่อแม่เข้มแข็ง ครอบครัวแข็งแรง”
ที่มาจาก : https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/827
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
ครม. เห็นชอบแก้กฎหมาย ผู้หญิง ไม่พร้อมมีครรภ์ สามารถทำแท้งได้
บทความแนะนำ:ใครว่าผู้หญิงช่วงตกไข่ไม่เซ็กซี่
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!