X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด!

บทความ 3 นาที
ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด!ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด!

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อาการเจ็บป่วยที่อาจทำอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตได้ ถ้าลูกตัวเย็นพ่อแม่ควรทำอย่างไร อาการตัวเย็นของลูกแบบไหนคึวรรีบไปพบแพทย์ด่วน

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก มักจะเกิดกับทารกในช่วงที่อากาศเริ่มมีความหนาว เย็นอาจส่งผลให้เกิดความเจ็บป่วยจาก “ภาวะตัวเย็นเกิน” (Hypothermia) ได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มทารก และเด็กเล็ก ซึ่งภาวะนี้เป็นภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิลดต่ำกว่าปกติ คือต่ำกว่า 35 องศาเซลเซียส อันจะส่งผลกระทบให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำหน้าที่ไม่ได้ตามปกติ เกิดอาการเจ็บป่วยรุนแรง เป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

อุณหภูมิร่างกาย 35 ลูก ตัว เย็น

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็กเกิดจากอะไรได้บ้าง ?

สาเหตุหลักของภาวะนี้ในเด็กมักเกิดจากการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับอากาศหนาวเย็น เช่น อยู่ในบริเวณภูมิประเทศที่หนาว หรือ แช่อยู่ในน้ำเย็นจัด
นอกจากนี้ อาจเกิดจากความเจ็บป่วยรุนแรง หรือเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการเดินทางขนส่ง หรือ การได้รับสารพิษ หรือยาบางชนิดก็ได้

 

อาการของภาวะตัวเย็นเกินมีอะไรบ้าง ?

อาการของภาวะตัวเย็นเกินจะมี 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิของร่างกายที่ลดต่ำลงดังนี้

  1. อาการไม่รุนแรง: อุณหภูมิของร่างกายอยู่ในช่วง 32 – 35 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการสั่น ขนลุก ดูซีด ปลายมือปลายเท้าเขียว
  2. อาการรุนแรงปานกลาง: อุณหภูมิร่างกายอยู่ในช่วง 28 – 32 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีอาการพูดไม่ชัด มีการเคลื่อนไหวผิดปกติ งุ่มง่าม การคิดช้าลง อ่อนเพลีย ง่วงซึม หงุดหงิด สับสน
  3. อาการรุนแรงมาก: อุณหภูมิของร่างกายน้อยกว่า 28 องศาเซลเซียส ผู้ป่วยจะมีการหายใจช้าลง หัวใจเต้นช้าลง และความดันลดต่ำลง ทำให้อาจจะคลำชีพจรไม่ได้ และอาจมีภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ ตัวแข็งเกร็ง ม่านตาขยาย

ซึ่งหากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก ๆ ก็อาจทำให้เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เนื่องจากระบบ ไหลเวียนโลหิตระบบการหายใจของร่างกายจะมีการทำงานลดลงจนถึงขั้นหยุดทำงานได้ โดยในเด็กเล็กกลไกการทำงานของร่างกายในการผลิตความร้อน เมื่อเกิดภาวะตัวเย็นเกินนั้น จะยังไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่ อีกทั้งการสะสมพลังงาน เพื่อการสร้างความร้อนภายในร่างกาย ก็ไม่ดีเท่ากับผู้ใหญ่เช่นกัน จึงอาจเกิดอันตรายจากภาวะตัวเย็นเกินนี้ได้มากกว่าผู้ใหญ่

**ทั้งนี้ในทารก และเด็กเล็กจะไม่สามารถอธิบายอาการผิดปกติที่เกิด ขึ้นจากภาวะตัวเย็นเกินได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตอาการของภาวะนี้ เมื่อสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่ในสภาวะอากาศหนาวเย็น โดยสังเกตว่า ลูกมีอาการต่าง ๆ ดังกล่าวต่อไปนี้หรือไม่ ได้แก่ ดูซึมผิดปกติ ไม่ค่อยดูดนม อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ขยับแขนขาน้อยลง ผิวหนังบริเวณลำตัว และแขนขา หน้าท้องเย็น มีการหายใจที่ผิดปกติหรือหยุดหายใจเป็นพัก ๆ

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

อุณหภูมิร่างกาย 35 ลูก ตัว เย็น

การรักษาภาวะตัวเย็นเกินทำได้อย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีภาวะตัวเย็นเกินจำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษา โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น จนกระทั่งถึงแก่ชีวิต ดังนั้นหากพบผู้ป่วยมีภาวะตัวเย็นเกิน ควรรีบนำส่งโรงพยาบาลด่วน โดยอาจให้การปฐมพยาบาล เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยเบื้องต้นดังนี้

  • ให้ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในบริเวณที่อบอุ่นไม่มีลมพัดเข้า โดยเคลื่อนย้ายผู้ป่วยอย่างเบามือที่สุด
  • หากเสื้อผ้าของผู้ป่วยเปียก เช่น กรณีผู้ป่วยตัวเย็นหลังจากอุบัติเหตุทางน้ำ ควรเปลี่ยนเป็นเสื้อผ้าที่แห้งแทน
  • ห่อหุ้มร่างกายผู้ป่วยด้วยผ้าห่มหรือผ้าที่หนา ๆ เพื่อเพิ่มความอบอุ่น
  • ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ หรือเครื่องดื่มอุ่นๆหากยังรู้สึกตัว
  • สังเกตการหายใจของผู้ป่วย เพราะหากผู้ป่วยมีภาวะตัวเย็นเกินที่รุนแรงมากอาจจะทำให้หยุดหายใจชีพจรหยุดเต้นหรือหมดสติได้ซึ่งหากมีอาการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือโดยการปั๊มหัวใจ

เพื่อป้องกันการเกิดภาวะตัวเย็นเกินทั้งเด็กและผู้ใหญ่ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นเวลานานโดยเฉพาะเด็กเล็กและผู้สูงอายุ ควรระมัดระวังหลีกเลี่ยงอากาศเย็น หากจำเป็นต้องอยู่ในบริเวณดังกล่าวควรใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดมิดชิด และอบอุ่นเพียงพอ ใส่ถุงมือ ถุงเท้า ในเวลากลางคืนควรห่มผ้าห่มหรือผ้านวมหนา ๆ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมทุกชนิด

ผู้ที่มีภาวะตัวเย็นเกินหากไม่ได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีอาจนำมาซึ่งการเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วแต่หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องแล้วก็มีโอกาสจะรอดชีวิตได้สูง ดังนั้น การวินิจฉัยและการให้การดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วจึงมีความสำคัญมากค่ะ

 

ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก

อุณหภูมิร่างกาย 35 ลูก ตัว เย็น

อ้างอิง : www.healthline.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:

บทความจากพันธมิตร
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
จับตาสถานการณ์ ไข้เลือดออก ปี 2565 ภัยเงียบใกล้ตัวที่ไม่เคยหายไป ภายใต้เงาครึ้มของโควิด - 19
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก
ชวนคุณแม่ ฝึกลูกน้อยเคลื่อนไหว เสริมพัฒนาการร่างกาย ในวัยขวบปีแรก

เด็กป่วยหน้าฝน RSV ไข้หวัดใหญ่ เฮอร์แปงไจน่า โรคหน้าฝนที่ทารกเด็กเล็กต้องระวัง

20 วิธีง่ายๆ ที่ทำให้สนิทกับลูกน้อยแรกเกิดได้เร็วขึ้น ตีสนิทกับลูกตอนเป็นทารก

ทำไมทารกชอบดูดนิ้ว ลูกจะเลิกดูดนิ้วเองไหม มีวิธีไหนทำให้ลูกเลิกดูดนิ้วบ้าง

คำคมความรัก รวม 100 คำคม 100 แคปชั่นความรัก อ่านมากๆ ไม่อ้วก ก็อิน

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ภาวะตัวเย็นเกินในเด็ก อันตรายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม พ่อแม่อย่าประมาทเด็ดขาด!
แชร์ :
  • พยาธิตืดหมูยั้วเยีย หมอเผยเพิ่งเคยเห็นของจริงครั้งแรก เตือนอันตรายถึงชีวิตถ้าขึ้นสมอง!

    พยาธิตืดหมูยั้วเยีย หมอเผยเพิ่งเคยเห็นของจริงครั้งแรก เตือนอันตรายถึงชีวิตถ้าขึ้นสมอง!

  • พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

    พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

app info
get app banner
  • พยาธิตืดหมูยั้วเยีย หมอเผยเพิ่งเคยเห็นของจริงครั้งแรก เตือนอันตรายถึงชีวิตถ้าขึ้นสมอง!

    พยาธิตืดหมูยั้วเยีย หมอเผยเพิ่งเคยเห็นของจริงครั้งแรก เตือนอันตรายถึงชีวิตถ้าขึ้นสมอง!

  • พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

    พ่อแม่ที่ดีควรทำอย่างไร ถ้าไม่อยากเป็นพ่อแม่ที่พาลูกล้มเหลว ควรทำแบบนี้!

  • 12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

    12 ท่ายาก ท่ามีเพศสัมพันธ์ คะแนนเยอะ ตามตำรากามสูตร ที่คืนนี้ต้องจัด

  • ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

    ใจสลาย หมอบอกว่าลูกเสียเพราะเกินกำหนดคลอด สายรกเสื่อม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ