theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • COVID-19
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • Project Sidekicks
    • การตั้งครรภ์
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • การสูญเสียทารก
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • สุขภาพ
    • อาการป่วย
    • วัคซีน
    • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ความปลอดภัย
    • มุมคุณพ่อ
  • การศึกษา
    • ข่าวการศึกษา
    • คลีนิกพัฒนาการ
    • เตรียมความพร้อมก่อนวัยเรียน
    • โรงเรียนอนุบาล
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • งานบ้าน
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • ดวงและราศี
    • ดารา-แฟชั่น
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ฟิตเนส
    • อีเว้นท์
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง

ป้องกันเด็กหาย!!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง

บทความ 5 นาที
แชร์ :
•••
ป้องกันเด็กหาย!!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง

ช่วงปิดเทอมอย่างนี้กิจกรรมสุดหรรษาของครอบครัว คือ ออกไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ ให้เลือกมากมาย ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ สวนสนุก สวนน้ำ เป็นต้น แต่ละที่คนเนืองแน่นจนไม่รู้ว่าใครเป็นใคร อาจทำลูกเกิดพลัดหลงกับพ่อแม่ได้ มาสอนลูกหลานให้รู้จักระมัดระวังตัวเพื่อป้องกันปัญหาเด็กหายกันค่ะ ติดตามอ่าน

ป้องกันเด็กหาย !!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง

ป้องกันเด็กหาย !!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง

โอกาสที่ลูกจะพลัดหลง

ครอบครัว ที่มีลูกอยู่ ในวัยซน มีโอกาสสูง ที่จะ เกิดการพลัดหลงได้  มาดูกันค่ะ ว่ามีปัจจัยอะไรบ้าง ที่ทำให้เด็กพลัดหลง

ป้องกันเด็กหาย, เด็กหาย, ลูกหาย

1. วัย

โดยเฉพาะ เด็กใน ช่วงวัย 1 – 6 ปี  เด็ก มักจะ คิดไม่เหมือนผู้ใหญ่  มักคิดอะไรง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน ตามช่วงวัย ของเขานั่นเอง เห็นอะไร สวยงามล่อใจ ก็เดินไปมอง  อาจเผลอ ปล่อยมือ จาก คุณพ่อ คุณแม่ได้  จึงควรอยู่ ในความดูแล อย่างใกล้ชิด  โดยเฉพาะ เด็กเล็ก ควรจูงมือ ไว้ ตลอดเวลา   ถ้า ไม่สามารถ สามารถจับมือ ได้ก็ต้องมอง ตลอดเวลา อย่า

ให้คลาดสายตา  แต่ถ้าวัยประมาณ 5-6 ปี  อาจจะบอกหรือสอนได้  แต่ก็ไม่แน่ว่าเจ้าหนูจะทำตามที่บอกหรือไม่  จูงมือกันไว้ปลอดภัยที่สุดค่ะ

2. นิสัย

นอกจากเรื่องวัยแล้ว  ลักษณะนิสัยของเด็กแต่ละคนก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการพลัดหลงหรือเด็กหายได้  เช่น  เด็กซนหรือเด็กที่มีสมาธิสั้น มีแนวโน้มจะพลัดหลงได้ง่าย หรือเด็กยิ่งเล็กเท่าไหร่  เขาจะพุ่งตรงไปจุดที่ล่อตาล่อใจ จุดที่เขาสนใจได้ง่าย  ซึ่งลูกจะเดินแยกออกไปหาสิ่งที่เขาสนใจทันที คุณแม่สั่งไว้อย่างไร เชื่อเถอะ ลืมหมด!!! สำหรับเด็กที่เชื่อฟังก็จะลดปัญหาการพลัดหลงไปได้บ้าง แต่ก็ต้องระมัดระวังเช่นเดียวกัน

ป้องกันเด็กหาย !!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง

จากรายงานสถิติข้อมูลเด็กหายของมูลนิธิกระจกเงาพบว่า สถิติปี 2558 มีการแจ้งเด็กหายแล้ว 297  คน ขณะที่สถิติปี 2557 มีเด็กหาย  675 คน ปี 2556  มีเด็กอายุต่ำกว่า  18 ปี  หาย 550 คน  โดยมีสาเหตุสำคัญอันดับหนึ่ง คือ

ป้องกันเด็กหาย, เด็กหาย, ลูกหาย

1.หนีออกจากบ้าน เพราะติดเกม

2.ถูกล่อลวงจากการเล่นแชทไลน์  เฟสบุ๊ค

3.พลัดหลง

4.ถูกลักพาตัวเพื่อไปใช้แรงงานขอทาน

เรื่องน่ารู้     ***** สถานที่ที่เด็กหายมากที่สุดคือ “หน้าโรงเรียน” *******

เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบสถิติเช่นนี้แล้ว  ชวนให้ตกใจว่า โอกาสของเด็กหายมันถึงอยู่ใกล้ตัวเช่นนี้ ถ้าเช่นนั้นทางที่ดีควรปลูกฝังลูกหลานให้รู้จักระมัดระวังตัวเพื่อความปลอดภัย ดังนี้

10 วิธีปฏิบัติ ป้องกันเด็กหาย

1. คุณพ่อคุณแม่ต้องสอนให้ลูกจดจำชื่อนามสกุลจริงของตัวเองและของคุณพ่อคุณแม่ รวมถึงหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ และหมายเลขสำคัญเช่น 191 หรือ 1599 (ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติ) เป็นต้น

2. คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกอยู่บ้านตามลำพัง แต่หากมีความจำเป็นที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ต้องสอนให้เด็กรู้จักระมัดระวังตัว และบอกคนแปลกหน้าว่าไม่ได้อยู่คนเดียว และอย่าเปิดประตูบ้านให้คนแปลกหน้าเด็ดขาด

3. ในกรณีที่ลูกเลิกเรียนแล้วแต่ยังอยู่ที่โรงเรียน ต้องกำชับลูกว่าให้อยู่แต่ในโรงเรียน  อย่าออกมายืนรอตามลำพังที่สำคัญให้อยู่ในเขตรั้วโรงเรียนเท่านั้น

4. สอนให้ลูกให้อยู่ห่างจากรถที่มาจอดเทียบใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นรถตู้ รถเก๋ง หรือรถจักรยานยนต์ แม้คนขับจะมีท่าทีว่ารู้จักเด็กมาก่อนก็ตาม ให้เด็กรู้จักวิธีการหลบหลีกโดยเดินไปในที่ที่มีคนพลุกพล่าน หรือไปหาป้อมตำรวจทื่อยู่ใกล้ๆ

5. สอนลูกไม่ให้ไปเล่นในที่เปลี่ยว ที่รกร้าง ที่ลับตาคน แม้ว่าที่นั้นจะเป็นที่ที่คุ้นเคยก็ตาม

6. สอนลูกอย่ารับของจากคนแปลกหน้า เพราะคนร้ายส่วนใหญ่จะอาศัยวิธีการให้ขนมหรือของเพื่อตีสนิท

7. อย่าปล่อยให้ลูกรอในรถโดยลำพัง แม้จะเข้าไปทำธุระเพียงไม่กี่นาทีก็ตาม เพราะคนร้ายอาจใช้ช่วงเวลานี้ลักพาตัวเด็ก หรือขโมยรถแล้วเอาทรัพย์สินในรถไป

8. อย่าปล่อยให้เด็กไปเข้าห้องน้ำสาธารณะตามลำพังเด็ดขาด

9. หากเด็กจำเป็นต้องไปพักแรมควรมีผู้ใหญ่ดูแลใกล้ชิดเสมอ

ตำรวจฝากบอก  :  คุณพ่อคุณแม่ควรปรับข้อมูลของลูกให้ทันสมัยอยู่เสมอ เช่น ภาพถ่ายปัจจุบัน ประวัติทางการแพทย์ รวมถึงข้อมูลการพิมพ์รายนิ้วมือ ดีเอ็นเอ เพื่อประโยชน์ในการยืนยันตัวบุคคล หากเกิดกรณีที่ลูกหาย จะได้มีข้อมูลในการตามหาตัวเด็กได้

เรื่องน่ารู้

พบเห็นเด็กต้องสงสัยว่าถูกลักพาตัวก็สามารถแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือแจ้งเด็กหายโดยไม่ต้องรอให้ครบ 24 ชม.

– ได้ที่โทร.1599 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

– Facebook Fan page มูลนิธิกระจกเงา  https://www.facebook.com/mirrorf?fref=ts

– Facebook Fan page ศูนย์คนหายและศพนิรนาม https://www.facebook.com/profile.php?id=100007778898999&fref=ts

อ้างอิงข้อมูลจาก

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9570000084063

https://www.facebook.com/notes/bangkok-insurance

http://www.komchadluek.net/detail/20150304/202379.html

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

อุทาหรณ์! เด็กฟิลิปปินส์โดนเพื่อนยุโดดน้ำ จมหายต่อหน้าต่อตา (มีคลิป)

https://th.theasianparent.com/ios-app

TAP-ios-for-article-footer-with button (1)

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

บทความโดย

มิ่งขวัญ ลิรุจประภากร

  • หน้าแรก
  • /
  • ชีวิตครอบครัว
  • /
  • ป้องกันเด็กหาย!!! เริ่มที่พ่อแม่สอนลูกให้ถูกทาง
แชร์ :
•••
  • Child Lock หรือ ล็อคป้องกันเด็ก ช่วยไม่ให้ลูกหล่นออกมาจากรถ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

    Child Lock หรือ ล็อคป้องกันเด็ก ช่วยไม่ให้ลูกหล่นออกมาจากรถ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

  • รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

    รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

app info
get app banner
  • Child Lock หรือ ล็อคป้องกันเด็ก ช่วยไม่ให้ลูกหล่นออกมาจากรถ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

    Child Lock หรือ ล็อคป้องกันเด็ก ช่วยไม่ให้ลูกหล่นออกมาจากรถ เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ต้องรู้

  • รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

    รู้ไว้ก่อนสาย เพราะ “เด็กหาย” อาจเป็นลูกคุณ

  • เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

    เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน

  • น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

    น้องมะลิจัดฟัน ลูกแม่โบว์ แวนด้า จัดฟันแต่เด็ก เด็ก 6 ขวบก็จัดฟันได้แล้วหรอ

  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การตั้งชื่อลูก
    • โภชนาการระหว่างตั้งครรภ์​
    • การคลอดบุตร
    • หลังคลอดบุตร
  • ช่วงวัยของเด็ก
    • ทารก
    • วัยเตาะแตะ
    • เด็กเล็ก
    • เด็กวัยเรียน
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การเงิน การวางแผนครอบครัว
    • โรงเรียนพ่อแม่
    • เซ็กส์และความสัมพันธ์
  • การตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • นมแม่และนมผง
  • ไลฟ์สไตล์​
    • ข่าว
    • ดวงและราศี
    • กิจกรรมของครอบครัว
    • ดารา-แฟชั่น
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore
  • Thailand
  • Indonesia
  • Philippines
  • Malaysia
  • Sri Lanka
  • India
  • Vietnam
  • Australia
  • Japan
  • Nigeria
  • Kenya
พันธมิตรของเรา
Mama's Choice Partner Brand Logo
© Copyright theAsianparent 2021. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้
  • สังคมออนไลน์
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • โภชนาการสำหรับครอบครัว
  • ชีวิตครอบครัว
  • สุขภาพ

ดาวน์โหลดแอปของเรา

google play store
Appstore
  • ติดต่อโฆษณา
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทีม
  • ติดต่อเรา
  • ข้อกำหนดการใช้
  • มาเข้าร่วมกับเรา
เปิดในแอป