เตรียมของก่อนคลอด แม่หลังคลอดและทารกแรกเกิด ต้องใช้อะไรบ้าง เช็คเลย!

เตรียมของก่อนคลอด ของใช้เด็กอ่อนสำหรับทารกแรกเกิด และคุณแม่หลังคลอด ต้องมีอะไรบ้าง คนท้องต้องเตรียมของใช้อะไรบ้างสำหรับวันที่ไปคลอดลูก
คนท้องมีเริ่มเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หลายคนก็จะเริ่มหาซื้อเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นสำหรับลูกน้อยกันทั้งสิ้น เตรียมของก่อนคลอด คุณแม่บางคนก็ได้รับการส่งต่อของใช้เด็กมาจากคนรู้จักอีกที แต่บางคนก็ซื้อใหม่เองทั้งหมด แน่นอนว่าการเตรียมของใช้ทารกแรกเกิดเป็นเรื่องที่ทำให้หลายคนปวดหัว เพราะเด็กแรกเกิดไม่สามารถใช้ของร่วมกับผู้ใหญ่ได้ ดังนั้น ของใช้เด็กอ่อนจึงเยอะมากเป็นพิเศษ

เตรียมข องก่อนคลอด
ไม่ใช่แค่ลูกน้อยเท่านั้นที่ต้องเตรียมของไว้ สำหรับแม่หลังคลอดเองก็จำเป็นไม่ต่างกัน ไหนจะเรื่องเอกสารที่ต้องเตรียมไว้แจ้งเกิดลูกอีห หรือแม้แต่กระเป๋าเตรียมคลอดสำหรับแม่และลูกที่ต้องมีพร้อมไว้ เยอะขนาดนี้จะรู้ได้ยังไงว่าคุณเตรียมของครบหรือยัง ลองมาไล่เช็คกันดีกว่า
เตรียมของก่อนคลอด แม่หลังคลอดต้องเตรียมอะไรบ้าง
- เตรียมของใช้ก่อนคลอด สำหรับคุณแม่
- เตรียมของก่อนคลอดสำหรับเด็กแรกเกิด
- เตรียมเอกสารสำคัญก่อนคลอด เพื่อทำใบสูติบัตร
- เอกสารที่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาล
- ของในกระเป๋าที่คุณแม่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาล
เราต้องเตรียมอะไรไปก่อนคลอด และ ต้องเตรียมอะไรหลังคลอดเเล้ว เรามาดูกันเลยว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง
เตรียมของใช้ก่อนคลอด สำหรับคุณแม่
- กางเกงในแบบรัดหน้าท้อง ( ขึ้นอยู่กับคุณแม่ )
- เสื้อชั้นในให้นมลูก
- ผ้าอนามัยชนิดหนา
- แผ่นซับน้ำนม
- ครีมทาหัวนมแตก
- หมอนให้นม
- และของใช้ที่จำเป็นส่วนตัวต่าง ๆ
- ผ้ารัดหน้าท้องหลังคลอด ( ขึ้นอยู่กับคุณแม่ )
- ครีมหรือโลชั่นบำรุงต่าง ๆ

ของเตรียมก่อนคลอด
ของที่ต้องเตรียมก่อนคลอด สำหรับเด็กแรกเกิด
- ผ้าห่อตัวลูก
- ผ้าอ้อม
- เสื้อผ้าเด็กทารก เช่น เสื้อ ชุดนอน ถึงมือ หมวกและถุงเท้า
- แชมพู สระผม สบู่
- ผ้าเช็ดตัวสำหรับเด็ก
- ขวดนม จุกนม
- ถุงเก็บน้ำนม
- กะละมังอาบน้ำ
- ฟองน้ำอาบน้ำเด็ก
- โลชั่นหรือเบบี้ออยล์
- แป้ง

เตรียมของก่ อนคลอด
- สำลีก้านเล็ก – ก้านใหญ่ ไว้เช็ดรูจมูก และรูหูของลูก
- สำลีก้อนผ่านการฆ่าเชื้อ ไว้เช็ดก้น
- สำลีแผ่นเดียวรีดข้าง ไว้เช็ดตา
- ทิชชู่เปียก
- เป้อุ้มเด็ก ใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด และสะดวกเวลาพาทำงานบ้าน
- แปรงล้างขวดนมและจุกนม
- เบาะนอน และเครื่องนอนอื่นๆ
- หมอนหลุม
- มุ้งครอบเด็ก
- รถเข็นเด็ก
- Car seat ใช้ตั้งแต่ออกจากโรงพยาบาลได้เลยยิ่งดี
- เครื่องปั้มนม
- กระเป๋าเก็บอุณหภูมิ
- เครื่องดูดน้ำมูก
- เครื่องวัดอุณหภูมิ

เตรียมของก่อ นคลอด
- ครีมทาก้น
- ของเล่น
- ผ้ายาางกันเปียก
- น้ำยาซักผ้า และน้ำยาปรับผ้านุ่มสำหรับเด็ก
- กรรไกรตัดเล็บสำหรับเด็ก
- กระติกเก็บน้ำอุ่น หรือน้ำต้มสุก
- เปลเด็ก
- หวีเด็กอ่อน
หลังจากที่เตรียมของใช้ให้ทั้งแม่ และ ลูกน้อยจนครบแล้ว คราวนี้มาจัดกระเป๋าเตรียมตัวคลอดที่โรงพยาบาลกันบ้างดีกว่า หากถามว่าเตรียมของก่อนคลอดกี่เดือน หรือควรจัดไว้นานเท่าไหร่ แนะนำว่าให้จัดไว้แต่เนิ่น ๆ อย่างน้อยสัก 2 สัปดาห์ก่อนถึงกำหนัดคลอด เพราะหากว่ามีอาการเจ็บท้องใกล้คลอดจะได้เตรียมตัวได้ทันพร้อมที่ไปโรงพยาบาลได้ทันที

เตรียมของก่อนคลอด
เตรียมเอกสารสำคัญก่อนคลอด เพื่อทำใบสูติบัตร
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา และ มารดา อย่างละ 1 ฉบับ พร้อม ลงชื่อรับรองเอกสาร
- สำเนา Passport บิดา และ มารดา อย่างละ 1 ฉบับ พร้อม ลงชื่อรับรองเอกสาร และ เอกสาร Work-permit ( กรณีชาวต่างชาติ )
- สำเนาทะเบียนบ้านบิดา และ มารดา
- ทะเบียนบ้านที่จะย้ายเด็กเข้าในกรณีที่ไม่ตรงกับบิดามารดา โดยถ่ายสำเนาหน้าแรกและหน้าที่มีชื่อเจ้าบ้านพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาทะเบียนสมรส ( ถ้ามี ) พร้อมลงชื่อรับรองเอกสาร
หมายเหตุ จะต้องทำการแจ้งเกิดภายใน 15 วันหลังจากเด็กเกิด หากเกินกำหนด 15 วันจะถูกปรับตามกฎหมาย

เตรียมของก่อนคลอด
เอกสารที่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาล
- บัตรประชาชน
- เอกสารประกันสุขภาพ
- ใบนัดแพทย์
ของในกระเป๋าที่คุณแม่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาล

เตรียมของก่อนคลอด
เตรียของใช้คุณแม่สำหรับวันไปคลอดลูก
- ของใช้สำหรับคุณแม่ เช่น สบู่ แชมพู ผ้าเช็ดตัว ยาสีฟัน เสื้อคลุมอาบน้ำ กางเกงใน เสื้อชั้นใน ชุดนอน รองเท้าแตะ โทรศัพท์มือถือ ชุดสวมกลับบ้านสำหรับคุณแม่ ผ้าอนามัยชนิดหนา และของใช้ที่จำเป็นส่วนตัวต่างๆ
- ของใช้สำหรับเด็กแรกเกิดใช้ที่โรงพยาบาล เช่น ผ้าห่อตัวลูก ผ้าอ้อม เสื้อผ้าเด็กทารก เช่น เสื้อ ชุดนอน ถึงมือ หมวกและถุงเท้า แชมพู สระผม สบู่ ผ้าเช็ดตัวสำหรับเด็ก และของใช้เด็กที่จำเป็นอื่น ๆ อีก
หรือก็คือ การเตรียมตัวก่อนคลอด นั้นเอง เพื่อให้คุณแม่เตรียมพร้อมเพื่อความสะดวกสบาย
คำแนะนำสำหรับมารดาหลังคลอด
- การรับประทานอาหาร ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าเพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง และผลิตน้ำนมได้เพียงพอ เช่น อาหารพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ ถั่ว ไข่ นมสด ผัก และผลไม้ทุกชนิด ดื่มน้ำอย่างน้อย วันละ 6-8 แก้ว อาหารที่ควรงดได้แก่ อาหารรสจัดของหมักดอง น้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์เนื่องจากสามารถผ่านทางน้ำนมได้
- การพักผ่อน ควรพักผ่อนมากๆใน 2 สัปดาห์แรกโดยในตอนกลางวันควรพักผ่อนประมาณ 1-2 ช่วโมงหรือพักผ่อนในช่วงที่ทารกหลับ ส่วนในตอนกลางคืนควรพักผ่อนอย่างน้อย 8-10 ชั่วโมง
- การทำงาน ในระยะ 2 สัปดาห์แรกหลังคลอดสามารถทำงานบ้านเบาๆ ได้ไม่ควรยกของหนักหรือทำงานที่ต้องออกแรงมาก เพราะกล้ามเนื้อและเอ็นต่างๆยังไม่แข็งแรงซึ่งอาจทำให้มดลูกหย่อนภายหลังได้ หลังคลอด 2 สัปดาห์ไปแล้วค่อยๆทำงานเพิ่มขึ้นทีละน้อยจนครบ 6 สัปดาห์จึงทำงานได้ตามปกติ
- การรักษาความสะอาดของร่างกาย ควรอาบน้ำวันละ 2 ครั้ง ไม่ควรแช่ในอ่างน้ำ หรือแม่น้ำลำคลองเพราะเชื้อโรคอาจผ่านเข้าไปในดพรงมดลูกทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ควรสระผมสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ตัดเล็บให้สั้นเสื้อผ้าต้องสะอาดอยู่เสมอ เพื่อให้ร่างกายสะอาดสามารถดูแลบุตรในวัยทารกแรกเกิดได้ ไม่ติดเชื้อหรืออันตรายต่างๆจากผู้ที่ให้การเลี้ยงดู
- การดูแลรักษาเต้านมและหัวนม ควรล้างให้สะอาดขณะอาบน้ำ และเช็ดทุกครั้งหลังให้นมเพราะอาจมีคราบน้ำนมแห้งติดทำให้หัวนมแตกเป็นแผลได้ ควรสวมเสื้อยกทรงพยุงเต้านมไว้ เนื่องจากเต้านมจะมีขนาดโตขึ้นอาจทำให้เต้านมหย่อนได้ภายหลัง
- การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกควรทำควาสะอาดด้วยสบู่และล้างด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งที่อาบน้ำและหลังการถ่ายปัสสาวะ หรืออุจาระและซับให้แห้งจากด้านหน้าไปหลัง เพื่อป้องกันการนำเชื้อโรคจากรูทวารหนักมาเข้าสู่ช่องคลอดได้จากนั้นใส่ผ้าอนามัยที่สะอาดเพื่อรองรับน้ำคาวปลาที่ออกมา ป้องกันติดเชื้อควรเปลี่ยนผ้าอนามัยเมื่อชุ่มหรือทุก 3-4 ชั่วโมง
- การมีเพศสัมพันธุ์ ควรงดจนกว่าจะได้รับการตรวจหลังคลอดเมื่อครบ 4-6 สัปดาห์แล้วว่าไม่มีภาวะผิดปกติทั้งนี้ เนื่องจากช่วงหลังคลอดใหม่ๆ ยังมีแผลในโพรงมดลูกน้ำคาวปลา และมีแผฝีเย็บยังไม่ติดดีอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
มาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะ
เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด
ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “ คลับแม่ผ่าคลอด ” คลิก!! http://bit.ly/32T4NsU
ที่มา: thaihealth, bnhhospital
บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ:
แผลคลอดธรรมชาติ แผลฝีเย็บ ใช้มีดกรีด หรือกรรไกรตัด ระหว่างช่องคลอดกับทวารหนัก
เมื่อจำเป็นต้องเร่งคลอด ยาเร่งคลอด ปลอดภัยต่อลูกในท้องหรือเปล่า ?
คลอดลูกยังไงไม่ให้เจ็บ คลอดธรรมชาติเจ็บไหม วิธีลดความเจ็บปวดระหว่างคลอด ก่อนคลอดต้องรู้