X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฝึก EF วัยนี้อย่างไร : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

บทความ 5 นาที
ฝึก EF วัยนี้อย่างไร : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบฝึก EF วัยนี้อย่างไร : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

การเลี้ยงลูกให้ดี และฉลาดสมวัย ในช่วง 1 ถึง 6 ปีแรกมีความสำคัญมาก ซึ่งวิธีการพัฒนาลูกน้อยด้วยทักษะ EF คุณพ่อคุณแม่สามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาการของลูกรักช่วงวัยดังกล่าวได้ แล้วเราจะสามารถ ฝึก EF วัยนี้อย่างไร

 

ความสำคัญการส่งเสริมพัฒนาการของลูกน้อยในช่วง 6 ปีแรก

ช่วง 6 ปีแรก เป็นช่วงวัยที่เด็กมีการพัฒนา และเรียนรู้ได้อย่างมากมายขึ้น โดยเด็กในช่วง 1 - 3 ปีแรกจะมีการพัฒนาของความคิด และภาษาที่รวดเร็ว หลัง 3 - 6 ปีจะมีการเรียนรู้ทางสังคมมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวัน เช่น ให้เด็กแปรงฟัน แต่งตัวด้วยตนเอง เน้นส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา หมั่นพูดคุยกับเด็กให้หลากหลาย หลัง 3 ปีเป็นต้นไป

 

ฝึก EF วัยนี้อย่างไร

เป็นที่ทราบกันดีว่า CEO ของสมอง คือ สมองส่วนหน้าซึ่งอาศัยทักษะ EF ทักษะ EF นี้ คือ ทักษะในเรื่องของการกำกับความคิด กำกับพฤติกรรมเพื่อทำกิจกรรมให้สำเร็จตามเป้าหมาย ทักษะสำคัญพื้นฐาน 3 ด้านจะพัฒนาได้ดีในช่วงปฐมวัย หรือ 6 ขวบปีแรก ซึ่งทักษะพื้นฐานที่สำคัญเหล่านั้น คือ ทักษะความจำ ทักษะการยับยั้งชั่งใจ และทักษะในเรื่องของการยืดหยุ่นทางความคิด

 

ดังนั้นเราลองไปดูเกมง่าย ๆ ที่สามารถเล่นได้กับลูกวัย 2 - 5 ปี เพื่อพัฒนาทักษะ EF กันดีกว่า

 

ฝึก EF วัยนี้อย่างไร

 

 

  1. เกมแยกสิ่งของต่าง ๆ

คุณพ่อคุณแม่ลองใช้ของเล่นที่มีลักษณะหลากหลาย เช่น เม็ดถั่วสีต่าง ๆ ของเล่นตัวอักษร หรือแม้แต่สติกเกอร์ มาลองให้ลูกได้แยกสี และรวมเอาสีที่เหมือนกันไปอยู่ด้วยกันสิคะ เกมนี้จะช่วยให้ลูกได้ตัดสินใจว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดีกับเจ้าสิ่งของที่หน้าตาแตกต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง เป็นการช่วยพัฒนาทั้งทักษะการความจำ และการควบคุมตัวเอง

 

 

  1. เกมเต้นตามเพลงด้วยท่าซ้ำไปมา

ลองเปิดเพลงโปรดที่เขาชอบสักเพลง ก่อนบอกให้เขาเต้นในลักษณะที่เหมือน ๆ กันซ้ำหลาย ๆ รอบ เช่น เริ่มเต้นจากการแตะหัว แล้วก็แตะไหล่ แตะศอก ก่อนกลับไปแตะหัวใหม่อีกรอบ ซ้ำเดิม เด็กจะรู้สึกทั้งสนุกกับเสียงเพลง ได้ขยับร่างกาย แถมใช้การประมวลผลด้านความจำอีกด้วย

 

 

  1. เกมบล็อกไม้ถล่ม

เกมบล็อกไม้ jenga เป็นของเล่นที่ทั้งสนุก ทั้งลุ้น และต้องใช้สมาธิในการดึงบล็อกไม้ออกมาทีละอันโดยไม่ทำให้บล็อกไม้ชิ้นอื่นล้มลงมา เพราะฉะนั้นเกมนี้จึงไม่ได้เหมาะสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นเกมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการควบคุมตัวเอง ยับยั้งชั่งใจ และใช้ความคิดวิเคราะห์ก่อนที่จะตัดสินใจดึงบล็อกไม้แต่ละชิ้นออกมา

 

 

  1. เกมจำเลข

ขั้นแรกแบ่งผู้เล่มเกมออกเป็นสองฝั่ง ให้ฝั่งแรกบอกตัวเลขหนึ่งตัวให้ลูกจำ แล้วให้ลูกวิ่งไปบอกตัวเลขนั้นแก่อีกฝั่งหนึ่ง โดยในระหว่างทางจะต้องเจอกับอุปสรรค เช่น มีคนเข้ามาชวนคุย หรือเพิ่มภารกิจระหว่างทาง แล้วคอยดูว่าลูกจะสามารถจำเลขนั้นไปบอกอีกฝั่งได้ถูกต้องหรือไม่

 

ฝึก EF วัยนี้อย่างไร

 

สัญญาณความบกพร่อง EF

สัญญาณที่สามารถบ่งชี้ว่าเด็กมีความบกพร่องในการบริหารจัดการตนเองหรือมีปัญหาเกี่ยวกับทักษะ EF หรือ Executive Functions ได้แก่

  • ปัญหาด้านการยับยั้ง
  • ไม่รู้ว่าพฤติกรรมตนเองมีผลกระทบ หรือรบกวนผู้อื่น
  • อยู่ไม่สุข กระสับกระส่าย บิดไปบิดมา
  • วอกแวกง่ายขณะทำกิจกรรม
  • ขาดความยับยั้งชั่งใจ หุนหันพลันแล่น

 

  • ปัญหาด้านการปรับเปลี่ยน และการคิดยืดหยุ่น
  • มีปัญหาการปรับตัวเข้ากับสิ่งใหม่
  • อารมณ์เสียเมื่อมีการเปลี่ยนแผน หรือเปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน
  • ใช้เวลานานกว่าจะรู้สึกวางใจในสถานที่ใหม่ หรือสิ่งแวดล้อมใหม่
  • ปัญหาด้านการควบคุมอารมณ์

 

  • ระเบิดอารมณ์โกรธรุนแรง
  • โกรธฉุนเฉียว ด้วยเหตุผลเพียงเล็กน้อย
  • เมื่อผิดหวัง จะเสียใจนานกว่าเด็กคนอื่น
  • ปัญหาด้านความจำขณะทำงาน
  • หากสั่งให้ทำงานสองอย่าง เด็กสามารถจำได้แค่คำสั่งแรก หรือคำสั่งสุดท้ายเท่านั้น

 

  • ทำผิดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ แม้เคยสอน หรือช่วยเหลือไปแล้ว
  • ลืมว่ากำลังทำอะไรขณะทำกิจกรรมนั้นอยู่
  • ปัญหาด้านการวางแผนจัดการ
  • ต้องบอกให้ริเริ่มลงมือทำงาน แม้ว่าเด็กจะเต็มใจทำ
  • ไม่สามารถหาเสื้อผ้า รองเท้า ของเล่น หนังสือเจอ แม้ว่าจะชี้แนะอย่างเฉพาะเจาะจงแล้ว

 

  • ทิ้งของเกลื่อนกลาดต้องให้คนอื่นเก็บให้ แม้ว่าจะได้รับการสอนหรือแนะนำแล้ว
  • ติดอยู่ในรายละเอียดเพียงเล็กน้อยของงาน หรือสถานการณ์หนึ่ง แต่ลืมเรื่องหลักที่สำคัญไป
  • ไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ แม้จะได้รับการแนะแนวทางแล้ว

 

ฝึก EF วัยนี้อย่างไร

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

EF แก้ปัญหาสมาธิสั้นได้อย่างไร

เด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น (ADHD – Attention Deficit Hyperactivity Disorder) จะมีอาการวอกแวก ไม่อยู่นิ่ง ขาดความรับผิดชอบ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดได้ ขาดประสิทธิภาพในการเรียนและการใช้ชีวิตในอนาคต การฝึกทักษะ EF หรือ Executive Functions จึงมีความสำคัญ ในการช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการตนเอง อย่างรอบด้าน

 

EF ช่วยพัฒนาสมองส่วนหน้าที่ควบคุมสมาธิ และการยับยั้งชั่งใจให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือ จากพ่อแม่ผู้ปกครอง แพทย์เฉพาะทาง ที่มีความชำนาญในสาขาต่าง ๆ และตัวเด็กเพื่อพัฒนาให้สมาธิดีขึ้น และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพในอนาคต

 

ที่มา : (A) , (B)

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

ใช้ทักษะ EF สอนลูกให้รู้จักความรับผิดชอบ กับกระเป๋าของหนู

ใช้ทักษะ Executive Functions (EF) สอนลูกให้ฉลาดด้วยการพา ไปเที่ยว

ฝึกลูกให้ฉลาด ด้วย Executive Functions (EF) –  ฝึกสมองลูกด้วยงานบ้านง่าย ๆ

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Arunsri Karnmana

  • หน้าแรก
  • /
  • ช่วงวัยของเด็ก
  • /
  • ฝึก EF วัยนี้อย่างไร : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ
แชร์ :
  • สี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    สี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

app info
get app banner
  • สี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    สี : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    เมื่อพ่อแม่ป่วยต้องทำอย่างไร 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • 10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

    10 อาหารล้างสารพิษ ทำให้ร่างกายแข็งแรง สู้ต่อไปในวันที่ไวรัสรุมล้อม!

  • 10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

    10 ท่วงท่าสู่จุดสุดยอด Woman On Top ท่าเซ็ก ผู้หญิงอยู่บน 10 ท่ายาก จัดเต็ม

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ