ค่าผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ตั้งครรภ์รอบนี้ ต้องจ่ายเท่าไหร่ ค่าทำคลอด ฝากท้องกี่บาท ควรต้องออมเงิน เตรียมเงินไว้เท่าไหร่ สำหรับการมีลูก เช็คราคา ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ค่าทำคลอด ฝากท้องกี่บาท ค่าผ่าคลอดโรงพยาบาลรัฐ – เอกชน ค่าคลอดต่าง ๆ ได้ที่นี่

ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ ค่าทำคลอด
เมื่อไหร่ที่เริ่มตั้งครรภ์ เมื่อนั้นคุณแม่ก็เตรียมค่าใช้จ่ายเอาไว้ได้เลย โดยสิ่งแรกที่คุณแม่ต้องนึกถึง นั่นก็คือ การฝากครรภ์ ซึ่งค่าฝากครรภ์นั้น ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป หากคุณแม่ท้องเลือกที่จะฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐ ก็อาจจะต้องตื่นเช้าเพื่อไปรอคิวตรวจนานเป็นพิเศษ เนื่องจากมีผู้ไปรับบริการเป็นจำนวนมาก แต่ข้อดีของการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลของรัฐ นั่นก็คือจะมีค่าใช้จ่ายที่ไม่แพงมากนัก
ส่วนโรงพยาบาลเอกชน ราคาก็จะสูงขึ้นตามความสะดวกสบาย เหมาะสำหรับแม่ท้องที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือมีเงินที่พร้อมจ่ายในส่วนนี้อยู่แล้ว ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณพ่อและคุณแม่ บวกกับสถานะทางการเงินเป็นหลัก ซึ่งเมื่อคุณแม่ฝากครรภ์แล้ว คุณหมอก็จะนัดตรวจครรภ์โดยเฉลี่ยประมาณ 9 – 12 ครั้ง อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าก็ขึ้นอยู่กับสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีค่าใช้จ่าย เช่น
-
โรงพยาบาลรัฐ
- ค่าฝากครรภ์ครั้งแรก ประมาณ 1,500 บาท
- ค่าตรวจครรภ์ ครั้งละประมาณ 100 – 300 บาท
- ค่ายาตลอดช่วงตั้งครรภ์ ประมาณ 1,000 บาท
- ค่าตรวจอัลตราซาวนด์ ประมาณครั้งละ 500 บาท
- ค่าวัคซีน ประมาณ 200 บาท
บทความที่เกี่ยวข้อง : ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ ต้องจ่ายอะไร ยังไงบ้าง 100 สิ่งแม่ท้องต้องรู้ ตอนที่ 37
ส่วนมากแล้ว สำหรับโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่ ค่าใช้จ่ายจะรวมอยู่ในแพ็คเกจคลอดอยู่แล้ว ซึ่งก็จะครอบคลุมการตรวจทั้งหมด และสามารถแบ่งชำระเป็นงวดได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละโรงพยาบาล โดยค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ 10,000 – 30,000 บาท ในส่วนของค่าใช้จ่ายแบบแพ็คเกจเหมาคลอดนั้น ก็จะเริ่มต้นที่ประมาณ ราคาประมาณ 60,000-100,000 บาท
หมายเหตุ ราคาข้างต้นเป็นราคาโดยประมาณเท่านั้น และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษอื่นๆ ในกรณีที่คุณแม่มีภาวะเสี่ยงต่างๆ
ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก
สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก นั้น ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการคลอดและลักษณะของโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติ ก็จะถูกกว่าผ่าคลอด และโรงพยาบาลรัฐ จะถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายโดยประมาณมีดังนี้
ค่าคลอดของโรงพยาบาลรัฐ กรณีคลอดธรรมชาติจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท และสำหรับการผ่าคลอดราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้ว แต่สำหรับบางโรงพยาบาลที่ไม่รวมค่าห้อง ราคาห้องก็จะอยู่ที่ประมาณ 500 – 3,000 บาท
สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายแบบแพ็คเกจ กรณีคลอดธรรมชาติ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท ส่วนกรณีผ่าคลอด ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 45,000 ไปจนถึง 100,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องอยู่ในแพ็คเกจ และหากผ่าคลอด ก็จะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 4 – 5 วัน เช่นเดียวกันทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
สรุปค่าใช้จ่ายระหว่างคลอด
สำหรับค่าใช้จ่ายระหว่างคลอดนั้น หากเลือกคลอดที่โรงพยาบาลรัฐ ค่าใช้จ่ายก็อาจจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท และหากเลือกคลอดที่โรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายก็จะอยู่ที่ประมาณ 70,000 – 150,000 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆอาจมีความแตกต่างและอาจจะเพิ่มมากขึ้น หากมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น ค่ารักษาพยาบาลกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือมีภาวะแทรกซ้อน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆที่คุณอาจจะลืมนึกไป เช่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าข้าวของเครื่องใช้ระหว่างตั้งครรภ์ต่างๆ
อย่างไรก็ตาม คุณแม่อาจจะต้องลองตรวจสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิข้าราชการ ประกันสังคม หรือบัตรทอง เพื่อที่จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายต่างๆลง
ค่าใช้จ่ายหลังคลอด ค่า คลอด บุตร โรง พยาบาล รัฐ
หลังคลอดแล้ว ก็ยังคงมีค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อยู่มากมาย ทั้งค่าเสื้อผ้า ค่าผ้าอ้อม ค่าของเล่น ค่าคาร์ซีท รวมถึงของใช้จิปาถะ และค่ารักษาพยาบาลในกรณีที่ลูกน้อยเกิดเจ็บป่วยขึ้นมาอีก คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องไม่ลืมที่จะเก็บเงินเอาไว้เป็นค่าใช่จ่ายหลังคลอดกันด้วยนะคะ
ใช้ประกันสังคมคลอดลูก ได้เท่าไหร่
การใช้สิทธิประกันสังคม เบิกเงิค่าบริการทางการแพทย์ จะได้ 15,000 บาท และสามารถเบิกค่าฝากท้องได้อีก 1,500 บาท ยังไม่รวมเงินชดเชยการหยุดงาน และเงินสงเคราะห์บุตร
บทความที่เกี่ยวข้อง : สิทธิแม่ลาคลอด 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 80
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ
ฝากท้องฟรี คลอดฟรี มีที่ไหน ที่นี่ไงประเทศไทย
เบิกค่าคลอดบุตร สิทธิประกันสังคม ได้เท่าไหร่ พ่อมือใหม่เล่าอย่างละเอียดยิบ
10 คำถามกับโครงการฝากครรภ์ฟรี ให้หญิงตั้งครรภ์ไทยทุกคน
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!