กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ คลอดมาแข็งแรง

กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ ยังคงเป็นคำถามคาใจสำหรับคุณแม่หลายท่านในช่วงระหว่างที่ตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องหลายท่านมักจะเกิดความกังวลเรื่องน้ำหนักของทารกในครรภ์ เพราะกลัวว่าเมื่อคลอดแล้ว ลูกจะมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ตัวจะเล็ก ไม่แข็งแรง จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่า กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง อาหารเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง ซึ่งวันนี้เรามีข้อมูลดี ๆ มาฝากไปอ่านกัน

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องตัวเล็ก

 

เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

 

ก่อนจะพูดถึงเรื่องที่ว่า กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง เรามาดูกันก่อน จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกในท้องตัวเล็กน้ำหนักน้อย โดยเราอาจจะสงสัยได้ว่า ทารกในครรภ์ตัวเล็กถ้าน้ำหนักของคุณแม่ท้องไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกติ และสำหรับการตั้งครรภ์ทารกคนเดียวน้ำหนักของคุณแม่ท้องจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหลังจากอายุครรภ์ 3 เดือน โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.2-0.5 กิโลกรัม แต่ในช่วง 3 เดือนแรกนั้นน้ำหนักอาจลดลง หรือไม่เพิ่มขึ้นได้ยังไม่ต้องเป็นกังวลใจไป สาเหตุก็มาจากคุณแม่ท้องยังมีอาการแพ้ท้องอยู่นั่นเอง นอกจากนี้วิธีที่จะบอกได้ว่าลูกในท้องตัวเล็กหรือไม่ ได้แก่

  • การวัดความสูงของมดลูกโดยแพทย์

เมื่อมาฝากครรภ์แล้วขนาดมดลูกมีขนาดเล็กว่าปกติ สามารถสังเกตได้ง่าย ๆ คือช่วงอายุครรภ์ 5 เดือน หรือ 20 สัปดาห์ซึ่งจะมีขนาดเท่ากับระดับสะดือของคุณแม่ แต่อายุครรภ์มากกว่านั้นแพทย์จะทำการวัดโดยใช้สายวัดความสูงของมดลูกโดยใช้หน่วยเป็นเซนติเมตร จะมีค่าเท่ากับอายุครรภ์เป็นสัปดาห์ เช่น วัดความสูงของมดลูกได้ 28 เซนติเมตร ก็จะเท่ากับขนาดมดลูกที่อายุครรภ์ 28 สัปดาห์

  • คุณหมอที่ดูแลจะทำการตรวจด้วยการอัลตราซาวนด์

การอัลตราซาวนด์เป็นการยืนยันว่าทารกตัวเล็กจริงหรือไม่ โดยจะใช้เกณฑ์น้ำหนักตัวทารกที่น้อยกว่า 10% เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวทารกปกติในอายุครรภ์นั้น ๆ เนื่องจากทารกที่ตัวเล็กกว่าปกติจะมีความเสี่ยงต่อสุขภาพที่ไม่แข็งแรง และอาจจำเป็นต้องคลอดก่อนกำหนด หากตรวจพบว่า ทารกในครรภ์ตัวเล็กจริง คุณหมอจะทำการตรวจอย่างละเอียด เพื่อหาสาเหตุ และ วางแผนการดูแลรักษาต่อไป

บทความที่เกี่ยวข้อง : นมผงเพิ่มน้ำหนัก นมสำหรับเด็กแรกเกิด พร้อมวิธีเพิ่มน้ำหนักเจ้าตัวน้อย

 

สาเหตุที่ทำให้ลูกในท้องตัวเล็ก

ทารกในครรภ์ตัวเล็กไม่ได้หมายความว่าทารกจะผิดปกติเสมอไป ทารกในครรภ์ที่ตัวเล็กก็สามารถมีการพัฒนาของร่างกาย ระบบประสาท และ สมองปกติได้ เพียงแต่มีน้ำหนักตัวที่น้อยกว่าปกติเท่านั้น

สาเหตุหลักที่ทำให้ลูกในท้องตัวเล็ก ส่วนมากจะเป็นเรื่องพันธุกรรมของพ่อแม่ที่มีขนาดร่างกายที่เล็กเหมือนกัน แต่ก็มีสาเหตุอื่น ๆ ที่ส่งผลให้ทารกตัวเล็กได้ และอาจเป็นทารกที่มีความผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของทารก ได้แก่

  • ลูกในท้องตัวเล็ก สาเหตุจากแม่ : แม่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดัน โรคไต โรคเบาหวาน มีการใช้ยาบางอย่าง แม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
  • ลูกในท้องตัวเล็ก สาเหตุจากลูก : ลูกมีพันธุกรรมที่ผิดปกติ มีความพิการแต่กำเนิด มีการติดเชื้อในครรภ์ ทารกในภาวะครรภ์แฝด
  • ทารกในครรภ์ตัวเล็ก สาเหตุจากรก : ภาวะรกเสื่อมก่อนกำหนด รกเกาะตำแหน่งที่ผิดปกติ มีการติดเชื้อที่รก

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีเพิ่มน้ำหนักทารกในครรภ์ แก้ปัญหาลูกในท้องตัวเล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง?

 

กินอะไรลูกในท้องถึงตัวใหญ่ กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

 

เพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

 

นพ.อดิศร อักษรภูษิตพงศ์ สูตินรีแพทย์ เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ ประจำโรงพยาบาลพญาไท 3 ได้ให้คำแนะนำกับ the Asianparent Thailand เอาไว้ว่า จริง ๆ แล้ว การดูแลรักษาที่สำคัญคือ การส่งเสริมสุขภาพทารกให้แข็งแรงตลอดการตั้งครรภ์ และคลอดเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ไม่ใช่เน้นการเพิ่มน้ำหนักตัวเด็กให้กลับมาเป็นปกติ โดยมีแนวทาง ดังนี้

อาหารเพิ่มน้ำหนัก ลูกน้อยในครรภ์

 

กินอะไรเพิ่มน้ำหนักลูกในท้อง

 

  • กินอาหารโดยเน้นสารอาหารที่มีประโยชน์ ( Nutritions ) ไม่ใช่เน้นพลังงาน ( Calories ) และทานอาหารที่หลากหลาย เช่น เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ โดยเน้นอาหารที่มีโปรตีน แต่พยายามรับประทานอาหารที่มาจากธรรมชาติ เช่น ปลา ไก่ หมู ไม่ใช่ทานอาหารอย่างเดียว ปริมาณมาก เช่น ไข่ 10 ฟองต่อวัน หรือนมวันละ 2 ลิตร เพราะ อาจทำให้ทารกคลอดออกมาจะเสี่ยงต่อ อาการแพ้ไข่ หรือ แพ้นมได้
  • การออกกำลังกายอย่างเหมาะสมของคุณแม่ ซึ่งจะช่วยให้สุขภาพของลูกในท้องแข็งแรงด้วย
  • หากแม่ท้องมีโรคประจำตัวให้ดูแลรักษาโรคประจำตัวของมารดา
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนไม่พอบวกกับความเครียด ความกังวลก็มีส่วนทำให้ลูกในท้องตัวเล็กได้เช่นกัน
  • งดดื่มเหล้า และไม่สูบบุหรี่
  • ตรวจติดตามกับคุณหมอที่ดูแลอย่างต่อเนื่อง หากทารกในครรภ์ตัวเล็กคุณหมออาจนัดตรวจติดตามถี่กว่าปกติ เพื่อตรวจสุขภาพทารกอย่างละเอียด

 

เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยเพิ่มน้ำหนักให้ลูกในท้องให้ทารกหนักตามเกณฑ์ และคลอดออกมา แข็งแรงสมบูรณ์ได้แล้ว ถ้าหากแม่ท้องมีข้อสงสัยเพิ่มเติม หรือถ้าหากทำทุกทางแล้วลูกน้อยในครรภ์ก็ยังมีน้ำหนักน้อย หรือพบอาการผิดปกติต่าง ๆ ก็อย่าลืมไปพบคุณหมอโดยทันที เพื่อที่จะได้ตรวจ วินิจฉัย และ รับคำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที

 

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

เช็คไปพร้อมกัน! น้ำหนักทารก 1-10 สัปดาห์ น้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็ก

มดลูกบีบตัวบ่อย คืออาการเจ็บท้องคลอดหรือไม่ เป็นอันตรายต่อทารกไหม

คนท้องเป็นไวรัสตับอักเสบบี ถ่ายทอดจากแม่ท้องสู่ทารก ท้อง เป็นไวรัสตับอักเสบบี ลูกเสี่ยงมะเร็งตับ

ที่มา : 1, 2

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!