X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ จะได้รับมือทัน!!

บทความ 5 นาที
พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ จะได้รับมือทัน!!

บ้านไหนที่กำลังมีลูกที่เข้าสู่วัยกำลังจะเข้าเรียน ป. 1 หรือเข้าสู่อายุ 7 ปี ลองมาอ่านบทความนี้กันดูค่ะ เราได้รวบรวมเนื้อที่เกี่ยวข้องกับเด็กอายุ 7 ขวบมาให้คุณพ่อคุณแม่ศึกษากันค่ะ มีทั้งพัฒนาการทางร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ และวิธีรับมือกับลูกน้อยของคุณกันค่ะ วันนี้เราจึงได้รวบรวม พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ ไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง รู้ก่อนจะได้รับมือทัน

 

พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ มีอะไรบ้าง?

เด็กแต่ละคนนั้นจะมีการพัฒนาการของร่างกายและจิตใจที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละคนนั้นก็จะพัฒนาส่วนต่าง ๆ ไปเป็นตามธรรมชาติของพวกเขาเอง อาทิ เด็กที่มีช่วงวัยเดียวกัน แต่คนหนึ่งกลับมีพัฒนาการทางภาษาที่ดีกว่า ส่วนเด็กอีกคนมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่ดีกว่า เป็นต้น โดยการพัฒนาการของเด็กวัย 7 ขวบ จะมีพัฒนาการเด่น ๆ ดังต่อไปนี้

 

  • พัฒนาการด้านสติปัญญา

เด็กอายุ 7 ขวบส่วนใหญ่จะอยู่ประมาณชั้น ป.1-ป.2 ซึ่งพวกเขาจะได้เริ่มเรียนวิชาพื้นฐานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาที่ 2 หรือ 3 เป็นต้น ซึ่งจะต้องใช้ทั้งความรู้ประกอบกับความเข้าใจ ซึ่งสิ่งที่พวกเขาจะได้เรียนรู้ มีดังต่อไปนี้

    • เรียนรู้เรื่องการรับเวลา วินาที ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน ฤดูกาล
    • สามารถแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างง่าย ๆ ได้ อาทิ การใช้ลูกคิด หรือการนับจำนวน 1-100
    • การจดจำคำศัพท์และรูปภาพ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษ
    • เรียนรู้คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้คำคนละคำกัน
    • สามารถแต่งประโยคพื้นฐานอย่างสมบูรณ์แบบ (มีประธาน กิริยา และกรรม) ที่ใช้ในชีวิตประจำวันได้
    • เริ่มอ่านหนังสือออก และสามารถเขียนหนังสือเป็นประโยคยาว ๆ ได้

บทความที่น่าสนใจ : แบบฝึกหัดมาตราตัวสะกด แม่กม แบบฝึกหัดคัดคำโรงเรียนประถม

 

พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ พัฒนาการด้านสติปัญญา

 

  • พัฒนาการด้านร่างกาย

เด็กในช่วงวัยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปีนั้นจะมีพัฒนาการทางร่างกายที่คล้ายคลึงกัน แต่เมื่อพวกเขาเข้าสู่ช่วงอายุ 7 ปีแล้วนั้นการเจริญเติบโตของจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะส่วนสูงจะเพิ่มขึ้นจากเดิมประมาณ 6 เซนติเมตรต่อปี และน้ำหนักจะเพิ่มขึ้นประมาณ  1-3 กิโลกรัม นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณอาจเริ่มบ่นเรื่องของอาการเจ็บกล้ามเนื้อต่าง ๆ จากการวิ่งเล่น อาทิ ปวดขา ปวดแขน หรือปวดบริเวณหน้าท้องมากยิ่งขึ้น รวมถึงในช่วงอายุ 7 ขวบของพวกเขาจะเริ่มมีการหลุดร่วมของฟันน้ำนม และจะเริ่มเผยฟันแท้ในช่วงของวัยนี้ด้วย

 

  • พัฒนาการด้านสังคม อารมณ์

เมื่อพวกเขาเริ่มได้เข้าสังคม พบปะกับเพื่อนที่โรงเรียน พบเจอคนภายนอกครอบครัวมากยิ่งขึ้น ทำให้พวกเขาได้เรียนรู้อารมณ์และความซับซ้อนของความรู้สึกมากยิ่งขึ้น โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • พวกเขาจะมีอารมณ์ที่อ่อนไหวมากยิ่งขึ้น หรือมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้นนั่นเอง
    • ลูกน้อยของคุณจะเริ่มเอาชนะความกลัวของตัวเอง เพื่อที่จะได้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ
    • พัฒนาความสัมพันธ์และมิตรภาพต่อเพื่อนใหม่ ทั้งเพื่อนต่างเพศและเพื่อนเพศเดียวกัน
    • เขาจะเริ่มจับรวมกลุ่มกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ เล่นกับเพื่อน แต่ก็ยังมีบางเวลาที่พวกเขามีความต้องการที่จะอยู่กับตัวเอง
    • การเรียนรู้เรื่องเหตุและผล การยอมรับในตัวเองและผู้อื่น ความคิดเห็นที่แตกต่าง

 

  • พัฒนาการด้านการควบคุมร่างกาย

ระหว่างที่พวกเขากำลังเติบโตขึ้น พวกเขามักจะได้ฝึกเกี่ยวกับการหยิบจับ และการวิ่งเล่นอย่างไม่หยุดพักมาก่อน โดยเด็กในวัย 7 ปีนี้พวกเขาจะสามารถเริ่มทำกิจกรรมบางอย่างที่ผู้ใหญ่อย่างเราสามารถทำได้ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ลูกน้อยของคุณจะเริ่มขยับร่างกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายในกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดีมากยิ่งขึ้น อาทิ การเต้นรำตามจังหวะ หรือการวิ่งและกระโดดไปในเวลาเดียวกัน
    • พวกเขาจะเริ่มทำงานบ้านอย่างง่ายได้เป็นอย่างดี เช่น เช็ดกระจก กวาดพื้น ถูพื้น เป็นต้น
    • การรักษาสมดุลร่างกาย พวกเขาจะเริ่มยืนกระต่ายขาเดียวได้ ปั่นจักรยานได้โดยไม่ต้องมีล้อเสริม หรือสามารถตีลังกาได้
    • การพัฒนาการของระบบการทำงานประสานกันระหว่างมือและดวงตา พวกเขาจะเริ่มเล่นกีฬาบางชนิดได้ อีกทั้งยังสามารถเข้าใจกติกาและปฏิบัติตามได้เป็นอย่างดี

 

พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ มีอะไรบ้าง?

 

ปัญหาของเด็ก 7 ขวบ มีอะไรที่พ่อแม่ต้องระวังบ้าง?

สิ่งที่คุณกำลังเป็นกังวลกำลังมาถึงเมื่อลูกของคุณเริ่มเข้าสังคมโรงเรียน ได้พบคนแปลกหน้า คุณนั้นจะต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมการแสดงของพวกเขาอยู่แล้ว เรามาดูกันดีกว่าสิ่งที่คุณจะต้องเจอเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกน้อยวัย 7 ขวบ มีอะไรบ้าง

 

1. เถียง หรือพูดท้าทาย

ในช่วงเวลาที่ผ่านมาลูกน้อยของคุณมักจะเป็นเด็กที่น่ารักเสมอ ไม่ว่าคุณจะพูดอะไรพวกเขาก็จะทำตามเป็นอย่างดี แต่ในช่วงวัยนี้พวกเขาจะเริ่มขัดคำสั่ง หรือเพิกเฉยต่อคำพูดของคุณ ซึ่งในบางครั้งพฤติกรรมนี้ได้กลายเป็นเครื่องทดสอบขอบเขตที่พวกเขานั้นจะสามารถทำได้ต่อคุณ โดยพวกเขาอาจสร้างสิ่งที่ชอบหรือไม่ชอบมาเพื่อท้าทายคุณ ถ้าไม่ได้ก็ถือว่าไม่เสียดาย แต่ถ้าได้ก็คือกำไรของพวกเขา

 

2. อารมณ์แปรปรวน

เป็นเรื่องปกติที่เด็กในวัยนี้มักจะมีอารมณ์ที่แปรปรวน เนื่องจากพวกเขานั้นไม่ใช่เด็กที่อยู่ในช่วงก่อนวัยเรียน หรืออนุบาลอีกต่อไป ซึ่งนั่นหมายถึงทั้งร่างกาย และอารมณ์ของพวกเขากำลังมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดความสับสนและรู้สึกมีอารมณ์ที่แปรปรวนได้นั่นเอง

 

พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ

 

3. การโกหก

การโกหกเป็นหนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยที่สุดของเด็กวัยนี้ ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจ บางครั้งที่ลูกน้อยของคุณโกหกเพราะว่าพวกเขานั้นไม่สามารถแยกได้ว่าเรื่องไหนคือเรื่องจริงและเรื่องไหนคือจินตนาการคุณควรวิเคราะห์เกี่ยวกับคำพูดของพวกเขาก่อนที่จะต่อว่า หรืออินไปกับเนื้อหาที่พวกเขาพูดทุกครั้ง

บทความที่น่าสนใจ : 10 วิธีรับมือกับ ลูกชอบโกหก พฤติกรรมการโกหกของลูก แก้ไขได้อย่างไร

 

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
เช็กให้ชัวร์ก่อนพลาดกับ พัฒนาการ 5 ปีทองแรกของลูก
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
9 ของเล่นเด็กอันตราย เสี่ยงอุบัติเหตุ พ่อแม่ควรระวัง ป้องกันลูกให้ปลอดภัย
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ
วิธีเล่นกับลูกน้อย แรกเกิด – 1 ปี เสริมสร้างพัฒนาการแบบปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ

4. แสดงความรักในที่สาธารณะ

หากย้อนกลับไป 1-2 ปีเมื่อคุณพาพวกเขาไปยังที่สาธารณะสิ่งที่พวกเขามักทำคือการนิ่ง เงียบ หรือเรียกร้องที่จะกลับบ้านตลอดเวลา แต่เมื่อพวกเขาโตขึ้น ได้พบเจอผู้คนมากขึ้น พวกเขาจะเริ่มที่อยากจะแสดงความรักต่อคุณ หรือต่อเพื่อนเขาในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ถึงแม้จะขัดแย้งกับพฤติกรรมอื่น ๆ ในช่วงวัยของพวกเขา แต่ให้คุณคิดไว้เสมอว่าพวกเขากำลังอยู่ในช่วงของการเปลี่ยนผ่าน

 

5. ความโกรธ

อีกหนึ่งที่ส่งผลมาจากการที่พวกเขามีอารมณ์แปรปรวน การที่พวกเขาพูดคุยโต้ตอบด้วยอารมณ์ มีความคับข้องใจ หรือลักษณะพฤติกรรมที่แสดงออกว่าไม่พึงพอใจกับบางสิ่งบางอย่างนั้นถือเป็นเรื่องปกติของเด็กวัยนี้ แต่อย่างไรก็ตามหากพวกเขาแสดงออกมามากเกินจนทำให้ตัวเขาและคนรอบข้างเดือดร้อน คุณก็อาจจะต้องลงโทษเขาด้วย

บทความที่น่าสนใจ : ลูกโมโหร้าย พ่อแม่จะแก้นิสัยให้ลูกยังไง ไม่ให้ทำอีก ไม่ให้ โมโหร้าย

 

 

แจก! เคล็ดลับการเลี้ยงลูกวัย 7 ขวบ อย่างไรให้ราบรื่น

เด็กแต่ละคนมักมีปัญหาด้านพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งคุณพ่อคุณแม่จะสามารถจัดการได้หรือไม่นั้นก็อาจต้องพิจารณาถึงพื้นฐานเดิมที่ลูกน้อยของคุณถูกเลี้ยงดูมาด้วย คุณไม่สามารถโทษแต่ลูกของคุณเพียงฝ่ายเดียวได้ โดยวันนี้เราได้นำเคล็ดลับการเลี้ยงลูกวัย 7 ขวบ อย่างไรให้ราบรื่นมาให้ดูกันค่ะ เผื่อว่าจะสามารถนำไปปรับใช้ได้บ้าง

  • คุยกับลูก ไม่ว่าคุณต้องการที่จะแก้ปัญหาเรื่องใดก็ตาม สิ่งแรกที่คุณควรทำคือการพูดคุยกับลูกน้อยของคุณ เพราะพวกเขาอยู่ในวัยที่จะสามารถเข้าใจถึงเหตุและผลได้แล้ว
  • สอนให้ลูกรู้จักขอบเขต บางครั้งพวกเขาอาจมีอารมณ์แปรปรวนและสร้างความเดือดร้อนให้กับคนรอบข้างได้ คุณควรให้เขาทราบถึงขอบเขตของตนเองว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้ หรือไม่ได้
  • ใช้เหตุผลนำอารมณ์ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำเรื่องที่ร้ายแรงขนาดไหนก็ตาม สิ่งแรกที่ผู้ปกครองต้องทำคือตั้งสติ และหาทางแก้ไขโดยไม่ใช้อารมณ์เป็นที่ตั้ง คุณควรอธิบายให้พวกเขาฟังถึงสิ่งที่พวกเขาทำ และให้เขาเรียนรู้ที่จะแก้ไข ไม่ใช่เลือกที่จะลงโทษก่อน
  • อยู่เคียงข้างพวกเขา เมื่อลูกของคุณทำผิด และพวกเขานั้นสำนึกหรือรู้สึกผิดต่อสิ่งที่ทำได้แล้ว คุณสามารถช่วยพวกเขาแก้ไขปัญหาสิ่งที่เกิดขึ้นได้ คอยอยู่เคียงข้างพวกเขา ทำงานเป็นทีม และผ่านเรื่องราวเหล่านั้นไปพร้อมกัน

 

ปัญหาของเด็ก 7 ขวบ ความโกรธ

 

เป็นอย่างไรบ้างคะกับ พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เด็กวันนี้ดูเหมือนเป็นวัยที่เข้าถึงยาก เข้าใจมากเลยใช่ไหมคะ แต่ในความเป็นจริงแล้วก็แค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะว่าพวกเขากำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ทุกอย่างรอบข้างของพวกเขานั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ให้เวลากับพวกเขาสักนิด และคอยอยู่เคียงข้างเพื่อแก้ไขปัญหาไปด้วยกันนะคะ ทางเราขอเป็นกำลังใจให้กับคุณแม่ที่กำลังเลี้ยงลูกในวัยนี้อยู่นะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ : 

พัฒนาการเด็ก 6 ขวบ ลูกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เสริมทักษะอะไรให้ลูกดี

ทำไมลูกก้าวร้าว ต้นตอของปัญหาความก้าวร้าวในตัวเด็ก มีแบบไหนบ้าง

5 วิธีปราบลูกดื้อ ทำยังไงดีเมื่อลูกดื้อ วิธีปราบลูกอย่างสร้างสรรค์ ทำอย่างไร?

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • /
  • พัฒนาการเด็ก 7 ขวบ เรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้ จะได้รับมือทัน!!
แชร์ :
  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

    เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

  • เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

    เด็กเล็กกินซอสมะเขือเทศได้ไหม ดีจริงหรือเปล่า แม่ต้องดูให้ดี ระวังโซเดียมสูง

  • เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

    เด็กเล็กกินเห็ดได้ไหม ระวังอาการแพ้ ปรึกษาแพทย์ก่อนลอง

  • เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

    เด็กเล็กกินปลาหมึกได้ไหม ก่อนให้ลูกลองกินต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ