ของใช้เด็กอ่อน เหล่านี้ อันตราย ภัยร้ายใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องระวัง

พ่อแม่มือใหม่ควรระวังของใช้เหล่านี้เป็นพิเศษ เพราะอาจเกิดอันตรายต่อลูกน้อยได้...

ของใช้เด็กอ่อน อันตราย พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยง

ของใช้เด็กอ่อนควรจะเป็นสิ่งของที่ปลอดภัยที่สุด แต่ในความเป็นจริง กลับมี ของใช้เด็กอ่อน ซึ่งเป็น อันตราย ต่อเด็กอย่างคาดไม่ถึง ใครที่คิดจะซื้อสิ่งของเหล่านี้ให้ลูกน้อย ควรพิจารณาอีกครั้ง สิ่งที่ดูเหมือนเป็นประโยชน์ อาจมีอันตรายที่คาดไม่ถึงแอบแฝงอยู่ ! ของใช้ที่คณะกรรมการความปลอดภัยของผู้บริโภคแห่งสหรัฐอเมริกา (CPSC) ประกาศเตือนให้ระวัง มีดังนี้


เตียงคอกเด็กแบบเปิดด้านข้าง

ของใช้เด็กอ่อน อันตราย ประตูที่เปิดปิดได้อาจหนีบหัว ลำตัว หรือแขนขาของลูกได้

ในสหรัฐอเมริกามีรายงานเด็กที่เสียชีวิตเพราะเตียงแบบนี้จำนวน 30 ราย และเกิดอุบัติเหตุอีกมากมายตั้งแต่ปี 2000 ทาง CPSC จึงสั่งห้ามผลิตภัณฑ์นี้ในปี 2011

ใช้อะไรแทนดี : ใช้เตียงคอกแบบธรรมดาที่มีที่กั้นแข็งแรงทั้ง 4 ด้านดีกว่าค่ะ อาจไม่สะดวกเท่าไร แต่มั่นใจว่าปลอดภัยค่ะ

บ้านไหนอยากซื้อเตียงคอกมือ 2 ขอแนะนำว่าอย่าซื้อของที่อายุเกิน 10 ปีนะคะ เตียงรุ่นใหม่ ๆ มักพัฒนาเรื่องความปลอดภัยมากขึ้น


เบาะจัดท่านอนเด็ก

ของใช้เด็กอ่อน อันตราย เบาะจัดท่านอนเด็ก

เจ้าสิ่งนี้ผลิตมาเพื่อช่วยให้ทารกน้อยนอนหงาย และยกหัวกับท้องขึ้นเล็กน้อยเพื่อกันกรดไหลย้อน

แต่...ถ้าเด็กน้อยซุกหน้าคว่ำลงฟูกหรือกลิ้งตกออกมา อาจเป็นอันตรายเพราะหายใจไม่ออกได้

ใช้อะไรแทนดี : ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้วางทารกนอนหงายบนเบาะราบธรรมดาดีกว่าค่ะ


หมอน ผ้าห่ม

ของใช้เด็กอ่อน อันตราย หมอนผ้าห่ม

หมอนใบจิ๋วกับผ้าห่มผืนน้อยดูน่ารักเข้ากับเตียงนอนเด็กน้อยมาก ๆ แต่ระวัง ลูกอาจซุกหน้ากับหมอนกับผ้าห่มจนหายใจไม่ออก

ใช้อะไรแทนดี : เลือกผ้าห่อตัวที่ขนาดพอดีกับลูก ไม่รัดสะโพกแน่นเกินไป ส่วนผ้าห่มที่ได้รับเป็นของขวัญก็เก็บไว้ใช้ตอนฝึกลูกนอนคว่ำละกันค่ะ

 


โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมที่มีน้อยกว่า 4 ด้าน

ของใช้เด็กอ่อน อันตราย โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมที่มีน้อยกว่า 4 ด้าน

โต๊ะที่ไม่แข็งแรงมั่นคงเพียงพอ ถ้าพ่อแม่ละสายตาเพียงชั่วพริบตา ลูกอาจกลิ้งหล่นลงมาได้โดยง่าย

ใช้อะไรแทนดี : เลือกโต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อมที่มี 4 ด้าน ถ้ามีสายรัดตัวเด็กด้วยจะยิ่งดี หรือไม่อย่างนั้นก็ปูผ้ารองเปลี่ยนผ้าอ้อมที่พื้นแทน

คำเตือน : โปรดจับลูกตลอดเวลาที่เปลี่ยนผ้าอ้อม และห้ามละสายตาจากลูกเด็ดขาด


ชิ้นส่วนจากเฟอร์นิเจอร์

ของใช้เด็กอ่อน อันตราย ชิ้นส่วนจากเฟอร์นิเจอร์

ชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่มั่นคง กล่องเคเบิลทีวี อาจตกลงมาใส่หัวลูกได้ โดย CPSC ของสหรัฐอเมริกาเผยสถิติการตายของเด็กที่เสียชีวิต เนื่องจากอุบัติเหตุจากชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ระหว่างปี 2000 - 2008 ว่ามีเกือบ 200 ราย ซึ่ง 93% ของเด็กผู้โชคร้ายเหล่านี้อายุไม่เกิน 5 ขวบ

ใช้อะไรแทนดี : ใช้เทปกาวแปะชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ให้เแน่น อย่าให้ตกหล่น


รถหัดเดิน

ของใช้เด็กอ่อนอันตราย รถหัดเดิน

ตัวช่วยฝึกยืน และเดินอาจขัดขวางพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อได้ และที่สำคัญ มันอาจเป็นสิ่งอันตรายพาเด็กวิ่งไถลชนกำแพง หรือตกบันได

 

ใช้อะไรแทนดี : ซื้อเก้าอี้ stationary activity center ที่ไม่มีล้อแทน เพราะมีฐานมั่นคงกว่า


เก้าอี้นั่งในอ่างอาบน้ำ

ของใช้เด็กอ่อนอันตราย เก้าอี้นั่งในอ่างอาบน้ำ

อุปกรณ์เสริมที่ผลิตมาเพื่อช่วยให้พ่อแม่วางใจว่าเด็กน้อยจะนั่งในอ่างอาบน้ำ แต่ภัยเงียบที่แฝงมา คือ เด็กอาจลื่นล้มแล้วจมน้ำได้

จากสถิติของ CPSC มีเด็กเสียชีวิตจากเก้าอี้แบบนี้ 174 ราย และมีรายงานอุบัติเหตุกว่า 300 ราย ในช่วงระหว่างปี 1983-2009 อุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นเมื่อเด็กไม่ได้อยู่ในสายตาผู้ใหญ่

ใช้อะไรแทนดี : ใช้อ่างอาบน้ำธรรมดาที่เป็นพลาสติกแข็ง ถ้ากลัวลื่นก็วางแผ่นกันลื่นลงในอ่างได้ และที่สำคัญ ห้ามละสายตาจากลูกเป็นอันขาด!


เก้าอี้หัดนั่ง (เก้าอี้ Bumbo)

ของใช้เด็กอ่อนอันตราย เก้าอี้หัดนั่ง (เก้าอี้ Bumbo)

รูปทรงเก้าอี้ออกแบบมาน่ารักน่าใช้มาก ๆ แต่ก็แอบอันตรายตรงที่ลูกอาจพลัดตกจากเก้าอี้ได้ง่ายถ้าปีนป่ายหรือโยกเก้าอี้เล่น ยิ่งวางเก้าอี้บนพื้นที่สูงยิ่งเป็นอันตราย

ปี 2011  CPSC ได้รับรายงานอุบัติเหตุจากเก้าอี้แบบนี้ 45 ครั้ง ซึ่งในจำนวนนี้มี่เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบที่กระดูกหัก 17 ราย

ใช้อะไรแทนดี : ใช้เปลโยกที่ดูแข็งแรงมั่นคง หรือเก้าอี้ stationary activity center แทน และไม่วางบนที่สูง

_________________________________________________________________________________________

theAsianparent Thailand เว็บไซต์ และคอมมูนิตี้อันดับหนึ่งที่คุณแม่เลือก นอกจากสาระความรู้ที่เรามอบให้คุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ การวางแผนมีลูกแล้ว เรายังมีแอพพลิเคชั่น รวมถึงสื่อมัลติมีเดียหลากหลาย ที่ช่วยตอบโจทย์ทุกความต้องการของคุณแม่ยุคใหม่ ที่ต้องทำงาน และดูแลลูกไปพร้อมกัน ให้มีความมั่นใจ และพร้อมในการดูแลลูกทุกช่วงเวลา ตั้งแต่การให้นมบุตร การดูแลตนเองหลังคลอด ท่าออกกำลังกายหลังคลอด เพื่อให้หุ่นของแม่หลังคลอดกลับมาฟิตแอนเฟิร์มอีกครั้ง  theAsianparent Thailand ขอเป็นส่วนหนึ่งที่จะสนับสนุนคุณพ่อคุณแม่ในเรื่องการดูแลลูก ความรู้แม่และเด็กที่เต็มเปี่ยม และตอบทุกข้อสงสัยในแอพพลิเคชั่นที่เป็นสื่อกลาง และกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ในครอบครัวไทย

ที่มา : sg.theasianparent.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

8 ของอันตรายใกล้ตัวลูกน้อยที่คุณอาจคาดไม่ถึง

สไลม์ น้ำลายเอเลี่ยน! ของเล่นหน้าโรงเรียนอันตรายถึงชีวิต

รถเข็นสำหรับเด็ก วิธีเลือกรถเข็นเด็กอย่างปลอดภัย เลือกยังไงให้คุ้ม

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!