ไอแบบไหนอันตราย การไอ 7 แบบในลูกน้อย ที่อาจเป็นอันตรายกว่าที่คิด

ไอแบบไหนอันตราย การไอ 7 แบบในลูกน้อย ที่อาจเป็นอันตรายกว่าที่คิด

ไอเป็นหนึ่งในอาการป่วยที่น่ารำคาญที่สุดอาการหนึ่งที่ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ขยาด ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะนอกจากจะรำคาญแล้ว อาการไอยังทำให้คนป่วยไม่ได้พักผ่อน นอนไม่สบาย เป็นที่รำคาญของคนรอบข้าง และนำมาซึ่งปัญหาอื่นๆอีกมากมาย วันนี้เราจะพามาดูกันว่าแล้วในเด็กล่ะ ไอแบบไหนอันตราย มีวิธีรักษาและอาการเป็นอย่างไร

ไอแบบไหนอันตราย

ไอ แบบไหนอันตราย

ไอเหมือนเห่า

ลูกของคุณอาจจะเข้านอนด้วยมีอาการคัดจมูกเล็กน้อย แต่จู่ๆคุณได้ยินเสียงลูกไปออกมาเหมือนกับเสียงเห่าของแมวน้ำจากห้องข้างๆ ลูกอาจมีอาการหายใจลำบาก ลูกคุณอาจติดเชื้อไวรัสที่ลุกลามไปที่กล่องเสียง เป็นไข้หวัดปกติที่มักจะเกิดขึ้นได้กับเด็กตั้งแต่อายุ 3 เดือน – ุ6 ปี การไอแบบนี้มักจะทุเลาลงตอนเช้า แต่มักจะกลับมาอีกในช่วงกลางคืน วิธีการรักษาเบื้องต้นคือให้ลูกอยู่ในสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น และให้ดื่มน้ำมากๆ ไอแบบนี้จะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน แต่ถ้าคุณแม่กังวลหรือไอดูผิดปกติกว่าไอทั่วไป เราก็แนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด

ไอแบบมีเสมหะ

ไอเหมือนมีเสมหะ น้ำมูกไหล คอแห้ง น้ำตาคลอ ไม่อยากอาหาน ลูกคุณอาจจะเป็นไข้ อาการนี้อาจจะเป็นและหายเองภายในหนึ่งถึงสองสัปดาห์อาการจะหนักที่สุดในช่วงวันแรกๆ วิธีการรักษาเบื้องต้นนั้น ไม่ต่างจากด้านบนเลย คือให้ลูกอยู่ในสภาพอากาศที่อุ่นขึ้น และให้ดื่มน้ำมากๆ ไอแบบนี้จะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน แต่ถ้าคุณแม่กังวลหรือไอดูผิดปกติกว่าไอทั่วไป เราก็แนะนำให้ไปปรึกษาคุณหมอจะดีที่สุด

ไอแบบไหนอันตราย

ไอแบบ ไหนอันตราย

ไอแบบแห้ง ตอนกลางคืน

ไอเป็นเวลานานหลายเดือนโดยเฉพาะตอนกลางคืน ไอชนิดนี้อาจเกิดจากการที่อาการเย็นมากเกินไป หรือ อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งของโรงหอบหืด ถ้าผู้ปกครองสงสัยว่าลูกอาจจะเป็นหอบหืดให้นำไปพบคุณหมอ เพื่อที่จะได้วินิจฉัยหรือหาวิธีการรักษาได้อย่างทันท่วงที

ไอจนน่าสงสาร

ไอจนไม่มีแรงจะเล่น ไข้สูง ขัดจมูก ปวดกล้ามเนื้อ ถ้ามีอาการแบบนี้ คุณลูกอาจจะเป็นไข้หวัดใหญ่ Influenza ไข้หวัดใหญ่จะใช้เวลาฟักในตัวเด็กนานกว่าผู้ใหญ่ ทำให้กว่าจะรู้ตัวก็นานพอสมควร และสามารถติดง่าย จากคนรอบข้าง หรือเพื่อนนักเรียนสำหรับเด็กโต ให้ลูกทานน้ำเยอะๆ และหาคุณหมอเพื่อจะได้รักษาอย่างถูกวิธี ปีต่อไปผู้ปกครองควรปรึกษาคุณหมอเรื่องการฉีดวัคซีนด้วย

ไอแบบไหนอันตราย

ไอแบบไหน อันตราย

ไอแบบฮืดฮาด ไอในลำคอ

ไอลักษณะนี้อาจเกี่ยวข้องกับหลอดลมเล็ก ที่อาจจะไปลามไปถึงระบบทางเดินหายใจ อาการนี้มักจะเกิดขึ้นได้กับเด็กทารกเมื่ออากาศเย็นลง ถ้าคุณพบว่าลูกหายใจลำบาก หรือทานน้ำไม่ได้เลย ให้ปรึกษาคุณหมอโดยด่วน เพื่อไม่ให้อาการหนักไปกว่าเดิม

ไอกรน

ไอกรน เริ่มแพร่หลายและพบได้มากขึ้น ไอชนิดนี้เกิดจากการที่แบคทีเรีย ที่มีชื่อว่า pertussis แบคทีเรียนชนิดนี้จะจู่โจมทางเดินหายใจ ทำให้หายใจได้ยากลำบากมากขึ้น เด็กทารกที่ภูมิคุ้มกันต่ำอาจจะติดเชื้อชนิดนี้ได้ง่าย ในเคสที่หนักจริงๆ ลูกอาจสำลักหรืออาเจียนได้ ถ้าพบเจออาการแบบนี้ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที ถ้าในบ้านยังมีเด็กเล็กอีกควรให้ทุกคนแยกห่างจากกันเพื่อที่จะได้ไม่ติดต่อ

ไอแบบไหนอันตราย

ไอแบบไหนอัน ตราย

ไอแบบเละ

ลูกคุณไอมานาน ไอไม่หายสักทีมาหลายสัปดาห์และดูเหมือนว่ามันจะไม่ดีขึ้นเลย แถมอาการยังจะแย่ลงไปอีก อาการนี้อาจจะเกิดจากการที่ Pneumonia แบคทีเรียนหรือไวรัสพยายามที่จะแทรกซึมเข้าไปในปอด และร่างกายของลูกพยายามจะขจัดของเหลวเหล่านี้ออกไปจากปอดของตัวเอง วิธีการรักษาคือคุณหมออาจจะจำเป็นที่จะต้อง X-Ray เพื่อวินิยฉัย ถ้าอาการไม่หนักมากคุณอาจจะสามารถนำลูกไปพักผ่อนที่บ้านได้ แต่ในเคสที่หนักจริงๆลูกอาจจำเป็นที่จะต้องนอนดูอาการที่โรงพยาบาล

ลูกไอไม่หยุด ทําไงดี รวมเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้ พร้อมวิธีรับมือกับอาการไอของลูกให้อยู่หมัด

    ค่อก ๆ แค่ก ๆ เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่คงเป็นกังวลใจไม่น้อยเลยทีเดียว เมื่อลูกน้อยมีอาการไอไม่หยุด จนแก้มแดงหน้าแดง บางครั้งถึงกับร้องไห้ออกมากันเลยก็มี ซึ่งปัญหาเหล่านี้คงทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนวิตกกังวล กลัวว่าจะมีปัญหาอื่น ๆ ตามมา และเพื่อช่วยให้สบายใจมากขึ้น วันนี้กระปุกดอทคอมมีคำแนะนำและวิธีรับมือกับอาการไอของลูกน้อยมาฝากกันแล้วค่ะ ดูสิว่าจะรับมืออย่างไรได้บ้าง ?

สำหรับอาการไอในเด็กนั้น บางครั้งมักจะเกิดจากหลอดลมอักเสบ เนื่องจากมีสิ่งผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ เช่น มีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปทำให้ระคายเคืองที่บริเวณคอ หรือหลอดลม ดังนั้นร่างกายจึงไอเพื่อพยายามขับสิ่งแปลกปลอมนั้นออกมานั่นเอง ซึ่งถ้าหากคุณแม่สงสัยว่าลูกไอเพราะกรณีนี้แนะนำให้ตรวจหาสิ่งแปลกปลอม และพยายามนำออกมาอย่างระมัดระวังที่สุดค่ะ   ส่วนกรณีไอเนื่องจากอาการหวัด ถือเป็นอาการไอที่พบได้บ่อยมากในเด็ก ส่วนมากจะพบอาการไอก่อนอาการอื่นตามมาหรือไอหลังจากเริ่มติดเชื้อ และมีอาการน้ำมูกไหล ตัวร้อน เป็นไข้ร่วมด้วย เป็นต้น ทั้งนี้สาเหตุก็เนื่องมาจากอากาศในบ้านเราเปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ร่างกายของลูกน้อยปรับตัวไม่ทัน จึงทำให้เป็นหวัด และเกิดอาการไอขึ้นมานั่นเอง แต่ทั้งนี้ก็อาจมีบางกรณีที่ลูกน้อยหายเป็นไข้ ไม่มีน้ำมูก และหายจามแล้ว แต่อาการไอก็ยังไม่หายไปเสียที ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรจะรับมืออย่างไรเมื่อ ลูกไอไม่หยุด หรือ ลูกไอมาก มาดูวิธีรับมือต่อไปนี้กันเลยค่ะ สำหรบ วิธีบรรเทาอาการไอในลูกน้อย เบื้องต้นคุณแม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดให้มาก ๆ พร้อมกับให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ นอกจากนี้ควรให้รับประทานยาแก้ไอสำหรับเด็กด้วย และในกรณีที่ลูกน้อยมีน้ำมูกให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มพาดบ่าและลูบหลังเบา ๆ วิธีนี้จะช่วยคลายความอึดอัดและช่วยไม่ให้น้ำมูกไหลไประคายคอได้ค่ะ ทั้งนี้นอกจากวิธีเบื้องต้นนี้แล้ว ยังจะมีวิธีบรรเทาอาการไออื่น ๆ อีกด้วย เช่น

– ให้รับประทานน้ำผึ้งก่อนนอน วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการไอได้ดี และยังจะช่วยลดอาการไอในเวลากลางคืน และสามารถช่วยลดเสมหะได้อีกด้วย โดยเด็กอายุ 2-5 ขวบ ให้รับประทานน้ำผึ้งครึ่งช้อนชา, เด็กอายุ 6-11 ขวบ ให้รับประทาน 1 ช้อนชา และเด็กอายุ 12 ปีขึ้นไป ให้รับประทาน 2 ช้อนชา ทั้งนี้ห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ รับประทาน เพราะอาจทำให้อาหารเป็นพิษได้ค่ะ
– ก่อนนอนให้คุณพ่อคุณแม่ทายาหม่องหรือทาวิคส์บนฝ่าเท้าของลูกน้อย จากนั้นให้นวดเบา ๆ และสวมถุงเท้าทับ วิธีนี้จะช่วยบรรเทาอาการไอตอนกลางคืนได้ค่ะ

– ให้จิบน้ำอุ่น หรือรับประทานซุปร้อน ๆ จะช่วยลดอาการไอและอาการคัดจมูกได้เป็นอย่างดี

– ใช้เครื่องทำไอน้ำเปิดทิ้งไว้ตอนกลางคืนเพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศ ไอน้ำจะช่วยลดอาการคัดจมูกและลดอาการไอได้

– ล้างจมูกเพื่อให้โพรงจมูกสะอาดและชะล้างน้ำมูกที่ติดอยู่ในจมูก จะทำให้หายใจได้สะดวกมากขึ้น

– หากอาการไอเรื้อรังยังไม่หาย แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกน้อยไปพบแพทย์

Source : parents

https://baby.kapook.com/view97519.html

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ :

โรคมือเท้าปาก โรคใกล้ตัวเด็กวัยเรียน ทารก-เด็กเล็ก ก็มีโอกาสป่วยง่าย

อาการไข้หวัดใหญ่ 2019 Influenza วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

โรคตอนท้องมีอะไรบ้าง? ลูกจะเป็นอะไรมั๊ย จะรักษายังไงดี?

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!