การสร้างครอบครัวอย่าง การมีลูก เป็นความฝัน หรือความตั้งใจของหลายบ้าน ที่อยากสร้างครอบครัวใหญ่ขึ้น แต่ยุคสมัยนี้ เงิน เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการมีลูก สำหรับคนที่อยากมีลูก แต่กลัวไม่พร้อมเรื่องค่าใช้จ่าย มาคำนวณกันว่า การตั้งครรภ์แต่ละครั้ง ใช้เงินเท่าไหร่ ฝากครรภ์ ราคา ค่าใช้จ่ายเตรียมคลอด ท้องทีต้องใช้เงินเท่าไหร่ มีเงินเท่าไหร่ถึงจะท้องได้? theAsianparent พาไปดู ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ ต้องจ่ายอะไรเท่าไหร่บ้าง
ค่าใช้จ่ายฝากครรภ์ ครั้งแรก ราคาฝากท้อง มีค่าอะไรบ้าง ?
1. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์เมื่อเข้าพบแพทย์
การตั้งครรภ์นั้นจำเป็นที่จะต้องไปพบแพทย์บ่อยๆ โดย ตามเวลาที่แนะนำคือ ควรจะพบสูตินารีแพทย์ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เพื่อคอยเช็คอาการต่างๆ ในการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ทั้งนั้น ค่าใช้จ่ายในการตั้งครรภ์ เพื่อพบแพทย์ ขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล ว่าแม่ๆจะเลือก โรงพยาบาลรัฐบาล หรือ เอกชน
2. การฝากครรภ์มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่มาดูกัน ค่าฝากครรภ์
เมื่อไหร่ที่เริ่มตั้งครรภ์ คุณแม่ก็เตรียมค่าใช้จ่ายไว้ได้เลย สิ่งแรกที่คุณแม่ควรคำนึงถึง คือ การฝากครรถ์ ซึ่งค่าฝากครรภ์ ก็จะมีราคาที่แตกต่างกันออกไป หากคุณแม่ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลรัฐ ก็อาจจะต้องรอคิวนานเป็ยพิเศษ เนื่องจากมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก แต่ในเรื่องของค่าใช้จ่ายไม่แพงมากนัก หากคุณแม่เลือกฝากที่โรงพยาบาลเอกชน คุณแม่ไม่ต้องรอคิวนาน เน้นความสะดวกสบาย เหมาะสำหรับคนไม่ชอบรออะไรนาน ๆ หรือไม่มีเวลา และมีเงินพร้อมในส่วนนี้ เนื่องจากราคาค่อนข้างแรงกว่า
บทความอื่นๆที่น่าสนใจ : ค่าคลอดอัพเดท 64 คลอดเองหรือผ่าคลอด ควรเลือกที่ไหนดี
3. ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์โรงพยาบาลรัฐบาล - โรงพยาบาลเอกชน
สำหรับแม่ท้องหลายคนที่ทำงานประจำ อย่าลืมว่าเวลาแม่ๆจะคลอด นั้นรายได้ส่วนหนึ่งจะถูกหักไป หลังจากครบกำหนดจ่ายเงินเดือนลาคลอด เพราะ ฉะนั้นรายได้ส่วนนี้จะหายไป ในช่วงตั้งครรภ์ แม่ท้องควรจะวางแผน ตลอดการตั้งครรภ์ ว่าจะจัดการการเงินยังไง เพราะ การเงินนั้นสำคัญตลอดการตั้งครรภ์นะคะ แม่ๆ
4. ค่าซื้อของคลอดลูก
คุณพ่อและคุณแม่ต้องเตรียมอุปกรณ์เด็กแรกเกิดให้พร้อม ค่าใช้จ่ายส่วนนี้จะตกราวๆ 30,000 – 50,000 บาทในการจ่ายขั้นต้นอันได้แก่ เสื้อผ้าเด็ก ผ้าอ้อม นม และเครื่องอุ่นนม เปลนอน เครื่องอาบน้ำ อาหารสำหรับเด็ก ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง จะมีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนอีกราวๆ 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของแต่ละครอบครัว
บทความที่เกี่ยวข้อง : จัดกระเป๋าเตรียมคลอด ในงบ 5000++ บาท ของใช้เด็ก แรกเกิด มีอะไรบ้าง
5. ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร

สำหรับ ค่าใช้จ่ายในการคลอดลูก นั้น ราคาก็จะแตกต่างกันไปตามรูปแบบการคลอดและลักษณะของโรงพยาบาล หากคลอดธรรมชาติ ก็จะถูกกว่าผ่าคลอด และโรงพยาบาลรัฐ จะถูกกว่าโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งค่าใช้จ่ายโดยประมาณมีดังนี้
- ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรโรงพยาบาลรัฐ
ค่าคลอดของโรงพยาบาลรัฐ กรณีคลอดธรรมชาติจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 10,000 บาท และสำหรับการผ่าคลอดราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 15,000 – 25,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องแล้ว แต่สำหรับบางโรงพยาบาลที่ไม่รวมค่าห้อง ราคาห้องก็จะอยู่ที่ประมาณ 500 – 3,000 บาท
- ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตรโรงพยาบาลเอกชน
สำหรับโรงพยาบาลเอกชน ค่าใช้จ่ายแบบแพ็คเกจ กรณีคลอดธรรมชาติ ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 50,000 บาท ส่วนกรณีผ่าคลอด ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 45,000 ไปจนถึง 100,000 บาท ซึ่งส่วนมากจะรวมค่าห้องอยู่ในแพ็คเกจ และหากผ่าคลอด ก็จะต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล 4 – 5 วัน เช่นเดียวกันทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน
-
ค่าใช้จ่ายในการคลอดบุตร ประกันสังคม
- อายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์จ่ายไม่เกิน 500 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 12 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ จ่ายไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 20 สัปดาห์แต่ไม่เกิน 28 สัปดาหื จ่ายไม่เกิน 300 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 28 สัปดาห์ไม่เกิน 32 สัปดาห์ จ่ายไม่เกิน 200 บาท
- อายุครรภ์มากกว่า 32 สัปดาห์ ถึง 40 สัปดาห์ขึ้นไป จ่ายอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 200 บาท
ค่าคลอดบุตรเป็น 15,000 สามารถเบิกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง สามารถเบิกค่าคลอดบุตรจากสำนักงานประกันจำนวน 15,000 บาท และเงินจากการหยุดจากเพื่อคลอดบุตรร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็นเวลา 9 วัน ไม่เกิน 2 เดือน
-
ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์คลีนิค

ค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ของแจ่ละคลีนิคไม่เท่ากัน ถ้ามองในรูปแบบทั่วไปแล้วการฝากครรภ์กับคลรนิคจะคล้ายกับโรงพยาบาลเอกชน การฝากครรภ์กับคลินิกเป็นการฝากครรภ์แบบพิเศษประเภทหนึ่ง เนื่องจากจะได้รับการบริการจากแพทย์คนเดิมตลอด แตกต่างกันที่เมื่อทำการฝากครรภ์คุณแม่สามารถเดินทางไปตรวจที่คลีนิกได้เลย เมื่อคลอดก็ไปคลอดโรงพยาบาลที่คุณหมอท่านนั้นอยู่ ข้อดีคือช่วยอำนวยความสะดวกให้คุณแม่นั่นเอง
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!