X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหน

บทความ 5 นาที
พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหนพฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหน

เมื่อลูกโตขึ้น ความเป็นตัวเองเริ่มชัดเจนขึ้น ในขณะเดียวกันลูกต้องเรียนรู้กฎกติกาและการอยู่ร่วมกัน หากคุณเข้าใจ พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ ก็จะสามารถรับมือได้

ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึง พฤติกรรมลูกวัยแรกเกิด-3 ปี ในหัวข้อ พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้แม่ต้องรับมือแบบไหน ไปแล้วนะคะ วันนี้เราจะพูดถึง พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ กันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร และ พ่อแม่ ต้องมีวิธีการรับมืออย่างไร

 

พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ

พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ เด็ก 4 ขวบ

 

พฤติกรรม เด็ก 4 ขวบ

  • เริ่มที่จะแยกแยะสิ่งต่าง ๆ อย่างง่าย ๆ เช่น สิ่งนั้นหรือคนนั้น ผิดหรือถูก ดีหรือไม่ดี เป็นต้น
  • เริ่มเข้าใจพลังของคำพูด และจะใช้คำพูด เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ หรือเพื่อควบคุมผู้อื่น แต่ความสามารถในการใช้ภาษายังคงไม่ได้นัก บางทีอาจต้องใช้สีหน้าหรือท่าทางประกอบ
  • เริ่มชอบการแข่งขัน
  • ยังคงสับสนระหว่างความเป็นจริงกับจินตนาการในบางครั้ง และอาจพูดโกหก เกินจริงไปบ้าง หรือมีเพื่อนในจินตนาการ
  • ยังคงพัฒนาในเรื่องของตัวตน และการทดลองความเป็นอิสระ จึงอาจพบว่า ลูกดื้อ ท้าทาย และเจ้ากี้เจ้าการ
  • พยายามทำทุกอย่างเพื่อจะไม่ต้องเข้านอน
  • อาจมีฝันร้ายบ้าง
  • อาจกลัวความมืดและวิตกกังวลว่าจะถูกแยกจากพ่อแม่หรือคนใกล้ชิด
  • เริ่มสนุกกับการเล่นกับเด็กคนอื่นมากขึ้น
  • ชอบทดสอบขีดจำกัดต่าง ๆ ว่าเขาสามารถทำได้หรือเปล่า และ ก็ยังคงอยากที่จะช่วยคุณทำในสิ่งที่เขาทำได้

 

บทความแนะนำ พัฒนาการการโกหกของเด็ก 2-12 ปีและวิธีรับมือ

 

เด็ก 4 ขวบ พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • เมื่อคุณตั้งกฎ ให้คุยกับลูกว่าทำไมกฎนั้นถึงสำคัญ แม้ลูกจะยังไม่เข้าใจ หรือทำตามในทันที แต่เขาจะค่อยๆ พัฒนาความคิดของเขาต่อสิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้
  • พยายามใช้คำถามหรือคำสั่งให้ง่ายเข้าไว้
  • ลูกอยากทำให้คุณมีความสุข ดังนั้น คุณต้องทำให้เขารู้ว่าคุณมีความสุขที่เห็นเขามีพฤติกรรมที่ดี
  • อย่าโต้เถียงกับลูกวัย 4 ขวบ เพราะลูกจะยิ่งทำในสิ่งที่คุณห้าม แต่ถ้าคุณเงียบ ไม่โต้เถียง ลูกจะแค่ถามซ้ำๆ ว่า “ทำไม”
  • เมื่อลูกทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ให้ถามลูกว่า เกิดอะไรขึ้น แต่อย่าถามว่า ทำไมลูกถึงทำอย่างนั้น เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ลูกโกหก เนื่องจากลูกยังแยกไม่ออกระหว่างโลกแฟนตาซีกับโลกแห่งความเป็นจริง
  • เมื่อลูกทำผิด ค่อย ๆ อธิบายให้ลูกฟังว่า ทำไมพฤติกรรมนั้นถึงผิด และคุณรู้ว่าลูกสามารถทำดีกว่านี้ได้ในครั้งต่อไป ลูกอยากได้รับความมั่นใจว่าคุณเชื่อในตัวเขา แล้วเขาก็จะทำอย่างที่คุณอยากจะเห็น
  • ความคงเส้นคงวาเป็นสิ่งสำคัญ หากคุณไม่คิดว่ากฎที่ตั้งขึ้นมาเป็นเรื่องสำคัญ ลูกก็จะไม่เห็นความสำคัญและไม่ยอมทำตามกฎเช่นกัน
  • สนับสนุนให้ลูกเป็นตัวของตัวเอง แต่ต้องไม่ลืมว่าลูกยังคงเป็นเด็ก อย่าปล่อยให้เขาเครียดหรือเหนื่อยจนเกินเด็ก
  • กอดลูก หอมลูกบ่อย ๆ แม้ลูกจะโตแล้วก็ตาม

 

 

พฤติกรรมเด็ก 5 ขวบ

 

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ

พฤติกรรมของเด็ก อายุ4-6 ขวบ เด็ก 4 ขวบ

 

  • ลูกวัย 5 ขวบ เข้าใจความสำคัญของกฎแล้ว เช่น กฎในการเล่น แต่กฎของเด็กในวัยนี้ยังคงมีความยืดหยุ่นอยู่ค่ะ
  • อาจกล่าวหาว่าเพื่อนโกง ถ้าลูกแพ้ในเกมนั้น
  • เริ่มแสดงความเห็นอกเห็นใจและเข้าใจว่าคนอื่นอาจมีมุมมองที่ต่างไป
  • เริ่มที่จะแบ่งปัน แต่ก็ยังคงรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะ เมื่อสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่พิเศษสำหรับเขา
  • อาจกลัวความล้มเหลว คำวิจารณ์ หรือ สิ่งที่เหมือนผี หรือปีศาจ
  • ช่วงความสนใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งยาวนานขึ้น และ จะพูดเกี่ยวกับสิ่งนั้นมากขึ้น
  • เริ่มทำตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกเรื่อง
  • ชอบที่จะตัดสินใจเอง ว่าจะกินอะไร จะใส่ชุดไหน เป็นต้น
  • เมื่อไปโรงเรียนอาจมีอาการขี้หงุดหงิด เจ้าอารมณ์ หรือเหนื่อยมากกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลมาจากการต้องนั่งนิ่ง ๆ และใช้สมาธิเป็นเวลานาน

บทความแนะนำ แม่ต้องสอนเรื่องนี้ เมื่อลูกเริ่มย่างเข้า 5 ขวบ

 

เด็ก 5 ขวบ พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • สนับสนุนให้ลูกเล่นกับเด็กคนอื่น ๆ เป็นกลุ่มหรือเป็นทีม จะช่วยให้ลูกพัฒนาทักษะที่สำคัญอย่างเช่น การผลัดกันเล่น การเข้ากับผู้อื่น การทำงานร่วมกัน การเจรจา การประนีประนอม การรู้จักแพ้-ชนะ
  • ในแต่ละวัน คุณควรมีเวลาที่จะอยู่กับลูก ใช้เวลาร่วมกับลูก เล่นกับลูก เข้าไปอยู่ในโลกของลูก เพื่อเรียนรู้ความรู้สึกนึกคิด และจิตใจของลูกด้วย
  • สอนลูกให้รู้จักอารมณ์ของตัวเอง โดยการบอกว่าความรู้สึกแบบนี้เรียกว่าอะไร เช่น หนูกำลัง ( หงุดหงิด ) หนูกำลัง ( ผิดหวัง ) หนูควรทำอย่างไรเมื่อรู้สึกแบบนั้น
  • ให้รางวัลเมื่อลูกมีความรับผิดชอบ เช่น ถ้าลูกช่วยแม่เก็บโต๊ะให้เรียบร้อย ลูกจะได้ทานของหวานแสนอร่อย เป็นต้น
  • ยังคงตั้งกฎง่าย ๆ และไม่เยอะจนเกินไป ให้กับลูกวัยนี้

 

 พฤติกรรมเด็ก 6 ขวบ

 

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ

คุณพ่อ คุณแม่ ต้องเรียนรู้ และรับมือ กับพฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ เด็ก 4 ขวบ

 

  • เด็กวัยนี้รู้มากขึ้น บางทีอาจมากกว่าคุณเสียอีก ไม่เชื่อก็ลองถามลูกดูซิ
  • ความเกรี้ยวกราด อาละวาด อาจกลับมาอีกรอบ
  • ยังคงชอบทดสอบขีดจำกัดต่าง ๆ และ อยากจะช่วยเหลือคุณ ทำให้คุณพอใจ
  • อยากให้พ่อแม่ชื่นชมผลงานที่ลูกทำที่โรงเรียน รวมถึงสิ่งดี ๆ อื่น ๆ ที่ลูกทำด้วย
  • อยากที่จะมีความสามารถในทักษะใหม่ ๆ และรู้สึกมีอำนาจ
  • อาจวิตกกังวล ที่จะต้องห่างจากพ่อแม่

 

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ

พฤติกรรม เด็ก 4-6 ขวบ ที่คุณพ่อ และคุณแม่ ต้องรับมือ เด็ก 4 ขวบ

เด็ก 6 ขวบ พ่อแม่ควรตอบสนองอย่างไร

  • สนับสนุนความพยายามของลูก และ แสดงให้ลูกรู้ว่า คุณเห็นความพยายามของเขา
  • พยายามอย่าชื่นชมลูกมากเกินไป หรือ ชมโดยไม่มีเหตุผล
  • ให้ความสำคัญกับความพยายามของลูกมากกว่าผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อให้ลูกได้พัฒนากระบวนการคิด และ เชื่อมั่นในศักยภาพของตัวเองว่าจะสามารถไปสู่ความสำเร็จได้

 

ที่มา : 1

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤต โควิด-19

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

สิริลักษณ์ อุทยารัตน์

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • พฤติกรรมเด็ก 4-6 ขวบ หนูทำแบบนี้แม่ควรรับมือแบบไหน
แชร์ :
  • พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

    พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

  • พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

    ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

app info
get app banner
  • พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

    พฤติกรรมเด็กแรกเกิด-3 ปี หนูทำแบบนี้ แม่ต้องรับมือแบบไหน

  • พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

    พฤติกรรมเด็ก : 100 เรื่องพ่อแม่ต้องรู้ก่อนลูก 1 ขวบ

  • สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

    สวยตามรอย พีพี กฤษฏ์ กับ Beauty Items ที่เป็นพรีเซนเตอร์

  • ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

    ชื่อลูก ก - ฮ อัปเดตล่าสุด 2565 ชื่อน่ารัก ๆ เรียงตัวอักษร ก-ฮ

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ