
เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
เคล็ดลับการตั้งครรภ์ เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หลังการคลอดบุตร รวมถึงการดูแลลูกน้อย การให้นมแม่ เพื่อเตรียมคุณเป็นแม่มือใหม่ที่พร้อมที่สุด
การเป็นแม่ต้องเตรียมพร้อมอะไรบ้าง มีอะไรที่คนเป็นแม่ต้องรู้ การมีคู่มือคุณแม่มือใหม่ เพื่อที่จะได้เตรียมตัว เป็นแม่ที่ดี ให้กับลูก
เรื่องที่จะ เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง อาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบากสำหรับใคร หลาย ๆ คน เราเข้าใจถึงความลำบาก ที่คุณแม่ต้องเผชิญดี ด้วยเหตุนี้ เราจึงอยากที่จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการเตรียมตัวเป็น คุณพ่อ คุณแม่ มาให้ผู้ปกครองได้อ่านกัน เราเชื่อว่า การที่เรามีข้อมูลจากมากมายหลายที่ จะทำให้เราสามารถคิดวิเคราะห์ และ นำมาคิดต่อได้ว่า ในฐานะ ผู้ปกครอง เราควรที่จะปฏิบัติตัวอย่างไร ให้เข้าต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้ปกครอง ต่างก็ต้องพบเจอ
การเตรียมตัวเป็นแม่
ในด้านร่างกายคุณแม่: ช่วงนี้ร่างกายของเราจะเริ่มเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยแล้วนะคะ คุณแม่จะเริ่มเจ็บหน้าอก และมีอาการแพ้ท้องให้เห็น รวมไปถึงการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นด้วยค่ะ
ในด้านอารมณ์คุณแม่: นี่เป็นเดือนแรกที่ประจำเดือนไม่มา คุณแม่หลายๆ ท่านก็เริ่มสงสัยว่าตัวเองกำลังจะมีเจ้าตัวน้อยตอนนี้หรือเปล่านะ แน่นอนว่าทั้งความเครียดและความตื่นเต้นย่อมผสมๆ กันไป ช่วงนี้อารมณ์คุณแม่จะเริ่มอ่อนไหวมากขึ้นเพราะร่างกายเริ่มต้นปรับฮอร์โมนนั่นเองค่ะ
สำหรับลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์: ตอนนี้เบบี๋มีขนาดเท่าจุดเล็กๆ เท่านั้นเองค่ะ ยังไม่มองเห็นได้ไม่ชัดนัก แต่ก็เป็นช่วงที่มีพัฒนาการค่อนข้างมาก คุณแม่พยายามอย่าอยู่ในสถานที่ร้อนจัด งดดื่มแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ เพราะมีความเสี่ยงต่อเด็กในครรภ์ค่ะ และที่สำคัญคือคุณแม่ในช่วงนี้ควรพักผ่อนให้เยอะขึ้น และปรึกษาแพทย์ทันทีหากพบปัญหาในการตั้งครรภ์
เตรียมตัวก่อนคลอด
ย่อมเป็นการดีที่คุณพ่อและคุณแม่จะได้จัดตระเตรียมการบางอย่างและเตรียมของใช้จำเป็นที่ต้องเตรียมไปโรงพยาบาลในวันคลอด ยิ่งโดยเฉพาะในคุณแม่ท้องแก่ใกล้คลอดนั้น หากได้เตรียมสิ่งที่ต้องใช้ก่อนไปโรงพยาบาลก็จะยิ่งดีมาก ๆ เพราะเมื่อเจ็บท้องคลอดขึ้นมาจริง ๆ จะได้ไม่ฉุกละหุกจนเกินไป
การหาฤกษ์คลอด สำหรับคุณแม่ผ่าคลอดที่มีความเชื่อในหลักโหราศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความเป็นมงคล บุญบารมี สติปัญญา สุขภาพแข็งแรงให้กับลูกรัก หลังจากที่หมอกำหนดวันผ่าคลอดให้แล้ว คุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะไปหาฤกษ์เอาไว้ให้พร้อมครับ
เตรียมตั้งชื่อลูกน้อย คุณพ่อและคุณแม่ควรคิดตั้งชื่อลูกเผื่อเอาไว้ให้เรียบร้อย เพราะเมื่อถึงเวลาคลอดแล้วลูกยังไม่มีชื่อ เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลจะตั้งชื่อให้ไปก่อน ทำให้ต้องเสียเวลาไปเปลี่ยนแปลงแก้ไข นอกจากนี้ควรวางแผนไว้ล่วงหน้าสำหรับทะเบียนบ้านที่จะแจ้งให้ลูกไปอยู่อาศัย เพราะจะเกี่ยวพันไปถึงโรงเรียนที่จะเข้าเรียนในอนาคตด้วย
เตรียมลาคลอด สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่คุณแม่จะได้รับในขณะลาคลอดจะช่วยให้คุณแม่ที่ต้องทำงานมีเวลาเตรียมตัวเป็นคุณแม่ได้อย่างเต็มตัวเพื่อดูแลทารกทั้งก่อนและหลังคลอดได้อย่างอุ่นใจมากขึ้น ดังนั้นจึงควรใช้โอกาสนี้อย่างเต็มที่ อย่าปล่อยให้ช่วงเวลาดี ๆ เหล่านี้สูญเปล่า ซึ่งคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะลาคลอดก่อนถึงกำหนดคลอดประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัวเตรียมใจไปคลอดครับ (แต่คุณแม่หลายคนก็พยายามจะลาให้ใกล้วันคลอดมากที่สุดประมาณ 1-2 วัน ซึ่งผมเองมองว่ามันฉุกละหุกเกินไปครับ เลยไม่แนะนำ)
ตรวจสุขภาพร่างกาย ในช่วงเดือนที่ 9 ของการตั้งครรภ์ หมอจะนัดคุณแม่มาตรวจครรภ์และตรวจดูความพร้อมของร่างกายทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมไว้เผื่อมีการคลอดฉุกเฉินขึ้น และเพื่อดูอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงนี้ ในการตรวจสุขภาพก่อนถึงสัปดาห์ของการคลอด หมอจะตรวจดูความพร้อมของทารกว่าอยู่ในท่าที่ส่วนนำหรือศีรษะเคลื่อนกลับลงมารออยู่ที่อุ้งเชิงกรานของคุณแม่แล้วหรือไม่ ซึ่งในบางกรณีที่ทารกไม่กลับศีรษะคุณแม่อาจไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ หมอจะต้องใช้การผ่าคลอดเข้าช่วย ซึ่งหากทราบถึงพัฒนาการของทารกในครรภ์ก็จะง่ายต่อการประเมินในการให้คุณแม่เตรียมตัวคลอดได้ครับ
การเตรียมร่างกายก่อนวันไปคลอด อีกไม่กี่สัปดาห์ที่จะถึงวันกำหนดคลอดแล้ว คุณแม่ควรฝึกบริหารและดูแลร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้การคลอดดำเนินไปอย่างราบรื่น เช่น การฝึกเทคนิคเกร็งและคลายเพื่อระงับความกลัวและความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในขณะคลอด (จะกล่าวถึงในบทความหน้าอย่างละเอียดครับ)
เตรียมตัวให้สบาย ช่วงแรกที่เริ่มเจ็บท้องคลอด คุณแม่ควรอาบน้ำให้สบายเนื้อสบายตัว ถ้าผมยาวปรกหน้ารุงรัง ให้ใช้หวีสับหรือรวบมัดให้เรียบร้อย จะได้ไม่ทำให้คุณแม่รำคาญเวลากระสับกระส่ายขณะเจ็บท้องคลอด
เตรียมใจไปคลอด เมื่อคุณแม่ไม่ได้ไปฝากครรภ์หรือตรวจท้องตามกำหนดนัดทุกครั้ง ระยะใกล้วันครบกำหนดคุณแม่ก็คงสงสัยว่าจะรู้ได้อย่างไรว่าจะเจ็บท้องคลอดแล้ว จะคลอดได้เมื่อไหร่ ต้องคลอดปกติหรือต้องผ่าตัด แล้วลูกจะแข็งแรงหรือไม่ ฯลฯ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้คุณแม่เกิดความกังวลใจ หลายคนเกิดอาการนอนไม่หลับ สะดุ้งผวา โดยการเตรียมจิตใจไว้ล่วงหน้าและเตรียมตัวไปคลอดจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดครับ ซึ่งความกังวลใจรวมทั้งการที่คุณแม่นอนไม่หลับนั้นสามารถทำให้บรรเทาเบาบางลงได้ โดยเริ่มจากคุณแม่ต้องทำจิตใจให้ร่าเริงแจ่มใส อย่าซึมเศร้า แม้ว่าสภาพร่างกายจะไม่กระฉับกระเฉงเพราะท้องใหญ่ขึ้น เดินอุ้ยอ้าย คุณแม่ก็ควรจะยิ้มสู้ไว้และมีความหวังว่าอีกไม่นานเราก็จะได้เดินตัวปลิว มีรูปร่างสะโอดสะองเหมือนก่อนคลอดอีกครั้ง
เตรียมคนดูแลไปด้วย เพื่อจะได้คอยช่วยเหลือและดูแลคุณแม่หรือเป็นธุระคอยติดต่อในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะคุณพ่อที่ควรอยู่เป็นกำลังใจให้คุณแม่ในขณะคลอด ซึ่งจะช่วยลดความวิตกกังวลของคุณแม่ลงไปได้มาก
ผู้ปกครองคือใคร
ผู้ปกครอง หมายถึง ผู้ที่เป็นบิดา มารดา หรือบุคคลอื่นซึ่งทำหน้าที่ในการอบรมเลี้ยงดูเพื่อให้เด็กมีชีวิตที่สมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา สามารถเรียนรู้และปรับตัวเข้ากับสังคมได้อย่างมีความสุข บทบาทและหน้าที่ของผู้ที่เป็นผู้ปกครองเด็กปฐมวัยถือเป็นผู้ที่มีความสำคัญยิ่งต่อการสร้างรากฐานของชีวิตในอนาคตกับเด็ก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องมีความรู้ ความเข้าใจและศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเด็กได้แก่ การอบรมเลี้ยงดูการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ และการส่งเสริมการศึกษา การที่ผู้ปกครองตระหนักถึงความสำคัญของบทบาทและหน้าที่ของตนเองในการพัฒนาเด็ก ย่อมเป็นการทำให้ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสวงหาองค์ความรู้ที่จำเป็นเพื่อนำมาปฏิบัติใช้ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กในด้านต่างๆ
บทบาทและหน้าที่ของผู้ปกครอง
พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่มีความใกล้ชิดกับเด็ก เป็นผู้สนับสนุนและวางรากฐานอันสำคัญยิ่งต่อการเจริญเติบโตของชีวิตมนุษย์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแห่งความรับผิดชอบในการอบรมเลี้ยงดูและสายใยแห่งความผูกพันระหว่างพ่อแม่ ลูก เป็นพันธะที่จะต้องมีการดำเนินอย่างต่อเนื่อง เพื่อจุดมุ่งหมายที่สำคัญคือ การให้เด็กได้เจริญเติบโตสมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเอง สามารถปรับตัวอยู่ในสังคมได้อย่าง มีความสุข
1.บทบาทและหน้าที่ด้านการอบรมเลี้ยงดู
2.บทบาทและหน้าที่ด้านการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้
3.บทบาทและหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา
สรุปบทบาทหน้าที่ของผู้ปกครอง 10 ประการ
1. ให้ความรักและสายสัมพันธ์ในครอบครัว
2. ให้ความเอาใจใส่และเอื้ออาทรต่อลูก
3. ทำตนให้เป็นแบบที่ดีแก่ลูก
4. ให้ประสบการณ์การเรียนรู้ในสังคมเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
5. ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ให้เป็นไปตามวัย
6. ให้หลักธรรมในการพัฒนาเด็กด้วยหลักไตรสิกขา (ศีล สมาธิ ปัญญา)
7. ส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย
8. ศึกษาการเจริญเติบโตของเด็ก
9. เอาใจใส่ดูแลสุขภาพ
10. สนับสนุนเตรียมความพร้อมก่อนสู่สังคม
เคล็ดลับการตั้งครรภ์ เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หลังการคลอดบุตร รวมถึงการดูแลลูกน้อย การให้นมแม่ เพื่อเตรียมคุณเป็นแม่มือใหม่ที่พร้อมที่สุด
เคล็ดลับการตั้งครรภ์ เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง ทั้งก่อนตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ หลังการคลอดบุตร รวมถึงการดูแลลูกน้อย การให้นมแม่ เพื่อเตรียมคุณเป็นแม่มือใหม่ที่พร้อมที่สุด