คุณแม่ที่ประสบปัญหาน้ำนมไม่พอต่อลูกรักอยากจะ เติมนมแม่ลงในนมผงได้ไหม เคยไปอ่านที่ไหนมาบอกว่าทำได้นั้นไม่จริง นมแม่เป็นนมจากธรรมชาติที่ไม่ควรไปรวมกับนมชนิดอื่น ๆ ไม่ว่านมชนิดนั้น ๆ จะเคลมว่าตนเองมีดีแค่ไหน เพราะการผสมนมแม่กับนมผงจะทำให้เกิดอันตรายโดยตรงต่อทารกได้ ทารกที่กินอยู่ตอนนี้อาจปลอดภัยดี แต่ไม่ได้หมายความว่าวันหน้าจะปลอดภัย เราแนะนำให้ใช้วิธีการสลับประเภทนมจะเหมาะสมกว่ามาก
เติมนมแม่ลงในนมผงได้ไหม
เมื่อคุณแม่มีปัญหาน้ำนมน้อย น้ำนมไม่พอ ทารกกินนมแม่แล้วไม่อิ่ม การมองหานมผงเป็นทางออกโดยเลี่ยงไม่ได้ แต่เพราะคุณแม่รู้มาว่านมแม่ดีต่อลูกที่สุด โดยเฉพาะช่วง 6 เดือนแรก เลยเกิดความกังวล ก่อนที่จะตัดสินใจผสมนมแม่ลงในนมผง เพื่อให้ลูกยังคงได้มีโอกาสกินนมแม่ตลอด ๆ หากคุณแม่คนไหนที่กำลังทำแบบนี้อยู่ เราแนะนำให้หยุดก่อน เพราะการผสมนมแม่เข้ากับนมผง เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะการผสมนมทั้ง 2 ชนิดนี้ จะทำให้เกิดผลเสียต่าง ๆ ตามมาได้ ทั้งในแง่ของสารอาหาร และผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารของทารก เนื่องจากระบบย่อยอาหารที่ยังไม่โตเต็มที่ เป็นต้น
บทความที่เกี่ยวข้อง : นมผงสำหรับเด็ก 0-6 เดือน แม่ให้นมไม่ได้ ต้องเลือกนมผงให้เหมาะที่สุด
วิดีโอจาก : Nurse Kids
ทำไมจึงไม่ควรเติมนมลงในนมผงได้ไหม
ไม่ใช่เพราะเป็นนมเหมือนกันเลยจะผสมด้วยกันได้ มีหลายเหตุผลที่ทำให้ไม่ควรผสมระหว่างนมแม่กับนมชนิดอื่น ๆ การให้นมแม่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการให้นมลูก หากผสมจะทำให้เกิดข้อเสียหลากหลายข้อ ตัวอย่างเช่น
- มีข้อมูลการวิจัยที่บ่งชี้ว่าการผสมนมแม่เข้ากับนมผงในขวด จะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อโรคลดน้อยลงกว่าการให้ลูกกินนมชนิดเดียว
- อาจเกิดการผสมของนมเกิดปฏิกิริยา หรือสารบางชนิด ที่สามารถเข้าไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหารของนมขวดนั้น ๆ ได้ โดยเฉพาะแร่ธาตุ ที่มีความจำเป็นต่อพัฒนาการของทารกมาก
- ของเหลวเพียงอย่างเดียวที่สามารถนำไปชงนงผง หรือผสมกับนมผงได้ คือ น้ำเปล่าที่ใช้ในตอนชงนมเท่านั้น ห้ามใช้อย่างอื่นแม้แต่นมแม่ที่เชื่อว่ามีประโยชน์ เพราะจะทำให้นมขวดนั้นมีความเข้มข้นเกินไป ส่งผลต่อระบบย่อยอาหารของทารกที่ยังทำงานไม่สมบูรณ์ได้
- ทำให้เกิดความสูญเสียนมแม่ฟรี ๆ โดยไม่จำเป็น นมแม่สำคัญมากกับทารกแรกเกิดจนถึง 6 เดือนเป็นอย่างต่ำ การนำนมแม่ไปผสมกับนมผงหากลูกกินไม่หมดก็ต้องเอาไปทิ้งภายใน 1 ชั่วโมงอยู่ดี นมแม่ไม่ได้มีตลอด ถ้าทิ้งไปเฉย ๆ ก็ถือว่าน่าเสียดาย

สลับนมแม่กับนมผงได้ถ้าต้องการ
แม้ว่าจะไม่สมควรผสมนมแม่เข้ากับนมผงลงในขวดเดียวกัน แต่คุณแม่อาจมีความจำเป็นที่ต้องการปริมาณนมเพิ่มมากขึ้น เพราะนมแม่น้อย วิธีที่เหมาะที่สุด คือ การให้นมแม่สลับกับนมผงนั่นเอง โดยให้คุณแม่เน้นให้ลูกกินนมจากเต้าไปก่อน เน้นให้หมดแน่นอนแล้ว หากลูกยังไม่อิ่มจึงใช้นมผงเข้ามาช่วยเสริม คุณแม่ไม่ควรให้นมผงเป็นหลัก แล้วใช้นมแม่เสริม เพราะนมแม่ดีที่สุดเสมอ ไม่ว่าจะเทียบกับนมชนิดไหน ๆ มีทั้งสารอาหารที่ครบถ้วน ไม่ทำให้ทารกแพ้นม เป็นอาหารของทารกแรกเกิดโดยธรรมชาติ
คุณแม่ต้องระวังปริมาณของนมผงที่จะให้สลับกับนมแม่ให้ดี หากให้ปริมาณมากเกินไป หรือบ่อยเกินไป จะทำให้ทารกเกิดการจดจำรสชาตินมผง มีความคุ้นเคยมากกว่านมแม่ ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดี เนื่องจากทารกอาจไม่ยอมกินนมแม่ในที่สุด จะยิ่งทำให้ทารกเสี่ยงต่อการมีพัฒนาการช้ากว่าปกติได้
บทความที่เกี่ยวข้อง :แนะนำ ! 10 นมผงสูตร 1 สำหรับลูกน้อยวัยแรกเกิด – 1 ปี สารอาหารครบ คุณประโยชน์เน้น ๆ
เลือกนมผงสูตรไหนสลับกับการให้นมแม่ดี ?
หากคุณแม่ตัดสินใจที่จะให้นมแม่สลับกับนมผงแล้ว จะต้องเลือกนมผงให้ถูกสูตรด้วย เนื่องจากนมผงแต่ละสูตร จะอุดมไปด้วยสารอาหารในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมกับเด็กทารกในแต่ละช่วงอายุ หากเลือกผิดสูตรจะทำให้ร่างกายของลูกน้อยรับสารอาหารน้อย หรือเกินสมดุลมากเกินไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดี สำหรับสูตรที่เหมาะกับเด็กแรกเกิด คือ สูตรที่ 1 (Infant formula) ซึ่งเป็นสูตรที่สามารถให้ทารกกินได้ตั้งแต่ 0 – 6 เดือน ไม่ควรให้กินสูตรที่มากกว่านี้
เมื่อทารกมีอายุมากขึ้นในช่วง 1 ปีขึ้นไป สามารถพิจารณาเปลี่ยนสูตรนมสลับกับการให้นมแม่ได้เช่นกัน และเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะการยังคงใช้นมสูตรที่ 1 อยู่แม้ลูกจะอายุ 1 ปีแล้ว จะทำให้ทารกขาดสารอาหารที่จำเป็นบางอย่างได้ เมื่อทารกอายุครบ 1 ปี คุณแม่สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อรับคำแนะนำในการปรับจากสูตรที่ 1 มาเป็นนมผงสูตร 2 (Follow on formula) และสูตร 3 (Powdered Whole Milk)

ลูกไม่ยอมกินนมแม่ ชินกับนมผงไปแล้วทำอย่างไร ?
กรณีที่คุณแม่พลาดไปแล้วให้ลูกกินนมผงมากเกินไป แต่ยังพอมีนมแม่อยู่ แม้จะมีน้อยก็ตาม กรณีนี้ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน ด้วยการปรึกษาแพทย์เพื่อหาแนวทางที่จะให้ทารกได้รับนมแม่ผ่านช่องทางอื่น ๆ ซึ่งหากจำเป็นจริง ๆ คุณแม่อาจพิจารณาผสมนมแม่กับอาหารในแต่ละมื้อ, ผสมกับน้ำผลไม้ หรือจะลองทำเป็นไอศกรีมให้ลูกกินก็ได้ อย่างไรก็ตามหากมีวิธีอื่นที่แพทย์แนะนำก็ควรทำตามแพทย์มากกว่าการนำนมแม่มาผสมมื้อต่าง ๆ เช่นกัน ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ผสมนมแม่ลงในอาหารอื่น ๆ แล้วลูกไม่ยอมกิน นั่นคือ นมแม่เหม็นหืน สามารถแก้ได้ด้วยตนเองง่าย ๆ ดังนี้
- อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในกระบวนการปั๊มนมจะต้องดูแลให้สะอาด ล้างทุกวัน ทั้งเครื่องปั๊มนม หรือภาชนะที่ใช้จัดเก็บน้ำนมแม่
- คุณแม่หลายคนอาจใช้ถุงในการเก็บน้ำนมซึ่งเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าหากมั่นใจว่าอุปกรณ์สะอาดแล้วยังมีกลิ่น ควรเปลี่ยนมาลองเก็บในภาชนะที่เป็นแก้วแทน
- ระวังการจัดเก็บนมแม่ในตู้เย็น ถ้าเก็บไว้ในช่องน้ำแข็งไม่ควรวางชิดกับผนัง เพราะระบบละลายน้ำแข็งอัตโนมัติจะทำงาน แล้วทำให้นมแม่ละลายก่อนกลับมาแข็งตัวใหม่ ทำให้มีกลิ่นได้
- พยายามเลี่ยงพื้นที่เก็บน้ำนมแม่กับอาหารอื่น ๆ นมแม่ที่ปั๊มเอาไว้ ควรมีพื้นที่เฉพาะในการเก็บรักษา เพื่อเลี่ยงกลิ่นของอาหารทำให้นมแม่มีกลิ่นตามไปด้วย
นมแม่เป็นอาหารที่ดีต่อทารกหากให้ทารกกินนมแม่เพียงอย่างเดียว กลับกันเมื่อนำไปผสมอย่างอื่น ก็จะทำให้ประโยชน์ลดน้อยลงไปได้เช่นกัน ดังนั้นเรื่องอาหารของทารก คุณแม่ห้ามตัดสินใจเอง แต่ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนแล้วเท่านั้น
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
แนะนำ 10 นมผงสูตร 3 วิธีเลือกนมผงสำหรับเด็ก สูตรไหนเหมาะกับลูกน้อย
นมสำหรับเด็กท้องผูก ควรเลือกแบบไหน ปลอดภัยกับลำไส้ของลูกน้อย
นมผงสำหรับเด็ก 4 เดือน เลือกแบบไหน สลับกับนมแม่อย่างไรให้ดีที่สุด
ที่มา : 1, 2
มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย
ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!