ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ แบบไหนดีกว่ากัน?

ใกล้ถึงวันที่คุณแม่จะได้พบหน้าลูกน้อยแล้ว คุณแม่เลือกวิธีคลอดบุตรไว้หรือยังคะ หากคุณแม่เลือกผ่าคลอด จะมีศัพท์คำใหม่ 2 คำที่คุณแม่ควรทำความรู้จัก ได้แก่ การบล็อกหลัง และ การดมยาสลบ 2 วิธีนี้มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร มาดูกันค่ะ

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ หากคุณแม่เลือกผ่าคลอด จะมีศัพท์คำใหม่ 2 คำที่คุณแม่ควรทำความรู้จัก คือ ผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง และผ่าคลอดแบบดมยาสลบ บล็อกหลังหรือดมยา บล็อกหลัง ดมยาสลบ วางยาสลบ ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบแบบไหนดีกว่ากัน?

 

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบแบบไหนดีกว่ากัน?

การบล็อกหลัง คือการฉีดยาชาทางช่องน้ำไขสันหลัง หรือ Spinal block โดยคุณแม่จะต้องนอนขดตัวเป็นกุ้ง  เพื่อให้ช่องระหว่างกระดูกสันหลังเปิดกว้างที่สุด ก่อนที่วิสัญญีแพทย์จะฉีดยาชาเข้าไป

 

ข้อดีของการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง

1. คุณแม่ยังรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่มีความเจ็บปวด สามารถได้ยินเสียงร้อง และเห็นหน้าของลูกน้อยทันทีที่คลอด เป็นความประทับใจที่คุณแม่ทุกคนอยากจะได้รับความรู้สึกของวินาทีแรกนี้

2. เจ็บแผลหลังผ่าตัดน้อยกว่าการดมยาสลบ เนื่องจากฤทธิ์ของยาชาจะไปกดระบบประสาททำให้คุณแม่ไม่เจ็บแผลในทันที

 

ข้อเสียของการผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง

1. คุณแม่จะยังขยับขาไม่ได้หลังผ่าตัด 2-4 ชั่วโมง ซึ่งคุณแม่อาจรู้สึกรำคาญ เหมือนว่าขาหายไป

2. ปัสสาวะไม่ออก ซึ่งเป็นอาการข้างเคียงที่จะเกิดใน 12 ชั่วโมงแรก คุณแม่จึงมักจะได้รับการสวนสายปัสสาวะช่วยค่ะ

3. อาจปวดหลัง หรือเมื่อยหลัง ในช่วงวันแรก

การดมยาสลบ คือการฉีดยานำสลบเข้าไปในหลอดเลือดดำ และให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อทั่วร่างกายให้เป็นอัมพาต โดยวิสัญญีแพทย์อาจให้ยาแก้ปวด ยาดมสลบในรูปของไอระเหยร่วมด้วย จากนั้นจะสอดท่อช่วยหายใจทางปาก เข้าไปในหลอดลม เพื่อช่วยการหายใจระหว่างผ่าตัด เมื่อสิ้นสุดการผ่าตัดคุณแม่จะค่อยๆ ฟื้นคืนสติ และเริ่มหายใจได้เอง วิสัญญีแพทย์จึงค่อยถอดท่อช่วยหายใจออก

 

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ หากคุณแม่เลือกผ่าคลอด จะมีศัพท์คำใหม่ 2 คำที่คุณแม่ควรทำความรู้จัก คือ ผ่าคลอดแบบบล็อกหลัง และผ่าคลอดแบบดมยาสลบ

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบแบบไหนดี

ข้อดีของการผ่าคลอดแบบดมยาสลบ

1. คุณแม่ไม่ต้องรับรู้ต่อเหตุการณ์ต่างๆ ในห้องผ่าตัด เหมาะสำหรับคุณแม่ที่กลัวการผ่าตัด เพราะจะไม่รู้สึกตัวเลยขณะที่แพทย์ทำการผ่าคลอดค่ะ

2. วิสัญญีแพทย์สามารถควบคุมการหายใจ และระบบไหลเวียนของคุณแม่ได้อย่างเหมาะสม

ข้อเสียของการผ่าคลอดแบบวางยาสลบ

ข้อเสียของการผ่าคลอดโดยการวางยาสลบจะมีมากกว่าการผ่าคลอดโดยการบล็อคหลัง เนื่องจากการใช้ยาหลายตัว และมีกรรมวิธีเยอะ จึงมักมีผลข้างเคียง แต่ไม่อันตราย และไม่นานก็สามารถหายได้เองค่ะ โดยการอาการที่พบบ่อย ได้แก่

1. คุณแม่อาจเจ็บคอ ระคายคอ เสียงแหบ ไอ ซึ่งเป็นผลจากการสอดใส่ท่อช่วยหายใจผ่านเข้าไปในหลอดลม อาการนี้อาจพบได้ในบางราย และจะสามารถหายได้เองภายใน 24-48 ชม.

2. คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน มึนงง เบลอในช่วงพักฟื้นหลังการผ่าตัด อันเป็นผลจากยาแก้ปวด และยาดมสลบ

3. ปวดแผลมากกว่าการผ่าคลอดโดยการบล็อกหลัง เนื่องจากยาสลบจะไปกดสมองไม่ให้รับรู้ความเจ็บปวด แต่ระบบประสาท ไขสันหลังยังทำงานอยู่ ทำให้เมื่อหมดฤทธิ์ยาสลบจะรู้สึกปวดแผลมาก

4. ในบางรายยาสลบอาจส่งผลถึงลูกน้อยได้รับยาสลบไปด้วย ทำให้การประเมินหลังคลอดทำได้ช้ากว่าปกติค่ะ

อย่างไรก็ดี ในบางรายคุณหมอจะเป็นผู้ประเมินความเสี่ยง เพื่อเลือกวิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่และลูกน้อยค่ะ

 

ทั้งนี้ แม่ผ่าคลอดอาจเป็นห่วงลูกที่อาจมีระบบภูมิต้านทานพัฒนาล่าช้า เพราะไม่ได้รับโพรไบโอติกที่เป็นจุลินทรีย์สุขภาพจากช่องคลอดของแม่ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะสามารถเร่งคืนภูมิต้านทานให้ลูกได้ด้วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะนมแม่มีองค์ประกอบของโพรไบโอติกและพรีไบโอติก การให้นมแม่จึงมีความสำคัญยิ่ง ในกรณีคุณแม่ไม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ควรปรึกษาแพทย์ในการเลือกโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อเร่งคืนภูมิต้านทานให้กับลูกน้อย

 

ถ้าหากคุณเป็นคุณแม่สายโซเชียล ชอบเล่น Facebook หาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต ขอเชิญมาร่วม join กรุ๊ป เพื่อบอกเล่าประสบการณ์ต่างๆ ใน คลับแม่ผ่าคลอด (C Section Club) กันได้นะคะ

ผ่าคลอดแบบบล็อกหลังหรือดมยาสลบ แบบไหนดีกว่ากัน?

เคลียร์ทุกข้อสงสัย เจาะลึกทุกประเด็นของคุณแม่ผ่าคลอด  ค้นหาคำตอบกันได้ที่ “คลับแม่ผ่าคลอด” คลิก!!https://bit.ly/32T4NsU

 

 

บทความที่น่าสนใจอื่นๆ 

สิ่งที่แม่มักบ่นเกี่ยวกับการบล็อกหลัง

ผ่าคลอดเป็นอย่างไร – ประสบการณ์ของคุณแม่มือใหม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!