สาเหตุที่เป็น ก็เพราะ ตอนเริ่มแรกหัดเดิน น้องใช้รถหัดเดินตลอด จนเริ่มเดินได้ ก็เห็นความผิดปกติ เพราะเห็นน้องเขย่งเท้าเดิน จนปรึกษาหมอ หมอเลยบอกให้เลิกใช้ เพราะการใช้รถหัดเดินทำให้น้องใช้เท้าลงไม่สุด แต่พอเลิกใช้น้องก็ยังไม่หาย แต่ก็ไม่เอะใจอะไร เพราะใครเห็นก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าเดี๋ยวก็หาย คนเป็นแม่ก็คิดมาตลอด เพราะ ลูกเรานี้เดินก็เขย่ง ยืนเฉย ๆ ก็เขย่ง นั่งยอง ๆ ก็ไม่ได้ หงายหลังนั่งตลอด เดินแบบปกติเท้าติดผื้นนี้นับครั้งได้เลย
จนมาวันนี้ไปหาคุณหมอเพราะเริ่มไม่ไหว แล้วผลสรุปก็คือ เส้นเอ็นร้อยหวายน้องสั้น เกิดจาก การเดินเขย่งมานาน ทำให้เส้นเอ็นยึดหรือคดตัวนั่นเอง จนต้องทำกายภาพบำบัดทุกวันตั้งแต่วันนี้เลย แล้วถ้าอีก 3 เดือนน้องยังไม่ดีขึ้น ก็ต้องผ่าตัดยืดเส้นเอ็น เพื่อให้น้องเดินได้แบบปกติ
อยากเตือนแม่ๆ บางเรื่องเราฟังเค้ามา เราอาจมองว่าไม่เป็นไร แต่ถ้าปล่อยไว้นาน อาจจะเป็นมากกว่านี้ ใครที่มีลูกเป็นอยู่ สังเกตน้องแล้วสอบถามหมอบ่อยๆนะคะ อยากเอามาแชร์ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อแม่ ๆ อีกอย่างนะคะ ตัวที่นั่งแล้วเด้ง ๆ ก็มีส่วนด้วยนะคะ”
คุณพ่อคุณแม่คะ จริงอยู่ที่คุณพ่อคุณแม่ อาจจะเกิดข้อโตเถียงในใจว่า ลูกหลานของเราใช้ แต่ไม่เห็นจะเป็นอะไร ซึ่งวัตถุประสงค์ที่คุณแม่ท่านนี้ต้องการนำเสนอก็คือ ต้องการให้ช่วยกันเฝ้าสังเกตอาการของลูกให้ดี หากมีพฤติกรรมที่แปลกไป อย่านิ่งนอนใจ ให้รีบหาสาเหต และแก้ไขให้เร็วที่สุด
อย่างไรก็ดี ได้มีศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัย และป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เก็บข้อมูลการใช้ผลิตภัณฑ์ทารก 12 ชนิด ในครอบครัวที่มีลูกอายุไม่เกิน 2 ขวบ ได้แก่ กรุ๊งกริ๊ง หัวนมหลอก รถเข็นเด็ก ยางกัด เตียงเด็ก เปลคอก เปลไกว รถพยุงตัว (หัดเดิน) เก้าอี้สูง เก้าอี้นั่งโยก เก้าอี้กระโดด และเป้อุ้มเด็ก พบสิ่งที่น่าตกใจว่า ในจำนวนเด็ก 245 ราย มีเด็กบาดเจ็บจากการใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถึง 82 ราย โดยบาดเจ็บจากรถหัดเดินสูงสุดถึง 47 ราย ตามติดด้วยของเล่นยอดฮิตในเด็กทารก “กรุ๊งกริ๊ง” (24ราย) เปลไกว (20ราย) รถเข็นเด็ก (10ราย) และอื่นๆ ตามลำดับ
สมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ประกาศเตือนบรรดาผู้ปกครองให้เลิกใช้รถหัดเดินสำหรับเด็กเป็นการถาวร โดยระบุว่า รถหัดเดิน (Baby walker) ก่อให้เกิดความเสี่ยงในอันที่เด็กจะได้รับ บาดเจ็บ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ถึงแม้ว่าบริษัทผู้ผลิตได้พยายามออกแบบรถหัดเดินใหม่ เพื่อป้องกันรถหัด เดินล้มคว่ำหรือเด็กไถรถหัดเดินจนตกบันได ยิ่งไปกว่านั้น ทางสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ ระบุว่า ยังไม่มีหลักฐานประกอบแน่ชัดที่รับรองว่า รถหัดเดินมีประโยชน์ต่อพัฒนาการเด็กอย่างแท้จริง ในสหรัฐอเมริกาพบว่า เด็กบาดเจ็บจากรถหัดเดินต้องมารับการรักษาในห้องฉุกเฉินปีละกว่า 29,000 ราย เลยทีเดียว ซึ่งในประเทศแคนาดา ออสเตรเลีย และขณะนี้บางรัฐในสหรัฐอเมริกาได้มีกฎหมายห้าม มิให้จำหน่ายรถหัดเดินแล้ว ขณะที่บางรัฐยังคงให้จำหน่ายได้ แต่ต้องมีคำเตือนอันตรายแก่ผู้ซื้อ
ที่มา: “HerKid รวมพลคนเห่อลูก”https://www.oknation.net/blog/ChudSiang/2011/07/04/entry-2