X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไร

บทความ 5 นาที
ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไรฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไร

ลูกฟันน้ำนมหักทำอย่างไรดี แล้วเมื่อไหร่ฟันแท้จะขึ้น หรือว่าลูกจะฟันหลอตลอดไป มาดูกัน!

ฟันน้ำนมหัก เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กหลาย ๆ คน บางคนอาจเกิดจากการดูแลสุขภาพช่องปากไม่เพียงพอ หรือเกิดจากอุบัติเหตุที่ทำให้ฟันหักก่อนถึงเวลาอันควร มาดูกันดีกว่า หากฟันน้ำนมหัก แล้วฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่ และการดูแลฟันน้ำนมให้อยู่จนกว่าฟันแท้จะขึ้นมีวิธีอย่างไรบ้าง?

 

ฟันน้ำนม จะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่?

โดยปกติแล้ว ฟันของลูกน้อยของเราจะเริ่มขึ้นเมื่อพวกเขาอายุประมาณ 6 เดือน ฟันซี่แรกที่ขึ้นมักจะเป็นฟันหน้าตรงกลางด้านบน และฟันหน้าด้านล่าง และจะเริ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะขึ้นเป็นแบบขึ้นต่อด้านข้างไปเรื่อย ๆ โดยฟันน้ำนมของเด็กจะมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะขึ้นครบเมื่อทารกอายุประมาณ 2 ขวบครึ่ง

บทความที่น่าสนใจ : สัญญาณที่บอกว่าฟันลูกกำลังจะขึ้น ฟันซี่แรก วิธีดูแลรักษาฟันซี่แรก

 

ฟันน้ำนมหัก 1

 

ฟันน้ำนมกับฟันแท้ แตกต่างกันอย่างไร

ฟันน้ำนมคือฟันที่ขึ้นก่อน ทารกในช่วงวัย 6 เดือนถึงอายุ 6 ปี และฟันแท้จะเริ่มขึ้นตามมาหลังจากที่ฟันน้ำนมหลุดออกไป โดยฟันแท้นั้นจะมีลักษณธที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งฟันแท้กับฟันนั้นนมแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

 

  • ปริมาณ

วิธีที่ง่ายที่สุดในการแยกระหว่างฟันน้ำนมและฟันแท้คือจำนวนของฟัน โดยฟันน้ำนมจะมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะเริ่มขึ้นเมื่ออายุประมาณ 6 เดือน แต่ฟันแท้มีทั้งหมด 32 ซี่

 

  • ขนาด และรูปร่าง

ฟันน้ำนมจะมีขนาดที่เล็กกว่าฟันแท้ โดยที่ฟันน้ำนมจะมีขอบกัดที่แบนกว่า และจะมีขนาดเล็ก เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมากกว่า ส่วนฟันแท้จะมีขนาดที่ใหญ่กว่า และมีขอบกัดที่โค้งมนมากกว่า นอกจากนี้ส่วนของฟันกรามแท้มักจะมีร่องลึก และมีพื้นที่สัมผัสในการเคี้ยวที่มากกว่า ส่วนของฟันน้ำนมจะมีร่องฟันที่ตื้นกว่านั่นเอง

 

  • ความแข็งแรง

ฟันแท้จะแข็งแรง และทนทานกว่าฟันน้ำนม สาเหตุหลักมาจากฟันแท้มีชั้นเคลือบฟันที่หนากว่า ซึ่งทำให้ทนทานต่อฟันผุได้มากกว่าฟันน้ำนม ทั้งนี้ฟันน้ำนมนั้นจะมีชั้นเคลือบที่บางกว่าจึงมีความอ่อนไหวต่อการแตกสลายจากการสัมผัสกับกรด หรือแบคทีเรีย โดยชั้นเคลือบของฟันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

    • ชั้นเคลือบฟัน (Enamel) เป็นชั้นเคลือบฟันชั้นนอกสีขาวที่สามารถมองเห็นได้ มีพื้นผิวที่แข็งแรงช่วยปกป้องชั้นฟันด้านในจากความเสียหายจากการที่ฟัน หรือการบาดเจ็บ
    • ชั้นเนื้อฟัน (Dentin) เป็นชั้นฟังที่อยู่ตรงกลาง มีลักษณะคล้ายกับเนื้อเยื่อของกระดูกมากที่สุด เนื้อฟันประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของฟัน มีท่อเล็ก ๆ หลายล้านท่อเชื่อมต่อกันกับระบบประสาทของฟัน
    • ชั้นประสาทฟัน (Pulp) เป็นชั้นแกนของฟันที่อยู่ด้านในสุด โดยเป็นแหล่งรวบรวมของเส้นประสาททั้งหลายในฟันแต่ละซีกมารวมกันไว้ ซึ่งถ้าหากได้รับความเสียหายอาจจะต้องใช้เวลารักษานานกว่าฟันชั้นอื่น หรืออาจจะต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด

 

ฟันน้ำนมหัก 6

 

  • สีของฟัน

โดยทั่วไปแล้ว ฟันน้ำนมจะมีสีที่ขาวกว่าฟันแท้ ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้ง่าย ๆ ในช่วงของที่ลูกน้อยของคุณมีฟันผุ หรือมีฟันแท้ขึ้นข้างกับฟันน้ำนมที่ยังคงอยู่รอการหลุด ซึ่งจะแสดงให้เห็นสีที่แตกต่างอย่างชัดเจน

 

  • วัตถุประสงค์

ฟันน้ำนมและฟันแท้นั้นมีจุดประสงค์ หรือหน้าที่ที่แตกต่างกันมาก แม้ว่าจะถูกใช้ในการบดเคี้ยวอาหารและช่วยให้ลูกน้อยของคุณเปล่งเสียได้อย่างชัดเจนก็ตาม แต่ฟันแต่ละชนิดนั้นก็มีบทบาทหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้

    • บทบาทของฟันน้ำนม

โดยพื้นฐานแล้วฟันน้ำนมจะทำหน้าที่เป็นตัวยึดโดยรักษาระยะห่างที่ถูกต้องในกรามของลูกน้อยของคุณ เพื่อให้ฟันแท้ที่จะขึ้นมานั้นสามารถขึ้นมาได้อย่างถูกตำแหน่ง และเมื่อฟันแท้กำลังจะขึ้น รากของฟันน้ำนมจะเริ่มสลายและทำให้ฟันน้ำนมหักหรือหลุดในที่สุด

    • บทบาทของฟันแท้

ฟันแท้มีบทบาทที่สำคัญคือทำให้ฟันแข็งแรงมากขึ้น และขนาดที่ใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้การบดเคี้ยวอาหารของคุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงต่อระบบการทำงานในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย อาทิ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่าย เป็นต้น

บทความที่น่าสนใจ : เลือดออกตามไรฟัน ต้องทำอย่างไรเมื่อ ลูกมีเลือดออกตามไรฟัน

 

ฟันน้ำนมหัก 2

 

ฟันน้ำนมหัก ควรทำอย่างไรดี?

อย่างแรกที่คุณต้องเช็กให้แน่ใจก่อนว่า ฟันของลูกน้อยของคุณที่หักนั้นเป็นฟันน้ำนม และจำไว้เสมอว่าฟันน้ำนมไม่ใช่ฟันแท้ ดังนั้นฟันของลูกของคุณจะงอกขึ้นมาใหม่หลังจากที่ฟันนั้นหายไป หากคุณไม่สบายใจสามารถพาลูกน้อยของคุณไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าไม่มีความเสียหายเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้เลือกรักษาอย่างเหมาะสมและอธิบายทางเลือกต่าง ๆ หลังจากได้ทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นฟันน้ำนม หรือฟันแท้หัก หรือหลุดหลายไป และพวกเขามีอาการปวดให้รีบพาไปพบทันตแพทย์ในทันที

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
การสูญเสียการได้ยิน ปัญหาเร่งด่วน ที่รับมือได้ตั้งแต่แรกเกิด แต่เด็กไทย อาจได้รู้เมื่อสายเกินไป
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
วิธีรับมือเมื่อเด็กทารกท้องเสีย และการป้องกันเบื้องต้น ที่แม่ต้องรู้
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง
ให้มากกว่าวิตามินซี แพทย์แนะนำ Black Elderberry Nigra 'เสริมภูมิคุ้มกัน ป้องกันไวรัส' มีงานวิจัยรับรอง

บทความที่น่าสนใจ : ฟันของลูกจะขึ้นตอนไหน ฟันน้ำนม ฟันกระต่าย ฟันกราม ซี่ไหนขึ้นเมื่อไหร่

 

ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่?

จากที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับฟันน้ำนม จะพบว่าฟันน้ำนมจะมีทั้งหมด 20 ซี่ และจะถูกแทนที่ด้วยฟันแท้ หรือฟันผู้ใหญ่ 32 ซี่ โดยลูกน้อยของคุณจะเริ่มสูญเสียฟันน้ำนมในช่วงอายุประมาณ 6 ขวบ ซึ่งฟันซี่แรกที่มักจะเป็นฟันซี่แรกที่หลุดออกคือ ฟันกรามตรงกลางนั่นเอง และฟันของพวกเขาจะเริ่มหลุดออกเรื่อย ๆ จนถึงซี่สุดท้ายที่จะเป็นฟันกรามด้านล่างตอนอายุประมาณ 12 ปี ทั้งนี้การหลุดของฟันน้ำนมของเด็กแต่ละคนก็ใช้ระยะเวลาที่แตกต่างกันออกไป เด็กบางคนอาจมีฟันน้ำนมจนถึงอายุ 20-30 กว่าปีหรือจนกว่าฟันน้ำนมจะหลุดเลยก็เป็นไปได้เช่นเดียวกัน

 

ฟันน้ำนมหัก 3

 

วิธีดูแลฟันน้ำนม ต้องทำอย่างไรบ้าง

ฟันน้ำนมนั้นไม่ได้มีความแข็งแรงเทียบเท่ากับฟันแท้ ดังนั้นฟันน้ำนมสามารถเริ่มผุได้ทันทีหลังจากที่เกิดปฏิกิริยาบางอย่างขึ้นภายในช่องปาก การที่ลูกน้อยของคุณดื่มน้ำหวานบ่อยครั้งก็สามารถทำลายฟันได้ โดยคุณสามารถดูแลฟันน้ำนมของลูกน้อยของคุณได้ดังต่อไปนี้

 

  • เด็กอายุน้อยกว่า 18 เดือน

ทารกที่ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ หรือวัยเด็กเกินกว่าที่จะสามารถรับผิดชอบในการดูแลรักษาฟันของตนเองได้คุณพ่อคุณแม่จึงเป็นปัจจัยหลักในการช่วยดูแลฟันน้ำนมของพวกเขา คุณควรเช็ดเหงือกของทารกด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำ หรือผ้าก๊อซที่สะอาดหลังป้อนอาหารทุกครั้ง และคุณสามารถเริ่มแปรงฟันให้พวกเขาได้เมื่อฟันของพวกเขาเริ่มขึ้น แต่ควรเลือกแปรงที่มีขนนุ่มและเหมาะสำหรับเด็กเล็ก

 

  • เด็กอายุมากกว่า 18 เดือน

วัยที่พวกเขาจะเริ่มเข้าใจและวิธีการในการดูแลช่องปาก และพวกเขาควรได้รับการดูแล และคำแนะนำจากผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลขณะทำความสะอาดฟัน โดยเด็ก ๆ สามารถเริ่มใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ต่ำ หรือในปริมาณที่เหมาะสมกับเด็กได้ในปริมาณเท่าเมล็ดถั่ว และถ้าเป็นไปได้ไม่ควรสอนให้เด็ก ๆ กลืนยาสีฟันนั้นเข้าไป ควรบอกให้พวกเขาบ้วนปากหลังจากแปรงฟันเสร็จทุกครั้ง

 

วิธีดูแลฟันน้ำนม ต้องทำอย่างไรบ้าง

 

นอกจากที่คุณสามารถช่วยลูกน้อยของคุณในการทำความสะอาด หรือสอนให้พวกเขาแปรงฟันด้วยตนเองได้แล้ว การลดความเสี่ยงของฟันผุจากต้นเหตุนั้นก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นเดียว โดยคุณสามารถลดความเสี่ยงฟันผุของเด็ก ๆ ได้ ดังต่อไปนี้

  • อย่าให้ลูกน้อยของคุณหลับไปพร้อมกับขวดนมที่บรรจุนม น้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสหวาน ลูกอม ลูกกวาด
  • ทำความสะอาดจุกนม หรือจุกหลอกก่อนทุกครั้งที่จะส่งให้กับทารก
  • พาลูกน้อยของคุณไปพบทันตแพทย์ทุก ๆ 12 เดือน

 

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของฟันน้ำนมหรือฟันแท้กันไปแล้ว การที่ฟันน้ำนมของลูกน้อยของเราหักนั้นเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ถ้าสาเหตุการหักมาจากที่ฟันผุก็ควรที่จะไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษานะคะ เพราะว่าอาจส่งผลต่อการขึ้นของฟัน และการออกเสียงของทารกได้ ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องสุขภาพของลูกน้อยให้เป็นอย่างดี เพื่อให้ฟันของพวกเขาขึ้นตรงสวยงามและให้ไม่เกิดฟันผุนะคะ

 

บทความที่น่าสนใจ :

5 ยาสีฟันเด็ก ที่ดีที่สุด ปลอดภัยสำหรับลูกน้อยของคุณ

ฟันผุในเด็ก ฝันร้ายของเด็ก ๆ ที่ไม่อยากไปหาหมอฟันอีกเลย

ฝันว่าฟันหลุด ฝันว่าฟันหัก ฝันว่าฟันหลุดหมดปาก แปลว่าอะไร?

ที่มา : 1, 2, 3, 4

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Siriluck Chanakit

  • หน้าแรก
  • /
  • สุขภาพ
  • /
  • ฟันน้ำนมหัก ฟันแท้จะขึ้นเมื่อไหร่? ฟันน้ำนมต้องดูแลอย่างไร
แชร์ :
  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

  • ประจำเดือน และ 20 ข้อควรรู้ เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

    ประจำเดือน และ 20 ข้อควรรู้ เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

app info
get app banner
  • 7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

    7 วิธีทำให้ประจำเดือนมา ง่าย ๆ ทำได้เองที่บ้าน ปลอดภัยหายห่วง

  • อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

    อาการเมนจะมา มีอะไรบ้าง แบบไหนรุนแรง ต่างจากอาการคนท้องอย่างไร ?

  • ประจำเดือน และ 20 ข้อควรรู้ เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

    ประจำเดือน และ 20 ข้อควรรู้ เช็กเลยว่าอาการไหนคือความผิดปกติ!

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ