ท่านอนทารก 100 สิ่งที่คุณแม่หลังคลอดต้องรู้ ตอนที่ 64

อาการเสียชีวิตกะทันหันของทารก หรือ Sudden Infant Death Syndrome นั้นเป็นภัยเงียบที่สามารถ คร่าชีวิตลูกน้อย มากกว่าสามพันคนต่อปี โดยหนึ่งในสาเหตุของการเสียชีวิตกะทันหันนี้ มาจากท่านอนของทารก ซึ่งเราจะสามารถทราบได้อย่างไรว่า ท่านอนทารก แบบไหน ที่จะปลอดภัยกับลูกน้อยของเรามากที่สุด การเข้าใจถึงการจัดท่านอนให้กับทารกนั้น นอกจากจะช่วยเรื่องความปลอดภัย สุขภาพให้กับตัวทารกเองแล้ว ยังส่งผลถึงการจัดรูปทรงศีรษะของเด็ก ให้ทุยสวยได้อีกด้วย เพราะในระยะนี้กระดูกของทารกยังบอบบาง เราเองก็สามารถจัดรูปได้ของศีรษะลูกได้ด้วยการนอนค่ะ

 

ท่านอนทารกแรกเกิด – 1 ปี

 

ตอนที่ 64 ท่านอนทารก

 

1. ท่านอนหงาย

ทารกแรกเกิด ควรจะนอนในท่าหงาย ไม่ว่าจะเป็นการนอนกลางวันในช่วงสั้น ๆ หรือช่วงเวลากลางคืนก็ตาม การนอนหงาย จะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคไหลตายในทารก (SIDS) ได้เป็นอย่างดี เพราะท่านี้ จะช่วยให้ระบบทางเดินหายใจของทารก ทำงานได้สะดวก ข้อเสียเพียงอย่างเดียวของทารกที่นอนหงาย คือ อาจทำให้ทารกหัวเบี้ยว หัวแบนได้ อย่างไรก็ตาม อาการหัวเบี้ยวหัวแบน จะกลับมาเป็นปกติเมื่ออายุ 1 ขวบ แต่อาการนี้ คุณแม่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดศีรษะทารกให้สลับด้านบ่อย ๆ ระหว่างหลับ

 

2. ท่านอนคว่ำ

ความอันตรายของการนอนคว่ำนั้น คือ ทารกอาจขาดอากาศหายใจ จนทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากท่านอนที่กดบริเวณกราม จะทำให้ไปปิดอากาศที่จะเข้าไปในร่างกาย โดยเฉพาะทารก ที่นอนในที่นอนที่นิ่มจนเกินไป จะทำให้ทารกหายใจไม่ออกได้ นอกจากนี้ การนอนคว่ำ จมูกของทารกจะอยู่แนบชิดกับเตียงนอน ที่อาจจะมีฝุ่น หรือเชื้อโรคเกาะอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้ทารกต้องหายใจนำฝุ่นเข้าสู่ร่างกายได้ ซึ่งสิ่งนี้อาจะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้ในเด็กได้

สำหรับทารกบางคน ที่มี กรดไหลย้อนรุนแรง หรือมีความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ แพทย์บางคนอาจพิจารณาว่า การนอนคว่ำในเด็กที่มีโรคนี้อาจอันตรายน้อยกว่า เนื่องจากเด็กอาจจะอาเจียนขณะนอนหลับ จนทำให้สำลักได้ และไม่มีแรงพอที่จะหันคอเพื่อหายใจ อย่างไรก็ตาม แพทย์จะพิจารณาถึงข้อดี – ข้อเสีย และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น หากให้ทารกนอนคว่ำ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนนะคะ

 

ตอนที่ 64 ท่านอนทารก

 

3. ท่านอนตะแคง

การให้ลูกนอนตะแคงนั้นอาจมีความอันตรายไม่ต่างจากท่านอนคว่ำ เพราะเมื่อลูกอยู่ในวัยที่สามารถพลิกคว่ำได้แล้ว จะทำให้ลูกพลิกไปนอนในท่านอนคว่ำได้ และหากกล้ามเนื้อคอยังไม่แข็งแรงพอที่จะหันไปมา หรือหันคอไปด้านข้างได้ จะทำให้ลูกหน้าคว่ำ จนขาดอากาศหายใจได้

  • เด็กแรกเกิด – 4 เดือน ควรนอนตะแคง หรือนอนหงาย ท่านอนตะแคง และนอนหงาย เป็นท่าที่เหมาะกับพัฒนาการของกล้ามเนื้อบริเวณลำคอที่ยังไม่ค่อยแข็งแรง แม้จะทำได้เพียงหันซ้าย และขวา ก็ทำให้เด็กสามารถมองเห็นสิ่งแวดล้อมรอบตัว และฝึกการมองได้
  • เด็กวัย 5 – 6 เดือน สามารถนอนคว่ำได้ และเด็กยกคอได้แล้ว เพราะกระดูกคอเริ่มแข็ง แต่ยังคงต้องเฝ้าดู อย่างใกล้ชิดตลอดเวลา เพราะอาจเกิดการคว่ำหน้า และอุดกลั้นการหายใจได้ ทางที่ดี ควรที่จะหลีกเลี่ยงจะดีที่สุดค่ะ
  • เด็กวัย 7 – 12 เดือน สามารถนอนได้ทุกท่า เพราะเด็กพลิกตัวด้วยตนเองได้แล้ว แต่ในขณะเดียวกัน ตัวคุณแม่ และคุณพ่อเอง ก็ควรที่จะดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะขึ้นชื่อว่าเด็กเล็ก ความสามารถ ในการประคองตัว ก็จะเป็นไปได้อยากกว่าที่เราคาดไว้ค่ะ

 

ตอนที่ 64 ท่านอนทารก

 

นอกจากจัดท่านอนที่เหมาะสมแล้ว ที่นอนก็ต้องปลอดภัย โดยมีข้อควรระวัง ดังนี้

  • แยกที่นอนมาอยู่ด้านข้างผู้ใหญ่ ด้วยระยะห่างประมาณเอื้อมมือถึง
  • ไม่นอนระหว่างผู้ใหญ่ หรือติดชิดกับผู้ใหญ่ เพราะอาจเผลอนอนเบียด หรือทับเด็กจนหายใจไม่ออก หรือโดนผ้าห่ม หมอนของพ่อแม่ทับเด็กโดยไม่รู้ตัว
  • ที่นอนเด็กควรสูงประมาณ 2 ฟุต และไม่นิ่มจนเกินไป
  • หากจำเป็นต้องนอนด้วยเตียงนอน ควรมีที่กั้นกันตก รั้วขอบของเตียง ต้องมีระยะห่างของซี่รั้วน้อยกว่า 15 เซนติเมตร
  • ขนาดที่นอน ต้องพอดีกับเตียง เพื่อไม่ให้มีช่อง เพราะศีรษะของลูก อาจไปติดซี่รั้วของขอบเตียงได้

ที่สำคัญ คุณแม่ต้องสังเกตตัวเด็กและสภาพสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็กอยู่เสมอ เช่น บนที่นอนของเด็กจะต้องไม่มีอะไรที่จะมาปิดหน้าได้ระหว่างที่นอนหลับอยู่ โดยเฉพาะเด็กที่มีนิสัยชอบคว้าสิ่งของรอบตัว เช่น ผ้าห่ม หมอน หรือตุ๊กตา เพราะอาจปิดทับจมูก ทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก นอกจากนั้นแล้ว คุณแม่ไม่ควรนั่งอุ้มจนทารกหลับเพราะอาจจะเผลอปล่อยเด็กออกจากมือ ทำให้ตกลงมาได้ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่คุณแม่ต้องใส่ใจ จัดท่านอนถูกวิธี ทารกแรกเกิด – 1 ปี จะได้ปลอดภัย ห่างไกลอันตรายที่เกิดขึ้นได้แม้เพียงเสี้ยววินาที

 

นอกจากท่านอนของลูกน้อยของคุณจะสำหัญแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือหมอนสำหรับเด็ก เพระาศีรษะของเด็กนั้นเปราะบางเป็นอย่างมากในช่วงแรกเกิด จึงสามารถทำให้รูปทรงของศรีษะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา รวมถึงการที่ลูกของคุณมีโอกาสหัวแบนได้หากนอนหมอนที่ไม่ถูกต้อง และมีการวางไว้บนพื้นที่แข็งหรือเรียบแบนเกินไป ซึ่งเราของเสนอ Mama’s Choice Flat Head Prevention Pillow หมอนหัวทุย หมอนเด็กแรกเกิด รักษาสรีระศีรษะ ลดการกดทับ โดยมีราละเอียดังต่อไปนี้

  • ทำไม Mama’s Choice Flat Head Prevention Pillow ถึงพิเศษกว่าแบรนด์อื่นๆ
  • ช่วยรักษารูปทรงศีรษะของทารกอย่างเป็นธรรมชาติ
  • ทำจากออร์แกนิคเมมโมรี่โฟม 100%
  • หนา 3 ซม. พร้อมชั้นระบายอากาศสามชั้น
  • วัสดุด้านนอกเป็นผ้าฝ้ายนุ่ม ให้ความรู้สึกนุ่มสบาย
  • ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ของเด็กทารก
  • สามารถนอนหงายและเอียงได้
  • เหมาะสำหรับเด็กทารกอายุ 0-12 เดือน

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

7 หมอนหัวทุยที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย ซื้อไว้ติดบ้าน หายห่วงเรื่องลูกหัวแบน

10 หมอนเด็ก ยี่ห้อไหนดี? ปี 2023 คุณแม่สายซื้อออนไลน์ไม่ควรพลาด

ลูกหัวแบน ลูกหัวเบี้ยว มีวิธีรักษาหรือเปล่า โตขึ้นจะหายได้ไหม

ที่มา : happymom , amarinbabyandkids

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!