แม่ท้องรีบอ่าน ! เมื่อ ลูกดิ้นน้อยลง เมื่อไหร่ที่ควรกังวล แบบไหนที่ควรระวัง

ชวนคุณแม่มาไขข้อสงสัย เมื่อ ลูกดิ้นน้อยลง แม่ท้องควรทำอย่างไร มีเรื่องอะไรบ้างที่แม่ต้องควรต้องสังเกตหรือใส่ใจเป็นพิเศษบ้าง มาดูไปพร้อม ๆ กันเลยค่ะ ว่าสาเหตุใดบ้างที่ทำให้ลูกดิ้นน้อยลง พร้อมวิธีสังเกตลักษณะของการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์

 

เมื่อลูกดิ้นน้อยลง คุณแม่ควรทำอย่างไร

ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 16 เป็นต้นมา คุณแม่หลายท่านเริ่มรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์แล้วใช่ไหมคะ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คุณแม่ควรทำอยู่สม่ำเสมอคือ การนับการดิ้นของทารก การดิ้นของทารกเป็นสัญญาณที่ดีที่บอกได้ว่า ลูกเป็นปกติ หรือ ลูกสุขภาพแข็งแรง แล้วถ้าหากลูกดิ้นน้อยลงล่ะ  แบบไหนที่เราควรกังวลกันนะ ? พวกเราทีม theAsianparent จึงรวบรวมข้อมูลสำคัญ ในการเช็กว่าสุขภาพครรภ์เบื้องต้นสำหรับคุณแม่มาฝากกันค่ะ

 

ลูกดิ้นน้อยลง

 

ลูกดิ้นน้อยลง : ลักษณะที่คุณแม่ไม่ต้องกังวล

นี่คือตัวอย่างเบื้องต้นที่คุณแม่ไม่ต้องกังวล ตราบที่คุณแม่นับการดิ้นของลูก ได้ 10 ครั้ง/ชั่วโมง

 

  • ลูกดิ้นช้า ( delayed movement )

ทารกในครรภ์แต่ละคน ย่อมมีความแตกต่างกันไป ทารกบางคนดิ้นตั้งแต่อายุ 16 สัปดาห์ ในขณะบางคนมีเวลาเป็นของตนเอง ในระหว่างสัปดาห์ที่ 16- 24 แน่นอนว่ามีอะไรมาให้คุณแม่ได้ลุ้นอยู่ตลอดเวลาเลยค่ะ 

ตราบใดที่คุณแม่ไปฝากครรภ์กับคุณหมออย่างสม่ำเสมอ ก็ยังไม่ต้องกังวลนะคะ หากลูกดิ้นช้ากว่าปกติ เว้นเสียแต่ว่า หากเลยสัปดาห์ที่ 24 แล้ว ลูกยังไม่มีการเคลื่อนไหว ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วนเลยค่ะ

 

  • คุณแม่ไม่ได้ทานอะไรระหว่างวัน ( mum hasn’t had anything to eat during the day) 

บางครั้งคุณแม่อาจสังเกตได้ว่า ลูกอาจจะไม่ค่อยดิ้น หากคุณแม่ไม่มีอาการตกถึงท้องในช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อคุณแม่ท้องว่าง ลูกก็จะไม่มีอาหารเช่นเดียวกัน

สิ่งแรกที่คุณหมอจะบอกคุณแม่ตั้งครรภ์ หากเธอกังวลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของลูก คือ ให้คุณแม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีรสหวาน เช่น น้ำส้ม หรือ น้ำแอปเปิ้ล เมื่อลูกได้รับน้ำตาลจากสารอาหารเหล่านี้ หลังจากนั้น 30นาที คุณจะรู้สึกว่า ลูกกำลังเคลื่อนไหวอีกครั้ง

อย่างไรก็ตาม คุณแม่ไม่ควรปล่อยให้ท้องว่างแบบนี้บ่อยครั้งนัก ควรทานอาหารให้เพียงพอ และครบ 5 หมู่ เพื่อตัวคุณเอง และลูกน้อยที่กำลังเติบโตในครรภ์ หากคุณทานอาหารไม่ครบตามโภชนาการที่คุณหมอแนะนำ อาจจะส่งผลอันตรายต่อลูกในท้องก็เป็นได้นะคะ 

 

  • พื้นที่ในครรภ์ลดลง (Reduced space in the womb)

เมื่อลูกน้อยในครรภ์เติบโตอยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 24 เป็นต้นไป คุณแม่จะรู้สึกเมื่อย รู้สึกขยับตัวไม่ค่อยสะดวกใช่ไหมคะ ลูกน้อยก็เป็นเช่นเดียวกันค่ะ เพราะว่า การเคลื่อนไหวของเขาก็ถูกจำกัดเหมือนกัน  นอกจากนี้ คุณแม่จะรู้สึกได้ว่า ลูกจะเคลื่อนไหวเป็นม้วนตัว และเหยียดแขนขา แทนที่จะเตะ และกระทุ้งแรง ๆ เหมือนช่วงก่อนหน้านี้

 

  •  ความเครียดของคุณแม่ ( Mum’s stress levels)

ลูกก็เหมือนกระจกสะท้อนอารมณ์ และรองรับอารมณ์ของคุณแม่ หากคุณแม่มีความเครียดมาก ๆ ระหว่างตั้งครรภ์อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ง่าย แม้ว่า บางครั้งความเครียดอาจจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คุณแม่ก็ต้องพยายามหาทางจัดการสิ่งเหล่านี้ให้ได้ เช่น ฟังเพลง ดูซีรีส์เรื่องโปรด เพราะว่าหากคุณแม่ยังคงเครียดอยู่ต่อไปนั้น จะส่งผลกระทบถึงการเคลื่อนไหวของลูก

 

  •  ลูกน้อยกำลังนอนหลับ ( your baby loves to sleep )

อีกหนึ่งเหตุผลที่พบได้บ่อย ๆ เกี่ยวกับการดิ้นน้อยลงของลูก คือ นอนหลับ ปกติแล้วทารกในครรภ์จะนอนหลับ รอบละ 20 นาที ดังนั้น แน่นอนว่าช่วงเวลานี้ลูกจะขยับน้อยลง ละจะกลับมากระฉับกระเฉงอีกครั้งเมื่อเขาตื่น ในบางกรณี ลูกคุณแม่อาจจะชอบนอนหลับมากกว่าคนอื่น ดังนั้น หากคุณแม่ฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ ก็ไม่ต้องกังวลไปค่ะ 

บทความที่เกี่ยวข้อง : วิธีการนับลูกดิ้น ทำไมการ นับลูกดิ้น จึงสำคัญ แม่ท้องต้องอ่าน!!

 

ลูกดิ้นน้อยลง

 

 ลูกดิ้นน้อยลง : ลักษณะที่คุณแม่ต้องกังวล

 

  • ลูกไม่ดิ้นพร้อมทั้งเลือดออก ( no kicking accompanied with bleeding)

หากคุณแม่พบว่าลูกไม่เคลื่อนไหวพร้อมทั้งมีเลือดออก แม้ว่าจะเป็นการเลือดออกเพียงเล็กน้อยก็ตาม รีบไปพบคุณหมอทันที เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และ ภาวะแท้งได้

หรือไม่ ! นี่อาจเป็นสัญญาณของ รกลอกตัวก่อนกำหนด ( placental abruption ) โดยเป็นภาวะที่รกที่เกาะตำแหน่งปกติลอกตัวก่อนที่ทารกจะคลอดออกมา พบประมาณ 1% ของการตั้งครรภ์ อาจพบได้ในคุณแม่ท้องทุก ๆ 1 ใน 150 คน ในสัปดาห์ที่ 20

 

  • ลูกดิ้นน้อยลงพร้อมกับอาการวิเวียนศีรษะ ( reduced movement accompanied by dizziness )

อีกหนึ่งกรณีที่คุณควรกังวล และไปพบแพทย์ทันที คือ หากคุณพบว่า ลูกเคลื่อนไหวน้อยลง พร้อมกับคุณรู้สึกวิงเวียนศีรษะ และหมดแรง  สัญญาณของอาการเหล่านี้จะพบได้ เมื่อทารกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนมากมายสำหรับคุณแม่และลูกน้อย

 

  • ลูกดิ้นน้อยลงพร้อมทั้งเปลี่ยนรูปแบบการนอน (  reduced movement with a change in baby’s sleep patterns)

คุณแม่ควรสังเกตการเคลื่อนไหว หรือการนับลูกดิ้นอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ไม่รู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของลูกน้อย เป็นเวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์ทันที เพราะโดยปกติแล้วทารกในครรภ์ จะต้องเคลื่อนไหวอย่างน้อย 10 ครั้ง/ชั่วโมง และนอนหลับรอบละประมาณ 20 นาที

บทความที่เกี่ยวข้อง : ฟีเจอร์ นับลูกดิ้น กับ theAsianparent เว็บไซต์แม่และเด็กที่ดีอันดับหนึ่ง

 

ลูกดิ้นน้อยลง

 

สรุปได้ว่าหากลูกดิ้นน้อยลงนั้น มีทั้งแบบที่คุณแม่ต้องกังวล และแบบที่คุณแม่ไม่ต้องกังวล เพราะฉะนั้นให้คุณแม่หมั่นสังเกตตัวเองอยู่เสมอ ๆ หากมีอาการผิดปกติ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที และสิ่งสำคัญของแม่ท้องก็คือ การนับลูกดิ้นอย่างสม่ำเสมอ เพราะสามารถประเมินได้ว่าลูกน้อยในครรภ์นั้นมีอาการผิดปกติหรือไม่นั่นเองค่ะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

แนะนำ วิธีนับลูกดิ้น ด้วยโหมดนับลูกดิ้นในแอปฯ theAsianparent

10 อาหารคนท้องอ่อนห้ามกิน ท้องอ่อนห้ามกินอะไร กินอะไรแล้วไม่ดีต่อลูกในท้อง

การดูแลหลังผ่าท้อง ต่างจากการคลอดธรรมชาติอย่างไร

แชร์ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับลูกดิ้นน้อยลง ได้ที่นี่!

ลูกดิ้นน้อยลง เกิดจากอะไรคะ อันตรายไหมคะ

ที่มา : sg.theasianparent

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!