X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็วอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก

บทความ 3 นาที
ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็วอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก

ทารกหายใจเร็วหลังคลอด ลูกหายใจแรงแบบนี้อันตรายไหม วิธีสังเกตการหายใจผิดปกติของทารก

ทารกหายใจเร็วหลังคลอด ทารกแรกเกิดหายใจแรง ผิดปกติหรือไม่ ทารกหายใจเร็ว ทารกแรกเกิดหายใจแรง ทารกหายใจแรง อันตรายไหม วิธีสังเกตลักษณะการหายใจผิดปกติของทารก

 

ทารกหายใจเร็ว ลูกหายใจเร็ว หายใจแรงอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านอาจสงสัยว่าลูกน้อยวัยทารก (โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกเกิด) บางครั้งดูเหมือนทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง การหายใจที่เร็วและแรง ทำให้วิตกกังวลว่าลูกจะมีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรงจะเกิดจากโรคร้ายแรงได้หรือเปล่า

วันนี้หมอจะมาแนะนำวิธีการสังเกตการหายใจของลูกน้อยวัยทารก ลูกหายใจเร็ว ว่าเมื่อใดถึงจะสงสัยว่าผิดปกติ หรือเป็นอันตรายร้ายแรง ในเบื้องต้นนะคะ

 

อัตราการหายใจปกติของเด็กเป็นเท่าไร และมีวิธีการนับอย่างไร?

ทารกแรกเกิดหายใจแรง ลูกหายใจเร็ว วิธีการนับอัตราการหายใจของเด็กทำได้โดยสังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก โดยเมื่อหายใจเข้าหน้าอกขยาย-หายใจออกหน้าอกยุบลง นับเป็น 1 ครั้ง หากเด็กหายใจสม่ำเสมอ เราอาจนับเพียง 30 วินาทีแล้วคูณด้วย 2 ก็จะเป็นอัตราการหายใจต่อนาทีได้ แต่หากเด็กหายใจไม่สม่ำเสมอก็ควรต้องนับให้ครบ 1 นาทีเต็ม

 

**โดยไม่นับอัตราการหายใจตอนที่เด็กร้องไห้นะคะ

เด็กจะมีอัตราการหายใจเร็วกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็กเล็กก็จะยิ่งหายใจเร็วมากขึ้น อัตราการหายใจของเด็กจะค่อย ๆ ลดลงตามอายุ ดังนี้ค่ะ

  • ทารกอายุน้อยกว่า 2 เดือน อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 60 ครั้งต่อนาที
  • ทารกอายุ 2-12 เดือน อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 50 ครั้งต่อนาที
  • ลูกอายุ 1-5 ปี อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 40 ครั้งต่อนาที
  • ลูกอายุ 6-8 ปี อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 30 ครั้งต่อนาที

เมื่อเด็กอายุมากกว่า 9 ปีขึ้นไป อัตราการหายใจจะน้อยกว่า 20 ครั้งต่อนาที ซึ่งเท่ากับผู้ใหญ่

ทั้งนี้ เด็กแต่ละคนอาจมีอัตราการหายใจในภาวะปกติที่แตกต่างกันบ้าง เช่น ลูกอายุ 4 ขวบ โดยปกติแล้ว คุณพ่อคุณแม่นับอัตราการหายใจของลูกอยู่ที่ประมาณไม่ถึง 20 กว่าครั้งต่อนาที หากเมื่อใดคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกหายใจเหนื่อย และนับอัตราการหายใจได้ถึงเกือบ 40 ครั้งต่อนาที ถึงแม้ว่าไม่ได้เกินค่าปกติทั่วไปตามวัย ลูกก็อาจมีการหายใจที่เร็วกว่าปกติของเค้าได้ ก็ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุนะคะ

 

ทารกหายใจเร็ว

วิธีสังเกตการหายใจของทารก เด็กทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็ว ผิดปกติ?

หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีการหายใจที่ผิดปกติหรือไม่ ควรสังเกตอาการดังนี้

  1. จำนวนครั้งของการหายใจต่อนาทีมากกว่าเกณฑ์ตามอายุ
  2. หน้าและปากมีความสีคล้ำ เขียว หรือซีด ปลายมือปลายเท้าเขียว ซึ่งบ่งถึงภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ
  3. ปีกจมูกขยายกว้างออกทุกครั้งที่หายใจเข้า
  4. ขณะที่หายใจเข้าพบว่ามีการดึงรั้งของกล้ามเนื้อทรวงอก โดยเห็นเป็นผิวหนังบริเวณซี่โครงบุ๋มลงไป กล้ามเนื้อทรวงอกมีการหดตัวลึก
  5. มีเสียงหายใจเหมือนเสียงครางผิดปกติในช่วงหายใจออก ซึ่งเกิดจากการที่ทารกพยายามหายใจเพื่อเพิ่มความดันในช่องอก
  6. หยุดหายใจเป็นพัก ๆ
  7. มีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น ไม่ยอมดูดนม มีไข้ หรือดูซึมผิดปกติ

***หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าลูกมีการหายใจที่ผิดปกติ หรือเข้าได้กับข้อใดข้อหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ควรรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที โดยไม่ต้องลังเลใจนะคะ เพราะอาการผิดปกติของการหายใจบางสาเหตุอาจเป็นอันตรายจนถึงแก่ชีวิตได้ และการวินิจฉัยที่ชัดเจนจะต้องทำได้โดยการตรวจร่างกายหรือตรวจพิเศษอย่างอื่นเพิ่มเติมเท่านั้น จึงจะทราบว่าลูกหายใจผิดปกติจริงหรือไม่ และเกิดจากสาเหตุใด

**ทั้งนี้ หากสงสัยว่าลูกหายใจผิดปกติเป็นบางช่วง คุณพ่อคุณแม่อาจลองถ่ายคลิปวีดีโอในช่วงการหายใจที่สงสัย มาให้คุณหมอได้ดูเป็นตัวอย่างด้วย ก็จะมีประโยชน์มากค่ะ

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

บทความจากพันธมิตร
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
วัคซีน IPD จำเป็นที่ต้องให้ลูกรับหรือเปล่า? มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ 'โรคไอพีดี' และ 'วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี'
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
สารพัด ปัญหาของลูกน้อย ที่คุณแม่กังวลใจ ลูกงอแง ไม่สบายท้อง ท้องอืด มีผื่นคัน แก้ด้วย Little Shield
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
พ่อแม่เป็นภูมิแพ้ สาเหตุสำคัญของ ภูมิแพ้ในเด็ก ที่อาจถูกมองข้ามไป
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell
ปกป้องคนที่คุณรักให้ปลอดภัย ห่างไกลจาก RSV โควิด และ ฝุ่น PM 2.5 ด้วยเครื่องฟอกอากาศ Bwell

วิธีปลุกทารกแรกเกิด ทารกนอนนานควรปลุกกินนมไหม ทารกแรกเกิดกินน้อย นอนนาน ต้องปลุกไหม

ทารกแรกเกิดเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด แม่ต้องรู้และระวังลูกน้อยเอาไว้

ลูกฉี่ไม่ออกทําไงดี ฉี่น้อย ไม่ฉี่เลยทั้งวัน อั้นฉี่หรือเปล่า ปัสสาวะของทารกน้อย แบบใดจึงผิดปกติ?

วิธีวัดการเจริญเติบโตของทารก ชั่งน้ำหนักทารก วัดความยาวทารก วัดเส้นรอบศีรษะลูก ลูกโตตามเกณฑ์ไหม

 

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

รศ. พญ. รวีรัตน์ สิชฌรังษี

  • หน้าแรก
  • /
  • เจ็บป่วย
  • /
  • ทารกหายใจเร็ว ทารกหายใจแรง ทารกหายใจเร็วอันตรายไหม และวิธีสังเกตการหายใจของทารก
แชร์ :
  • ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด

    ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด

  • 10 ข้อห้ามการปฏิบัติตัวหลังคลอด วิธีรับมือของคุณแม่มือใหม่ทำยังไง

    10 ข้อห้ามการปฏิบัติตัวหลังคลอด วิธีรับมือของคุณแม่มือใหม่ทำยังไง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

  • ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด

    ความเชื่อเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอด

  • 10 ข้อห้ามการปฏิบัติตัวหลังคลอด วิธีรับมือของคุณแม่มือใหม่ทำยังไง

    10 ข้อห้ามการปฏิบัติตัวหลังคลอด วิธีรับมือของคุณแม่มือใหม่ทำยังไง

  • 8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

    8 วิธีง่าย ๆ อยากให้ลูกเก่งภาษาอังกฤษ พ่อแม่ไม่เก่งก็ฝึกลูกได้

  • ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

    ลูกเหงื่อออกตอนนอน สัญญาณโรคร้ายที่พ่อแม่ต้องระวัง

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ