X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • พัฒนาการลูก
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • การศึกษา
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย

บทความ 5 นาที
เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลายเลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย

เรื่องสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณแม่อาจไม่ควรมองข้าม! สำหรับการดูแลลูกน้อยในวัยทารก ก็คือการอาบน้ำทำความสะอาดลูกน้อย และเมื่อลูกโตขึ้นเราจะ เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ดีที่สุด

อ่างอาบน้ำทารกจึงเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญอย่างหนึ่งที่คุณแม่ต้องมีติดไว้ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่อาบน้ำให้ลูกน้อยอย่างสะอาด ปลอดภัย และสะดวกสำหรับคุณแม่อีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยของเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงและเจริญเติบโตในทุกๆ วัน ทั้งในเรื่องของพัฒนาการหรือขนาดตัวก็ตาม และคุณแม่จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกน้อยมีความพร้อมที่จะเลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็ก บทความนี้เราจึงมาชวนคุณพ่อคุณแม่สังเกตความเปลี่ยนแปลงสำหรับลูกน้อยที่มีความพร้อมเรื่องนี้กันค่ะ

เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน สังเกตอย่างไรว่าลูกพร้อมแล้วกับการอาบน้ำปกติ

 

เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน

อ่างอาบน้ำเด็กที่ดี ควรคำนึงถึงปลอดภัย และการอำนวยความสะดวกได้ดี เช่นมีอุปกรณ์กันลื่นเพื่อลดการเคลื่อนที่ของอ่างอาบน้ำ และมีพลาสติกที่หนาและแข็งแรง

โดยทั่วไปแล้วเมื่อลูกน้อยอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป ร่างกายจะขยายใหญ่ขึ้น และจะสามารถนั่งได้โดยไม่ต้องมีคนคอยช่วย แต่อย่างไรก็ตาม ลูกน้อยนั้นก็มีการเจริญเติบโตที่อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ลูกน้อยของคุณแม่บางท่าน อาจจะยังตัวเล็กอยู่ แต่สามารถนั่งได้แล้ว หรืออาจจะยังนั่งได้ไม่มั่นคงเท่าไร หรือลูกน้อยของคุณแม่บางท่านอาจจะตัวใหญ่ขึ้น ไม่สมดุลกับอ่างน้ำที่มีขนาดเล็กแล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ต้องคอยสังเกตลูกน้อย ว่าลูกน้อยของเรานั้นมีขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น และมีความสามารถอย่างไรแล้วบ้าง

และเมื่อลูกน้อยของคุณแม่มีความพร้อมในการเลิกใช้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กแล้ว และต้องการที่จะย้ายลูกน้อยไปลงอ่างปกติ คุณแม่จะต้องเตรียมพร้อมอย่างไรบ้าง?

เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กได้ตอนไหน

เทคนิคสร้างความคุ้นเคยกับสถานการณ์การอาบน้ำในรูปแบบใหม่

การเปลี่ยนเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกน้อยนั้น หากเราสร้างความคุ้นเคยและคุ้นชินให้กับลูกน้อย จะทำให้ลูกน้อยลดความเครียดกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะช่วยให้ลูกน้อยไม่กลัวและไม่ร้อง โดยสามารถทำได้ดังนี้

เทคนิคที่ 1 ลองเปลี่ยนไปใช้อ่างล้างจานก่อน

หากคุณแม่มีความกังวลและยังไม่มั่นใจที่จะย้ายลูกน้อยไปอาบน้ำในอ่างปกติ คุณแม่สามารถลองจำลองการอาบน้ำในอ่างล้างจานที่มีขนาดเล็กกว่าอ่างปกติก่อนได้ ซึ่งอ่างล้างจานนั้นจะมีพื้นที่กว้างให้สามารถขยับเคลื่อนไหวร่างกายได้อิสระมากกว่า โดยก่อนที่จะลองนำลูกน้อยมาอาบน้ำในอ่างล้างจานนั้น อย่าลืมทำความสะสาดคราบต่างๆบนอ่างล้างจานให้สะอาดเรียบร้อยก่อน และอาจจะปูด้วยเสื่อกันลื่น เพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยนั่นเอง

เทคนิคที่ 2 ใช้อ่างอาบน้ำเด็กร่วมด้วยในช่วงแรก

เทคนิคนี้ ให้คุณแม่ใช้อ่างอาบน้ำสำหรับเด็กร่วมด้วยไปก่อนในช่วงแรก โดยวางอ่างอาบน้ำเด็กซ้อนลงไปในอ่างปกติ และจึงเปิดน้ำเพื่อสร้างความคุ้นเคย วิธีนี้จะทำให้ลูกน้อยยังคงคุ้นชินเหมือนกับที่เขาเคยทำมาก่อน ทำให้ลดความกังวลในการเปลี่ยนแปลงวิธีการอาบน้ำไปได้ หลังจากนั้นจึงค่อยๆลองนำเอาอ่างอาบน้ำเด็กออก

เทคนิคที่ 3 คุณแม่และลูกน้อยอาบน้ำร่วมกัน

ในช่วงแรกให้คุณแม่อาบน้ำร่วมกับลูกน้อย เป็นอีกวิธีที่ดีมากๆ สำหรับลูกน้อย เพราะลูกน้อยจะรู้สึกสบายตัว ผ่อนคลาย และปลอดภัยในขณะที่มีคุณแม่อยู่ในอ่าง และคุณแม่เองก็พร้อมที่จะดูแลช่วยเหลือลูกน้อยได้ตลอดอีกด้วย โดยคุณแม่จะต้องดูแลไม่ให้น้ำอยู่สูงกว่าระดับปากของลูกน้อย ระวังน้ำเข้าจมูก และหากจะให้ปลอดภัยที่สุด ควรที่จะมีคุณพ่อหรือพี่เลี้ยงคอยสแตนบายเวลาที่ลงอ่างหรือขึ้นจากอ่าง เพราะอ่างและตัวของลูกน้อยนั้นจะมีความลื่น จึงจะเป็นการปลอดภัยมากกว่า หากมีอีกคนที่ตัวแห้งเข้ามาช่วยอุ้มลูกน้อยขึ้นไปนั่นเอง

เทคนิคที่ 4 วางลูกน้อยลงในอ่างอาบน้ำปกติโดยตรง

เทคนิคนี้ถือเป็นอีก 1 วิธีที่มีประสิทธิภาพและไม่ยุ่งยากหากลูกน้อยพร้อมที่จะรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กระทันหันได้ ซึ่งหากใช้วิธีนี้ควรที่จะสังเกตอาการของลูกน้อยไห้แน่ใจ หากลูกน้อยมีอาการกระสับกระส่าย นั่นอาจหมายความว่าวิธีนี้ยังไม่พร้อมสำหรับลูกน้อย ให้คุณแม่ลองใช้วิธีอื่นๆ ก่อน แต่ถ้าหากลูกน้อยรับความเปลี่ยนแปลงได้ดี คุณแม่สามารถใช้วิธีนี้ได้เลย โดยอุ้มลูกน้อยวางลงบนอ่าง จากนั้นจึงทำการเปิดน้ำใส่อ่างโดยใช้น้ำอุ่น ในปริมาณสูงเพียงไม่กี่นิ้วเท่านั้น และไม่ควรมากจนท่วมหลังลูกน้อย และคุณแม่จะต้องเตรียมอุปกรณ์อาบน้ำ เช่น ผ้าขนหนู สำลีไว้ให้พร้อมอย่างครบครัน

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการอาบน้ำให้ลูกน้อยที่คุณแม่ไม่ควรมองข้าม!

1. เวลาที่เหมาะสมกับการอาบน้ำ

เวลาที่เหมาะสมกับการอาบน้ำให้ลูกน้อยนั้นควรเป็นช่วงเวลาก่อนลูกน้อยทานนม เพราะหากลูกน้อยทานนมแล้วอาจเกิดอาการง่วงนอน ฉะนั้นการอาบน้ำควรเป็นช่วงเวลาก่อนทานนม หรือ หลังทานนมเป็นเวลา 1 ชั่วโมงนั่นเอง

2.อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสม

การอาบน้ำลูกน้อยต้องคำนึงถึงอุณหภูมิน้ำเป็นสำคัญด้วย ไม่ควรใช้น้ำที่เย็นเกินไปหรือร้อนเกินไป เพราะอาจส่งผลให้ลูกน้อยเป็นหวัดได้ ฉะนั้นหากต้องการตรวจสอบอุณหภูมิน้ำที่เหมาะสมสามารถใช้มือจุ่มลง หรือหลังมือสำผัสกับผิวน้ำ หากไม่ร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไปก็สามารถใช้ได้

3.จัดเตรียมอุปกรณ์ในการอาบน้ำให้ครบถ้วน

การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการอาบน้ำลูกน้อยอย่างครบถ้วนเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะการเตรียมพร้อมอย่างครบถ้วนจะทำให้คุณแม่ไม่จำเป็นต้องเดินไปหยิบสิ่งนั้นสิ่งนี้ให้วุ่น และเป็นการไม่ปล่อยให้ลูกน้อยอยู่เพียงลำพังในขณะที่คุณแม่วุ่นหาอุปกรณ์ต่างๆ คุณแม่จะสะดวกต่อการหยิบใช้สอยสิ่งของโดยที่ลูกน้อยยังคงอยู่ในสายตา ถือเป็นการรักษาความปลอดภัยของลูกน้อยไปด้วย

4.ระดับน้ำในการอาบที่เหมาะสม

ระดับน้ำในการเปิดใส่อ่างให้ลูกน้อยก็เป็นเรื่องสำคัญที่คุณแม่คุณไม่ควรมองข้ามเช่นกัน เพราะอาจเกี่ยวกับความปลอดภัยในการอาบน้ำของลูกน้อย โดยระดับน้ำที่เหมาะสมควรอยู่ในระดับไม่เกินหัวไหล่ของลูกน้อยไม่ควรท่วมหลังลูกน้อย โดยคุณแม่ควรประคองลูกน้อยในขณะอาบน้ำไม่ให้ลูกน้อยจม หรือน้ำเข้าปากเข้าจมูก เพราะจะเป็นอันตรายได้ และไม่ควรให้ลูกน้อยแช่ในน้ำนาน

5.การใช้สบู่และยาสระผม

บทความจากพันธมิตร
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
น้องนดลต์ และน้องนภนต์ ฝาแฝดที่สูญเสียการได้ยินระดับรุนแรง กับโอกาสสำคัญที่พลิกชีวิตสมาชิกทั้งครอบครัว
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
BASIS Bangkok โรงเรียนนานาชาติชั้นนำระดับโลก ที่ปูพื้นฐานความเป็นเลิศตั้งแต่ระดับชั้นเด็กเล็ก
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เช็กให้ชัวร์ลูกสูงตามเกณฑ์
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER
เคล็ดลับกระตุ้นพัฒนาการลูก จากการอาบน้ำด้วยฝักบัวทารกและเด็กเล็ก PUREDOT ZERO WATER

การใช้สบู่และยาสระผม คุณแม่ควรเลือกใช้สูตรที่อ่อนโยนหรือสูตรสำหรับเด็กทารกโดยเฉพาะ โดยบีบผลิตภัณฑ์ใส่ในฟองน้ำและถูตามตัวลูกน้อยเบา และอาจจะเน้นบริเวณที่อยากทำความสะอาดเป็นพิเศษ และสำหรับการสระผม ควรนวดเบาๆบริเวณศีรษะลูกน้อย การสระผมลูกน้อย ควรสระวันละครั้งในทุกวัน เวลาสระผมคุณแม่ควรระวังอย่าให้สบู่เข้าตา และระวังอย่าให้เข้าหูลูกน้อยเด็ดขาด โดยคุณแม่อาจจะใช้นิ้วกดปิดบริเวณใบหูไว้ เพื่อป้องกันน้ำหรือผลิตภัณฑ์ไหลเข้าหู

6.การรับมือหากลูกจมอ่าง

หากเกิดข้อผิดพลาดลูกน้อยจมอ่าง คุณแม่ควรรับมือมือกับสถานการณ์นี้ทันทีโดยการอุ้มลูกขึ้นมาจากน้ำอย่างรวดเร็ว และรีบเช็คว่าลูกยังหายใจอยู่หรือไม่ โดยการแนบหูใกล้จมูกและปากลูกน้อย เพื่อสัมผัสลมหายใจ หากลูกยังหายใจให้รีบทำให้ร่างกายลูกน้อยอบอุ่นขึ้น และส่งโรงพยาบาลทันที อย่างไรก็ตาม ควรเฝ้าระวังอาการให้ดี เพราะลูกน้อยอาจเกิดความเสี่ยงอันตรายต่อปอด หรือเป็นปอดบวมได้ หรือหากลูกน้อยไม่หายใจ คุณแม่ควรแจ้งทันทีที่สาย 1669 หมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพฉุกเฉิน แต่สำหรับหนทางที่ดีที่สุดนั้นคือการไม่พลาดสายตาจากลูกน้อยแม้แต่วินาทีเดียวนั่นเอง

 

หลังจากอาบน้ำให้ลูกเรียบร้อยแล้วอย่าลืมที่จะบำรุงผิวพรรณลูกน้อยให้ดูชุ่มชื่น ลดปัญหาการเกิดผิวแห้ง สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง  เพื่อให้ลูกน้อยมีสุขภาพผิวที่ดี ด้วยโลชั่นที่อ่อนโยนสำหรับเด็ก หรือเบบี้ออยที่มีสารสกัดที่อ่อนโยน เท่านี้ลูกน้อยของเราก็จะสุขภาพผิวดี สบายตัวและมีความสุข!

เป็นอย่างไรบ้างคะกับเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน หวังว่าจะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ได้เข้าใจและเลี้ยงลูก ดูแลเรื่องการอาบน้ำลูกได้ง่ายยิ่งขึ้นนะคะ

 

ที่มา 1, 2

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สบู่อาบน้ำเด็ก แนะนำสบู่เหลวอาบน้ำ อ่อนโยน ไม่ระคายเคืองสำหรับลูกน้อย

น้ำเข้าหูลูก ตอนอาบน้ำสระผม อาจนำสู่ภาวะหูชั้นนอกอักเสบ

5 ผลิตภัณฑ์อาบน้ำเด็ก สูตรออร์แกนิก ปลอดภัย ไม่แสบ ได้ใจทั้งครอบครัว

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
img
บทความโดย

Yanapat Buranasappasit

  • หน้าแรก
  • /
  • พัฒนาการลูก
  • /
  • เลิกใช้อ่างอาบน้ำเด็กตอนไหน ? พร้อมเทคนิคเปลี่ยนวิธีการอาบน้ำให้ลูกผ่อนคลาย
แชร์ :
  • ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

    ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

  • สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

    สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

  • ลูกชอบเล่นนอกบ้านทั้งวัน ดีหรือไม่ดี การเล่นนอกบ้านมีประโยชน์อย่างไร ?

    ลูกชอบเล่นนอกบ้านทั้งวัน ดีหรือไม่ดี การเล่นนอกบ้านมีประโยชน์อย่างไร ?

app info
get app banner
  • ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

    ลูกควร “เลิกนอนกลางวัน” ตอนไหน ทำอย่างไรเมื่อลูกไม่ยอมนอนกลางวัน ?

  • สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

    สอนลูก พูดภาษาอังกฤษ ง่ายๆ ด้วย 7 วิธีนี้ !

  • ลูกชอบเล่นนอกบ้านทั้งวัน ดีหรือไม่ดี การเล่นนอกบ้านมีประโยชน์อย่างไร ?

    ลูกชอบเล่นนอกบ้านทั้งวัน ดีหรือไม่ดี การเล่นนอกบ้านมีประโยชน์อย่างไร ?

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2022. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลทารกและสุขภาพไปให้กับคุณ