เด็ก 1 เดือน ติดโควิด-19 จากพ่อแม่ ที่พาเพื่อน ๆ เข้ามาสังสรรค์ภายในบ้าน
เด็ก 1 เดือน ติดโควิด-19 (COVID-19) โดยติดจากพ่อแม่ ที่พาเพื่อน ๆ เข้ามาสังสรรค์ภายในบ้าน ถือเป็นผู้ติดเชื้อในไทย ที่อายุน้อยที่สุด ณ ขณะนี้
เด็ก 1 เดือน ติดโควิด-19 (COVID-19)
โควิด-19 (COVID-19) ถือเป็นโรคร้าย ที่เข้าใกล้ตัว แต่ละคนเข้ามาเรื่อย ๆ เนื่องจากมีการแพร่กระจาย ไปในเกือบจะทุกจังหวัด ในประเทศไทยแล้ว ล่าสุด พบผู้ติดเชื้อ ที่อายุน้อยที่สุด ในประเทศไทย อยู่ที่จังหวัดระยอง เด็ก 1 เดือน ติดโควิด-19 (COVID-19) โดยติดมาจากแม่ ซึ่งได้มีประวัติ พาเพื่อน ๆ เข้ามากินเลี้ยง สังสรรค์กันภายในบ้าน
เมื่อวันที่ 3 เมษายนที่ผ่าน ที่อาคาร ศูนย์กลางการเกษตร จังหวัดระยอง อบต.ตะพง อำเภอเมืองระยอง นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เปิดเผยว่า พบผู้ป่วย โควิด-19 (COVID-19) เป็นเด็ก อายุเพียง 1 เดือน ซึ่งถือว่า เป็นผู้ติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ณ ขณะนี้
จากการสืบสวน พบว่าติดมาจากแม่ ซึ่งป่วยเป็น โควิด-19 (COVID-19) ก่อนหน้านี้ โดยคาดว่า ติดเชื้อมาจาก การที่พ่อแม่ ให้เพื่อน ๆ เข้ามาสังสรรค์ ภายในบ้าน
หลังจากที่พ่อแม่ของเด็ก ที่ทำงานอยู่ที่กรุงเทพ มีอาการเข้าข่าย มีไข้ จึงเดินทางไปตรวจ และยืนยันว่าพบเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ปัจจุบันพ่อแม่เด็ก รักษาตัวอยู่ที่ สถาบันบำราศนราดูร ขณะที่พ่อแม่ต้องรักษาตัวนั้น ก็ได้แจ้งให้ตาและยายของเด็ก ที่อยู่จังหวัดระยอง มารับเด็กไปดูแลแทนที่ระยอง
ต่อมาพบว่า เด็กเริ่มมีไข้ ตัวร้อน ตาและยายจึงพาไปตรวจ ที่โรงพยาบาลบ้านฉาง ผลออกมายืนยันเมื่อวันที่ 3 เมษายน ว่า เด็กน้อยวัยเพียง 1 เดือน ติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) เช่นเดียวกับพ่อแม่ของเด็ก นับว่าเป็นผู้ติดเชื้อ ที่อายุน้อยที่สุดในประเทศ
ล่าสุด ได้ส่งตัวเด็กน้อย ไปรักษาต่อ ที่สถาบันบำราศนราดูร ที่เดียวกับพ่อแม่ ที่ป่วยเป็น โควิด-19 (COVID-19) ก่อนหน้า
ผลอัปเดตเมื่อวันที่ 10 เมษายน อาการโดยรวมของเด็ก ถือว่าค่อนข้างดี ไม่อันตราย ไม่มีไข้ ไม่มีอาการหายใจเหนื่อยหอบ และสามารถรับประทานนมได้ดีเป็นปกติ แต่ผลตรวจล่าสุด ยังคงพบเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) อยู่ในตัว ส่วนพ่อแม่ของเด็ก รักษาหายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เนื่องจากอาการของเด็ก ไม่ได้มีอาการหนักมาก ก็ทำให้ทุกคนสบายใจได้ อีกไม่นาน น่าจะรักษาหาย ถ้าตรวจไม่พบเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) อยู่ในตัวเมื่อไหร่ ก็จะกลับบ้านได้ เช่นเดียวกับพ่อแม่
ส่วนผู้ที่สัมผัสกับเด็ก หลังจากที่พ่อแม่ส่งน้อง ไปให้ตายายเลี้ยงที่ระยองนั้น หลังกจากที่เด็กมีผลตรวจยืนยัน ว่าติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ทีมสืบสวนโรค ก็ได้เฝ้าระวังกลุ่มผู้ที่สัมผัสกับตัวเด็ก ซึ่งจากรายงาน มีจำนวน 3 ราย ได้แก่ ตา ยาย และน้าของเด็ก โดยทางการได้สั่งให้กักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการ และตรวจวัดไข้ทุกวัน
ถึงแม้ว่า คุณตาของเด็ก ซึ่งเป็นดาบตำรวจงานจราจร ผลตรวจจะไม่พบเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) แต่ก็ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต้องกักบริเวณ เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคเช่นเดียวกัน โดยมีคำสั่ง ให้เฝ้าระวังอาการ ภายในที่พักอาศัย และห้ามออกนอกบริเวณที่พักเด็ดขาด ตั้งแต่วันที่ 3-16 เมษายน
ด้าน นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง กล่าวว่า สิ่งที่เป็นห่วงคือ คนที่เป็น โควิด-19 (COVID-19) แล้วปกปิดข้อมูล ทำให้เชื้อแพร่ระบาดไปในวงกว้าง เบื้องต้นทางจังหวัด ได้จัดชุดเฝ้าระวัง ในพื้นที่อย่างเข้มงวด ตลอด 24 ชั่วโมง
ส่วนคนอื่น ๆ ก็ไม่ควรประมาทอย่างเด็ดขาด อย่างที่เห็นบทเรียนจากข่าวนี้แล้วว่า เด็กน้อย ถือเป็นกลุ่มเปราะบาง สามารถติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19) ได้ง่าย แม้จะอาการไม่หนักมาก รวมไปถึงกลุ่มผู้สูงอายุในบ้าน ก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน
ดังนั้นจึงควรงดการรวมกลุ่มสังสรรค์ เว้นระยะทางห่างทางสังคม ป้องกันตัวเอง และคนในครอบครัวให้ปลอดภัยจาก โควิด-19 (COVID-19) ให้ได้มากที่สุด ถึงป่วยแล้วจะอาการไม่หนัก แต่ถ้าไม่ป่วยเลย ก็จะถือว่าดีกว่ามาก และเป็นการช่วยลดภาระให้ทีมแพทย์ไปในตัวด้วย
เลิก 10 พฤติกรรมเคยชิน ลดความเสี่ยงติดเชื้อ โควิด-19 (COVID-19)
- ขยี้ตา แคะจมูก
- ถึงบ้านแล้ว ทิ้งตัวลงนอนเลย ไม่อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
- หยิบจับสารพัด แต่ไม่ล้างมือ
- ไม่พกหน้ากากผ้า หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ
- อยู่ใกล้กัน ลืมเว้นระยะห่าง 1-2 เมตร
- กอด หอม จับมือ คนรัก หรือคนในครอบครัว
- ป่วยแล้ว แต่ไม่ยอม กักตัวเองอยู่บ้าน
- ใช้ของส่วนตัว ร่วมกับผู้อื่น
- กินอาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานแล้ว และอาหารดิบ
- ปาร์ตี้สังสรรค์ กับเพื่อนฝูง
ที่มา : workpointnews , mcot.net , thebangkokinsigh , thairath , facebookระยอง Rayong , facebookสสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สาวไทย แชร์เรื่องราว ตรวจ 4 รอบ กว่าจะรู้ว่าติดโควิด ตั้ง 21 วันหลังสามีติดเชื้อ
ใส่หน้ากากอนามัยหรือ face shield ดีหรือไม่? การปกป้องทารกน้อยจากโรค COVID-19 ควรทำอย่างไร?