อาการไข้หวัดใหญ่ 2019 Influenza วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ สาเหตุของโรคไข้หวัดใหญ่

โรคภัยไข้เจ็บเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝนแบบนี้ ทำเอาหลายคนปวดศีรษะ เป็นไข้ ไอ จามกันจนเกรงว่าจะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ซึ่งถือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่พบว่ามีการระบาดมากในช่วงเปลี่ยนผ่านฤดูที่มีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลัน โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจทั้งจมูก ลำคอ และปอด ซึ่งอาการเบื้องต้นอาจจะคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่มีความรุนแรงกว่า และมีโอกาสพัฒนาสู่ภาวะแทรกซ้อนจนอาจจะส่งผลถึงชีวิตได้
อาการไข้หวัดใหญ่ 2019
อาการไข้หวัดใหญ่ 2019 โรคไข้หวัดใหญ่ ติดต่ออย่างไร พร้อมอัพเดตสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในปี 2562
สถานการณ์ไข้หวัดใหญ่ในปี 2562 ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค สำนักโรคติดเชื้อทั่วไป กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 6 มิถุนายน 2562 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศจำนวน 167,377 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 252.45 ต่อประชากรแสนคน เสียชีวิต 13 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตายร้อยละ 0.01 จํานวนผู้ป่วยสะสมในภาพรวม พบว่าสูงกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปีย้อนหลัง และสูงกว่าปีที่ผ่านมา
การติดต่อของเชื้อไข้หวัดใหญ่
รศ.พญ.สิริอร วัชรานานันท์ แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวถึงโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ว่า เชื้อไวรัสที่อยู่ในเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย สามารถแพร่ติดต่อไปยังคนอื่น ๆ ได้ง่าย เช่น การไอหรือจาม หากอยู่ใกล้ผู้ป่วย บางรายได้รับเชื้อทางอ้อมผ่านทางมือหรือสิ่งของเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนเชื้อ เช่น แก้วน้ำ โทรศัพท์ ผ้าเช็ดมือ เป็นต้น เชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางจมูก ตา ปาก ในผู้ใหญ่อาจแพร่เชื้อได้นานประมาณ 3-5 วัน นับจากวันที่เริ่มป่วย ในเด็กเล็กสามารถแพร่ได้นานกว่าผู้ใหญ่ อาจพบได้ 7-10 วัน และอาจนานขึ้นไปอีก ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างรุนแรง
ความน่ากลัวของไข้หวัดใหญ่อย่างหนึ่งคือ การเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค ได้แก่ โรคปอดอักเสบ และโรคสมองอักเสบ
วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
รศ.พญ.สิริอร วัชรานานันท์ แพทย์อายุรกรรมโรคติดเชื้อ โรงพยาบาลพระรามเก้า แนะนำการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ว่า วิธีการป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถทำได้เพียงดูแลตัวเองด้วย
- การปิดปากปิดจมูกเมื่อป่วย ไอ จามโดยใช้กระดาษทิชชู่ สามหน้ากากอนามัย หรือไอใส่ต้นแขนตนเอง
- ล้างมือบ่อยๆก่อนรับประทานอาหาร หลังไอจาม สั่งน้ำมูก จับต้องสิ่งของหรือพื้นผิวที่มีคนสัมผัส
- เลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ที่มีอาการป่วย มีไข้ ไอ จาม เลี่ยงสถานที่ที่คนมาอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก (โดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาด)
- หยุดงาน หยุดเรียน หยุดกิจกรรมกับผู้อื่นเมื่อป่วย เพื่อให้หายป่วยเร็วและไม่แพร่เชื้อให้คนอื่น
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี เพื่อสร้างภูมิต้านทานและลดโอกาสเสี่ยง ซึ่งการได้รับวัคซีนเป็นหนึ่งวิธีการเพิ่มภูมิคุ้มกัน เนื่องจากเชื้อไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงทุกปี
วัคซีนไข้หวัดใหญ่
กลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีนมี 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์มากกว่า 4 เดือน
- เด็ก อายุ 6 เดือน – 2 ปี
- ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค คือ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย เบาหวาน และผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด
- ผู้สูงอายุ มากกว่า 65 ปี
- ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
- โรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
- โรคอ้วน น้ำหนักตัวมากกว่า 100 กก./ BMI มากกว่า 35 กิโลกรัมต่อตรม.
ศูนย์อายุรกรรมโรงพยาบาลพระรามเก้า ขอร่วมรณรงค์เพื่อลดและป้องกันความเสี่ยงของการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกัน หลีกเลี่ยงพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เท่านี้ก็ช่วยให้สุขภาพของคุณและทุกคนในครอบครัวแข็งแรงสมบูรณ์พร้อมที่จะไปร่วมกิจกรรมต่างๆ นอกบ้านในช่วงฤดูฝนได้อย่างสบาย
วิธีสังเกตอาการไข้หวัดใหญ่
- หลังจากเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย 2-3 วัน มักเริ่มจากมีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดตามตัว อ่อนเพลีย จากนั้นจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ
- ส่วนอาการอื่น ๆ ของระบบร่างกาย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ตาแดง ในเด็กเล็กหรือเด็กทารกจะพบอาการเหล่านี้ได้บ่อย
- ทารกเสี่ยงต่ออาการภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบติดเชื้อรุนแรง อาการคล้ายติดเชื้อในกระแสเลือด
- หากลูกมีไข้สูง ปวดศีรษะ อ่อนเพลียมาก ไอมากจนหายใจเหนื่อย และอาการต่าง ๆ เป็นมากขึ้น ไม่ทุเลาลงเกิน 5 วัน ควรพาลูกไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยอย่างละเอียดว่าอาการไข้หวัดใหญ่นี้เป็นสายพันธุ์เอหรือสายพันธุ์บี
ถ้าลูกมีอาการที่คล้ายคลึงดังที่กล่าวมา ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คอย่างละเอียดว่าเป็นอาการไข้หวัดใหญ่หรือไม่ และเป็นอาการไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอหรือสายพันธุ์บี เพื่อที่ลูกจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป
อยากรู้เรื่องราวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์และทารกเพิ่มเติม หรือมีข้อสงสัยอยากสอบถามแม่ ๆ ผู้มีประสบการณ์ ลองไปโพสต์คำถามใน แอปพลิเคชัน theAsianparent แล้วรอรับคำตอบจากผู้เชี่
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
เป็น RSV ทันที หลังลูกโดนจูบ! ทารกเป็น RSV ง่ายๆ อย่าให้ใครหอมลูก ชีวิตเปลี่ยนเพราะจูบเดียว
โรคหน้าฝน โรคที่มากับฤดูฝน ฝนตก ลูกเสี่ยงป่วยง่าย โรคไหนที่ต้องระวังในหน้าฝน โรคหน้าฝนในเด็ก
แม่ท้องฉีดวัคซีน หรือยัง วัคซีนไข้หวัดใหญ่ฉีดในหญิงตั้งครรภ์ ป้องกันภาวะปอดอักเสบ
เมื่อลูกเป็นไข้ ใช้ยาลดไข้ถูกวิธี ลูกหายป่วยอย่างรวดเร็ว
คนท้องเป็นไข้หวัดใหญ่ เป็นไข้หวัดใหญ่ระหว่างตั้งครรภ์ อาการเป็นอย่างไร ไข้หวัดใหญ่อันตรายหรือไม่
ระวังป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ คนท้อง ทารก เด็กเล็ก วัยเรียน กลุ่มเสี่ยงไข้หวัดใหญ่ โรคร้ายเสียชีวิตได้
ความแตกต่างของหน้ากากอนามัย 6 ชนิดยอดนิยมในเมืองไทย
เงินอุดหนุนบุตร 2564 ลงทะเบียนยังไง ใช้เอกสารอะไร เงินเข้าเมื่อไหร่มาดูกัน