9 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ใคร ๆ ก็อยากเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะทุกคนรู้ว่านมแม่มีประโยชน์กับทารก แต่คุณรู้มั้ยว่านมแม่มีประโยชน์กับแม่เองด้วย ยังมีอีกหลายอย่างทั้งการดูแลตัวเองช่วงให้นมลูก และเกร็ดความรู้มากมายที่คุณควรทราบก่อนเริ่มให้นมลูก

9 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ความปราถนาดีของคนเป็นแม่คือการได้มอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูก และเมื่อลูกแรกเกิด แม่ก็ย่อมอยากให้ลูกได้รับสิ่งที่มีประโยชน์สูงสุด เพื่อนำไปใช้พัฒนาการเจริญเติบโตของร่างกาย เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับสุขภาพร่างกายของลูก และสิ่งที่แม่ทุกคนปราถนาจะมอบให้ลูกนั้นก็คือ “น้ำนมแม่” สุดยอดสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับลูกรัก มาดูกันว่า 9 เรื่องที่ต้องรู้ก่อนเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ นั้นมีอะไรกันบ้าง

1) น้ำนมแม่ดีต่อสุขภาพของลูกอย่างมาก
น้ำนมแม่ของมนุษย์เราสมบูรณ์แบบที่สุดแล้วสำหรับทารก ไม่มีอะไรต้องสงสัยเลย น้ำนมแรกที่ออกมาซึ่งเรียกกันว่า น้ำนมเหลืองนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารและแอนติบอดีที่จะช่วยปกป้องลูกรักของคุณ แม้ว่าลูกจะได้ดื่มน้ำนมเหลืองเล็กน้อยในการให้นมแต่ละครั้ง แต่ก็เหมาะสมแล้วที่กระเพาะน้อย ๆ ของลูกรองรับได้ สิ่งที่น่าทึ่งเกี่ยวกับนมแม่คือ น้ำนมเหลืองจะเปลี่ยนเป็นน้ำนมแม่จริง ๆ หลังคลอดได้ในวันที่ 3 ถึงวันที่ 5 น้ำนมนี้มีปริมาณไขมัน น้ำตาล น้ำ และโปรตีนที่เหมาะสมให้ลูกของคุณเติบโต
ลักษณะนมแม่แต่ละระยะ
ลักษณะนมแม่แต่ละระยะ

2) น้ำนมแม่ดีต่อสุขภาพคุณแม่ด้วย
น้ำนมแม่มีประโยชน์กับคุณแม่ด้วย รวมถึงการช่วยลดความเสี่ยงของเบาหวาน 2 ชนิด มะเร็งเต้านมและรังไข่ นอกจากนี้ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเป็นแม่ออกมา เช่น โปรแลคติน และ ออกซิโทซิน
ขณะที่ออกซิโทซินช่วยสร้างความผูกพันทางอารมณ์ระหว่างแม่ลูก ประโยชน์อีกข้อคือช่วยให้ช่องคลอดกระชับเข้าหลังคลอดอีกด้วย

3) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะยากหน่อยในช่วงเริ่มต้น
หากคุณตั้งท้องแรกและกำลังคิดว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นครั้งแรกล่ะก็ คุณควรรู้ไว้ก่อนก็ดีว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจจะยากหน่อยในช่วงเริ่มต้น แต่ไม่นานคุณก็จะคุ้นเคยและทำอย่างเป็นธรรมชาติเอง
ช่วงแรก ๆ ที่ลูกเพิ่งเกิด น้ำนมอาจจะยังไม่ค่อยออก โดยเฉพาะผู้ที่ผ่าคลอด หรือน้ำนมมีน้อย ลูกอาจไม่รู้วิธีดูด การดูดนมผิดวิธีอาจทำให้คุณเจ็บหัวนม ทารกบางคนไม่อยากกินนมจากเต้า ปัญหาเหล่านี้อาจรุมเร้าคุณแม่ซึ่งเพิ่งจะเหนื่อยล้าจากการคลอดลูก ก็ขอให้อย่ายอมแพ้หรือล้มเลิก คุณจะให้นมลูกได้อย่างสำเร็จแน่นอนหากคุณมีความพยายาม ความอดทน และได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากมืออาชีพ
ช่วงแรก ๆ ที่ลูกเพิ่งเกิด น้ำนมอาจจะยังไม่ค่อยออก โดยเฉพาะผู้ที่ผ่าคลอด หรือน้ำนมมีน้อย ลูกอาจไม่รู้วิธีดูด การดูดนมผิดวิธีอาจทำให้คุณเจ็บหัวนม ทารกบางคนไม่อยากกินนมจากเต้า ปัญหาเหล่านี้อาจรุมเร้าคุณแม่ซึ่งเพิ่งจะเหนื่อยล้าจากการคลอดลูก ก็ขอให้อย่ายอมแพ้หรือล้มเลิก คุณจะให้นมลูกได้อย่างสำเร็จแน่นอนหากคุณมีความพยายาม ความอดทน และได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากมืออาชีพ

4) อย่าได้ลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ
ผู้เขียนเองรู้สึกว่าการให้นมลูกชายคนโตเป็นเรื่องยากลำบากในตอนแรก และสงสัยว่าทำถูกต้องรึเปล่า แต่เมื่อได้รับการช่วยเหลือจากที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการให้นม ผู้เขียนเองก็ได้เรียนรู้วิธีการที่ถูกต้องในการอุ้มลูกและให้ลูกดูดนม และอื่น ๆ อีกมาก ทำให้การให้นมลูกเป็นเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ ไปเลย ผู้เขียนเองให้นมลูกได้กว่าสองปีเลยทีเดียว
การเจ็บหัวนมและหัวนมติดเชื้อ
การเจ็บหัวนมและหัวนมติดเชื้อ

5) คุณยังคงกินเบอร์เกอร์ได้ น้ำนมแม่ก็ยังสมบูรณ์อยู่
ลูกของคุณจะยังคงได้รับสารอาหารต่าง ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมผ่านนมแม่แม้ว่าคุณจะกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะกินเบอร์เกอร์หรืออาหารขยะทั้งสามมื้อได้นะ
การกินอาหารที่ดีและมีสัดส่วนทางโภชนาการที่เหมาะสม และไม่อดอาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกอยู่ ดังนั้นคุณแม่ควรกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างหลากหลาย คุณแม่ที่ให้นมลูกควรกินอาหารที่มีสัดส่วนทางโภชนาการที่เหมาะสมเฉกเช่นตอนที่คุณแม่ทำมาตลอดตอนที่ตั้งท้อง แต่ต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีก 500 แคลอรี่ในช่วงให้นมนะ
นอกจากนี้ กินวิตามินเสริมที่เหมาะสมเพิ่มด้วยก็ดี (คุณหมอจะช่วยแนะนำได้ว่าควรกินวิตามินอะไรบ้าง) รับแคลเซียมให้เพียงพอ และดื่มน้ำมาก ๆ ในช่วงที่ให้นมลูก
โภชนาการสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร
การกินอาหารที่ดีและมีสัดส่วนทางโภชนาการที่เหมาะสม และไม่อดอาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกอยู่ ดังนั้นคุณแม่ควรกินอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างหลากหลาย คุณแม่ที่ให้นมลูกควรกินอาหารที่มีสัดส่วนทางโภชนาการที่เหมาะสมเฉกเช่นตอนที่คุณแม่ทำมาตลอดตอนที่ตั้งท้อง แต่ต้องบวกเพิ่มเข้าไปอีก 500 แคลอรี่ในช่วงให้นมนะ
นอกจากนี้ กินวิตามินเสริมที่เหมาะสมเพิ่มด้วยก็ดี (คุณหมอจะช่วยแนะนำได้ว่าควรกินวิตามินอะไรบ้าง) รับแคลเซียมให้เพียงพอ และดื่มน้ำมาก ๆ ในช่วงที่ให้นมลูก
โภชนาการสำหรับแม่ที่ให้นมบุตร

6) ดูแลตัวเองด้วยการทานอาหารที่มีประโยชน์
การที่คุณเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้น ควรจะต้องทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ครบ 5 หมู่ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการเสริมสร้างร่างกายคุณแม่เองให้แข็งแรงสมบูรณ์ และคุณค่าจากสารอาหารที่ทานเข้าไปยังไปช่วยบำรุงให้คุณแม่มีน้ำนมที่ได้คุณภาพสำหรับเลี้ยงลูกน้อยได้อย่างเพียงพออีกด้วย

7) การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สร้างความผูกพันระหว่างคุณกับลูก
การเป็นพ่อแม่เป็นเรื่องที่เหนื่อย (มาก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นคุณแม่คนใหม่ที่ต้องเรียนรู้สารพัดเรื่องเกี่ยวกับทารก
แต่เมื่อคุณเชี่ยวชาญการให้นมลูกแล้ว ก็ไม่ได้มีอะไรจะสวยงามหรือน่าผ่อนคลายเกินกว่าการได้เห็นลูกน้อยอิ่มเอม อบอุ่น และปลอดภัยในอ้อมอกคุณแน่นอน
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บังคับให้คุณต้องนั่งลง หายใจลึก ๆ โอบอุ้มลูก ได้มองหน้าลูก และหลงใหลยินดีว่าลูกกำลังโตเพราะได้รับสารอาหารจากคุณ
แต่เมื่อคุณเชี่ยวชาญการให้นมลูกแล้ว ก็ไม่ได้มีอะไรจะสวยงามหรือน่าผ่อนคลายเกินกว่าการได้เห็นลูกน้อยอิ่มเอม อบอุ่น และปลอดภัยในอ้อมอกคุณแน่นอน
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บังคับให้คุณต้องนั่งลง หายใจลึก ๆ โอบอุ้มลูก ได้มองหน้าลูก และหลงใหลยินดีว่าลูกกำลังโตเพราะได้รับสารอาหารจากคุณ

8) ทารกเกิดใหม่ต้องเรียนรู้การอมลานนมเพื่อดูดนมอย่างเหมาะสม
เรื่องการอมลานนมนี้เป็นเรื่องสำคัญมากทั้งสำหรับคุณและลูกของคุณที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการให้นม
การให้ลูกอมนมของคุณเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกัน แต่จะเป็นขั้นตอนที่ค่อย ๆ ง่ายขึ้นเมื่อคุณได้รับการสนับสนุนและคุณมีความอดทน เพราะเรื่องนี้ต้องใช้เวลา เมื่อลูกอมลานนมเป็นแล้ว ลูกก็จะดูดนมอย่างมีความสุข
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บอกว่า ทารกต้องได้ดูดนมเต็มปากเต็มคำเมื่อลูกดูดนม คุณสามารถตรวจสอบตามนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้ดูดนมเต็มที่
- ปากของลูกเปิดกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนที่จะดูดนม
- ลิ้นของลูก ริมฝีปากล่าง และคางลูกสัมผัสกับหน้าอกของคุณก่อน
- เมื่อสัมผัสแล้ว ส่วนลานนมเกือบทั้งหมดควรอยู่ในปากลูก และจมูกลูกควรเป็นอิสระไม่มีอะไรกั้นขวาง
คุณจะรู้ได้เลยว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธีหากคุณเจ็บปวดที่ไหนสักแห่ง หากเกิดเรื่องดังนี้ขึ้น ค่อย ๆ ใช้นิ้วของคุณแยกลูกจากเต้านม แล้วให้ลูกดูดใหม่อีกครั้ง
วีดีโอท่าให้นมที่ถูกต้อง
การให้ลูกอมนมของคุณเป็นเรื่องที่ต้องฝึกฝนกัน แต่จะเป็นขั้นตอนที่ค่อย ๆ ง่ายขึ้นเมื่อคุณได้รับการสนับสนุนและคุณมีความอดทน เพราะเรื่องนี้ต้องใช้เวลา เมื่อลูกอมลานนมเป็นแล้ว ลูกก็จะดูดนมอย่างมีความสุข
ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่บอกว่า ทารกต้องได้ดูดนมเต็มปากเต็มคำเมื่อลูกดูดนม คุณสามารถตรวจสอบตามนี้เพื่อให้แน่ใจว่าลูกได้ดูดนมเต็มที่
- ปากของลูกเปิดกว้างมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ก่อนที่จะดูดนม
- ลิ้นของลูก ริมฝีปากล่าง และคางลูกสัมผัสกับหน้าอกของคุณก่อน
- เมื่อสัมผัสแล้ว ส่วนลานนมเกือบทั้งหมดควรอยู่ในปากลูก และจมูกลูกควรเป็นอิสระไม่มีอะไรกั้นขวาง
คุณจะรู้ได้เลยว่าลูกดูดนมไม่ถูกวิธีหากคุณเจ็บปวดที่ไหนสักแห่ง หากเกิดเรื่องดังนี้ขึ้น ค่อย ๆ ใช้นิ้วของคุณแยกลูกจากเต้านม แล้วให้ลูกดูดใหม่อีกครั้ง
วีดีโอท่าให้นมที่ถูกต้อง

9) คุณต้องดูแลหัวนมของคุณให้ดี
เพราะคุณต้องให้นม ดังนั้นหัวนมก็จะโดนดูดระบม และคุณอาจพบว่าหัวนมแตกหรือหัวนมเจ็บได้หากคุณไม่ได้ดูแลหัวนมให้ดี
- ตรวจสอบหัวนมทั้งสองข้างหลังจากการให้นมทุกครั้ง หากคุณเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก คุณควรดูแลรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อมิให้อาการแย่ลง
- หยดน้ำนมตัวเองลงบนหัวนมแล้วปล่อยให้แห้ง การทำเช่นนี้ช่วยปกป้องหัวนมและช่วยรักษาอาการหัวนมเจ็บ แตก หรือมีเลือดออกได้
- ตรวจสอบหัวนมทั้งสองข้างหลังจากการให้นมทุกครั้ง หากคุณเจ็บหัวนมหรือหัวนมแตก คุณควรดูแลรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อมิให้อาการแย่ลง
- หยดน้ำนมตัวเองลงบนหัวนมแล้วปล่อยให้แห้ง การทำเช่นนี้ช่วยปกป้องหัวนมและช่วยรักษาอาการหัวนมเจ็บ แตก หรือมีเลือดออกได้
ถัดไป
บทความโดย
theAsianparent Editorial Team
แชร์ :