X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

พัฒนาการการตั้งครรภ์ 9 เดือนของหนูในท้องแม่ ระยะตั้งครรภ์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

บทความ 5 นาที
พัฒนาการการตั้งครรภ์ 9 เดือนของหนูในท้องแม่ ระยะตั้งครรภ์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง

ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับพัฒนาการทารกในครรภ์ และสภาวะอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อเข้าใจอาการต่าง ๆ ว่าที่คุณเป็นนั้น ปกติหรือไม่

พัฒนาการการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ ระยะเวลาตั้งท้องแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ระยะตั้งครรภ์ และอาการของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ในแต่ละเดือนเป็นอย่างไร ลูกน้อยโตแค่ใน เกิดอะไรขึ้นบ้างในแต่ละไตรมาส ไปติดตาม ระยะเวลาตั้งครรภ์ พร้อมกันเลย

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์

พัฒนาการการตั้งครรภ์  ระยะตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 1-4 (เดือนแรก)

ว่าที่คุณแม่หลายคน ผ่านช่วงเวลา 4 สัปดาห์แรก  โดยแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าตั้งครรภ์ คู่รักหลายคู่อาจจจะได้ใช้เวลาช่วงนี้นั่งลุ้นว่าแบบทดสอบตั้งครรภ์จะขึ้น 2 ขีดหรือไม่ ระยะตั้งครรภ์ และอาการต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ยังไม่ค่อยแสดงออกมาเท่าไหร่ แต่ผู้หญิงบางคนก็จะเริ่มมีอาการแพ้ท้องบ้างแล้ว

  • พัฒนาการการตั้งครรภ์ในเดือนแรกนี้ คือการที่อสุจิได้เข้าปฏิสนธิกับไข่และเคลื่อนตัวเข้าไปฝังอยู่ในโพรงมดลูก
  • แพทย์ส่วนใหญ่จะคำนวณวันที่จะคลอดจากวันสุดท้ายที่คุณผู้หญิงมีประจำเดือน

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์ ระยะตั้งครรภ์ สัปดาห์ที่ 5-8 (ท้อง 2 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

ในระยะครรภ์นี้รูปแบบการใช้ชีวิตของคุณแม่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

  • การใช้สิ่งเสพติด แอลกอฮอล์หรือสารพิษอื่น ๆ ในระยะนี้จะมีผลต่อพัฒนาการทารกในครรภ์ แม้แต่ยาที่จำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไปก็เข้าข่ายไม่ปลอดภัยต่อลูกน้อยในครรภ์ซึ่งกำลังเจริญเติบโต
  • หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์เพื่อช่วยให้ลูกน้อยของคุณมีจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในชีวิต ถ้าคุณสูบบุหรี่ นี่เป็นโอกาสดีที่จะเลิก ทุกอย่างที่คุณทำอาจส่งผลกระทบต่อลูกได้ทั้งสิ้น

ระยะตั้งครรภ์ คุณควรดูแลตัวเองอย่างดีระหว่างตั้งครรภ์ ทานอาหารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญต่อลูกในท้อง หมั่นทานอาหารที่มีสารอาหารที่จำเป็นเช่น โปรตีน แคลเซียม คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้สด ดื่มน้ำมาก ๆ และเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เลือกอาหารและของว่างซึ่งมีคุณค่าเพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกน้อยอย่างเพียงพอ

 

ระยะตั้งครรภ์ ติดตามพัฒนาการของทารกในครรภ์ตลอด 9 เดือน พร้อมปรึกษาปัญหาจุกจิกต่าง ๆ ในระหว่างตั้งครรภ์ กับพยาบาล และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ จากโรงพยาบาลชั้นนำ ผ่านช่องทางออนไลน์ เช่น แชทแบบกลุ่ม แชทส่วนตัว วิดีโอคอลกับคุณหมอเฉพาะทาง ได้ใน ALive Powered by AIA แอปพลิเคชันสำหรับคุณแม่มือใหม่ ดาวน์โหลดฟรี  

 

อาการยอดฮิตช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

ระยะตั้งครรภ์ เดือนที่สองของการตั้งครรภ์เป็นระยะหนึ่งที่สำคัญที่สุดต่อการพัฒนาการทารกในครรภ์ และจะมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตัวอ่อนหลายอย่าง เช่น

  • หัวใจเต้น
  • จังหวะหัวใจเต้นสามารถมองเห็นได้ทางอัลตราซาวน์
  • อวัยวะหลัก (สมอง ปอด ท้อง ตับ) เริ่มก่อตัวในช่วงเดือนนี้
  • ตุ่มแขนขาปรากฏให้เห็น

วิธีดูแลตัวเองที่บ้านตอนตั้งครรภ์โดยไม่ต้องพึ่งยา

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 9-12 (ท้อง 3 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

ในช่วงเดือนที่ 3 พัฒนาการทารกในครรภ์ของคุณคือตัวอ่อนในท้องจะเริ่มเปลี่ยนไปเป็นทารก แล้วมีอะไรเกิดขึ้นในครรภ์อีกนะ

  • ร่างกายของคุณจะพบกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขนานใหญ่ บางครั้งคุณอาจรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ของคุณ ผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่เห็นว่านี่เป็นช่วงเดือนที่เลวร้ายที่สุด ขณะที่อีกหลายคนไม่รู้สึกอะไรเลย โดยมากผู้หญิงตั้งครรภ์จะพบว่าตนเองเกิดอาการซึมเศร้าหดหู่ได้ง่าย และอารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่พบเห็นได้ทั่วไปได้แก่ความรู้สึกว่าตัวเองไม่สวย รู้สึกขาดตกบกพร่องและกังวลว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ผู้หญิงบางคนไม่ตื่นเต้นกับการตั้งครรภ์ในระยะแรกและกังขากับอาการของตนไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่จะกลุ้มใจง่าย ร้องไห้ด้วยเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ขี้หงุดหงิดหรือเหม่อลอย
  • น้ำหนักตัวของคุณอาจเพิ่มขึ้นบ้างแล้ วและคุณอาจสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เช่น เหงือกนิ่มกว่าเคย และต่อมไทรอยด์บวมเล็กน้อย

ไอโอดีนช่วยให้ทารกในครรภ์ฉลาดขึ้น

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 13-16 (ท้อง 4 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

ขอต้อนรับเข้าสู่ไตรมาสที่สองของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้คุณคงอยากอาหารแปลก ๆ บางประเภทแล้วใช่ไหมล่ะ ความหิวเป็นอีกอาการหนึ่งของการตั้งครรภ์นั่นเอง

  • อย่าทานอาหารมากกว่าปกติเป็นเท่าตัวเพราะคิดว่าต้องทานเผื่ออีกชีวิต คุณควรทานมากกว่าที่เคยเพียงเล็กน้อย
  • หัวนมของคุณอาจคล้ำขึ้น และแลเห็นเส้นเลือดได้ชัดเจนกว่าเก่า
  • ผิวหน้าของคุณอาจเริ่มมีดวง ๆ ขึ้น ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่านี่เป็นเรื่องปกติแต่หลายคนก็มองว่าเป็นสัญญาณว่าคุณได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
  • หัวใจของคุณทำงานหนักกว่าเดิม เพื่อสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงมดลูก ผิวและไตซึ่งต้องการเลือดมากกว่าปกติเท่าตัว ความจุของปอดลดลง เพราะมดลูกขยายใหญ่เกินอุ้งเชิงกรานและเบียดเข้าไปในช่องท้อง แม้จะทำกิจกรรมตามปกติแต่คุณจะรู้สึกเหนื่อยหอบง่ายกว่าตอนก่อนตั้งครรภ์ คุณควรใช้สิ่งนี้เป็นเครื่องชี้ว่าเมื่อใดควรชะลอหรือเลิกทำกิจกรรมนั้น ๆ

อาการต่าง ๆ ช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2

 

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

พัฒนาการทารกในครรภ์คือ ลูกน้อยของคุณสร้างอินซูลินและน้ำย่อยของตนเองได้บ้างแล้ว และปัสสาวะใส่น้ำคร่ำในปริมาณเล็กน้อยทุก ๆ 45 นาที ฟันทุกซี่ก่อตัวครบและมีกระทั่งแนวเส้นผมบนหนังศีรษะด้วย

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 17-20 (ท้อง 5 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

ความเจริญอาหารเป็นพายุบุแคมคืออาการธรรมดาสามัญของครรภ์ที่แข็งแรงในช่วงเดือนที่ 5

  • เวลานี้หน้าท้องของคุณเริ่มป่องให้เห็นเด่นชัด น้ำหนักตัวควรจะเพิ่มขึ้นราว 2-4.5 กิโลกรัม และคุณอาจสังเกตว่าความอยากอาหารของคุณเพิ่มขึ้น
  • ในช่วงนี้ไปจนถึงสัปดาห์ที่ 22 คุณหมออาจอัลตราซาวน์ดูครรภ์เพื่อประเมินการเจริญเติบโต และพัฒนาการทารกในครรภ์ รวมทั้งระบุวันครบกำหนดครรภ์ที่แน่นอน หากทารกอยู่ในท่าที่ถูกต้อง การตรวจอัลตราซาวน์ยังอาจบอกเพศของลูกน้อยได้ด้วย
  • หัวใจของคุณต้องทำงานมากกว่าปกติร้อยละ 40-50 เพื่อรองรับการตั้งครรภ์

ชื่อเล่น ลูกสาว 100 ชื่อเล่นลูกสาว เพราะ ๆ แถมยังอินเทรนด์ ไม่ซ้ำใคร

 

ลูกเป็นยังไงบ้างนะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ คือ เวลานี้ตัวอ่อนจะยาวประมาณ 8 นิ้ว เรียกได้ว่าขนาดเท่ากระต่ายตัวเล็ก ๆ ผิวลูกจะมีไขเคลือบปกป้องเรียกว่าไขหุ้มทารก และมีขนอ่อนชุดแรกขึ้นคลุมตามตัว ไตของลูกผลิตปัสสาวะแล้วและจะขับถ่ายออกสู่น้ำคร่ำรอบ ๆ ตัว

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 21-24 (ท้อง6 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ก็คือลูกน้อยของคุณตัวเริ่มโตแล้ว และน้ำหนักจะอยู่ที่ราว 0.5 กิโลกรัมเมื่อครรภ์อายุได้ 24 สัปดาห์ ยังมีความเปลี่ยนแปลงอะไรอีกนะ

  • นอกเหนือจากผิวเหี่ยวย่นสีออกแดง ความยาวตัวอยู่ที่ 28-35 เซนติเมตรและหนัก 0.5 กิโลกรัมแล้ว ลูกน้อยของคุณดูเหมือนเด็กทั่วไปทุกประการ
  • แม้รูปร่างจะยังผอมบางอยู่แต่ก็เติบโตอย่างรวดเร็ว
  • เปลือกตาทั้งสองข้างกำลังปริแยกเตรียมพร้อมสำหรับวันที่จะลืมตามาดูโลก

เที่ยวขณะตั้งครรภ์อย่างไรถึงปลอดภัย

น้ำหนักควรขึ้นเท่าไหร่ ช่วงตั้งครรภ์

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 25-28 (ท้อง 7 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

ยินดีต้อนรับว่าที่คุณแม่เข้าสู่ช่วงไตรมาสสุดท้าย เวลานี้มดลูกของคุณใหญ่มากจนอาจเบียดเข้าไปในบริเวณอุ้งเชิงกราน และทำให้คุณปวดปัสสาวะบ่อย ขนาดของมดลูกยังอาจส่งผลให้คุณเริ่มปวดหลัง การจัดระเบียบร่างกายให้เหมาะสม สวมรองเท้าส้นเตี้ยและท่าบริหารอุ้งเชิงกราน (Pelvic Rocking) จะช่วยลดอาการปวดหลังลงได้

ในช่วงเดือนที่ 7 นี้ ขนาดของครรภ์ที่ขยายใหญ่อาจทำให้คุณนอนหลับได้ไม่ค่อยสบายนัก ขอแนะนำให้ใช้หมอนช่วยหนุน หากคุณเริ่มมีอาการท้องผูก และเป็นริดสีดวงทวาร ลองใช้ม้านั่งเตี้ย ๆ รองใต้เท้าระหว่างนั่งโถเพื่อจัดให้ร่างกายอยู่ในท่าขับถ่ายที่สบายขึ้น

 

อาการต่าง ๆ ในระยะตั้งครรภ์ 7 เดือน

  • อ่อนเพลีย
  • จุกเสียด
  • ท้องอืด
  • ท้องผูก
  • น้ำนมไหลซึม
  • ปวดหลัง
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • เส้นเลือดขอด
  • มดลูกหดรัดตัว
  • ขาเป็นตะคริว
  • หายใจหอบถี่
  • ตัวบวม

 

ระยะตั้งครรภ์ พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

พัฒนาการทารกในครรภ์ ได้แก่ พื้นที่เริ่มกลายเป็นปัญหาต่อลูกน้อย ลูกอาจจะกลับเอาศีรษะลงด้านล่างขณะพยายามหาท่าที่ถนัดสบายตัว ลูกมองเห็นแล้ว แต่ภาพที่เห็นจะยังเป็นเพียงแสงมัว ๆ ลูกยังได้ยินเสียงด้วยแม้ว่าเสียงที่ได้ยินจะออกอู้อี้ก็ตาม ยามที่คุณกับสามีพูดคุยกัน ลูกจะค่อย ๆ คุ้นเคยกับเสียงของคุณทั้งคู่

นอกจากนี้ลูกน้อยของคุณยังรับรสได้ แต่รสของน้ำคร่ำจะเจือจางมาก อาหารที่คุณทานอาจเปลี่ยนรสชาติน้ำคร่ำ ซึ่งก็จะทำให้ลูกคุ้นกับประเภทของอาหารที่คุณทาน ปอดกำลังเตรียมพร้อมสำหรับการหายใจและการเคลื่อนไหวของลูกทำให้กล้ามเนื้อได้ออกกำลังกาย ในช่วงเดือนนี้สมองและระบบประสาทจะมีการเจริญเติบโตขนานใหญ่ และลูกเริ่มควบคุมอุณหภูมิของร่างกายได้บ้างแล้วด้วย

บทความจากพันธมิตร
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
แม่ท้องอย่ามองข้าม อาการท้องผูก ในระหว่างตั้งครรภ์เสี่ยงต่อการแท้งได้จริง?
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom

ออกแบบอาหารโปรดลูกตั้งแต่ตั้งครรภ์

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 29-32 (ท้อง 8 เดือน)

พัฒนาการการตั้งครรภ์

เมื่อถึงเดือนที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณอาจรู้สึกถึงแรงบีบหดที่ทำให้เข้าใจผิดได้ว่าเป็นการเจ็บครรภ์จริง นอกจากนี้คุณยังอาจมีอาการอื่น ๆ อีกหลายอย่างที่จะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของคุณ

  • รู้สึกว่าครรภ์เริ่มปวดเตือน นั่นแปลว่ามดลูกกำลังออกกำลังเพิ่มความแข็งแรงเตรียมคลอด
  • กระดูกเชิงกรานของคุณขยายออกแล้ว และคุณอาจรู้สึกปวดอุ้งเชิงกราน สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะลูกน้อยของคุณเริ่มเคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกราน
  • ความกลัวเป็นเรื่องปกติเมื่อเข้าสู่ช่วงเดือนนี้ ลองคุยกับใครสักคนที่มีลูกแล้วและสามารถบอกเล่าประสบการณ์ให้คุณฟังได้ กุญแจสำคัญคือต้องหาคนที่มีประสบการณ์ด้านบวกเพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวคุณเอง

 

อาการทั่วไป

  • อ่อนเพลีย
  • น้ำนมไหลซึม
  • เลือดออกตามไรฟัน
  • ปวดอุ้งเชิงกราน
  • เส้นเลือดขอด
  • กระเพาะปัสสาวะมีปัญหา
  • ความอยากอาหารลดลง
  • นอนไม่ค่อยหลับ
  • หงุดหงิดบ่อยครั้ง

 

พัฒนาการทารกในครรภ์เป็นอย่างไรบ้างนะ

  • ม่านตาของลูกหดและขยายตามแสง
  • ลูกสามารถลืมตา และหลับตาได้ตามต้องการ
  • เล็บยาวจนถึงปลายนิ้ว

เตรียมตัวโค้งสุดท้ายก่อนคลอด

 

พัฒนาการการตั้งครรภ์ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 33 เป็นต้นไป (ท้อง 9 เดือนขึ้นไป)

พัฒนาการการตั้งครรภ์ช่วงใกล้คลอด

ช่วงนี้คือช่วงที่คุณจะรู้สึกตัวเองใหญ่เป็นพิเศษ อะไร ๆ ก็บวมไปหมด เตรียมพร้อมที่จะคลอดแล้ว พร้อมที่จะเจอหน้าเจ้าตัวน้อยกันหรือยังเอ่ย ...

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ชื่อมงคล 176 รายชื่อมงคล ตั้งชื่อพร้อมความหมาย เป็นศิริมงคล ทั้งลูกชายลูกสาว

ประสบการณ์ผ่าคลอดอย่างละเอียด

คลอดแบบธรรมชาติดีกว่าจริงหรือไม่

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

P.Veerasedtakul

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • พัฒนาการการตั้งครรภ์ 9 เดือนของหนูในท้องแม่ ระยะตั้งครรภ์ เกิดอะไรขึ้นบ้าง
แชร์ :
  • การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ของหนูในท้องแม่ พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

    การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ของหนูในท้องแม่ พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

  • ตามติดชีวิตทารก 9 เดือนในท้องแม่ อาการท้อง 9 เดือน เกิดอะไรขึ้นบ้าง

    ตามติดชีวิตทารก 9 เดือนในท้องแม่ อาการท้อง 9 เดือน เกิดอะไรขึ้นบ้าง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ของหนูในท้องแม่ พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

    การตั้งครรภ์ 1-9 เดือน ของหนูในท้องแม่ พัฒนาการทารกในครรภ์ตลอด 40 สัปดาห์

  • ตามติดชีวิตทารก 9 เดือนในท้องแม่ อาการท้อง 9 เดือน เกิดอะไรขึ้นบ้าง

    ตามติดชีวิตทารก 9 เดือนในท้องแม่ อาการท้อง 9 เดือน เกิดอะไรขึ้นบ้าง

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ