ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

เข้าสู่การ ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ หรือ อายุครรภ์ 7 สัปดาห์แล้ว ตอนนี้คุณแม่รู้สึกอย่างไรบ้างคะ ซึ่งเชื่อว่าคุณแม่หลาย ๆ คนอาจกำลังสงสัยว่าทารกในครรภ์ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง เพราะว่าคุณไม่สามารถเห็นพวกเขาได้อย่างชัดเจนในช่วงระยะตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์นี้ เรามาดูกันดีกว่าในความเป็นจริงแล้วตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์เกิดอะไรขึ้นกับคุณบ้างแล้ว

 

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ อายุครรภ์ 7 สัปดาห์ ทารกตัวเท่าไหร่

เมื่อคุณตั้งครรภ์ได้ 7 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะมีขนาดเท่าผลตะขบ ตัวอ่อนของคุณจะมีขนาดประมาณ 1.3 เซนติเมตร น้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.1 กรัม ซึ่งจะมีขนาดใหญ่เป็น 2 เท่าของช่วง 2 สัปดาห์ผ่านมา และช่วงนี้พวกเขาก็จะเจริญเติบโตได้ไวขึ้นเรื่อย ๆ

 

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ เท่ากับกี่เดือน มีอาการอย่างไรบ้าง

การตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 7 หมายความว่าคุณตั้งครรภ์ได้ประมาณ 1 เดือนกับอีก 3 สัปดาห์นั่นเอง และแน่นอนว่าคุณแม่ที่อยู่ในระยะเริ่มต้นเช่นนี้ก็มักจะมีอาการที่เรียกว่า แพ้ท้อง และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย มาดูกันดีกว่าค่ะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์จะต้องพบเจอกับอาการใดบ้าง

 

1. คลื่นไส้

อาการแพ้ท้องของคุณแม่บางคนอาจเริ่มรุนแรงมากขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 7 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจต้องหาอาหาร หรือเครื่องดื่มบางชนิดมาช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้นี้ และสาเหตุของการที่คุณแม่แพ้ท้องนั้นส่วนใหญ่จะมาจากระดับฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงจึงทำให้เกิดการแพ้ท้องที่รุนแรงมากกว่าก่อนหน้าที่ผ่านมา

 

2. ความอยากอาหาร หรือการไม่อยากอาหาร

จะเริ่มเกิดขึ้นในระยะนี้เช่นกัน คุณแม่บางคนอาจพบว่าตนเองต้องการที่จะทานอาหารเฉพาะ หรือแปลก ๆ หรือคุณแม่บางคนอาจไม่ชอบ หรือไม่อยากเข้าใกล้อาหารที่ตนเองชอบก่อนหน้า ซึ่งการไม่ชอบนั้นเป็นผลมาจากร่างกายของคุณแม่ที่คิดว่าอาหารเหล่านั้นอันตรายต่อครรภ์จึงทำให้เกิดการปฏิเสธขึ้นได้นั่นเอง

 

3. ปัสสาวะบ่อยขึ้น

คุณแม่ในช่วงนี้เทียบจะเข้าห้องน้ำตลอดเวลาเลยก็ว่าได้ ซึ่งในบางครั้งคุณแม่บางคนอาจยังไม่ทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ตามแต่ก็จะสังเกตได้ว่ามีการปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นเป็นสองเท่าตัว และอาจมีอาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกรานร่วมด้วย เหตุมาจากการไหลเวียนของเลือดที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงเริ่มตั้งครรภ์

 

4. สิวขึ้น

การเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนในช่วงของการตั้งครรภ์นั้นอาจเป็นเหตุทำให้คุณแม่สิวขึ้นที่บริเวณใบหน้า หรือตามจุดต่าง ๆ ของร่างกาย หากคุณแม่ท่านใดที่ต้องการจะใช้ยารักษาสิวควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัย และสามารถใช้ได้ขณะที่กำลังตั้งครรภ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : ปวดฉี่บ่อย ตอนท้อง ผิดปกติไหม เกิดจากอะไร คนท้องควรทำยังไงดี?

 

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ 3

 

5. มีน้ำลายมากขึ้น

อาการนี้อาจเป็นอาการที่คุณแม่เองก็อาจคาดไม่ถึง คุณแม่จะพบว่าตนเองมีน้ำลายส่วนเกินจำนวนมากในปาก เนื่องด้วยการถูกกระตุ้นของฮอร์โมน และอาจเกี่ยวเนื่องกับอาการคลื่นไส้นั่นเอง

 

6. อารมณ์แปรปรวน

เป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเช่นกัน ยังไงในช่วงนี้ก็ขอให้คุณแม่หายใจเข้าออกลึก ๆ เพื่อไม่ให้อารมณ์แปรปรวนตามสภาพแวดล้อมมากจนเกินไปนะคะ

 

7. ตะคริว

ในการตั้งครรภ์ระยะแรก ๆ เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่จะเกิดตะคริว ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เป็นช่วงที่คุณแม่จะรับรู้ได้ว่าทารกในครรภ์นั้นมีการขยับตัว หรือกำลังดิ้นก็ตาม แต่คุณแม่ก็สามารถรู้สึกได้ว่าเกิดการเป็นตะคริว และแรกขยับบางอย่างที่หน้าท้องคุณ นอกจากนี้ปากมดลูกของคุณแม่ที่อยู่ในช่วงการตั้งครรภ์สัปดาห์ที่ 7 นั้นจะมีความอ่อนไหวมากกว่าปกติ ซึ่งคุณอาจรับรู้ได้ว่าตนเองตั้งครรภ์ได้หลังจากมีเพศสัมพันธ์

บทความที่เกี่ยวข้อง : แพ้ท้องมาก อันตรายไหม วิจัยเผย แม่แพ้ท้องมีโอกาสที่จะไม่แท้ง!

 

การเปลี่ยนทางร่างกายของคุณแม่ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์

หากคุณแม่กำลังยืนจ้องมองหน้าท้องของตนเองอยู่หน้ากระจก คุณอาจไม่พบการโตขึ้น หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงของร่างกายของคุณเลยแม้แต่นิดเดียว เพราะว่าหน้าท้องของคุณแม่นั้นจะเริ่มออก หรือสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่านั้นต้องเข้าสู่ช่วงของไตรมาสที่ 2 หรือช่วงเดือนที่ 3 หรือ 4 ของการตั้งครรภ์นั่นเอง หากคุณแม่คนไหนสังเกตเห็นว่าท้องของตนเองเริ่มใหญ่ขึ้น นั่นอาจเป็นอาการท้องอืดของคุณแม่ที่มีแก๊สในกระเพาะมากเกินไปก็ได้

 

สามารถเห็นทารกในครรภ์ด้วยอัลตราซาวนด์ได้หรือไม่

สำหรับการตั้งครรภ์สัปดาห์ 7 นั้นของตอบเลยว่า ได้! ซึ่งในการตรวจครรภ์ด้วยการอัลตราซาวนด์นั้นจะสามารถจับตรวจอัตราการเต้นของหัวใจทารกได้แล้ว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการตรวจจับการเต้นของหัวใจของทารกในครรภ์ตั้งแต่ในสัปดาห์แรก ๆ ของการตั้งครรภ์ ก็ไม่ได้รับประกันว่าทารกนั้นจะปลอดภัย แพทย์ส่วนใหญ่จะรอจนกว่าถึงสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ก่อนที่จะตรวจอัลตราซาวนด์

 

ท้อง 7 สัปดาห์

 

ลักษณะของทารกในช่วงสัปดาห์ 7 ของการตั้งครรภ์เป็นอย่างไร

ทารกอายุครรภ์ 7 สัปดาห์นั้น จะเริ่มมีลักษณะเหมือนทารกมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะมีแขนและขาให้ได้เห็นเป็นรูปเป็นร่าง นอกจากนี้ในส่วนของใบหน้าของทารกยังเริ่มมีพัฒนาการให้เห็น อาทิ หู ตา จมูก และปาก ซึ่งจะเริ่มชัดเจนมาก ๆ แล้วในช่วงนี้ ทั้งนี้ส่วนอื่น ๆ ก็ยังอยู่ในการพัฒนาและเจริญเติบโตต่อไป เช่น การเจริญเติบโตของเปลือกตา เลนส์ตา และลิ้น

 

ท้อง 7 สัปดาห์ พบอาการแบบไหนคุณควรไปพบแพทย์

การแท้งบุตร และการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในไตรมาสแรก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือคุณแม่จะต้องรู้จักอาการเหล่านั้นเพื่อป้องกัน และเข้าพบแพทย์ให้ไวที่สุด โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

 

  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก

การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นคือการตั้งครรภ์ที่มักจะเกิดขึ้นในท่อนำไข่ข้างใดข้างหนึ่ง เป็นเหตุฉุกเฉินที่คุณเองก็อาจคาดไม่ถึง คุณแม่จะมีอาการเหมือนกับปกติทุกอย่าง โดยไม่ทราบว่าตัวอ่อนนั้นกำลังเจริญเติบโตนอกมดลูกของคุณ โดยการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นคุณจะไม่สามารถรักษาทารกไว้ได้ หากไม่ได้รับการรักษา หากคุณแม่มีอาการดังต่อไปนี้ ควรพบแพทย์ให้ไวที่สุด

    • เลือดออกทางช่องคลอดแบบผิดปกติ
    • เป็นลม หมดสติ หรือเวียนศีรษะอย่างกะทันหัน
    • ความดันโลหิตต่ำ
    • ปวดไหล่
    • ปวดอุ้งเชิงกรานอย่างรุนแรง และเฉียบพลัน

 

  • การแท้งบุตร

การแท้งบุตรนั้นคือการสูญเสียทารกระหว่างตั้งครรภ์ การแท้งบุตรส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ หรือในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาจยาวไปถึงอายุครรภ์สัปดาห์ที่ 20 แต่ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อคุณเข้าช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ไปได้แล้ว โอกาสที่จะแท้งบุตรนั้นจะลดลงมาก โดยสาเหตุของการแท้งบุตรนั้นอาจเกิดจากปัญหาเกี่ยวกับยีนของทารก ปัญหามดลูก ปัญหาด้านฮอร์โมน หรือการติดเชื้อ

บทความที่เกี่ยวข้อง : ความดันโลหิตสูง อาการที่อาจเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ ต้องระวังให้ดี

 

ตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์ 10

 

เรื่องที่ควรทำตอน อายุครรภ์ 7 สัปดาห์

  • ดื่มน้ำกลั้วคอล้างปากทุกครั้งหากมีอาการอาเจียน เพราะน้ำย่อยที่อาเจียนออกมาจะทำให้แสบหลอดอาหารได้
  • ช่วงนี้คุณแม่อาจจะรู้สึกว่าตัวเองอ้วนขึ้น แนะนำว่าให้เลือกใส่เสื้อผ้าที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น ก่อนที่จะเลือกซื้อชุดคลุมท้องมาใส่ตอนที่ท้องโตกว่านี้
  • คุณแม่หลายท่านเริ่มหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาถ่ายภาพร่างกายที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปกันแล้ว

 

ข้อควรระวัง หรือคำแนะนำ สำหรับคุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์

  • ควรตรวจสุขภาพฟันอยู่เสมอ และควรแจ้งกับคุณหมอหากต้องทำการเอกซเรย์เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์
  • ดื่มน้ำขิงมากขึ้น เพื่อบรรเทาอาการแพ้ท้อง
  • อาหารรสเค็มช่วยให้แม่ท้องรู้สึกดี และบรรเทาความอ่อนเพลียได้ แต่ควรรับประทานแต่พอดีนะคะ และไม่ควรกินของหวานมากจนเกินไป

 

เป็นอย่างไรกันบ้างคะสำหรับการตั้งครรภ์ในสัปดาห์ที่ 7 ของคุณแม่ ถึงแม้ว่าในช่วงนี้ยังเป็นช่วงของการเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้แทบจะตลอดเวลาแต่ก็ไม่อยากให้คุณแม่เป็นกังวลมากจนเกินไปนะคะ ถ้าหากทราบว่าตนเองตั้งครรภ์แล้วก็หมั่นทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่ทำลายสุขภาพ เพื่อเจ้าตัวน้อยที่อยู่ในครรภ์นะคะ

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :

อาการคนท้อง 6 สัปดาห์ มีอะไรบ้าง พัฒนาการของทารกในครรภ์เป็นอย่างไร ?

ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ตั้งครรภ์ 9 สัปดาห์ อาการคนท้อง และพัฒนาการของทารกในครรภ์

ที่มา : 1, 2, 3, 4, 5

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!