5 วิธี “สัมผัส” ลูกน้อยแทนความหมายของคำว่า “รัก”
การสัมผัส เป็นเรื่องราวของการสื่อสารด้วยภาษากาย มนุษย์เรารู้จักการสัมผัสครั้งแรกจากความรู้สึกของ “แม่” ที่ส่งถึงทารกที่อยู่ในครรภ์ การสัมผัสจึงกลายเป็นตัวแทนของ “ความรัก” จากพ่อแม่ที่มีให้กับลูกน้อยที่ยังไม่รู้จักความหมายของคำว่ารัก ในทุก ๆ วันเพียงเราได้มีโอกาสทำได้แค่ 1 ใน 5 ของการสัมผัส ลูกก็สามารถรับรู้ได้ว่า พ่อแม่รักมากขนาดไหน

5 วิธี “สัมผัส” ลูกน้อยแทนความหมายของคำว่า “รัก”
การสัมผัส เป็นเรื่องราวของการสื่อสารด้วยภาษากาย มนุษย์เรารู้จักการสัมผัสครั้งแรกจากความรู้สึกของ “แม่” ที่ส่งถึงทารกที่อยู่ในครรภ์ การสัมผัสจึงกลายเป็นตัวแทนของ “ความรัก” จากพ่อแม่ที่มีให้กับลูกน้อยที่ยังไม่รู้จักความหมายของคำว่ารัก ในทุก ๆ วันเพียงเราได้มีโอกาสทำได้แค่ 1 ใน 5 ของการสัมผัส ลูกก็สามารถรับรู้ได้ว่า พ่อแม่รักมากขนาดไหน

1. การกอด
การกอดเป็นพลังมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่มาก ทำให้ลูกรับรู้ได้ถึงความรัก ความอบอุ่น ความห่วงใย และส่งผลไปถึงการพัฒนาทางอารมณ์ของเด็กด้วย
พญ.ภัทรวรรณ อธิบายถึงลักษณะการกอดว่ามีหลายแบบ เช่น กอดแบบหมี (Bear hug) กอดแบบหน้าแนบหน้า (A frame hug) กอดแนบแก้ม (Cheek hug) กอดกันกลม (Sandwich hug) กอดเป็นกลุ่ม (Group hug) กอดจากหัวใจ (Heart centered hug) สามารถใช้การกอดได้หลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในช่วงวัยของเด็กและเวลา รวมทั้งสถานที่ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 วัย ดังนี้
1. การกอดในวัยแรกเกิดและหัดเดิน เด็กต้องการสัมผัสอย่างมากเป็นพิเศษในช่วง 2-3 ปีแรก และโชคดีที่การอุ้มและการกอดเป็นสัญชาตญาณของแม่ เด็กควรได้รับการสัมผัสอย่างรักใคร่และอ่อนโยน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนอาหารหรือขณะอุ้ม พอโตขึ้นทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงล้วนยังต้องการการกอดและการหอม สัมผัสกันด้วยความรักใคร่เหมือนกัน เพราะมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
2. การกอดในวัยเริ่มเรียน คือ การกอดลูกก่อนไปโรงเรียนทุกเช้า อาจส่งผลให้เขามีอารมณ์มั่นคงได้ตลอดทั้งวัน ในขณะเดียวกัน การกอดลูกตอนกลับจากโรงเรียนอาจทำให้เขารู้สึกสงบ ไม่งอแง เพราะเวลาไปโรงเรียนเขาต้องเจอเหตุการณ์ใหม่ๆ ทุกวัน อาจมีทั้งความรู้สึกดีหรือไม่ดีต่อคนรอบข้าง การกอดด้วยความรักอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้ง่ายขึ้น
3. การกอดสำหรับลูกวัยรุ่น สิ่งสำคัญ คือ การแสดงความรักในทางสร้างสรรค์และเหมาะสมทั้งเวลาและสถานที่ พ่อแม่ควรแสดงความรักต่อทั้งลูกสาวลูกชาย เพราะวัยรุ่นยังต้องการการสัมผัสเหมือนเดิม เพียงแต่ควรทำที่บ้าน แม่ไม่ควรกอดลูกชายต่อหน้าเพื่อนของลูก เนื่องจากเด็กกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง การทำแบบนั้นอาจทำให้เด็กอายและอาจถูกเพื่อนล้อ ในทำนองเดียวกันลูกสาวก็ยังต้องการการกอดและการหอมจากพ่อ ดังนั้นเวลาและสถานที่จึงมีความสำคัญในวัยนี้ ส่วนการที่พ่อกอดลูกชายและแม่กอดลูกสาวอย่างรักใคร่ เป็นสิ่งที่เหมาะสมในทุกช่วงการพัฒนาการของเด็ก
ที่มา: manager.co.th
นักบำบัดจิตวิทยาครอบครัวกล่าวว่า คนเราต้องการการกอดวันละ 4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต คนเราต้องการการกอดวันละ 8 ครั้ง เพื่อให้ชีวิตเดินต่อไปได้ดี และคนเราต้องการกอดวันละ 12 ครั้ง เพื่อการเจริญเติบโต “พลังแห่งการกอด” เห็นผลง่าย รวดเร็ว และชัดเจน
ที่มา: somdet.go.th
ขอบคุณภาพประกอบ แม่เก๋และน้องฮาร์โมนี่
พญ.ภัทรวรรณ อธิบายถึงลักษณะการกอดว่ามีหลายแบบ เช่น กอดแบบหมี (Bear hug) กอดแบบหน้าแนบหน้า (A frame hug) กอดแนบแก้ม (Cheek hug) กอดกันกลม (Sandwich hug) กอดเป็นกลุ่ม (Group hug) กอดจากหัวใจ (Heart centered hug) สามารถใช้การกอดได้หลายแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในช่วงวัยของเด็กและเวลา รวมทั้งสถานที่ โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3 วัย ดังนี้
1. การกอดในวัยแรกเกิดและหัดเดิน เด็กต้องการสัมผัสอย่างมากเป็นพิเศษในช่วง 2-3 ปีแรก และโชคดีที่การอุ้มและการกอดเป็นสัญชาตญาณของแม่ เด็กควรได้รับการสัมผัสอย่างรักใคร่และอ่อนโยน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเปลี่ยนผ้าอ้อม ป้อนอาหารหรือขณะอุ้ม พอโตขึ้นทั้งเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิงล้วนยังต้องการการกอดและการหอม สัมผัสกันด้วยความรักใคร่เหมือนกัน เพราะมีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
2. การกอดในวัยเริ่มเรียน คือ การกอดลูกก่อนไปโรงเรียนทุกเช้า อาจส่งผลให้เขามีอารมณ์มั่นคงได้ตลอดทั้งวัน ในขณะเดียวกัน การกอดลูกตอนกลับจากโรงเรียนอาจทำให้เขารู้สึกสงบ ไม่งอแง เพราะเวลาไปโรงเรียนเขาต้องเจอเหตุการณ์ใหม่ๆ ทุกวัน อาจมีทั้งความรู้สึกดีหรือไม่ดีต่อคนรอบข้าง การกอดด้วยความรักอย่างเป็นธรรมชาติ ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายและสามารถปรับตัวเข้ากับคนรอบข้างได้ง่ายขึ้น
3. การกอดสำหรับลูกวัยรุ่น สิ่งสำคัญ คือ การแสดงความรักในทางสร้างสรรค์และเหมาะสมทั้งเวลาและสถานที่ พ่อแม่ควรแสดงความรักต่อทั้งลูกสาวลูกชาย เพราะวัยรุ่นยังต้องการการสัมผัสเหมือนเดิม เพียงแต่ควรทำที่บ้าน แม่ไม่ควรกอดลูกชายต่อหน้าเพื่อนของลูก เนื่องจากเด็กกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง การทำแบบนั้นอาจทำให้เด็กอายและอาจถูกเพื่อนล้อ ในทำนองเดียวกันลูกสาวก็ยังต้องการการกอดและการหอมจากพ่อ ดังนั้นเวลาและสถานที่จึงมีความสำคัญในวัยนี้ ส่วนการที่พ่อกอดลูกชายและแม่กอดลูกสาวอย่างรักใคร่ เป็นสิ่งที่เหมาะสมในทุกช่วงการพัฒนาการของเด็ก
ที่มา: manager.co.th
นักบำบัดจิตวิทยาครอบครัวกล่าวว่า คนเราต้องการการกอดวันละ 4 ครั้ง เพื่อการดำรงชีวิต คนเราต้องการการกอดวันละ 8 ครั้ง เพื่อให้ชีวิตเดินต่อไปได้ดี และคนเราต้องการกอดวันละ 12 ครั้ง เพื่อการเจริญเติบโต “พลังแห่งการกอด” เห็นผลง่าย รวดเร็ว และชัดเจน
ที่มา: somdet.go.th
ขอบคุณภาพประกอบ แม่เก๋และน้องฮาร์โมนี่

2. การหอม
การหอมลูกเป็นอีกสัมผัสหนึ่งที่แสดงออกถึงความรัก ความเอ็นดู เป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างลูกกับพ่อแม่ให้แน่นแฟ้นขึ้น ซึ่งส่งผลต่อเนื่องมาจากการกอดนั่นเอง การสัมผัสอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยังเล็กๆ เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น อาจจะแปลกๆ ในช่วงเริ่มต้น แต่ลูกจะรับรู้และค่อยๆ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมถึงภาวะด้านอารมณ์ได้ดีขึ้น
หลังจากการกอดและหอมแล้ว เราสามารถสื่อสารกับลูกด้วย คำพูดที่แสดงความรักใคร่ห่วงใย เช่น “พ่อ/แม่รักลูกนะ”
หลังจากการกอดและหอมแล้ว เราสามารถสื่อสารกับลูกด้วย คำพูดที่แสดงความรักใคร่ห่วงใย เช่น “พ่อ/แม่รักลูกนะ”

3. การจับ
บิดากับลูกสาวคู่หนึ่งกำลังเดินข้ามสะพาน พ่อรู้สึกกลัวนิดหน่อยจึงพูดกับลูกสาวว่า "ลูกรัก จับมือพ่อไว้ให้แน่นนะลูกจะได้ไม่ตกลงในแม่น้ำ เด็กน้อยจึงกล่าวแก่พ่อของเธอว่า "ไม่เอาคะ ให้พ่อจับมือหนูดีกว่า" พ่อจึงถามลูกสาวของตัวเองว่า "แล้วมันต่างกันยังไง พ่อจับมือลูก หรือลูกจับมือพ่อ ทั้งสองเหมือนกันแหละลูกรัก"
เด็กน้อยตอบแก่บิดาของเธอทันทีว่า "ต่างกันมากเลยคะพ่อ เพราะถ้าหนูจับมือพ่อ และเมื่อมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับหนู จนหนูทนไม่ไหว หนูอาจจะปล่อยมือพ่อก็ได้ แต่ถ้าพ่อจับมือหนูไว้ หนูมั่นใจว่า แม้จะมีอะไรเกิดขึ้นก็ตาม พ่อจะไม่ยอมปล่อยมือหนูหลุดไปอย่างแน่นอน"
(ที่มา www.ahlulbait.org)
การจับมือหรือการจูงมือลูก แสดงถึงการเป็นเสาหลักให้ความรู้สึกที่มั่นคงกับลูกน้อย สัมผัสที่ได้จากคุณทำให้ลูกมั่นใจว่าพ่อกับแม่จะเดินอยู่ข้างๆ ไม่ไปไหน ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และไม่เกิดอาการกลัว นำมาซึ่งความไว้วางใจและพร้อมที่ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง การพาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้านหรือตามสวนสาธารณะ นอกจากจะทำให้คุณกับลูกสัมผัสกันมากขึ้นแล้ว ยังสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างคุณกับลูกมากขึ้นด้วย
ขอบคุณภาพประกอบ พ่อกุ้งกับน้องเหม่ยหลิง
เดินเล่นกับลูกแค่ครึ่งชั่วโมง เปลี่ยนคุณกับเขาให้รักและผูกพันกันมากขึ้น
(ที่มา www.ahlulbait.org)
การจับมือหรือการจูงมือลูก แสดงถึงการเป็นเสาหลักให้ความรู้สึกที่มั่นคงกับลูกน้อย สัมผัสที่ได้จากคุณทำให้ลูกมั่นใจว่าพ่อกับแม่จะเดินอยู่ข้างๆ ไม่ไปไหน ทำให้ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว และไม่เกิดอาการกลัว นำมาซึ่งความไว้วางใจและพร้อมที่ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง การพาลูกออกไปเดินเล่นนอกบ้านหรือตามสวนสาธารณะ นอกจากจะทำให้คุณกับลูกสัมผัสกันมากขึ้นแล้ว ยังสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างคุณกับลูกมากขึ้นด้วย
ขอบคุณภาพประกอบ พ่อกุ้งกับน้องเหม่ยหลิง
เดินเล่นกับลูกแค่ครึ่งชั่วโมง เปลี่ยนคุณกับเขาให้รักและผูกพันกันมากขึ้น

4. การนวด
พ่อแม่บางท่านอาจจะยังไม่เห็นความจำเป็นหรือไม่ทราบว่า การนวดมีผลต่อพัฒนาการของลูกน้อย ช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทในสมองของลูกน้อย ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการดูดซึมอาหาร ส่งผลให้ลูกน้อยมีน้ำหนักเพิ่มตามพัฒนาการ และช่วยลดระดับฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแกร่ง การนวดลูกน้อยจึงทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายและมีสุขภาพที่ดี และสำหรับเด็กที่คลอดก่อนกำหนด หลับยาก หรือร้องกวน การนวดจะช่วยให้เด็กมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามพัฒนาการได้อย่างรวดเร็ว ทั้งยังช่วยให้เด็กหลับได้ง่ายขึ้น เรียกได้ว่าการนวดเป็น “สัมผัสบำบัด”
คุณแม่สามารถนวดเวลาไหนก็ได้ ขอให้เป็นเวลาที่ลูกอารมณ์ดี การนวดตอนเช้าจะช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนในร่างกาย ให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ทำให้เจ้าตัวเล็กกระปรี้กระเปร่า สดชื่นและไม่หงุดหงิด งอแง ส่วนการนวดในตอนกลางคืนจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับง่าย และหลับสนิทยิ่งขึ้น
การสัมผัสโดยใช้การนวดสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กเล็กจนโต ซึ่งท่านวดก็จะแตกต่างออกไป สำหรับเด็กโตเราใช้เวลาระหว่างที่นวดลูกคุยเล่นถามไถ่ถึงเรื่องของลูกก็ได้นะคะ เห็นไหมค่ะว่าการนวดยังเป็นการเชื่อมสายสัมพันธ์ด้วยสัมผัสอันอบอุ่นระหว่างแม่กับลูกให้แนบแน่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
เคล็ดลับนวดลูกน้อยจากเป้ย ปานวาด และเอ๋ พรทิพย์
คุณแม่สามารถนวดเวลาไหนก็ได้ ขอให้เป็นเวลาที่ลูกอารมณ์ดี การนวดตอนเช้าจะช่วยกระตุ้นระบบหมุนเวียนในร่างกาย ให้นำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง ทำให้เจ้าตัวเล็กกระปรี้กระเปร่า สดชื่นและไม่หงุดหงิด งอแง ส่วนการนวดในตอนกลางคืนจะช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับง่าย และหลับสนิทยิ่งขึ้น
การสัมผัสโดยใช้การนวดสามารถทำได้ตั้งแต่เด็กเล็กจนโต ซึ่งท่านวดก็จะแตกต่างออกไป สำหรับเด็กโตเราใช้เวลาระหว่างที่นวดลูกคุยเล่นถามไถ่ถึงเรื่องของลูกก็ได้นะคะ เห็นไหมค่ะว่าการนวดยังเป็นการเชื่อมสายสัมพันธ์ด้วยสัมผัสอันอบอุ่นระหว่างแม่กับลูกให้แนบแน่นได้อีกทางหนึ่งด้วย
เคล็ดลับนวดลูกน้อยจากเป้ย ปานวาด และเอ๋ พรทิพย์

5. การปรบมือ
การปรบมืออาจไม่ใช่การสัมผัสระหว่างคุณกับลูกโดยตรง แต่เป็นการสื่อสารภาษากายด้วยภาษาใจ เพราะการปรบมือเป็นการแสดงออกถึงการชื่มชม การที่ลูกสามารถทำตามคำสั่งได้ หรือการพยายามเรียนรู้ช่วยเหลือด้วยตัวเอง เช่น เริ่มต้นคลานได้ เดินได้ หรือการหัดใส่เสื้อผ้าเป็น ฯลฯ เด็กๆ ก็ควรจะได้รับกำลังใจหรือความชื่นชม นอกจากช่วยในเรื่องของพัฒนาการทางสังคมแล้ว ยังทำให้พวกเขามีพัฒนาการทางร่างกายที่ดีขึ้น เสียงปรบมือเป็นกำลังใจ คือความสุขเล็กๆ ของเด็ก หลังปรบมือคุณพ่อคุณแม่อย่าลืมส่งรอยยิ้มและชื่อมชมลูกด้วยคำพูดว่า “เก่งมากเลยลูก” การถูกชมเฉยจะทำให้เด็กชอบใจ มีกำลังใจ และมีความสุข
ถัดไป
บทความโดย
Napatsakorn .R
แชร์ :