X
theAsianparent Thailand Logo
theAsianparent Thailand Logo
คู่มือสินค้าเข้าสู่ระบบ
  • อยากท้อง
  • ตั้งครรภ์
    • คำนวณวันคลอด
    • ฉันกำลังตั้งครรภ์
    • ไตรมาสที่ 1
    • ไตรมาสที่ 2
    • ไตรมาสที่ 3
    • Project Sidekicks
    • ตั้งชื่อลูก
    • การให้นมลูก
  • สุขภาพและโภชนาการ
    • โภชนาการ
    • สุขภาพ
  • ลูก
    • ทารกแรกเกิด
    • ทารก
    • เด็กวัยหัดเดิน
    • เด็กก่อนวัยเรียน
    • เด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น และวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • ความรักและความสัมพันธ์
    • การเลี้ยงลูก
    • มุมคุณพ่อ
    • ประกันชีวิต
    • การวางแผนการเงิน
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • การศึกษา
    • เด็กวัยประถม
    • โรงเรียนประถม
    • มัธยมศึกษา
    • แบบฝึกหัดและข้อสอบ
    • แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ
  • ไลฟ์สไตล์
    • ดวง
    • ทำนายฝัน
    • สีมงคล
    • บทสวดมนต์
    • ข่าว
    • ดูแลบ้าน
    • แนะนำโดย TAP
    • อีเว้นท์
  • ที่เที่ยว
    • เที่ยวไทย
    • เที่ยวต่างประเทศ
    • ที่พัก และ โรงแรม
  • ที่กิน
    • ร้านอร่อย
    • ร้านอร่อยสำหรับเด็ก
    • คาเฟ่
    • เมนูอาหาร
  • ผู้หญิง
    • แฟชั่น
    • ความงาม
    • ฟิตเนส
  • TAPpedia
  • วิดีโอ
    • การตั้งครรภ์
    • ทารก
    • คำแนะนำในการเลี้ยงลูก
    • การให้นมบุตร
    • อาหารเสริมทารก & โภชนาการ
    • เด็กเล็ก
  • ชอปปิง
  • อีเว้นท์
    • TAP Awards Winners
    • TAP idol
    • TAP x Safari Largest Treasure Hunt
  • #สอนลูกเรื่องเงิน ฉบับพ่อแม่
  • VIP

5 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

บทความ 5 นาที
5 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

แม้ว่าขณะตั้งครรภ์ คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีความต้องการทางเพศลดลง บางคนถึงกับงดมีเพศสัมพันธ์ตอนท้องกันเลย เพราะมีความเชื่อและกังวลว่าการกุ๊กกิ๊กกันจะส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ วันนี้เรามาเคลียร์ข้อสงสัยกันว่ามีเพศสัมพันธ์ตอนท้องสามารถทำได้จริงเท็จแค่ไหน

พ่อแม่หลาย ๆ คู่ อาจจะมีความกังวลเกี่ยวกับ การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง จะส่งผลต่อลูกน้อยในครรภ์หรือไม่ ? การมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่กำลังตั้งครรภ์ มีสิ่งที่ต้องระวังอะไรบ้าง รวมถึงความเชื่อต่าง ๆ ที่พูดต่อ ๆ กันมา แต่ว่าความจริงแล้วเป็นอย่างไร วันนี้เรามีบทความมาฝากค่ะ

หนึ่งในเรื่องที่พ่อแม่มือใหม่หลาย ๆ คน กังวลกันอยู่ ก็อาจจะเป็นการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง แต่เมื่อเริ่มคิดถึงความสุขที่เคยมีร่วมกัน คู่รักก็อาจจะเริ่มกังวล

การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

ตามปกติแล้ว คุณแม่ท้องส่วนใหญ่จะมีความต้องการทางเพศลดลง ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก (1 - 3 เดือน) และ ไตรมาสสุดท้าย (7 - 9 เดือน) ซี่งเกิดจากความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย อารมณ์ขึ้นลงที่เปลี่ยนไปมา ความไม่สบายใจต่อสรีระที่เปลี่ยนแปลง อาการอุ้ยอ้ายของท้องที่กำลังใหญ่ขึ้น ๆ อาการปวดหลัง รวมถึงความวิตกกังวล ที่จะส่งผลกับลูกน้อยที่จะเกิดมา แต่ในช่วงไตรมาสที่สอง (4 - 6 เดือน) ที่แม่ท้องเริ่มปรับตัวได้ อาการแพ้ท้องหายไป หน้าตาดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล มีเลือดไหลเวียนเลี้ยงอวัยวะเพศมากขึ้น และมักทำให้คุณแม่มีความต้องการทางเพศมากขึ้นได้ ซึ่งก็ถือว่าเป็นเรื่องปกติ

แต่...ในขณะเดียวกัน เรื่องของการมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง ก็ยังทำให้เกิดความวิตกกังวลทั้งคุณพ่อคุณแม่ รวมทั้งความเชื่อผิด ๆ เหล่านี้ด้วย

#1 ความเชื่อที่ว่า การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง จะทำอันตรายลูกน้อยในครรภ์ ทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด พิการ ฯลฯ จริงหรือ?

ความจริง : คนท้องสามารถมีเซ็กส์ได้ตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ จนถึงครบกำหนดคลอด โดยไม่เกิดอันตรายกับลูกในครรภ์ ข้อดีของการมีเซ็กส์ในช่วงนี้ คือเป็นการสร้างความอบอุ่นและผูกพันระหว่างสามีภรรยา แต่ก็ยังมีข้อห้าม สำหรับคนท้องที่มีอาการดังนี้

  • มีเลือดออกขณะตั้งครรภ์ซึ่งแสดงว่าจะแท้ง หรือจะคลอดก่อนกำหนด
  • คุณแม่ท้องไม่พร้อมที่จะมีเซ็กซ์ด้วย
  • หลังมีเพศสัมพันธ์ แม่รู้สึกมีอาการปวดท้องมาก ลูกไม่ดิ้น มีน้ำคร่ำรั่ว
  • คุณแม่เคยมีประวัติแท้งต่อเนื่องกัน 3 ท้อง
  • ฝ่ายชายมีความเสี่ยงที่จะนำโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์มาให้
  • แพทย์สั่งห้าม

 

การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

#2 ความเชื่อที่ว่า หลังมีเพศสัมพันธ์รู้สึกท้องแข็ง ลูกดิ้นมาก แสดงว่าเด็กในครรภ์อาจจะได้รับบาดเจ็บ

ความจริง : การมีเพศสัมพันธ์นั้นไม่ทำอันตรายลูกในท้อง เพราะเด็กยังอยู่ในน้ำคร่ำ มีถุงน้ำคร่ำ มีรก และ มีโพรงมดลูกล้อมรอบ ปากมดลูกโดยทั่วไปก็หนา และ ปิดสนิท โดยมีมูกเหนียวอุดอยู่ที่รูปากมดลูก ส่วนสาเหตุที่หลังมีเซ็กซ์ คุณแม่มักจะบ่นว่าท้องแข็ง นั่นเป็นเพราะน้ำอสุจิมีส่วนประกอบของสารพลอสต้าเกลนดิน (Prostaglandin) ที่เมื่อฝ่ายชายมีการหลั่งน้ำอสุจิ สารตัวนี้จะทำให้มดลูกบีบตัว และ การบีบตัวนั้นไม่นานพอที่จะทำอันตรายต่อลูกน้อยได้ แต่เสมือนกระตุ้นให้ลูกออกกำลังกาย ดังนั้น หลังมีเซ็กส์จึงรู้สึกว่าลูกดิ้นแรง เป็นเรื่องธรรมดาค่ะ

#3 ความเชื่อที่ว่าในท่ามิชชั่นนารี หากสามีอยู่ด้านบน อาจจะทับลูกในท้องได้

ความจริง : การเลือกท่วงท่าในการมีเซ็กส์ตอนท้องนั้น เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และควรเลือกให้เหมาะกับระยะตั้งครรภ์

  • ไตรมาสแรก สามารถที่จะมีเพศสัมพันธ์ได้ทุกท่า แต่ต้องระวังท่าโลดโผนหรือเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น ท่ายืนให้ฝ่ายหญิงห้อยหัวลง หรือการมีเซ็กส์ในอ่างน้ำซึ่งอาจลื่นล้มเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • ไตรมาสที่สอง เนื่องจากท้องคุณแม่โตเพิ่มขึ้น จึงควรใช้ท่าที่ไม่ทับท้อง เช่น ท่านารีขี่ม้า คือให้ฝ่ายหญิงอยู่ด้านบน ท่านอนตะแคงเข้าหากัน หรือท่าด็อกกี้ ที่ฝ่ายชายสอดใส่เข้าทางบั้นท้าย เป็นต้น
  • ไตรมาสที่สาม เนื่องจากท้องที่ขยายและโตมากขึ้นและอาจจะมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ท่าของการมีเพศสัมพันธ์ในระยะนี้จึงควรเป็นท่าที่ฝ่ายหญิงไม่ต้องออกแรง และผ่อนคลาย

#4 ความเชื่อที่ว่าตอนท้องทำออรัลเซ็กส์ไม่ได้

ความจริง : การทำรักด้วยปากหรือออรัลเซ็กซ์นั้นไม่มีอันตรายและยังช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายชายทำให้ฝ่ายหญิง หรือฝ่ายหญิงทำให้ฝ่ายชาย แต่ข้อห้ามที่สำคัญคือ ฝ่ายชายต้องไม่มีความเสี่ยงที่จะมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และหากฝ่ายชายเป็นฝ่ายทำให้ก็ไม่ควรเป่าลมเข้าไปในช่องคลอด เพราะช่วงตั้งครรภ์ช่องคลอดมีเส้นเลือดมาเลี้ยงมาก รวมถึงผนังเส้นเลือดดำบอบบาง อาจเกิดลมรั่วเข้าไปในเส้นเลือดดำ ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตต่อฝ่ายหญิงได้

การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

#5 ความเชื่อที่ว่า ตอนท้องห้ามมีอะไรกันทางประตูหลัง (Anal Sex)

ความจริง : สามารถทำได้ แต่ดอกจันตัวโต ๆ ไว้ว่า

  • ฝ่ายหญิงต้องพร้อม
  • ต้องใช้สารหล่อลื่นให้มากพอ
  • ต้องทำช้า ๆ และนุ่มนวลที่สุด
  • หากรู้สึกเจ็บหรือมีเลือดออกต้องหยุดทันที
  • ขณะมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก ต้องสื่อสารกันตลอดเวลา เช่น รู้สึกเป็นอย่างไร เจ็บไหม เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าการมีเพศสัมพันธ์ในขณะท้องจะช่วยให้ทั้งคุณพ่อ และคุณแม่ความสุขทางเพศมากขึ้น ถึงจุดสุดยอดง่าย และหลายครั้ง แต่ก็ควรศึกษาข้อห้ามให้ดีก่อนจะมีความสุข หรือขอแนะนำจากแพทย์ที่ฝากครรภ์ เพื่อความสบายใจกันนะคะ

 

ท่าไหนที่ปลอดภัยที่สุด ?

ควรจะเป็นท่าธรรมดาที่ไม่รุนแรงหรือโลดโผน ไม่สะเทือนมากจนเกินไป หลีกเลี่ยงการใช้ท่วงท่าที่กดทับหน้าท้องของคุณแม่ หรือท่าที่ทำให้คุณแม่เหนื่อยมากเกินไป

ท่าที่เหมาะสมเช่น ท่า Woman on top คือ ท่าที่คุณแม่จะอยู่ด้านบน หรือ ท่า Doggy Style เพราะ จะไม่มีการกดทับหน้าท้องของคุณแม่
ท่าที่ไม่แนะนำ คือ ท่า Missionary เพราะ คุณพ่อจะกดทับไปบนหน้าท้อง และตัวของคุณแม่ ทำให้อึดอัด และไม่สะดวก
ส่วนในช่วงใกล้คลอด ท้องของคุณแม่จะขยายใหญ่มากขึ้น อาจจะเลือกใช้ท่านอนตะแคงเข้าหากัน หรือหันหน้าไปในทางเดียวกันก็ได้

อีกอย่างที่แนะนำ คือ ไม่ควรมีเซ็กซ์ในที่คับแคบ และเป็นอันตราย เช่น ในอ่างน้ำ ในน้ำทะเล

คุณแม่ควรมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง อย่าไปหลงเชื่อความเชื่อที่ผิด ๆ  เพื่อที่จะช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข พร้อมต้อนรับลูกที่จะลืมตาดูโลก และสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ต่อไปนะคะ

 

ที่มา : 1และ 2

 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ 

พีแอนด์จี ร่วมกับ เทสโก้ โลตัส ส่งแคมเปญพิเศษ “Mom to Mom” ชวนเหล่าคุณแม่ ร่วมใจกันช่วยเหลือแม่ ที่ได้รับผลกระทบจาก วิกฤต โควิด-19

9+ GOLD MOM CLINIC EP.1 สารอาหารสำคัญ & เพื่อ 1,000 วันแรก ที่สมบูรณ์ โดย พญ.นพรัตน์ ไชยบูรณะพันธ์กุล สูตินรีแพทย์ประจำ รพ. พญาไท 3

ชี้เป้า ของตัวแม่ต้องมี (10 MUST HAVE ITEMS FOR WOMAN & MOM) ช้อปสนุก หยุดไม่อยู่ ในเดือนแห่งแม่ กับ JD CENTRAL ตลอดเดือนสิงหาคม

บทความจากพันธมิตร
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
Attitude Mom รุ่น Galaxy II เครื่องปั๊มนม ที่คุณแม่วางใจ ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างมีประสิทธิภาพ
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
รีวิว IMANI i2 Plus อันดับ 1 เครื่องปั๊มนมไร้สายสุดพรีเมียม ผู้ช่วยของคุณแม่ยุคใหม่ที่ทำให้การปั๊มนมเป็นเรื่องง่าย
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
เตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงานของคุณแม่นักปั๊มฉบับ Working Mom
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022
ทำความรู้จัก NAN GOLD HA3 เจ้าของรางวัล Parents’ Choice Awards Best Hypoallergenic Formula Milk จากเวที theAsianparent Awards 2022

มีข้อสงสัยเรื่องการตั้งครรภ์ หรือมีคำถามเรื่องการเลี้ยงลูกหรือเปล่าคะ? ติดตามอ่านบทความ หรือสอบถามสิ่งที่คุณอยากรู้ผ่านแอปของเราได้เลย ดาวน์โหลด theAsianparent แอปพลิเคชัน ทั้ง IOS และ Android ได้แล้ววันนี้!

Follow us on:
facebook-logo instagram-logo tiktok-logo
ddc-calendar
เตรียมความพร้อมสำหรับลูกน้อย โดยใส่วันครบกำหนดคลอดของคุณ
หรือ
คำนวณวันครบกำหนดคลอด
img
บทความโดย

Napatsakorn .R

  • หน้าแรก
  • /
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
  • /
  • 5 ความเชื่อที่เข้าใจผิดเกี่ยวกับ การมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง
แชร์ :
  • อันตรายไหมถ้ามีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

    อันตรายไหมถ้ามีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

  • อยากรู้ไหม มีเซ็กส์ตอนท้องดียังไง ข้อดีของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

    อยากรู้ไหม มีเซ็กส์ตอนท้องดียังไง ข้อดีของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

  • อันตรายไหมถ้ามีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

    อันตรายไหมถ้ามีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

  • อยากรู้ไหม มีเซ็กส์ตอนท้องดียังไง ข้อดีของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

    อยากรู้ไหม มีเซ็กส์ตอนท้องดียังไง ข้อดีของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างตั้งครรภ์ มีเพศสัมพันธ์ตอนท้อง

  • 400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

    400 ชื่อเล่นไทยๆ แต่เก๋ ใช้ได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ชื่อเล่นไทยๆ ในปี 2023

  • ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

    ลูกไม่ยอมพูด เป็นเพราะอะไร จะเป็นเด็กพัฒนาการช้าไหม ทำอย่างไรให้ลูกพูด

ลงทะเบียนรับคำแนะนำเรื่องการตั้งครรภ์พัฒนาการลูกในท้องได้ที่นี่
  • เตรียมตัวเป็นผู้ปกครอง
    • ก่อนตั้งครรภ์
    • การคลอด
    • ระยะการตั้งครรภ์
    • การคลอด
  • พัฒนาการลูก
    • ทารก
    • เด็กก่อนเข้าเรียน
    • ช่วงวัยของเด็ก
    • เด็กก่อนวัยรุ่น
  • ชีวิตครอบครัว
    • การวางแผนการเงิน
    • การเลี้ยงลูก
    • ความรัก และ เซ็กส์
  • ระยะการตั้งครรภ์
    • ไตรมาส 1
    • ไตรมาส 2
    • ไตรมาส 3
    • นมแม่และนมผง
  • โภชนาการ
    • สินค้าเด็ก
    • นมผง
    • เมนูอาหาร
    • สินค้าแม่
  • เพิ่มเติม
    • TAP สังคมออนไลน์
    • ติดต่อโฆษณา
    • ติดต่อเรา
    • Influencer Marketing (KOL)
    • มาเข้าร่วมกับเรา


  • Singapore flag Singapore
  • Thailand flag Thailand
  • Indonesia flag Indonesia
  • Philippines flag Philippines
  • Malaysia flag Malaysia
  • Sri-Lanka flag Sri Lanka
  • India flag India
  • Vietnam flag Vietnam
  • Australia flag Australia
  • Japan flag Japan
  • Nigeria flag Nigeria
  • Kenya flag Kenya
© Copyright theAsianparent 2023. All rights reserved
เกี่ยวกับเรา |ทีม|นโยบายความเป็นส่วนตัว |ข้อกำหนดการใช้ |แผนผังเว็บไซต์
  • เครื่องมือ
  • บทความ
  • ฟีด
  • โพล

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

เราใช้คุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์คอนเทนต์ที่ดีที่สุดให้กับคุณ. เรียนรู้เพิ่มเติมตกลง เข้าใจแล้ว

theAsianparent heart icon
เราต้องการส่งแจ้งเตือนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลตัวเองระหว่างตั้งครรภ์ไปให้กับคุณ