4 เรื่องที่คุณหมอฝากบอกคุณพ่อมือใหม่
ใช่ว่าการมีเจ้าตัวน้อยบทบาทและความสำคัญจะตกไปที่คุณแม่แต่เพียงผู้เดียว สำหรับ “คุณพ่อ” ผู้มีส่วนร่วมในการให้กำเนิดเบบี๋ ใครว่าไม่สำคัญ พวกคุณนี่แหละที่มีบทบาทสำคัญต่อการเติบโตของลูก ๆ มากกว่าที่คิดมากนัก และนี้คือเรื่องที่คุณหมอฝากมาบอกคุณพ่อมือใหม่ทั้งหลาย
4 เรื่องที่คุณหมอฝากบอกคุณพ่อมือใหม่
#1 พ่อเป็นฮีโร่ของลูก
ใช่ว่าลูกจะมองหาแต่แม่อย่างเดียว ตรงกันข้ามลูก ๆ จะคอยมองดูพ่อที่เป็นฮีโร่ของเขาและมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบพฤติกรรมคุณพ่อด้วย นั่นจึงเป็นเหตุที่บรรดากุมารแพทย์ต้องการให้ผู้เป็นพ่อกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างมีสติ ไม่ว่าจะเป็นการสูบบุหรี่ กินเหล้า ต่อหน้าลูก รวมไปถึงเรื่องเล็ก ๆ อย่างการคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งบนรถ เพราะนั่นจะส่งผลไปถึงลูก ๆ ของคุณพ่อได้ ในขณะที่เขากำลังเติบโตและเรียนรู้ เริ่มที่จะตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง
คุณพ่อควรมีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกตั้งแต่แรก ไม่ว่าจะด้วยการเล่นกับพูดคุยกับลูก ให้ลูก ๆ ได้เห็นว่าพ่อจะเป็นเพื่อนที่คอยสนับสนุน และเป็นทั้งครูที่คอยสอนสิ่งต่าง ๆ ได้ ซึ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อลูกได้ดีอีกทางด้วย
#2 พ่อคือผู้ช่วยส่งเสริมทักษะด้านภาษาให้กับลูก
การได้ใช้เวลาพูดคุยกับทารกน้อยตั้งแต่ในครรภ์จนถึงแรกเกิดจะแสดงให้เห็นถึงผลดีต่อทักษะทางภาษาของลูกน้อยในภายหลังได้ดีเชียวล่ะ ถึงแม้มีผลจากนักวิจัยอ้างอิงว่า แม่จะใช้เวลาในการพูดคุยกับลูก ๆ มากกว่าพ่อ แต่พ่อก็ยังป็นผู้ที่ช่วยส่งเสริมทักษะด้านภาษาให้กับลูกได้เช่นกัน มีผลการศึกษาที่ได้ตีพิมพ์เมื่อปี 2006 ในวารสารจิตวิทยาพัฒนาการประยุกต์พบว่า คำศัพท์ต่าง ๆ ที่พ่อใช้นั้นจะมีผลอย่างมากกับความพัฒนาด้านภาษาของลูกๆ ในเวลาต่อมาได้ และจากหนังสือ “Do Fathers Matter?” ได้อธิบายถึงผลการวิจัยที่พบว่า คุณแม่จะใช้คำศัพท์ที่ลูก ๆ รู้จักอยู่แล้ว ในขณะที่คุณพ่อนั้นมักจะใช้คำศัพท์ที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
#3 พ่อคือเพื่อนเล่นลูก
สไตล์การเล่นกับลูกของคุณพ่อกับคุณแม่แตกต่างกันแน่นอน ในส่วนคุณพ่อที่แอบแฝงด้วยวิธีการเล่นที่โลดโผนนั้นจะเป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพวกลูก ๆ ในทางกายภาพ การเล่นแบบโลดโผนนั้นยังได้สอนเด็ก ๆ ถึงขอบเขตและข้อจำกัดต่าง ๆ ซึ่งช่วยให้เด็ก ๆ นั้นสามารถออกไปสำรวจโลกกว้าง ด้วยความอยากรู้อยากเห็นได้อย่างเป็นอิสระ
พัฒนาการของเด็ก ๆ นั้น จะเกิดขึ้นได้จากความต้องการในการค้นหาและความเป็นอิสระ ซึ่งทั้งสองสิ่งนี้ต้องมีองค์ประกอบของความปลอดภัยและการป้องกันที่ดี ทั้งแม่และพ่อนั้นแต่ละคนสามารถที่จะเลือกบทบาทที่พวกเขาสามารถเติมเต็มให้ลูกได้อย่างดีที่สุดได้
มีนักวิจัยได้ค้นพบว่า ระดับโฮโมนออกซิโตซินหรือที่เรียกอีกชื่อว่า เลิฟ ฮอร์โมน ของพ่อนั้น จะมีการเปลี่ยนแปลงเมื่อได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นผจญภัยกับลูก ๆ ด้วย
#4 พ่อก็มีโอกาสเสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้าได้
เรามักจะเข้าใจว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดมักเกิดกับผู้เป็นแม่ แต่จริง ๆ แล้ว โรคภาวะซึมเศร้า ก็เกิดขึ้นได้กับคุณพ่อเช่นกัน แถมอาจส่งระยะยาวจนถึงช่วงที่ลูกเลิกใช้ผ้าอ้อมแล้วก็ตาม จากผลการศึกษาที่ได้ตีพิมพ์ในจดหมายเหตุของเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่นพบว่า มากกว่า 20% ของผู้เป็นพ่อยังสามารถประสบกับภาวะซึมเศร้าได้แม้ว่าลูกจะอายุ 12 ปีด้วย สาเหตุอาจเกิดจากความพยายามที่จะหาจุดสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน ที่ได้ชื่อว่าเป็นแรงกดดันสำหรับคนเป็นพ่อ และยามที่พ่อแม่อยู่ในสภาวะที่เป็นทุกข์ก็จะส่งผลกระทบไปสู่ลูก ๆ เช่นกัน เพราะฉะนั้นระหว่างพ่อแม่ต้องช่วยกันประคับประคองและหาวิธีสร้างความสุขให้ไม่เกิดภาวะซึมเศร้ากันนะคะ
ที่มา :www.latimes.com
บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ :
3 เรื่องที่คุณพ่อมือใหม่มักทำพลาด
คัมภีร์ฝึกคุณพ่อมือใหม่ให้กลายเป็นมืออาชีพ